ตราด - จังหวัดตราดร่วมกับมูลนิธิลุ่มน้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเก็บวัตถุระเบิดตามตะเข็บชายแดนไทยกัมพูชา ด้านจังหวัดตราดให้ทันปี 52 ตาม อนุสัญญา Ottawa
นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ทางจังหวัดตราดได้หารือร่วมกับมูลนิธิลุ่มน้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน นำโดยนางสาวสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล เลขาธิการมูลนิธิฯ เพื่อรับทราบข้อมูลในการเตรียมดำเนินการเก็บกู้วัตถุระเบิดตามตะเข็บชายแดนไทยกัมพูชาด้านจังหวัดตราด
เนื่องจากทางมูลนิธิลุ่มน้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนได้รับมอบหมายจากศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ในการดำเนินโครงการปรับลดพื้นที่สงสัยทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา แบบบูรณาการ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินการจาก Japan-ASEAN Integrated Fund : JAIF ของประเทศญี่ปุ่น ผ่านทางกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
ซึ่งจะเป็นการดำเนินการเก็บกู้วัตถุระเบิดให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2552 ตามอนุสัญญา Ottawa
ทั้งนี้ มูลนิธิลุ่มน้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนจะได้เริ่มทำการลงพื้นที่จังหวัดตราดก่อนเป็นพื้นที่แรก โดยจะเริ่มที่ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ ก่อน พร้อมทั้งจะมีการเปิดตัวโครงการนี้ที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว บ้านหมื่นด่าน อำเภอบ่อไร่ ในวันที่ 10 มีนาคมนี้ โดยมีนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ร่วมให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ
นายแก่นเพชร เผยต่อว่า ได้รับรายงานว่า ที่ผ่านมาทางมูลนิธิได้ทำการสำรวจภาคสนามในเบื้องต้นพบว่า โดยรอบของน้ำตกคลองแก้วนับว่าเป็นพื้นที่ๆ เก็บกู้วัตถุระเบิดยากที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าเขาสูง และมีน้ำตกหลายชั้น ประกอบกับบริเวณดังกล่าวเป็นสนามทุ่นระเบิดเก่าที่เคยเป็นที่ตั้งของกองทัพตั้งอยู่ จึงมีจำนวนทุ่นระเบิดเก่าอยู่ค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม ในจุดดังกล่าวก็จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าใช้พื้นที่อย่างปลอดภัย
สำหรับการดำเนินการเก็บกู้วัตถุระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตามโครงการนี้จะเริ่มที่จังหวัดตราดก่อนจากนั้นจะเข้าดำเนินการในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีต่อไป โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 2 ปี
นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ทางจังหวัดตราดได้หารือร่วมกับมูลนิธิลุ่มน้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน นำโดยนางสาวสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล เลขาธิการมูลนิธิฯ เพื่อรับทราบข้อมูลในการเตรียมดำเนินการเก็บกู้วัตถุระเบิดตามตะเข็บชายแดนไทยกัมพูชาด้านจังหวัดตราด
เนื่องจากทางมูลนิธิลุ่มน้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนได้รับมอบหมายจากศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ในการดำเนินโครงการปรับลดพื้นที่สงสัยทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา แบบบูรณาการ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินการจาก Japan-ASEAN Integrated Fund : JAIF ของประเทศญี่ปุ่น ผ่านทางกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
ซึ่งจะเป็นการดำเนินการเก็บกู้วัตถุระเบิดให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2552 ตามอนุสัญญา Ottawa
ทั้งนี้ มูลนิธิลุ่มน้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนจะได้เริ่มทำการลงพื้นที่จังหวัดตราดก่อนเป็นพื้นที่แรก โดยจะเริ่มที่ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ ก่อน พร้อมทั้งจะมีการเปิดตัวโครงการนี้ที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว บ้านหมื่นด่าน อำเภอบ่อไร่ ในวันที่ 10 มีนาคมนี้ โดยมีนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ร่วมให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ
นายแก่นเพชร เผยต่อว่า ได้รับรายงานว่า ที่ผ่านมาทางมูลนิธิได้ทำการสำรวจภาคสนามในเบื้องต้นพบว่า โดยรอบของน้ำตกคลองแก้วนับว่าเป็นพื้นที่ๆ เก็บกู้วัตถุระเบิดยากที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าเขาสูง และมีน้ำตกหลายชั้น ประกอบกับบริเวณดังกล่าวเป็นสนามทุ่นระเบิดเก่าที่เคยเป็นที่ตั้งของกองทัพตั้งอยู่ จึงมีจำนวนทุ่นระเบิดเก่าอยู่ค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม ในจุดดังกล่าวก็จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าใช้พื้นที่อย่างปลอดภัย
สำหรับการดำเนินการเก็บกู้วัตถุระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตามโครงการนี้จะเริ่มที่จังหวัดตราดก่อนจากนั้นจะเข้าดำเนินการในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีต่อไป โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 2 ปี