รอยเตอร์ –จอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีนักปั่นเงินชื่อก้องโลกที่ร่ำรวยมหาศาลจาก “กองทุนเฮดจ์ฟันด์” ออกมาประกาศว่าวิกฤตการเงินโลกจะส่งผลให้อุตสาหกรรมเฮดจ์ฟันด์หดตัวลงจนอาจจะเหลือเพียงหนึ่งในสามของขนาดในปัจจุบัน
“อุตสาหกรรมเฮดจ์ฟันด์กำลังจะเข้าสู่ช่วงปรับฐานเสียใหม่” โซรอส หนึ่งในผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์คนแรกๆ ของโลก และจนกระทั่งเวลานี้ก็ยังคงเป็นผู้จัดการกองทุนประเภทนี้ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด กล่าวที่แมซซาชูเซตต์ อินสติติว ออฟ เทคโนโลยี (เอ็มไอที) เมื่อวันอังคาร (28)
“ผมคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมนี้จะต้องหดเล็กลงราวครึ่งหนึ่งหรือกระทั่งสองในสามของขนาดปัจจุบัน” โซรอสกล่าว แต่เขาก็ไม่ได้บอกว่าที่พูดถึงเป็นมูลค่าของเม็ดเงินหรือเป็นจำนวนของกองทุนที่จะลดลง
ตอนนี้บรรดาอัครมหาเศรษฐีทั้งหลายที่เคยนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่แทบไม่มีการควบคุมกำกับตรวจสอบใด ๆ จนทำให้กองทุนราวหนึ่งหมื่นแห่งทั่วโลกมีเม็ดเงินอยู่ถึง 1,900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นพากันถอนเม็ดเงินออกไปเพราะกลัวว่าอุตสาหกรรมนี้จะล้มละลาย
เขาชี้ว่า เพื่อทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ บรรดาหน่วยงานคุมกฎทั้งหลายควรที่จะเข้าไปกำกับตรวจสอบตลาดสินเชื่อด้วย ซึ่งนั่นจะทำให้ธุรกิจบริการทางการเงินในบางลักษณะมีผลกำไรลดน้อยลง
“คุณจะต้องจัดระเบียบเรื่องสินเชื่อด้วยเช่นเดียวกับเรื่องเงิน และนั่นย่อมจะต้องมีการออกระเบียบกฎเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น” เขากล่าวต่อ “ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ธุรกิจการเงินจะไม่สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างที่ธุรกิจนี้เคยทำในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาอีกต่อไปแล้ว”
โซรอสซึ่งเป็นคนแรก ๆในอุตสาหกรรมการเงินที่ออกมาบอกว่าจะเกิดการล้มละลายอย่างรุนแรงขึ้นเมื่อปัญหาในธุรกิจสินเชื่อเริ่มปรากฎใหม่ ๆ ได้พูดที่เอ็มไอทีคราวนี้ว่า ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา บริษัทภาคการเงินนั้นสร้างกำไรเป็นสัดส่วนถึง 40% ของการทำกำไรทั้งหมดของบริษัทในสหรัฐฯ “และภาวะการทำกำไรได้สูงเช่นนั้นจะไม่หวนคืนมาอีกแล้ว” โซรอสบอก “การกำกับดูแลจะทำให้ธุรกิจหลายประเภทไม่สามารถทำกำไรได้เลย โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการความเสี่ยงสูงมากอย่างระบบคานดีด ไม่สามารถจะขยับอะไรได้มากนักภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวดนี้”
พ่อมดการเงินวัย 78 ปีกล่าวอีกว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟควรจะเข้ามาปกป้องตลาดของประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่เอาไว้ มิเช่นนั้นวิกฤตการเงินโลกจะไม่มีทางยุติลงไปได้
“ไอเอ็มเอฟมีภาระหน้าที่ใหม่ ซึ่งก็คือจะต้องเข้าไปป้องกันบริเวณข้างเคียงมิให้ได้รับผลกระทบจากศูนย์กลางของพายุ” โซรอสกล่าว โดยที่ศูนย์กลางพายุหมายถึงสหรัฐฯและประเทศตะวันตกที่เป็นศูนย์กลางของปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรงในโลก
“ยกเว้นแต่ว่าเวลานี้สหรัฐฯจะมีความพยายามจริงๆ ที่จะนำพานานาประเทศในปฏิบัติการเพื่อสร้างเสถียรภาพของระบบเอาไว้ ซึ่งก็รวมทั้งประเทศที่อยู่รอบนอกของพายุด้วย ไม่เช่นนั้น (คือถ้าไม่ช่วยประเทศรอบนอกด้วย) ผมก็ไม่คิดว่าระบบจะเดินหน้าต่อไปได้”
โซรอสยังได้กล่าวอีกว่าเขาไม่คิดว่ารัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชจะออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ พ่อมดการเงินซึ่งเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตตัวยงบอกว่า “ผมไม่คาดคิดมาก่อนเลยว่าประธานาธิบดีคนปัจจุบันจะออกมาเดินหน้าเรื่องนี้ ผมกลับคิดว่าประธานาธิบดีคนต่อไปจะต้องสนใจเรื่องนี้อย่างยิ่ง เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น ระบบจะไม่เดินหน้าต่อไป เนื่องจากจะมีระบบใหม่ขึ้นมาแทนที่ และสหรัฐฯจะไม่มีอิทธิพลเหนือระบบใหม่อย่างที่มีอยู่ทุกวันนี้”
“อุตสาหกรรมเฮดจ์ฟันด์กำลังจะเข้าสู่ช่วงปรับฐานเสียใหม่” โซรอส หนึ่งในผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์คนแรกๆ ของโลก และจนกระทั่งเวลานี้ก็ยังคงเป็นผู้จัดการกองทุนประเภทนี้ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด กล่าวที่แมซซาชูเซตต์ อินสติติว ออฟ เทคโนโลยี (เอ็มไอที) เมื่อวันอังคาร (28)
“ผมคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมนี้จะต้องหดเล็กลงราวครึ่งหนึ่งหรือกระทั่งสองในสามของขนาดปัจจุบัน” โซรอสกล่าว แต่เขาก็ไม่ได้บอกว่าที่พูดถึงเป็นมูลค่าของเม็ดเงินหรือเป็นจำนวนของกองทุนที่จะลดลง
ตอนนี้บรรดาอัครมหาเศรษฐีทั้งหลายที่เคยนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่แทบไม่มีการควบคุมกำกับตรวจสอบใด ๆ จนทำให้กองทุนราวหนึ่งหมื่นแห่งทั่วโลกมีเม็ดเงินอยู่ถึง 1,900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นพากันถอนเม็ดเงินออกไปเพราะกลัวว่าอุตสาหกรรมนี้จะล้มละลาย
เขาชี้ว่า เพื่อทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ บรรดาหน่วยงานคุมกฎทั้งหลายควรที่จะเข้าไปกำกับตรวจสอบตลาดสินเชื่อด้วย ซึ่งนั่นจะทำให้ธุรกิจบริการทางการเงินในบางลักษณะมีผลกำไรลดน้อยลง
“คุณจะต้องจัดระเบียบเรื่องสินเชื่อด้วยเช่นเดียวกับเรื่องเงิน และนั่นย่อมจะต้องมีการออกระเบียบกฎเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น” เขากล่าวต่อ “ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ธุรกิจการเงินจะไม่สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างที่ธุรกิจนี้เคยทำในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาอีกต่อไปแล้ว”
โซรอสซึ่งเป็นคนแรก ๆในอุตสาหกรรมการเงินที่ออกมาบอกว่าจะเกิดการล้มละลายอย่างรุนแรงขึ้นเมื่อปัญหาในธุรกิจสินเชื่อเริ่มปรากฎใหม่ ๆ ได้พูดที่เอ็มไอทีคราวนี้ว่า ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา บริษัทภาคการเงินนั้นสร้างกำไรเป็นสัดส่วนถึง 40% ของการทำกำไรทั้งหมดของบริษัทในสหรัฐฯ “และภาวะการทำกำไรได้สูงเช่นนั้นจะไม่หวนคืนมาอีกแล้ว” โซรอสบอก “การกำกับดูแลจะทำให้ธุรกิจหลายประเภทไม่สามารถทำกำไรได้เลย โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการความเสี่ยงสูงมากอย่างระบบคานดีด ไม่สามารถจะขยับอะไรได้มากนักภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวดนี้”
พ่อมดการเงินวัย 78 ปีกล่าวอีกว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟควรจะเข้ามาปกป้องตลาดของประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่เอาไว้ มิเช่นนั้นวิกฤตการเงินโลกจะไม่มีทางยุติลงไปได้
“ไอเอ็มเอฟมีภาระหน้าที่ใหม่ ซึ่งก็คือจะต้องเข้าไปป้องกันบริเวณข้างเคียงมิให้ได้รับผลกระทบจากศูนย์กลางของพายุ” โซรอสกล่าว โดยที่ศูนย์กลางพายุหมายถึงสหรัฐฯและประเทศตะวันตกที่เป็นศูนย์กลางของปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรงในโลก
“ยกเว้นแต่ว่าเวลานี้สหรัฐฯจะมีความพยายามจริงๆ ที่จะนำพานานาประเทศในปฏิบัติการเพื่อสร้างเสถียรภาพของระบบเอาไว้ ซึ่งก็รวมทั้งประเทศที่อยู่รอบนอกของพายุด้วย ไม่เช่นนั้น (คือถ้าไม่ช่วยประเทศรอบนอกด้วย) ผมก็ไม่คิดว่าระบบจะเดินหน้าต่อไปได้”
โซรอสยังได้กล่าวอีกว่าเขาไม่คิดว่ารัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชจะออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ พ่อมดการเงินซึ่งเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตตัวยงบอกว่า “ผมไม่คาดคิดมาก่อนเลยว่าประธานาธิบดีคนปัจจุบันจะออกมาเดินหน้าเรื่องนี้ ผมกลับคิดว่าประธานาธิบดีคนต่อไปจะต้องสนใจเรื่องนี้อย่างยิ่ง เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น ระบบจะไม่เดินหน้าต่อไป เนื่องจากจะมีระบบใหม่ขึ้นมาแทนที่ และสหรัฐฯจะไม่มีอิทธิพลเหนือระบบใหม่อย่างที่มีอยู่ทุกวันนี้”