หลังจากนั้น ระบบเศรษฐกิจการเมืองโลกก็เกิดช่วงขยายตัวใหม่ ช่วงขยายตัวใหม่นี้เรียกว่า ช่วงกระแสโลกาภิวัตน์ เริ่มประมาณ ค.ศ. 1987
กระแสการปฏิวัติใหม่ที่เรียกว่า ‘กระแสโลกาภิวัตน์’ นำสู่การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่ พร้อมๆ กับการพยายามของสหรัฐอเมริกาที่จะสถาปนาตัวเอง หรือ Empire ขึ้นมามีฐานะเป็นผู้นำเดี่ยวเหนือระบบโลก
ระบบโลกก็ก้าวสู่ช่วงขยายตัวยาวอีกครั้งหนึ่ง เริ่มด้วย การขยายตัวของสินค้าไฮเทค รวมทั้งการขยายตัวของเงินตราและสื่อสารแบบไร้พรมแดน
การเคลื่อนตัวแบบขยายครั้งนี้ต่างแบบกว่าครั้งอื่นๆ เพราะเป็นการขยายตัวแบบฟองสบู่ มีปรากฎการณ์การแตกซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวเป็นช่วงๆ
ทุกจุดที่ขยายใหญ่ ก็แปรสภาพเป็นจุดวิกฤตใหญ่
เริ่มที่ญี่ปุ่น ซึ่งเศรษฐกิจขยายใหญ่มาก จนเกิดการแตกของฟองสบู่ใน ค.ศ. 1990 ต่อมาจุดขยายใหญ่ก็เคลื่อนตัวสู่เอเชียและแตกอีกเมื่อ ค.ศ. 1997 หลังจากนั้นก็เกิดการขยายตัวใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา และตามด้วยฟองสบู่ก็แตกอีกครั้งในช่วง ค.ศ. 2001 (ส่วนหนึ่งมาจากการปั่นตลาดใหม่ ที่เรียกว่า E-economy)
ผู้นำสหรัฐฯ ใช้วิธีเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส นี่คือที่มาของสงครามในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า สงครามต่อต้านผู้ก่อการร้าย
ผู้นำสหรัฐฯ หวังว่าจะใช้เงื่อนไขสงครามสร้างฐานะหรืออำนาจเหนือระบบเศรษฐกิจและการเมืองโลก
แต่ถึงอย่างไร คลื่นขยายตัวยาวครั้งนี้ก็ไม่ยาวมากนัก น่าจะน้อยกว่า 20 ปีเล็กน้อย เพราะประมาณ ค.ศ. 2006 สภาวะการทรุดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มปรากฏให้เห็น พร้อมการเกิดขึ้นของวิกฤตน้ำมัน วิกฤตค่าเงินดอลลาร์รอบใหม่ และตามด้วยการแตกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ และการทรุดตัวของตลาดหุ้น หรือที่เรียกว่า วิกฤตซับไพรม์ ซึ่งนักวิชาการบางท่านเรียกว่า Hamburger Crisis
เพื่อนอาวุโสท่านหนึ่งกล่าวแทรกขึ้นว่า
“อาจารย์กำลังบอกว่า วันนี้...กระแสโลกาภิวัตน์ที่ยิ่งใหญ่กำลังก้าวสู่ช่วงถดถอยใหญ่ และเรากำลังเผชิญพลวัตแบบลบอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าผมเข้าใจอาจารย์ไม่ผิด พลวัตเชิงลบจะนำมาซึ่งช่วงการเปลี่ยนใหญ่ของโครงสร้างทางการเมืองและประชาภิวัฒน์
ผมคิดได้ว่า การเคลื่อนตัวของขบวนพันธมิตรฯ ที่ลุกขึ้นมาต่อต้านคุณทักษิณ ที่แท้ก็เกิดขึ้นในช่วงที่ระบบโลกเคลื่อนตัวสู่ขาลงยาวอีกครั้งหนึ่ง นั่นเอง
พวกเราจึงต้องเผชิญวิกฤต หลายลูกพร้อมๆ กัน ระบบโลกเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตการเมือง ผมคิดว่าพลวัตเชิงลบน่าจะทำให้สิ้นยุคอเมริกาเป็นใหญ่ ประเทศจีนอาจกลายเป็นศูนย์ของระบบโลกและตลาดโลก ตลาดทุนได้เคลื่อนตัวใหม่จากเดิมที่มีศูนย์อยู่ที่โลกตะวันตก จะเกิดศูนย์ใหม่ที่โลกตะวันออก
นี่.....หมายความอีกว่า เรา หรือ คนไทย ทุกคนกำลังจะต้องเผชิญวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจที่ยาวอีกครั้งหนึ่ง อาจจะยาวเกือบ 20 ปี ใช่ไหมครับ”
ผมตอบว่า “ใช่ครับ” และกล่าวต่อ
ที่เล่าเรื่องมาทั้งหมด เพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจเรื่อง กระแสโลก ที่เป็นลูกคลื่นเพื่อย้อนกลับไปหลักเต๋า ที่กล่าวว่า จะทำอะไร เราต้องคำนึงถึงกระแสคลื่นลมก่อน เข้าใจกระแสคลื่นลมว่าเคลื่อนตัวไปอย่างไร เราก็เคลื่อนตัวตามกระแส อย่าขวางกระแส
แต่อย่าประเมินว่า จีนจะเป็นใหญ่ หรือตะวันออกจะกลายเป็นศูนย์เสมอไป โลกข้างหน้าอาจจะพลิกผันรุนแรงมาก เนื่องจากคลื่นลูกนี้มีลักษณะขึ้นเร็วและแรง และจะทรุดตัวแบบเร็วและแรง อันเนื่องมาจากทุนโลกสมัยใหม่ขยายตัวแบบรวดเร็วมาก ที่เราเรียกว่า Turbo Accumulation จนกลายเป็นพลังอำนาจที่ทรงพลังเกินกว่า ใคร หรือ รัฐใด จะควบคุมได้
ข้อสำคัญ เราต้องเข้าใจว่า ลูกคลื่นขึ้น-ลงนี้ ไม่ใช่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นลูกคลื่นที่นำสู่การพลิกผันของระบบการเมืองด้วย
ก่อนหน้า วิกฤตฟองสบู่ อเมริกา Empire พยายามอย่างสุดกำลังที่จะทำสงครามเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่จะสกัดพัฒนาการของจีน จึงใช้ทุนเก็งกำไรปั่นราคาน้ำมันและราคาวัสดุพื้นฐานทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต และพยายามเข้าไปทำให้เศรษฐกิจจีนเกิดสภาวะที่เรียกว่า Over Heat (โอเวอร์ ฮีต)
เพื่อให้ฟองสบู่จีนแตกก่อนที่ฟองสบู่อเมริกาจะแตก
แต่ปรากฏว่า วันนี้ ฟองสบู่อเมริกาแตกก่อน แต่ถึงอย่างไร การแตกของฟองสบู่อเมริกาไม่ใช่ข่าวดีนัก เพราะจะไปเร่งให้ชนชั้นนำอเมริกันพยายามทุกทางทำให้ฟองสบู่จีนแตกด้วย
นี่คือ ยุทธศาสตร์สำคัญของการแข่งอำนาจในระบบโลก
ผมเคยนำเสนอในเขียนงานว่า ลูกคลื่นขาลงนี้น่าจะรุนแรงเพราะการที่เศรษฐกิจยุโรป และอเมริกา รวมทั้งญี่ปุ่นทรุดตัว จะส่งผลทำให้เศรษฐกิจจีนและเอเซียทรุดตัวตาม
ปีนี้ หรือ ปีหน้า เศรษฐกิจจีนจะหดตัวใหญ่
นี่น่าจะเป็น ‘โอกาสที่จะเป็นไปได้’ ถ้าผู้นำสหรัฐต้องการล้มจีน
ผมคาดว่า หลังจากชนชั้นนำสหรัฐฯ แก้ไขปัญหาฟองสบู่ที่เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่งแล้ว ก็ต้องหันมาเล่นงานหรือสกัดจีนและเอเชียรอบใหม่ เพราะไม่เช่นนั้น จีน หรือ เอเซีย จะกลายเป็นศูนย์ของระบบเศรษฐกิจโลกใหม่
การหดตัวของตลาด (อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น) การไหลขึ้นของราคาน้ำมันและราคาพืชผล ปัญหาเงินเฟ้อเงินฝืดอย่างรุนแรง และความผันผวนของค่าเงิน จะหวนมากระทบเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้จีนอาจจะต้องเผชิญกับการกีดกันการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม
ผมประเมินว่า ถ้าจีนไม่สามารถต้านทานได้ จะเกิดฟองสบู่แตกครั้งใหม่ที่ประเทศจีนและเอเชียในช่วงเวลาไม่น่าจะเกินปี หรือ 2 ปีนี้ หลังจากนั้นระบบเศรษฐกิจโลกจะก้าวเข้าสู่ช่วง The Great Depression อีกครั้งหนึ่ง
ผมได้กล่าวย้ำในวงสัมมนาว่า
นี่คือ การคาดการณ์เท่านั้น จะเกิดหรือไม่นั้น เราคงต้องรอดู
ผมกล่าวต่อ
สิ่งที่ผมนำเสนอมาข้างต้นนี้เป็นการอธิบายเฉพาะเรื่องคลื่นทางเศรษฐกิจการเมือง (มองแบบร้ายหน่อยนะ) แต่เรายังมีลูกคลื่นอีกลูกหนึ่งคือ คลื่นวิกฤตทางธรรมชาติที่จะก้าวเข้ามาในช่วงพลวัตด้านลบในเวลาเดียวกันด้วย
คลื่นวิกฤตธรรมชาติลูกนี้ ผมจะไม่ขอกล่าวมากเพราะมีคนพูดถึงวิกฤตเรื่องนี้กันมาแล้ว เพียงแต่อยากจะย้ำว่า คลื่นวิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ความอิ่มตัวของทรัพยากรที่มีค่า เช่น น้ำมัน น้ำ และอื่นๆ รวมทั้งหายนะภัยทางธรรมชาติจะมีส่วนทำให้พลวัตขาลง ลงแบบหนักหน่วงกว่าปกติ
แทนที่โลกจะเกิดพลวัตเชิงลบ หรือสงครามทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ(ทางการเมือง) เราอาจจะต้องเผชิญวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงเป็นช่วงๆ แบบหนักขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งสงครามการช่วงชิงทรัพยากรในช่วงเวลาเดียวกัน
นี่คือ สภาวะพิเศษของวิกฤตที่ก่อตัวขึ้นในช่วงนี้ เป็น “วิกฤตซ้อนวิกฤต” จึงยุ่งยากอย่างยิ่งที่จะแก้ไข
บางคนจึงเรียกช่วงนี้ว่า ‘ช่วงกลียุค’
ที่สำคัญ การเข้าใจโลกผ่าน ทฤษฎีกระแส หรือคลื่นลูกยาว จะช่วยให้เราคาดการณ์อนาคต หรือ ทำนายอนาคตได้พอสมควร และอาจจะทำนายได้แม่นกว่าบรรดาหมอดูแม่นๆ เสียอีก
อย่างเช่น เราจะพอเดาได้ว่า
ระบบการเมืองโลกกำลังก้าวสู่ยุคหลังยุคอเมริกาเป็นใหญ่
ระบบพลังงานโลกจะก้าวผ่านยุคน้ำมัน และเข้าสู่ยุคพลังงานทางเลือก
ระบบเศรษฐกิจโลกกำลังก้าวสู่การสิ้นยุคโลกาภิวัตน์ (ปั่นกำไรกันอย่างเสรี) และก้าวเข้าสู่ยุคการพัฒนาแบบยั่งยืน
กระบวนทัศน์และวัฒนธรรมแบบตะวันออกจะสถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นวิถีวัฒนธรรมโลกใหม่ แทนที่วัฒนธรรมตะวันตก
ก่อนจบประเด็นที่เพื่อนซักถาม ผมย้ำว่า
‘การเดาอนาคตได้’ สำคัญอย่างมาก
ศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของคนตะวันออกโบราณ คือ ศาสตร์ว่าด้วยการทำนายอนาคต เพราะถ้าเราเดาอนาคตได้ การคาดเดาได้จะช่วยให้เรารู้ว่า จะสร้างอนาคตอย่างไร (ยังมีต่อ)
กระแสการปฏิวัติใหม่ที่เรียกว่า ‘กระแสโลกาภิวัตน์’ นำสู่การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่ พร้อมๆ กับการพยายามของสหรัฐอเมริกาที่จะสถาปนาตัวเอง หรือ Empire ขึ้นมามีฐานะเป็นผู้นำเดี่ยวเหนือระบบโลก
ระบบโลกก็ก้าวสู่ช่วงขยายตัวยาวอีกครั้งหนึ่ง เริ่มด้วย การขยายตัวของสินค้าไฮเทค รวมทั้งการขยายตัวของเงินตราและสื่อสารแบบไร้พรมแดน
การเคลื่อนตัวแบบขยายครั้งนี้ต่างแบบกว่าครั้งอื่นๆ เพราะเป็นการขยายตัวแบบฟองสบู่ มีปรากฎการณ์การแตกซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวเป็นช่วงๆ
ทุกจุดที่ขยายใหญ่ ก็แปรสภาพเป็นจุดวิกฤตใหญ่
เริ่มที่ญี่ปุ่น ซึ่งเศรษฐกิจขยายใหญ่มาก จนเกิดการแตกของฟองสบู่ใน ค.ศ. 1990 ต่อมาจุดขยายใหญ่ก็เคลื่อนตัวสู่เอเชียและแตกอีกเมื่อ ค.ศ. 1997 หลังจากนั้นก็เกิดการขยายตัวใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา และตามด้วยฟองสบู่ก็แตกอีกครั้งในช่วง ค.ศ. 2001 (ส่วนหนึ่งมาจากการปั่นตลาดใหม่ ที่เรียกว่า E-economy)
ผู้นำสหรัฐฯ ใช้วิธีเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส นี่คือที่มาของสงครามในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า สงครามต่อต้านผู้ก่อการร้าย
ผู้นำสหรัฐฯ หวังว่าจะใช้เงื่อนไขสงครามสร้างฐานะหรืออำนาจเหนือระบบเศรษฐกิจและการเมืองโลก
แต่ถึงอย่างไร คลื่นขยายตัวยาวครั้งนี้ก็ไม่ยาวมากนัก น่าจะน้อยกว่า 20 ปีเล็กน้อย เพราะประมาณ ค.ศ. 2006 สภาวะการทรุดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มปรากฏให้เห็น พร้อมการเกิดขึ้นของวิกฤตน้ำมัน วิกฤตค่าเงินดอลลาร์รอบใหม่ และตามด้วยการแตกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ และการทรุดตัวของตลาดหุ้น หรือที่เรียกว่า วิกฤตซับไพรม์ ซึ่งนักวิชาการบางท่านเรียกว่า Hamburger Crisis
เพื่อนอาวุโสท่านหนึ่งกล่าวแทรกขึ้นว่า
“อาจารย์กำลังบอกว่า วันนี้...กระแสโลกาภิวัตน์ที่ยิ่งใหญ่กำลังก้าวสู่ช่วงถดถอยใหญ่ และเรากำลังเผชิญพลวัตแบบลบอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าผมเข้าใจอาจารย์ไม่ผิด พลวัตเชิงลบจะนำมาซึ่งช่วงการเปลี่ยนใหญ่ของโครงสร้างทางการเมืองและประชาภิวัฒน์
ผมคิดได้ว่า การเคลื่อนตัวของขบวนพันธมิตรฯ ที่ลุกขึ้นมาต่อต้านคุณทักษิณ ที่แท้ก็เกิดขึ้นในช่วงที่ระบบโลกเคลื่อนตัวสู่ขาลงยาวอีกครั้งหนึ่ง นั่นเอง
พวกเราจึงต้องเผชิญวิกฤต หลายลูกพร้อมๆ กัน ระบบโลกเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตการเมือง ผมคิดว่าพลวัตเชิงลบน่าจะทำให้สิ้นยุคอเมริกาเป็นใหญ่ ประเทศจีนอาจกลายเป็นศูนย์ของระบบโลกและตลาดโลก ตลาดทุนได้เคลื่อนตัวใหม่จากเดิมที่มีศูนย์อยู่ที่โลกตะวันตก จะเกิดศูนย์ใหม่ที่โลกตะวันออก
นี่.....หมายความอีกว่า เรา หรือ คนไทย ทุกคนกำลังจะต้องเผชิญวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจที่ยาวอีกครั้งหนึ่ง อาจจะยาวเกือบ 20 ปี ใช่ไหมครับ”
ผมตอบว่า “ใช่ครับ” และกล่าวต่อ
ที่เล่าเรื่องมาทั้งหมด เพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจเรื่อง กระแสโลก ที่เป็นลูกคลื่นเพื่อย้อนกลับไปหลักเต๋า ที่กล่าวว่า จะทำอะไร เราต้องคำนึงถึงกระแสคลื่นลมก่อน เข้าใจกระแสคลื่นลมว่าเคลื่อนตัวไปอย่างไร เราก็เคลื่อนตัวตามกระแส อย่าขวางกระแส
แต่อย่าประเมินว่า จีนจะเป็นใหญ่ หรือตะวันออกจะกลายเป็นศูนย์เสมอไป โลกข้างหน้าอาจจะพลิกผันรุนแรงมาก เนื่องจากคลื่นลูกนี้มีลักษณะขึ้นเร็วและแรง และจะทรุดตัวแบบเร็วและแรง อันเนื่องมาจากทุนโลกสมัยใหม่ขยายตัวแบบรวดเร็วมาก ที่เราเรียกว่า Turbo Accumulation จนกลายเป็นพลังอำนาจที่ทรงพลังเกินกว่า ใคร หรือ รัฐใด จะควบคุมได้
ข้อสำคัญ เราต้องเข้าใจว่า ลูกคลื่นขึ้น-ลงนี้ ไม่ใช่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นลูกคลื่นที่นำสู่การพลิกผันของระบบการเมืองด้วย
ก่อนหน้า วิกฤตฟองสบู่ อเมริกา Empire พยายามอย่างสุดกำลังที่จะทำสงครามเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่จะสกัดพัฒนาการของจีน จึงใช้ทุนเก็งกำไรปั่นราคาน้ำมันและราคาวัสดุพื้นฐานทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต และพยายามเข้าไปทำให้เศรษฐกิจจีนเกิดสภาวะที่เรียกว่า Over Heat (โอเวอร์ ฮีต)
เพื่อให้ฟองสบู่จีนแตกก่อนที่ฟองสบู่อเมริกาจะแตก
แต่ปรากฏว่า วันนี้ ฟองสบู่อเมริกาแตกก่อน แต่ถึงอย่างไร การแตกของฟองสบู่อเมริกาไม่ใช่ข่าวดีนัก เพราะจะไปเร่งให้ชนชั้นนำอเมริกันพยายามทุกทางทำให้ฟองสบู่จีนแตกด้วย
นี่คือ ยุทธศาสตร์สำคัญของการแข่งอำนาจในระบบโลก
ผมเคยนำเสนอในเขียนงานว่า ลูกคลื่นขาลงนี้น่าจะรุนแรงเพราะการที่เศรษฐกิจยุโรป และอเมริกา รวมทั้งญี่ปุ่นทรุดตัว จะส่งผลทำให้เศรษฐกิจจีนและเอเซียทรุดตัวตาม
ปีนี้ หรือ ปีหน้า เศรษฐกิจจีนจะหดตัวใหญ่
นี่น่าจะเป็น ‘โอกาสที่จะเป็นไปได้’ ถ้าผู้นำสหรัฐต้องการล้มจีน
ผมคาดว่า หลังจากชนชั้นนำสหรัฐฯ แก้ไขปัญหาฟองสบู่ที่เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่งแล้ว ก็ต้องหันมาเล่นงานหรือสกัดจีนและเอเชียรอบใหม่ เพราะไม่เช่นนั้น จีน หรือ เอเซีย จะกลายเป็นศูนย์ของระบบเศรษฐกิจโลกใหม่
การหดตัวของตลาด (อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น) การไหลขึ้นของราคาน้ำมันและราคาพืชผล ปัญหาเงินเฟ้อเงินฝืดอย่างรุนแรง และความผันผวนของค่าเงิน จะหวนมากระทบเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้จีนอาจจะต้องเผชิญกับการกีดกันการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม
ผมประเมินว่า ถ้าจีนไม่สามารถต้านทานได้ จะเกิดฟองสบู่แตกครั้งใหม่ที่ประเทศจีนและเอเชียในช่วงเวลาไม่น่าจะเกินปี หรือ 2 ปีนี้ หลังจากนั้นระบบเศรษฐกิจโลกจะก้าวเข้าสู่ช่วง The Great Depression อีกครั้งหนึ่ง
ผมได้กล่าวย้ำในวงสัมมนาว่า
นี่คือ การคาดการณ์เท่านั้น จะเกิดหรือไม่นั้น เราคงต้องรอดู
ผมกล่าวต่อ
สิ่งที่ผมนำเสนอมาข้างต้นนี้เป็นการอธิบายเฉพาะเรื่องคลื่นทางเศรษฐกิจการเมือง (มองแบบร้ายหน่อยนะ) แต่เรายังมีลูกคลื่นอีกลูกหนึ่งคือ คลื่นวิกฤตทางธรรมชาติที่จะก้าวเข้ามาในช่วงพลวัตด้านลบในเวลาเดียวกันด้วย
คลื่นวิกฤตธรรมชาติลูกนี้ ผมจะไม่ขอกล่าวมากเพราะมีคนพูดถึงวิกฤตเรื่องนี้กันมาแล้ว เพียงแต่อยากจะย้ำว่า คลื่นวิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ความอิ่มตัวของทรัพยากรที่มีค่า เช่น น้ำมัน น้ำ และอื่นๆ รวมทั้งหายนะภัยทางธรรมชาติจะมีส่วนทำให้พลวัตขาลง ลงแบบหนักหน่วงกว่าปกติ
แทนที่โลกจะเกิดพลวัตเชิงลบ หรือสงครามทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ(ทางการเมือง) เราอาจจะต้องเผชิญวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงเป็นช่วงๆ แบบหนักขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งสงครามการช่วงชิงทรัพยากรในช่วงเวลาเดียวกัน
นี่คือ สภาวะพิเศษของวิกฤตที่ก่อตัวขึ้นในช่วงนี้ เป็น “วิกฤตซ้อนวิกฤต” จึงยุ่งยากอย่างยิ่งที่จะแก้ไข
บางคนจึงเรียกช่วงนี้ว่า ‘ช่วงกลียุค’
ที่สำคัญ การเข้าใจโลกผ่าน ทฤษฎีกระแส หรือคลื่นลูกยาว จะช่วยให้เราคาดการณ์อนาคต หรือ ทำนายอนาคตได้พอสมควร และอาจจะทำนายได้แม่นกว่าบรรดาหมอดูแม่นๆ เสียอีก
อย่างเช่น เราจะพอเดาได้ว่า
ระบบการเมืองโลกกำลังก้าวสู่ยุคหลังยุคอเมริกาเป็นใหญ่
ระบบพลังงานโลกจะก้าวผ่านยุคน้ำมัน และเข้าสู่ยุคพลังงานทางเลือก
ระบบเศรษฐกิจโลกกำลังก้าวสู่การสิ้นยุคโลกาภิวัตน์ (ปั่นกำไรกันอย่างเสรี) และก้าวเข้าสู่ยุคการพัฒนาแบบยั่งยืน
กระบวนทัศน์และวัฒนธรรมแบบตะวันออกจะสถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นวิถีวัฒนธรรมโลกใหม่ แทนที่วัฒนธรรมตะวันตก
ก่อนจบประเด็นที่เพื่อนซักถาม ผมย้ำว่า
‘การเดาอนาคตได้’ สำคัญอย่างมาก
ศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของคนตะวันออกโบราณ คือ ศาสตร์ว่าด้วยการทำนายอนาคต เพราะถ้าเราเดาอนาคตได้ การคาดเดาได้จะช่วยให้เรารู้ว่า จะสร้างอนาคตอย่างไร (ยังมีต่อ)