ผู้จัดการออนไลน์ -มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ จะจัดพิธีเปิดโครงการ สำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดแบบบูรณาการด้านชายแดนกัมพูชา ที่อ.บ่อไร่ จ.ตราด
ตามที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือที่เรียกว่าอนุสัญญาออตตาวาซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 อนุสัญญาดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องเก็บกู้ทุ่นระเบิดทั้งหมดทั่วประเทศภายในปี 2556
การดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา เป็นไปอย่างล่าช้าและเก็บกู้ได้เพียง 50 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของพื้นที่สงสัยว่าเป็นทุ่นระเบิดทั่วทั้งประเทศ ที่มีประมาณ 2,500 ตารางกิโลเมตร ดังนั้น ในปี 2550 มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน หรือ MOM จึงร่วมมือกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ หรือ TMAC กำหนดแนวทางในการสำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดให้ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ทุ่นระเบิดทั่วประเทศน้อยลง และช่วยให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติสามารถเก็บกู้ได้ง่ายและเสร็จเร็วขึ้น
จึงเป็นที่มาของโครงการสำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดแบบบูรณาการด้านชายแดนกัมพูชา ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก Japan–ASEAN Integrated Fund : JAIF โดยผ่านความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกอาเซียน โครงการนี้มีระยะเวลาทั้งสิ้น 2 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 – ตุลาคม 2552 ครอบคลุมพื้นที่ใน 7 จังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ทั้งนี้ วันที่ 10 มีนาคม มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ จะจัดพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ให้เกียรติเป็นประธาน โดยมีนายเตช บุนนาค ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ และประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิฯ และผู้แทนจากศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ร่วมงาน
ตามที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือที่เรียกว่าอนุสัญญาออตตาวาซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 อนุสัญญาดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องเก็บกู้ทุ่นระเบิดทั้งหมดทั่วประเทศภายในปี 2556
การดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา เป็นไปอย่างล่าช้าและเก็บกู้ได้เพียง 50 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของพื้นที่สงสัยว่าเป็นทุ่นระเบิดทั่วทั้งประเทศ ที่มีประมาณ 2,500 ตารางกิโลเมตร ดังนั้น ในปี 2550 มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน หรือ MOM จึงร่วมมือกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ หรือ TMAC กำหนดแนวทางในการสำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดให้ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ทุ่นระเบิดทั่วประเทศน้อยลง และช่วยให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติสามารถเก็บกู้ได้ง่ายและเสร็จเร็วขึ้น
จึงเป็นที่มาของโครงการสำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดแบบบูรณาการด้านชายแดนกัมพูชา ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก Japan–ASEAN Integrated Fund : JAIF โดยผ่านความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกอาเซียน โครงการนี้มีระยะเวลาทั้งสิ้น 2 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 – ตุลาคม 2552 ครอบคลุมพื้นที่ใน 7 จังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ทั้งนี้ วันที่ 10 มีนาคม มูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ จะจัดพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ให้เกียรติเป็นประธาน โดยมีนายเตช บุนนาค ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ และประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิฯ และผู้แทนจากศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ร่วมงาน