ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า “ส.ส.ร. 3” นั้นหากเป็นช่วงก่อนวันที่ 3 ตุลาคม 2551 แม้จะมีความไม่ถูกต้องไม่ชอบธรรมอยู่อย่างน้อย 2 – 3 ประเด็น แต่ก็ยังพอที่จะอภิปรายถึงผลดีผลเสียกันได้เพราะอยู่ในบรรยากาศที่รัฐบาลแสร้งหลอกลวงว่าจะเปิดการเจรจา ยังไม่มีการจับกุม ยังไม่มีการบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับ คปพร. ของ นพ.เหวง โตจิราการ เข้าไปคาไว้ในระเบียบวาระการประชุมของรัฐสภา
แต่วันนี้ ส.ส.ร. 3 ก้าวเข้ามาสู่ระยะที่ 3 ตามที่ผมได้จำแนกไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ส.ส.ร. 3 ณ วันนี้จึงมีสารรูปที่พอสรุปได้ว่า
2 หลอกลวง, 2 แบล็กเมล์ และ 5 ไม่ชอบธรรม !
ที่จริงผมเตรียมจะอภิปรายเรื่องนี้ในวุฒิสภาเมื่อวันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม 2551 ในวาระอื่น ๆ ที่ยกเรื่องนี้และเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 ขึ้นมาหารือกัน โดยเหลือคิวอภิปรายอยู่ก่อนหน้าอีกเพียง 2 – 3 ท่าน ถ้าไม่มีการชิงขอปิดอภิปรายและขอนับองค์ประชุมเสียก่อนโดยคุณเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี ก็คงจะได้อภิปรายในเวลาประมาณสักไม่เกินห้าโมงเย็น อุตส่าห์ใจเย็นขอร้องวิงวอนท่านด้วยความนอบน้อมแล้ว ก็ไม่เป็นผล
จะรอไว้อภิปรายในวาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม – ไม่สัปดาห์นี้ก็สัปดาห์หน้า - ก็ไม่รู้ว่าเมื่อถึงเวลานั้นจะ “จับสลาก” ได้สิทธิอภิปรายหรือไม่ หรือถ้าฟลุ๊คดวงดีจับสลากได้สิทธิก็คงได้รับจัดสรรเวลาไม่เกิน 10 นาที
อย่ากระนั้นเลย ขอใช้สิทธิ “อภิปรายนอกสภา” ตรงนี้ก่อนก็แล้วกัน
เฉพาะหัวข้อให้เหมาะกับเนื้อที่นะครับ
ที่ว่า “2 หลอกลวง” ก็มีดังนี้
หลอกลวงที่ 1 พยายามแต่งภาพให้เป็นผลงานของ “4 ฝ่าย” คือ รัฐบาล, ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา, ผู้นำฝ่ายค้าน และประธานวุฒิสภา แต่แท้ที่จริงแล้วมีเพียงฝ่ายเดียว เพราะผู้นำฝ่ายค้านถอนตัวก่อน ตามด้วยประธานวุฒิสภา จึงเหลือเพียงรัฐบาลกับพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น รองประธานวุฒิสภาที่เข้าไปนั้นต้องถือว่าหลังจากวันที่ 20 ตุลาคม 2551 หลังจากประธานวุฒิสภาถอนตัว ท่านแสดงออกในนามของสมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่งเท่านั้น
สรุปแล้ว มันก็อีแค่การแปลงตัวอีกครั้งหนึ่งของรัฐบาลเพื่อหลีกเลี่ยงการต่อต้านเท่านั้น หลังจากแปลงตัวมาแล้วหลายครั้ง เช่น แปลงตัวว่าเป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎร รัฐบาลไม่เกี่ยว และแปลงตัวว่าเป็นการร่วมกันเสนอของประชาชนกว่า 50,000 คน รัฐบาลไม่เกี่ยว แต่ก็ถูกจับได้ไล่ทันทุกครั้ง
มาครั้งนี้จึงต้องลากเอานามของ “วุฒิสภา” ไปเป็นดอกไม้ประดับซากศพ !
หลอกลวงที่ 2 พยายามแต่งภาพว่านี่คือการแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองในปัจจุบัน เป็นเวทีแห่งความสมานฉันท์ หรือแม้กระทั่งเป็นเวทีที่จะให้กำเนิดการเมืองใหม่ ทั้ง ๆ แท้ที่จริงมันก็คือจุดหมายดั้งเดิมของรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อลดความเข้มข้นในการควบคุมจริยธรรมของนักการเมือง เพื่อตัดอำนาจของศาลและองค์กรอิสระ และเพื่อช่วยเหลือนายเหนือหัวให้มีโอกาสต่อสู้คดีความ
ที่ว่า “2 แบล็กเมล์” ก็มีรายละเอียดดังนี้
แบล็กเมล์ที่ 1 บอกว่าถ้าเกิด ส.ส.ร. 3 แล้ว รัฐบาลจะตัดสินใจทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการยุบสภา คนที่เกลียดขี้หน้ารัฐบาลก็อาจจะหลงในมายาภาพ คิดเสียว่ายอมให้เกิดส.ส.ร. 3 ไปก่อนคงไม่เสียหายอะไร
แบล็กเมล์ที่ 2 บอกว่าถ้าไม่รับ ส.ส.ร. 3 ก็ต้องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับ คปพร. ของ นพ.เหวง โตจิราการ ซึ่งก็คือการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับแล้วเอาฉบับ 2540 มาใส่ไว้แทน แถมยังไม่มีบทเฉพาะกาลรับรองสถานะคณะองคมนตรีชุดปัจจุบัน
แบล็กเมล์ทั้ง 2 ลักษณะนี้ก็อย่างที่ผมเขียนไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วแหละว่านี่เป็นการจับเอาความเกลียดชังไม่ยอมรับรัฐบาลหุ่นเชิดชุดนี้เป็นตัวประกันโดยมีกำแพงกั้นไว้ถึง 2 ชั้น บังคับให้ประชาชน “อยู่ระหว่างเขาควาย” ที่ต้องเลือกเอาระหว่าง “ความเลวร้าย 2 อย่าง” โดยคิดว่าประชาชนจะตกอยู่ในมายาภาพ จำยอมต้องเลือกเอา “ความเลวร้ายที่น้อยกว่า” ซึ่ง ณ ที่นี้คือ ส.ส.ร. 3
และที่ว่า “5 ไม่ชอบธรรม” ก็มีประเด็นหลัก ๆ ตั้งไว้ได้ดังนี้
ไม่ชอบธรรมที่ 1 การร่างรัฐธรรมนูญใหม่จำเป็นจะต้องกำหนด “เป้าหมาย” เป็นปฐม ไม่ใช่มาเริ่มที่ “วิธีการ” เรื่องนี้ต้องพูดกันยาว แต่ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าในกรณี “ส.ส.ร. 1” เมื่อปี 2539 – 2540 นั้นไม่ใช่จู่ ๆ ก็เกิดขึ้นมา แต่มีพื้นฐานมาจากวิกฤตรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2537 ที่ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร อดข้าวประท้วง แล้วเกิดคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย หรือ “คพป.” ชุด ศ.นพ.ประเวศ วะสี ขึ้นมาทำหน้าที่วาดเค้าโครงของการเมืองใหม่ให้เห็นก่อน ถ้าจะดำเนินรอยตามนั้น ก็ต้องตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการเมืองขึ้นมาศึกษาวิเคราะหืแลบะสังเคราะห์ให้เห็นภาพรวมของสังคมการเมืองใหม่ที่ควรจะเป็นเสียก่อน
ไม่ชอบธรรมที่ 2 วิธีการแบบ ส.ส.ร. ไม่อาจหลีกเลี่ยงตัวแทนของรัฐบาล ที่จะผ่านเข้ามาทั้งทางตัวแทน 76 จังหวัด และตัวแทนนักวิชาการนักบริหาร 3 สาขา การร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาฯที่มีคน 120 คนแบบนี้โดยไม่มีภาพเค้าโครงให้เห็นเป้าหมายอยู่ก่อน และโดยเอาคนหลากหลากเผ่าพันธุ์เข้ามา ผิดหลักการร่างรัฐธรรมนูญทั่วโลก ในที่สุดก็จะได้ “แกงโฮะ” หม้อใหม่
ไม่ชอบธรรมที่ 3 เป็นการเบี่ยงเบนประเด็นที่รัฐบาลจะต้องแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองทันทีจากการก่ออาชญากรรม 7 ตุลาคม 2551 มาเป็นการปฏิรูปการเมือง ที่รัฐบาลชุดนี้ไม่เคยมีวิสัยทัศน์มาก่อน
ไม่ชอบธรรมที่ 4 เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับ ด้วยการเขียนขึ้นมาใหม่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ปรากฎว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้บกพร่องอะไรชัดเจน นอกจากมีผลกระทบต่อนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลเท่านั้น อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่งก็ไม่ผิด
ไม่ชอบธรรมที่ 5 เป็นการนำภาพลักษณ์ของวุฒิสภาที่ยังดูไม่เลวร้ายนัก เข้ามาตกแต่งซากศพของนักการเมืองที่เป็นรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องด้วย ประธานวุฒิสภาเมื่อได้ตระหนักในความเป็นจริงก็ได้ถอนตัวออกมาแล้ว แต่กระบวนการนี้ยังไม่จบ น่าเชื่อได้ว่าคงมีการเข้ามาบริหารจัดการบางประการตามความถนัดเดิม ๆ ในวุฒิสภาบ้างแล้วในบางระดับ ความปั่นป่วนในวุฒิสภาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2551 ที่มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงออกมาโดยไม่อำพราง คือ “ปรากฎการณ์” ที่ชวนให้น่าเชื่อเช่นนั้น
ครับ นี่ก็เป็นประเด็นที่จดไว้คร่าว ๆ สำหรับเตรียมการอภิปราย ถ้าได้อภิปรายจริงคงมีรายละเอียดเพิ่มเติมให้พอเหมาะกับเวลา
การเมืองในมุมมองของผมนั้น ด้านหนึ่งเป็นเรื่องของ “ภาพรวม” ไม่ใช่ “เฉพาะจุด” อีกด้านหนึ่งมีลักษณะ “เคลื่อนไหว” ไม่ “หยุดนิ่ง” !
...ขณะนี้...เคลื่อนไหวเร็วมาก !!
แต่วันนี้ ส.ส.ร. 3 ก้าวเข้ามาสู่ระยะที่ 3 ตามที่ผมได้จำแนกไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ส.ส.ร. 3 ณ วันนี้จึงมีสารรูปที่พอสรุปได้ว่า
2 หลอกลวง, 2 แบล็กเมล์ และ 5 ไม่ชอบธรรม !
ที่จริงผมเตรียมจะอภิปรายเรื่องนี้ในวุฒิสภาเมื่อวันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม 2551 ในวาระอื่น ๆ ที่ยกเรื่องนี้และเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 ขึ้นมาหารือกัน โดยเหลือคิวอภิปรายอยู่ก่อนหน้าอีกเพียง 2 – 3 ท่าน ถ้าไม่มีการชิงขอปิดอภิปรายและขอนับองค์ประชุมเสียก่อนโดยคุณเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี ก็คงจะได้อภิปรายในเวลาประมาณสักไม่เกินห้าโมงเย็น อุตส่าห์ใจเย็นขอร้องวิงวอนท่านด้วยความนอบน้อมแล้ว ก็ไม่เป็นผล
จะรอไว้อภิปรายในวาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม – ไม่สัปดาห์นี้ก็สัปดาห์หน้า - ก็ไม่รู้ว่าเมื่อถึงเวลานั้นจะ “จับสลาก” ได้สิทธิอภิปรายหรือไม่ หรือถ้าฟลุ๊คดวงดีจับสลากได้สิทธิก็คงได้รับจัดสรรเวลาไม่เกิน 10 นาที
อย่ากระนั้นเลย ขอใช้สิทธิ “อภิปรายนอกสภา” ตรงนี้ก่อนก็แล้วกัน
เฉพาะหัวข้อให้เหมาะกับเนื้อที่นะครับ
ที่ว่า “2 หลอกลวง” ก็มีดังนี้
หลอกลวงที่ 1 พยายามแต่งภาพให้เป็นผลงานของ “4 ฝ่าย” คือ รัฐบาล, ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา, ผู้นำฝ่ายค้าน และประธานวุฒิสภา แต่แท้ที่จริงแล้วมีเพียงฝ่ายเดียว เพราะผู้นำฝ่ายค้านถอนตัวก่อน ตามด้วยประธานวุฒิสภา จึงเหลือเพียงรัฐบาลกับพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น รองประธานวุฒิสภาที่เข้าไปนั้นต้องถือว่าหลังจากวันที่ 20 ตุลาคม 2551 หลังจากประธานวุฒิสภาถอนตัว ท่านแสดงออกในนามของสมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่งเท่านั้น
สรุปแล้ว มันก็อีแค่การแปลงตัวอีกครั้งหนึ่งของรัฐบาลเพื่อหลีกเลี่ยงการต่อต้านเท่านั้น หลังจากแปลงตัวมาแล้วหลายครั้ง เช่น แปลงตัวว่าเป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎร รัฐบาลไม่เกี่ยว และแปลงตัวว่าเป็นการร่วมกันเสนอของประชาชนกว่า 50,000 คน รัฐบาลไม่เกี่ยว แต่ก็ถูกจับได้ไล่ทันทุกครั้ง
มาครั้งนี้จึงต้องลากเอานามของ “วุฒิสภา” ไปเป็นดอกไม้ประดับซากศพ !
หลอกลวงที่ 2 พยายามแต่งภาพว่านี่คือการแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองในปัจจุบัน เป็นเวทีแห่งความสมานฉันท์ หรือแม้กระทั่งเป็นเวทีที่จะให้กำเนิดการเมืองใหม่ ทั้ง ๆ แท้ที่จริงมันก็คือจุดหมายดั้งเดิมของรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อลดความเข้มข้นในการควบคุมจริยธรรมของนักการเมือง เพื่อตัดอำนาจของศาลและองค์กรอิสระ และเพื่อช่วยเหลือนายเหนือหัวให้มีโอกาสต่อสู้คดีความ
ที่ว่า “2 แบล็กเมล์” ก็มีรายละเอียดดังนี้
แบล็กเมล์ที่ 1 บอกว่าถ้าเกิด ส.ส.ร. 3 แล้ว รัฐบาลจะตัดสินใจทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการยุบสภา คนที่เกลียดขี้หน้ารัฐบาลก็อาจจะหลงในมายาภาพ คิดเสียว่ายอมให้เกิดส.ส.ร. 3 ไปก่อนคงไม่เสียหายอะไร
แบล็กเมล์ที่ 2 บอกว่าถ้าไม่รับ ส.ส.ร. 3 ก็ต้องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับ คปพร. ของ นพ.เหวง โตจิราการ ซึ่งก็คือการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับแล้วเอาฉบับ 2540 มาใส่ไว้แทน แถมยังไม่มีบทเฉพาะกาลรับรองสถานะคณะองคมนตรีชุดปัจจุบัน
แบล็กเมล์ทั้ง 2 ลักษณะนี้ก็อย่างที่ผมเขียนไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วแหละว่านี่เป็นการจับเอาความเกลียดชังไม่ยอมรับรัฐบาลหุ่นเชิดชุดนี้เป็นตัวประกันโดยมีกำแพงกั้นไว้ถึง 2 ชั้น บังคับให้ประชาชน “อยู่ระหว่างเขาควาย” ที่ต้องเลือกเอาระหว่าง “ความเลวร้าย 2 อย่าง” โดยคิดว่าประชาชนจะตกอยู่ในมายาภาพ จำยอมต้องเลือกเอา “ความเลวร้ายที่น้อยกว่า” ซึ่ง ณ ที่นี้คือ ส.ส.ร. 3
และที่ว่า “5 ไม่ชอบธรรม” ก็มีประเด็นหลัก ๆ ตั้งไว้ได้ดังนี้
ไม่ชอบธรรมที่ 1 การร่างรัฐธรรมนูญใหม่จำเป็นจะต้องกำหนด “เป้าหมาย” เป็นปฐม ไม่ใช่มาเริ่มที่ “วิธีการ” เรื่องนี้ต้องพูดกันยาว แต่ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าในกรณี “ส.ส.ร. 1” เมื่อปี 2539 – 2540 นั้นไม่ใช่จู่ ๆ ก็เกิดขึ้นมา แต่มีพื้นฐานมาจากวิกฤตรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2537 ที่ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร อดข้าวประท้วง แล้วเกิดคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย หรือ “คพป.” ชุด ศ.นพ.ประเวศ วะสี ขึ้นมาทำหน้าที่วาดเค้าโครงของการเมืองใหม่ให้เห็นก่อน ถ้าจะดำเนินรอยตามนั้น ก็ต้องตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการเมืองขึ้นมาศึกษาวิเคราะหืแลบะสังเคราะห์ให้เห็นภาพรวมของสังคมการเมืองใหม่ที่ควรจะเป็นเสียก่อน
ไม่ชอบธรรมที่ 2 วิธีการแบบ ส.ส.ร. ไม่อาจหลีกเลี่ยงตัวแทนของรัฐบาล ที่จะผ่านเข้ามาทั้งทางตัวแทน 76 จังหวัด และตัวแทนนักวิชาการนักบริหาร 3 สาขา การร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาฯที่มีคน 120 คนแบบนี้โดยไม่มีภาพเค้าโครงให้เห็นเป้าหมายอยู่ก่อน และโดยเอาคนหลากหลากเผ่าพันธุ์เข้ามา ผิดหลักการร่างรัฐธรรมนูญทั่วโลก ในที่สุดก็จะได้ “แกงโฮะ” หม้อใหม่
ไม่ชอบธรรมที่ 3 เป็นการเบี่ยงเบนประเด็นที่รัฐบาลจะต้องแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองทันทีจากการก่ออาชญากรรม 7 ตุลาคม 2551 มาเป็นการปฏิรูปการเมือง ที่รัฐบาลชุดนี้ไม่เคยมีวิสัยทัศน์มาก่อน
ไม่ชอบธรรมที่ 4 เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับ ด้วยการเขียนขึ้นมาใหม่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ปรากฎว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้บกพร่องอะไรชัดเจน นอกจากมีผลกระทบต่อนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลเท่านั้น อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่งก็ไม่ผิด
ไม่ชอบธรรมที่ 5 เป็นการนำภาพลักษณ์ของวุฒิสภาที่ยังดูไม่เลวร้ายนัก เข้ามาตกแต่งซากศพของนักการเมืองที่เป็นรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องด้วย ประธานวุฒิสภาเมื่อได้ตระหนักในความเป็นจริงก็ได้ถอนตัวออกมาแล้ว แต่กระบวนการนี้ยังไม่จบ น่าเชื่อได้ว่าคงมีการเข้ามาบริหารจัดการบางประการตามความถนัดเดิม ๆ ในวุฒิสภาบ้างแล้วในบางระดับ ความปั่นป่วนในวุฒิสภาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2551 ที่มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงออกมาโดยไม่อำพราง คือ “ปรากฎการณ์” ที่ชวนให้น่าเชื่อเช่นนั้น
ครับ นี่ก็เป็นประเด็นที่จดไว้คร่าว ๆ สำหรับเตรียมการอภิปราย ถ้าได้อภิปรายจริงคงมีรายละเอียดเพิ่มเติมให้พอเหมาะกับเวลา
การเมืองในมุมมองของผมนั้น ด้านหนึ่งเป็นเรื่องของ “ภาพรวม” ไม่ใช่ “เฉพาะจุด” อีกด้านหนึ่งมีลักษณะ “เคลื่อนไหว” ไม่ “หยุดนิ่ง” !
...ขณะนี้...เคลื่อนไหวเร็วมาก !!