ศาล-ตำรวจวางมาตรการเข้มรักษาความปลอดภัยศาลฎีกา หวั่นพวก “ลิ่วล้อทักษิณ-พจมาน” 2 จำเลยโกงชาติออกมาสร้างความวุ่นวาย หลังศาลพิพากษาโทษ 14.00 น.วันนี้
วันนี้ (21 ต.ค.) เวลา 14.00 น.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นัดฟังคำพิพากษาคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก จำนวน 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาท ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4, 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157 ขอให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน
อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณศาลฎีกา ซึ่งคาดว่าจะมีกลุ่มบุคคลที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน โดยเฉพาะกลุ่ม นปช.และนปก.ที่มักจะสร้างความปั่นป่วนและชอบความรุนแรงจะเดินทางมาศาล ทำให้เจ้าหน้าที่ศาลได้นำแผงเหล็กมากั้นบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อแยกสื่อมวลชนที่ติดตามรอทำข่าว และผู้ที่จะมาฟังคำพิพากษา
ด้าน พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐผล ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม เปิดเผยว่า ได้จัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าดูแลความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยบริเวณศาลฎีกา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะไม่เกิดเหตุความวุ่นวายขึ้นอย่างแน่นอน ทุกอย่างจะต้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากไม่มีตัวจำเลยทั้งสองเดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาที่ศาล
ทั้งนี้ มีรายงานว่า พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้สั่งการให้งกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้ในการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดบริเวณศาลฎีกา ไว้ 2 กองร้อย รวม 300 นาย โดยให้ตรวจตราทั้งภายใน และภายนอกอย่างเคร่งครัด หลังมีกระแสข่าวว่า กลุ่ม นปช. ได้นัดรวมตัวกัน
ส่วนความเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ก่อนหน้านี้ มีกำหนดจะเดินทางไปทำบุญที่วัดสระเกศ เพื่อเข้านมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ หรือสมเด็จเกี่ยว ในเวลา 13.00 น. จากนั้นก็จะเดินทางมาฟังคำพิพากษาที่ศาลฎีกา
ต่อมา นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำ นปช. ได้ยกเลิกการเข้าพบ สมเด็จเกี่ยว เพื่อร้องเรียน สันติอโศกแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ เนื่องจากได้รับการประสานจากวัดสระเกศ ว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม เพราะอาจเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง
อย่างไรก็ตาม นายสมยศ กล่าวถึงแนวทางต่อไปว่า อาจจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือกับพระพิศาลธรรมพาที หรือพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้วแทน
ต่อมาเวลา 12.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีกลุ่มประชาชนที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ประมาณ 100 คน เดินทางมารวมตัวที่บริเวณหน้าศาลฎีกา โดยส่วนใหญ่ ใส่เสื้อสีชมพู และเมื่อผู้สื่อข่าวสอบถาม ก็ได้รับคำตอบว่า ได้เดินทางมาจากจังหวัดนนทบุรี โดยมาให้กำลังใจ และรู้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องแพ้คดีแน่นอน
ขณะที่กลุ่มที่ให้กำลังใจ เดินทางมาศาลอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่มีเหตุการณ์วุ่นวายใดๆเกิดขึ้น
สำหรับคดีนี้ อัยการสูงสุดโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2550 และศาลมีคำสั่งรับฟ้องเมื่อวันที่ 10 ก.ค.2550 พร้อมมีคำสั่งให้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ที่ขณะนั้นหลบหนีไปอาศัยอยู่ในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ มาพิจารณาคดี ต่อมาวันที่ 8 ม.ค.2551 คุณหญิงพจมานเดินทางกลับและเข้ารายงานตัวต่อศาล พร้อมยื่นคำร้องประกันตัว โดยใช้สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของ น.ส.แพทองธาร มูลค่า 5 ล้านบาทขอประกันตัวไป
กระทั่งวันที่ 23 ม.ค.51 ศาลได้สอบคำให้การคุณหญิงพจมาน โดยอ่านอธิบายคำฟ้องและสอบคำให้การแล้ว คุณหญิงพจมาน ยืนยันให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และในวันที่ 28 ก.พ. 51 พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางจากประเทศอังกฤษเข้ารายงานตัวกับศาลฎีกาฯ และยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นสมุดเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาว มูลค่า 10 ล้านบาท ขอประกันตัว ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกันตัวโดยตีราคาประกัน 8 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ศาลฎีกาฯ สอบคำให้การ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีลับหลังอ้างว่ามีธุรกิจที่จะต้องดูแลจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้พิจารณาคดีลับได้ จากนั้นเมื่อวันที่ 29 เม.ย. คุณหญิงพจมาน ขออนุญาตสืบพยานลับหลัง ศาลอนุญาตเช่นกัน
ศาลฎีกาฯ จึงเริ่มดำเนินกระบวนไต่สวนพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 8 ก.ค.2551 โดยอัยการโจทก์นำพยานขึ้นเบิกความทั้งสิ้นจำนวน 20 ปาก ใช้เวลานำสืบ 5 นัด แต่ระหว่างการพิจารณาคดี พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ได้ยื่นคำร้องขอเดินทางออกนอกประเทศซึ่งศาลพิจารณาอนุญาตมาโดยตลอด และเมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตเดินทางไปประเทศจีน ญี่ปุ่น และอังกฤษ อ้างว่าไปร่วมพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ที่กรุงปักกิ่ง และทำธุรกิจ
ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ไปเฉพาะประเทศจีน และญี่ปุ่น ส่วนประเทศอังกฤษนั้นให้ยื่นคำร้องใหม่ และให้กลับมารายงานตัววันที่ 11 ส.ค. แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่กลับมารายงาน แต่หลบหนีไปอยู่ประเทศอังกฤษ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับทั้งสอง และเริ่มไต่สวนพยานจำเลยครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ส.ค. โดยทนายจำเลยนำพยานเข้าเบิกความจำนวน 20 ปากและใช้เวลานำสืบ 5 นัด เช่นกัน จนกระทั้งศาลไต่สวนพยานจำเลยเสร็จสิ้นและนัดฟังคำพิพากษาครั้งแรกในวันที่ 17 ก.ย. แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานไม่เดินทางมา ศาลจึงให้ออกหมายจับทั้งสองอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 3 และเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 21 ต.ค. เวลา 14.00 น.
ส่วนพยานโจทก์คดีนี้ ประกอบด้วย กลุ่มอดีตนายกรัฐมนตรี, กลุ่ม คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส., กลุ่มเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูกิจการและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และกลุ่มเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ประกอบด้วย 1.นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย 2.นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ 3.นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธาน คตส. 4.นายอุดม เฟื่องฟุ้ง อดีต คตส.คดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ 5.นายอำนวย ธันธรา อดีต คตส. 6.นายวีระ สมความคิด ประธานเครือขายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่นและนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผู้ร้องเรียนในคดีนี้ต่อ คตส. 7.นายสมบูรณ์ คุปติมนัส ผู้รับมอบอำนาจจากคุณพจมาน จำเลยที่ 2 ในการทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่พิพาทคดีนี้ 8.ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีต รมว.คลัง 9.นางสาวกัลยาณี รุทระกาญน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ 10. ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่า ธปท. และอดีตประธานคณะกรรมการจัดการกองทุนฟื้นฟูกิจการและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 11.นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าฯ ธปท. อดีตผู้จัดการกองทุนฯ ปี 2545 12.นายไพโรจน์ เฮงสกุล อดีตผู้จัดการกองทุนฯ ช่วงปี 2549-50 13.นายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตรองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ 14.ว่าที่ ร.ท.รุ่งเรือง โคกขุนทด เจ้าหน้าที่ ธปท. ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนฟื้นฟูฯ 15.นางสว่างจิตต์ จัยวัฒน์ อดีตผู้จัดการกองทุนฯ
16.นายวุฒิสิทธิ์ จันทสูตร เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจังหวัดสระแก้ว อดีตผู้บริหารสำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ สาขาห้วยขวาง 17.นางญานี คงบุญ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ สาขาห้วยขวาง 18.น.ส.นิทรา เอี่ยมสุภา เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน จ.สมุทรสาคร อดีตหัวหน้าฝ่ายทะเบียน สำนักงานที่ดินกรุงเทพ สาขาห้วยขวาง 19.นายอมร บุญธรรม เจ้าหน้าที่กรมที่ดินประจำสำนักงานมาตรฐาน กรมที่ดิน อดีตเจ้าหน้าที่รังวัด สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ สาขาห้วยขวาง และ 20.นายทวี ด่านยุทธศิลป์ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ สาขาห้วยขวาง
สำหรับพยานจำเลย ประกอบด้วย 1.นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. 2.นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง 3.นายวิรัช กุลเพชรประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี จ.นครปฐม 4.น.ส.สุจิรัตน์ ทองมี เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี กองล้มละลาย 5.น.ส.หนึ่งหทัย วงษ์ทอง เจ้าหน้าที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด อดีตเจ้าหน้าที่กองทุนฯ 6. นายวสันต์ เทียนหอม ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส ซึ่งรับผิดชอบฝ่ายคดี และการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 7.นายวีระพงษ์ มุทานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบริการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด 8.นายพัลลภ ศักดิ์โสภณกุล ผอ.กองกฎหมายและระเบียบ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง 9.นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการ คณะกรรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) 10.นางดนุชา ยินดีพิธ รอง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกระทรวงการคลัง 11.นายสาธร โตโพธิ์ไทย ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายคดี ธปท. 12.นายสุภร ดีพันธ์ เจ้าหน้าที่ธปท.ซึ่งเป็นผู้ชำนาญงาน ทีมอสังหาริมทรัพย์กองทุนฯ 13.นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผอ.อาวุโสฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท.14.นายทร ชาวพิจิตร เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี 15.น.ส.มาลี แม้นมินทร์ รอง ผอ.สำนักผังเมือง กรุงเทพฯ 16.นางวิบูลย์เพ็ญ หิตะพันธ์ เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดิน 9 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 17.นางพวงทิพย์ ปรมาพจน์ ผอ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 18.นางวิไลวรรณ ศศานนท์ เจ้าหน้าที่ สตง. 19.นางพรรณี สถาวโรดม ผอสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ 20.ผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โดยมีพยานร่วมของโจทก์ และจำเลย รวม 2 ปาก นายแก้วสรร อติโพธิ อดีต คตส. และนายกล้าณรงค์ จันทิก ป.ป.ช. และอดีต คตส.
ส่วนรายชื่อองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คน ประกอบด้วย นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายสมชาย พงษธา ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายวัฒนชัย โชติชูตระกูล รองประธานศาลฎีกา นายประพันธ์ ทรัพย์แสง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายเกรียงชัย จึงจตุรพิธ ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา นายพิชิต คำแฝง รองประธานศาลฎีกา นายธีระวัฒน์ ภัทรานวัช รองประธานศาลฎีกา
วันนี้ (21 ต.ค.) เวลา 14.00 น.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นัดฟังคำพิพากษาคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก จำนวน 33 ไร่ มูลค่า 772 ล้านบาท ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4, 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157 ขอให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน
อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณศาลฎีกา ซึ่งคาดว่าจะมีกลุ่มบุคคลที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน โดยเฉพาะกลุ่ม นปช.และนปก.ที่มักจะสร้างความปั่นป่วนและชอบความรุนแรงจะเดินทางมาศาล ทำให้เจ้าหน้าที่ศาลได้นำแผงเหล็กมากั้นบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อแยกสื่อมวลชนที่ติดตามรอทำข่าว และผู้ที่จะมาฟังคำพิพากษา
ด้าน พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐผล ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม เปิดเผยว่า ได้จัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าดูแลความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยบริเวณศาลฎีกา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะไม่เกิดเหตุความวุ่นวายขึ้นอย่างแน่นอน ทุกอย่างจะต้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องจากไม่มีตัวจำเลยทั้งสองเดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาที่ศาล
ทั้งนี้ มีรายงานว่า พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้สั่งการให้งกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้ในการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดบริเวณศาลฎีกา ไว้ 2 กองร้อย รวม 300 นาย โดยให้ตรวจตราทั้งภายใน และภายนอกอย่างเคร่งครัด หลังมีกระแสข่าวว่า กลุ่ม นปช. ได้นัดรวมตัวกัน
ส่วนความเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ก่อนหน้านี้ มีกำหนดจะเดินทางไปทำบุญที่วัดสระเกศ เพื่อเข้านมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ หรือสมเด็จเกี่ยว ในเวลา 13.00 น. จากนั้นก็จะเดินทางมาฟังคำพิพากษาที่ศาลฎีกา
ต่อมา นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำ นปช. ได้ยกเลิกการเข้าพบ สมเด็จเกี่ยว เพื่อร้องเรียน สันติอโศกแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ เนื่องจากได้รับการประสานจากวัดสระเกศ ว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม เพราะอาจเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง
อย่างไรก็ตาม นายสมยศ กล่าวถึงแนวทางต่อไปว่า อาจจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือกับพระพิศาลธรรมพาที หรือพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้วแทน
ต่อมาเวลา 12.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีกลุ่มประชาชนที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ประมาณ 100 คน เดินทางมารวมตัวที่บริเวณหน้าศาลฎีกา โดยส่วนใหญ่ ใส่เสื้อสีชมพู และเมื่อผู้สื่อข่าวสอบถาม ก็ได้รับคำตอบว่า ได้เดินทางมาจากจังหวัดนนทบุรี โดยมาให้กำลังใจ และรู้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องแพ้คดีแน่นอน
ขณะที่กลุ่มที่ให้กำลังใจ เดินทางมาศาลอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่มีเหตุการณ์วุ่นวายใดๆเกิดขึ้น
สำหรับคดีนี้ อัยการสูงสุดโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2550 และศาลมีคำสั่งรับฟ้องเมื่อวันที่ 10 ก.ค.2550 พร้อมมีคำสั่งให้ออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ที่ขณะนั้นหลบหนีไปอาศัยอยู่ในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ มาพิจารณาคดี ต่อมาวันที่ 8 ม.ค.2551 คุณหญิงพจมานเดินทางกลับและเข้ารายงานตัวต่อศาล พร้อมยื่นคำร้องประกันตัว โดยใช้สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของ น.ส.แพทองธาร มูลค่า 5 ล้านบาทขอประกันตัวไป
กระทั่งวันที่ 23 ม.ค.51 ศาลได้สอบคำให้การคุณหญิงพจมาน โดยอ่านอธิบายคำฟ้องและสอบคำให้การแล้ว คุณหญิงพจมาน ยืนยันให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และในวันที่ 28 ก.พ. 51 พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางจากประเทศอังกฤษเข้ารายงานตัวกับศาลฎีกาฯ และยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นสมุดเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาว มูลค่า 10 ล้านบาท ขอประกันตัว ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกันตัวโดยตีราคาประกัน 8 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ศาลฎีกาฯ สอบคำให้การ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีลับหลังอ้างว่ามีธุรกิจที่จะต้องดูแลจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้พิจารณาคดีลับได้ จากนั้นเมื่อวันที่ 29 เม.ย. คุณหญิงพจมาน ขออนุญาตสืบพยานลับหลัง ศาลอนุญาตเช่นกัน
ศาลฎีกาฯ จึงเริ่มดำเนินกระบวนไต่สวนพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 8 ก.ค.2551 โดยอัยการโจทก์นำพยานขึ้นเบิกความทั้งสิ้นจำนวน 20 ปาก ใช้เวลานำสืบ 5 นัด แต่ระหว่างการพิจารณาคดี พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ได้ยื่นคำร้องขอเดินทางออกนอกประเทศซึ่งศาลพิจารณาอนุญาตมาโดยตลอด และเมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตเดินทางไปประเทศจีน ญี่ปุ่น และอังกฤษ อ้างว่าไปร่วมพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ที่กรุงปักกิ่ง และทำธุรกิจ
ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ไปเฉพาะประเทศจีน และญี่ปุ่น ส่วนประเทศอังกฤษนั้นให้ยื่นคำร้องใหม่ และให้กลับมารายงานตัววันที่ 11 ส.ค. แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่กลับมารายงาน แต่หลบหนีไปอยู่ประเทศอังกฤษ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับทั้งสอง และเริ่มไต่สวนพยานจำเลยครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ส.ค. โดยทนายจำเลยนำพยานเข้าเบิกความจำนวน 20 ปากและใช้เวลานำสืบ 5 นัด เช่นกัน จนกระทั้งศาลไต่สวนพยานจำเลยเสร็จสิ้นและนัดฟังคำพิพากษาครั้งแรกในวันที่ 17 ก.ย. แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานไม่เดินทางมา ศาลจึงให้ออกหมายจับทั้งสองอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 3 และเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 21 ต.ค. เวลา 14.00 น.
ส่วนพยานโจทก์คดีนี้ ประกอบด้วย กลุ่มอดีตนายกรัฐมนตรี, กลุ่ม คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส., กลุ่มเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูกิจการและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และกลุ่มเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ประกอบด้วย 1.นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย 2.นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ 3.นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธาน คตส. 4.นายอุดม เฟื่องฟุ้ง อดีต คตส.คดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ 5.นายอำนวย ธันธรา อดีต คตส. 6.นายวีระ สมความคิด ประธานเครือขายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่นและนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผู้ร้องเรียนในคดีนี้ต่อ คตส. 7.นายสมบูรณ์ คุปติมนัส ผู้รับมอบอำนาจจากคุณพจมาน จำเลยที่ 2 ในการทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่พิพาทคดีนี้ 8.ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีต รมว.คลัง 9.นางสาวกัลยาณี รุทระกาญน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ 10. ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่า ธปท. และอดีตประธานคณะกรรมการจัดการกองทุนฟื้นฟูกิจการและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 11.นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าฯ ธปท. อดีตผู้จัดการกองทุนฯ ปี 2545 12.นายไพโรจน์ เฮงสกุล อดีตผู้จัดการกองทุนฯ ช่วงปี 2549-50 13.นายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตรองประธานคณะกรรมการกองทุนฯ 14.ว่าที่ ร.ท.รุ่งเรือง โคกขุนทด เจ้าหน้าที่ ธปท. ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนฟื้นฟูฯ 15.นางสว่างจิตต์ จัยวัฒน์ อดีตผู้จัดการกองทุนฯ
16.นายวุฒิสิทธิ์ จันทสูตร เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจังหวัดสระแก้ว อดีตผู้บริหารสำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ สาขาห้วยขวาง 17.นางญานี คงบุญ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ สาขาห้วยขวาง 18.น.ส.นิทรา เอี่ยมสุภา เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน จ.สมุทรสาคร อดีตหัวหน้าฝ่ายทะเบียน สำนักงานที่ดินกรุงเทพ สาขาห้วยขวาง 19.นายอมร บุญธรรม เจ้าหน้าที่กรมที่ดินประจำสำนักงานมาตรฐาน กรมที่ดิน อดีตเจ้าหน้าที่รังวัด สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ สาขาห้วยขวาง และ 20.นายทวี ด่านยุทธศิลป์ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ สาขาห้วยขวาง
สำหรับพยานจำเลย ประกอบด้วย 1.นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. 2.นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง 3.นายวิรัช กุลเพชรประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี จ.นครปฐม 4.น.ส.สุจิรัตน์ ทองมี เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี กองล้มละลาย 5.น.ส.หนึ่งหทัย วงษ์ทอง เจ้าหน้าที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด อดีตเจ้าหน้าที่กองทุนฯ 6. นายวสันต์ เทียนหอม ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส ซึ่งรับผิดชอบฝ่ายคดี และการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 7.นายวีระพงษ์ มุทานนท์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบริการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด 8.นายพัลลภ ศักดิ์โสภณกุล ผอ.กองกฎหมายและระเบียบ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง 9.นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการ คณะกรรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) 10.นางดนุชา ยินดีพิธ รอง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกระทรวงการคลัง 11.นายสาธร โตโพธิ์ไทย ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายคดี ธปท. 12.นายสุภร ดีพันธ์ เจ้าหน้าที่ธปท.ซึ่งเป็นผู้ชำนาญงาน ทีมอสังหาริมทรัพย์กองทุนฯ 13.นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผอ.อาวุโสฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท.14.นายทร ชาวพิจิตร เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี 15.น.ส.มาลี แม้นมินทร์ รอง ผอ.สำนักผังเมือง กรุงเทพฯ 16.นางวิบูลย์เพ็ญ หิตะพันธ์ เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดิน 9 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 17.นางพวงทิพย์ ปรมาพจน์ ผอ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 18.นางวิไลวรรณ ศศานนท์ เจ้าหน้าที่ สตง. 19.นางพรรณี สถาวโรดม ผอสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ 20.ผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โดยมีพยานร่วมของโจทก์ และจำเลย รวม 2 ปาก นายแก้วสรร อติโพธิ อดีต คตส. และนายกล้าณรงค์ จันทิก ป.ป.ช. และอดีต คตส.
ส่วนรายชื่อองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คน ประกอบด้วย นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายสมชาย พงษธา ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายวัฒนชัย โชติชูตระกูล รองประธานศาลฎีกา นายประพันธ์ ทรัพย์แสง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายเกรียงชัย จึงจตุรพิธ ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา นายพิชิต คำแฝง รองประธานศาลฎีกา นายธีระวัฒน์ ภัทรานวัช รองประธานศาลฎีกา