ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ –ประธานสภาอุตสาหกรรมลำพูนวอนภาครัฐ จัดวางผังเมืองให้เชื่อมโยงกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในลำพูน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการลงทุนเพิ่มขึ้นตามยุทธศาสตร์ ของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 ด้านแรงงานในนิคมฯเริ่มไม่มั่นใจ เหตุเศรษฐกิจโลกหวั่นนายจ้างปิดโรงงานแบบไม่ทันตั้งตัว
นายมนัส เกียรติเจริญวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมลำพูน เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 ได้เรียกภาคเอกชนร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรมและสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันของพื้นที่ภาคเหนือตอนบน บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม โดยเริ่มที่จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดแรก
ทั้งนี้ ได้มีการแสดงความคิดเห็นกันหลากหลายทัศนะ แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีการเสนอแนวคิดไปในทิศทางเดียวกันคือ เน้นไปที่การวางผังเมืองในแต่ละจุดในแต่ละพื้นที่ จะต้องเน้นให้เชื่อมโยงกับพื้นฐานของโครงข่ายที่เชื่อมโยงกับการผลิตและการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมลำพูนเป็นหลักใหญ่ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะมีการศึกษาในขั้นตอนต่อไป
นายมนัส กล่าวต่อว่า สำหรับภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ของนิคมอุตสาหกรรมลำพูน อยู่ในภาวะที่ชะลอตัวมาระยะหนึ่งแล้วซึ่งสาเหตุปัจจัยหลักก็มาจากเศรษฐกิจโลก และปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน โดยการจะฟื้นฟูแก้ไขให้มีการลงทุนและภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นคงจะต้องใช้เวลา เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อการลงทุนและรายได้ของแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติแทบทั้งสิ้น
ส่วนการลงทุนในนิคมฯเอง ขณะนี้ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้อีกแล้ว นอกจากการหันมาดูแลในเรื่องรายละเอียดของการจัดวางผังเมืองใหม่เพื่อเป็นการรองรับการขยายพื้นที่ของนิคมฯให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการวางแผนเพื่อรองรับในอนาคต เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นแล้วก็เชื่อว่า ประเทศไทยและภาคเหนือจะยังคงมีศักยภาพที่ดีและเป็นที่น่าลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้จนถึงสิ้นปี 2551 คาดว่าจะไม่มีการลงทุนเกิดขึ้นง่าย ๆ หากไม่มีการจัดวางผังเมืองใหม่ จึงต้องการให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการเรื่องผังเมืองให้ชัดเจน เพื่อรองรับการลงทุนใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังต้องการให้มีการเชื่อมโยงถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากบริษัทใหญ่ในนิคมฯสู่ผู้ประกอบการรายย่อยนอกนิคมฯ เพื่อเพิ่มการจ้างงานซึ่งเป็นการลดปัญหาการว่างงานไปในตัวด้วย
“เท่าที่ผ่านมาเชื่อว่าผู้ประกอบการนอกนิคมฯลำพูนได้รับผลกระทบมากจากภาวะเศรษฐกิจชะงักตัว อันเนื่องมาจาก ปัญหาการเมืองบวกกับปัญหาเศรษฐกิจโลก จึงหวังว่าปลายปีนี้ปัญหาการเมืองจะคลี่คลายดีขึ้น ส่งผลดีต่อการส่งเสริมการลงทุนในภาพรวมของประเทศและลำพูน”
จากการสอบถามผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานตามโรงงานต่าง ๆ ปรากฏว่าในหลายโรงงานพูดในทำนองเดียวกันว่า ขณะนี้แรงงานในหลายโรงงานเกิดความไม่มั่นใจต่อความมั่นคงของแต่ละโรงงานในนิคมฯลำพูน เนื่องจากบางแห่งเริ่มปลดพนักงานบางส่วน โดยเฉพาะแผนกที่เกี่ยวกับสายงานด้านการผลิต ที่เน้นการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เนื่องจากมีการระงับออเดอร์ของปี2552 ไปบางส่วนแล้ว ที่กำลังผลิตกันอยู่ในขณะนี้ก็เป็นเพียงออเดอร์ ที่ยังผลิตไม่เสร็จเท่านั้น
บางโรงงานก็เริ่มเรียกพนักงานบางส่วนทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรงงาน ว่าจะสามารถอยู่ได้ในระยะเวลาเท่าใด และให้พนักงานเตรียมใจหรือเตรียมมองหาลู่ทางเพื่อไปสมัครงานที่อื่นเอาไว้แล้ว
นอกจากนี้ยังได้มีการแจ้งแก่พนักงานอีกว่า ให้ลดเวลาการทำงานในส่วนของโอทีลงไม่ต่ำกว่า 10-20 %ของแต่ละวัน ทำให้รายได้บางส่วนของพนักงานต้องลดลงไปด้วย
“จริง ๆ แล้วตอนนี้พนักงานในหลายแผนกของแต่ละบริษัท ก็มักจะจับกลุ่มคุยกันอยู่แล้วว่า มีบริษัทส่งออกบางแห่งเริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกบ้างแล้วถึงได้มีปฏิกิริยาเช่นนี้ออกมา แต่พนักงานส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ประมาทในแง่ของการใช้เงิน เพราะเคยมีประสบการณ์เช่นนี้กันมาแล้ว แต่จะได้รับผลกระทบบ้างก็จะเป็นกลุ่มที่เพิ่งผ่อนบ้านผ่อนรถเท่านั้นที่หวั่น ๆ กับสถานการณ์เช่นนี้”กลุ่มพนักงานกล่าว
นายมนัส เกียรติเจริญวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมลำพูน เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 ได้เรียกภาคเอกชนร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรมและสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันของพื้นที่ภาคเหนือตอนบน บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม โดยเริ่มที่จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดแรก
ทั้งนี้ ได้มีการแสดงความคิดเห็นกันหลากหลายทัศนะ แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีการเสนอแนวคิดไปในทิศทางเดียวกันคือ เน้นไปที่การวางผังเมืองในแต่ละจุดในแต่ละพื้นที่ จะต้องเน้นให้เชื่อมโยงกับพื้นฐานของโครงข่ายที่เชื่อมโยงกับการผลิตและการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมลำพูนเป็นหลักใหญ่ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะมีการศึกษาในขั้นตอนต่อไป
นายมนัส กล่าวต่อว่า สำหรับภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ของนิคมอุตสาหกรรมลำพูน อยู่ในภาวะที่ชะลอตัวมาระยะหนึ่งแล้วซึ่งสาเหตุปัจจัยหลักก็มาจากเศรษฐกิจโลก และปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน โดยการจะฟื้นฟูแก้ไขให้มีการลงทุนและภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นคงจะต้องใช้เวลา เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อการลงทุนและรายได้ของแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติแทบทั้งสิ้น
ส่วนการลงทุนในนิคมฯเอง ขณะนี้ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้อีกแล้ว นอกจากการหันมาดูแลในเรื่องรายละเอียดของการจัดวางผังเมืองใหม่เพื่อเป็นการรองรับการขยายพื้นที่ของนิคมฯให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการวางแผนเพื่อรองรับในอนาคต เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นแล้วก็เชื่อว่า ประเทศไทยและภาคเหนือจะยังคงมีศักยภาพที่ดีและเป็นที่น่าลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้จนถึงสิ้นปี 2551 คาดว่าจะไม่มีการลงทุนเกิดขึ้นง่าย ๆ หากไม่มีการจัดวางผังเมืองใหม่ จึงต้องการให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการเรื่องผังเมืองให้ชัดเจน เพื่อรองรับการลงทุนใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังต้องการให้มีการเชื่อมโยงถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากบริษัทใหญ่ในนิคมฯสู่ผู้ประกอบการรายย่อยนอกนิคมฯ เพื่อเพิ่มการจ้างงานซึ่งเป็นการลดปัญหาการว่างงานไปในตัวด้วย
“เท่าที่ผ่านมาเชื่อว่าผู้ประกอบการนอกนิคมฯลำพูนได้รับผลกระทบมากจากภาวะเศรษฐกิจชะงักตัว อันเนื่องมาจาก ปัญหาการเมืองบวกกับปัญหาเศรษฐกิจโลก จึงหวังว่าปลายปีนี้ปัญหาการเมืองจะคลี่คลายดีขึ้น ส่งผลดีต่อการส่งเสริมการลงทุนในภาพรวมของประเทศและลำพูน”
จากการสอบถามผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานตามโรงงานต่าง ๆ ปรากฏว่าในหลายโรงงานพูดในทำนองเดียวกันว่า ขณะนี้แรงงานในหลายโรงงานเกิดความไม่มั่นใจต่อความมั่นคงของแต่ละโรงงานในนิคมฯลำพูน เนื่องจากบางแห่งเริ่มปลดพนักงานบางส่วน โดยเฉพาะแผนกที่เกี่ยวกับสายงานด้านการผลิต ที่เน้นการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เนื่องจากมีการระงับออเดอร์ของปี2552 ไปบางส่วนแล้ว ที่กำลังผลิตกันอยู่ในขณะนี้ก็เป็นเพียงออเดอร์ ที่ยังผลิตไม่เสร็จเท่านั้น
บางโรงงานก็เริ่มเรียกพนักงานบางส่วนทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรงงาน ว่าจะสามารถอยู่ได้ในระยะเวลาเท่าใด และให้พนักงานเตรียมใจหรือเตรียมมองหาลู่ทางเพื่อไปสมัครงานที่อื่นเอาไว้แล้ว
นอกจากนี้ยังได้มีการแจ้งแก่พนักงานอีกว่า ให้ลดเวลาการทำงานในส่วนของโอทีลงไม่ต่ำกว่า 10-20 %ของแต่ละวัน ทำให้รายได้บางส่วนของพนักงานต้องลดลงไปด้วย
“จริง ๆ แล้วตอนนี้พนักงานในหลายแผนกของแต่ละบริษัท ก็มักจะจับกลุ่มคุยกันอยู่แล้วว่า มีบริษัทส่งออกบางแห่งเริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกบ้างแล้วถึงได้มีปฏิกิริยาเช่นนี้ออกมา แต่พนักงานส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ประมาทในแง่ของการใช้เงิน เพราะเคยมีประสบการณ์เช่นนี้กันมาแล้ว แต่จะได้รับผลกระทบบ้างก็จะเป็นกลุ่มที่เพิ่งผ่อนบ้านผ่อนรถเท่านั้นที่หวั่น ๆ กับสถานการณ์เช่นนี้”กลุ่มพนักงานกล่าว