วานนี้ (24 ต.ค.) นายกษิต ภิรมย์ รองนายกรัฐมนตรี (เงา) พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตเอกอัครราชทูตไทย แถลงว่า ภายหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเวลา 2 ปี ในคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก การนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น ก็มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหราชอาณาจักร ร.ศ.103 ซึ่งสำนักอัยการสูงสุด (อสส.) และกระทรวงการต่างประเทศคงได้มีการเตรียมการศึกษาข้อกฎหมาย โดยเฉพาะข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับอังกฤษ รวมถึงข้อกฎหมายของไทย และของอังกฤษ ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า อสส. ต้องรีบดำเนินการแจ้งไปยังรัฐบาลอังกฤษ เพื่อให้พิจารณาส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดีในไทย เพราะเชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ได้มีการปรึกษาหารือถึงเรื่องนี้มานานพอสมควรแล้ว
นายกษิต กล่าวถึง วิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศอังกฤษนั้น เริ่มจากรัฐบาลไทยต้องมีหนังสือถึงรัฐบาลอังกฤษอย่างเป็นทางการ ซึ่งทำได้ด้วย 2 ช่องทาง คือ 1. อสส. แจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศ แล้วกระทรวงการต่างประเทศ อาจจะเชิญเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยมาพบ เพื่อยื่นหนังสือไปถึงรัฐบาลอังกฤษ
2. ส่งเรื่องผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ เพื่อยื่นต่อกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ซึ่งในการยื่นหนังสือต่อทางการอังกฤษนี้ ฝ่ายไทย ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับคดีดังกล่าวให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นฐานความผิด สำนวนฟ้อง และเอกสารประกาศจับที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ
นายกษิต กล่าวว่าเมื่อเรื่องดังกล่าวถูกส่งไปทางการอังกฤษแล้ว ศาลของอังกฤษ จะเป็นผู้วินิจฉัยว่า คดีเกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายของอังกฤษหรือไม่ และถ้าวินิจฉัยว่าเป็นความผิดทางอาญาจริงตามระบบกฎหมายของไทย และของอังกฤษหรือไม่ จากนั้นจะพิจารณาต่อไปว่า เป็นความผิดทางอาญาสามัญ หรือเป็นความผิดทางอาญาการเมือง ซึ่งถ้าเป็นความผิดทางอาญาการเมือง หรือมีเหตุจูงใจทางการเมือง จะถูกชี้ขาดว่า ไม่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ และต้องยุติการส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศไทย เพราะเป็นคดีทางการเมือง แต่ถ้าวินิจฉัยว่าเป็นความผิดทางอาญาสามัญ ก็สามารถพิจารณาส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาได้ ซึ่งศาลอังกฤษจะต้องส่งเรื่องเพื่อหารือกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ว่า จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอหรือไม่ แล้วจึงจะส่งต่อไปวุฒิสภา และรัฐบาลอังกฤษเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตาม อสส. ต้องรีบทำหนังสือผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังรัฐบาลอังกฤษให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
นายกษิต ยอมรับว่าการนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะดูได้จากกรณีที่ทางการเปรู ขอตัวนาย อัลเบอร์โต้ ฟูจิโมริ อดีตประธานาธิบดีเปรู ที่หนีไปยังประเทศญี่ปุ่นและชิลี ซึ่งศาลของชิลี ได้ตัดสินให้ส่งตัวไปขึ้นศาลที่เปรู โดยเรื่องนี้ใช้เวลานานหลายปี หรือกรณีที่นายพล ออกุสโต ปิโนเชต์ อดีตประธานาธิบดีชิลี หนีไปรักษาตัวในประเทศอังกฤษ ซึ่งประเทศสเปนได้ฟ้องไปยังรัฐบาลอังกฤษ และเรื่องผ่านเข้าสู่ศาลยุติธรรม และวุฒิสภาของอังกฤษ จนอนุมัติให้ส่งตัวนายพลปิโนเชต์ กลับไปดำเนินคดีในชิลี แต่นายพลปิโนเชต์ กลับเสียชีวิตไปก่อน โดยกรณีนี้ใช้เวลานานหลายปี เพราะอังกฤษต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
ทั้งนี้ กรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ นั้นต่างจากนายปิ่น จักกะพาก อดีตผู้บริหารบริษัทเงินทุน เอกธนกิจ และนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (บีบีซี) ซึ่งทั้งสองเป็นนักธุรกิจ แต่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ และยังพัวพันกับคดีอาญาจึงเชื่อว่ารัฐบาลอังกฤษคงพิจารณาเรื่องนี้ในทุกด้านอย่างถี่ถ้วน
ทั้งนี้ แม้ในคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการใช้อำนาจมิชอบ หรือผลประโยชน์ทับซ้อนในฐานะที่เป็นนักการเมือง แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในการฆ่าตัดตอนและ คดีกรือเซะ-ตากใบ ที่รัฐบาลไทยสามารถนำไปอ้างอิงในการขอตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาได้ด้วย
**อัยการประชุมล่าตัว "แม้ว"
วันเดียวกันนี้ ที่ห้องประชุมสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก นายถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุด ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเพื่อเตรียมการและดำเนินการขอให้ส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดน ได้ประชุมคณะทำงานประกอบด้วย นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศ และนายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และคณะทำงานกว่า 10 คน โดยมีวาระการประชุม 3 วาระ ประกอบด้วย การแต่งตั้งคณะทำงาน การสรุปคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ และแนวทางการเตรียมการ และดำเนินการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน
หลังการประชุม นายถาวร เปิดเผยว่า ได้หารือในรายละเอียดว่า คณะทำงานจะมีขั้นตอนเตรียมการอย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องการกำหนดหน้าที่ของอัยการในการเดินทางไปต่างประเทศนั้น ยังไม่มีการพูดถึง คณะทำงานเพียงแต่กำหนดว่าจะต้องใช้เอกสารอะไร รวมถึงการขอเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเอกสารทุกฉบับที่ส่งไปต่างประเทศ จะต้องทำการแปลเป็นภาษาอังกฤษก่อน ส่วนการประชุมครั้งต่อไป จะต้องดูว่ามีเอกสารใดเพิ่มเติมอีกหรือไม่
ส่วนการขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา จะต้องรอให้การยื่นอุทธรณ์เสร็จสิ้นก่อนหรือไม่ นายถาวร กล่าวว่า ในส่วนนี้ คณะทำงานได้เตรียมการไว้ก่อนเท่าที่มีข้อเท็จจริง ทั้งนี้คงไม่สามารถตอบได้ว่า จะขอตัวกลับได้เมื่อไร เพราะต้องดูเอกสารต่างๆประกอบด้วย ส่วนขั้นตอนการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นไปตาม สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกรุงสยาม ร.ศ.130 โดยยื่นผ่านกระทรวงการต่างประเทศ
ต่อข้อถามว่า โอกาสได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมานั้นแทบจะเป็นศูนย์ ใช่หรือไม่ นายถาวร กล่าวว่า อยู่ที่ดุลพินิจทั้งสองฝ่าย ทั้งทางไทยและอังกฤษ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเท่าไร ตอบไม่ได้
**อ้างยังไม่ได้หมายจับจากตำรวจ
ด้านนายศิริศักดิ์ กล่าวว่า การขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากเอกสารยังไม่สามารถคัดถ่ายคำพิพากษาฉบับจริงได้ รวมทั้งยังไม่ได้รับหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามปกติแล้วการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว ซึ่งจะใช้เวลาเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าพ.ต.ท.ทักษิณ จะต่อสู้อย่างไร ประกอบกับการกำหนดขั้นตอนขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนของทางการอังกฤษนั้น มีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนด้วย
ขณะที่นายเศกสรรค์ กล่าวถึงกรณีคำพิพากษาว่า ศาลไม่ได้มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ที่ดินเพราะฉะนั้นที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นของคุณหญิงพจมาน อยู่ การประมูลซื้อขายที่ดิน ไม่ได้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ส่วนประเด็นที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์นั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 278 ทั้งนี้ทางอัยการไม่ทราบว่าฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ จะดำเนินการอย่างไร คงต้องรอดูว่า จะมีการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วันหรือไม่ และศาลมีคำสั่งรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาด้วยหรือไม่ เท่ากับอัยการจะต้องรอต่อไปว่าฝ่ายจำเลยจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ เท่าที่อัยการทำได้ขณะนี้คือ การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
**แม้วทำเรื่องส่วนตัวเป็นระดับชาติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พ.ต.ททักษิณ ออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลฏีกาฯ ที่พิพากษาให้จำคุก 2 ปี ว่า รัฐบาลต้องชี้แจงข้อเท็จจริง เพราะเป็นการบิดเบือนข้อมูลโดยไม่อธิบายถึงเหตุผลที่ถูกลงโทษ และการทำผิดกฏหมาย อีกทั้งเป็นเรื่องข้อผลประโยชน์ขัดกัน แต่กลับอ้างว่าเป็นเรื่องทางการเมือง และยังลากเอากระบวนการยุติธรรม และศาลเข้ามาสู่วังวนทางการเมือง โดยเอาต่างชาติมากดดันประเทศไทย "พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังเอาปัญหาส่วนตัวมาเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล มีหน้าที่ที่จะต้องนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ เหมือนกับคนไทยคนอื่นๆ และนายสมชาย ต้องอธิบายให้เข้าใจถึงกระบวนการยุติธรรมว่า มีมาตรฐาน หากไม่ทำก็เท่ากับว่ารัฐบาลสมรู้ร่วมคิด และพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีสิทธิ์เหนือคนไทยคนอื่น เมื่อทำผิดก็ต้องรับโทษ แต่กลับมีการป้ายสีกระบวนการยุติธรรม สร้างปัญหาให้กับประเทศ และนำประเทศเข้าสู่ความขัดแย้ง"
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมจะโฟนอินผ่านรายการความจริงวันนี้ ในวันที่ 1 พ.ย. นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องถามตัวนายกฯ ที่เคยบอกกับตนว่า จะไม่สนับสนุนให้มีกิจกรรมที่สร้างความขัดแย้ง และหากตนเป็นนายกฯ ก็จะต้องปกป้องประเทศ ยืนยันกับต่างชาติว่า ประเทศไทยมีมาตรฐาน จะไม่ยอมให้เศรษฐี หรือคนมีอำนาจอยู่เหนือกฏหมาย การที่พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างว่าเป็นนักประชาธิปไตยเสรี ทำให้ถูกเล่นงาน เพราะเป็นนักการเมือง และเป็นภัยคุกคามของชนชั้นสูงนั้น ตนเชื่อว่า ไม่มีนักการเมืองคนใดที่เป็นประชาธิปไตยเสรี แล้วละเมิดสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชน
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนปช.ผ่านรายการความจริงวันนี้ และกลุ่มของพล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจว่ายิ่งจะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อ และเสี่ยงต่อระบอบประชาธิปไตย
**บรรหารซัดแม้วต้องรับคำตัดสิน
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการตัดสินของศาลไทยว่า ถือเป็นความเห็นที่ไม่ตรงกัน แต่เมื่อศาลพิจารณาอย่างไรก็ควรจะยอมรับในคำตัดสิน
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่าถูกศาลกลั่นแกล้งนั้น ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ แต่ในส่วนของพรรคชาติไทยเห็นว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ประเทศชาติจำเป็นต้องมีรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาของประเทศชาติต่อไป เพราะหากไม่มีรัฐบาล และเกิดสุญญากาศทางการเมือง ประเทศชาติจะอยู่อย่างไร และหากนายกฯลาออกแล้วมีการเลือกตั้งใหม่ ก็ไม่รู้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไร ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ ทุกฝ่ายต้องอดทน
ส่วนกรณีที่วันนี้ (25ต.ค.) ที่มีข่าวว่าจะมีม็อบ 3 ฝ่าย ระดมพลเคลื่อนไหวเข้ายึดทำเนียบฯนั้น นายบรรหาร กล่าวว่าเป็นห่วงมาก หากทุกฝ่ายมีการเคลื่อนพล เกรงว่าจะเกิดการปะทะกันเกิดขึ้น บ้านเมืองอาจจะพัง เศรษฐกิจอาจวิกฤติลงไปอีก
"หากเกิดความรุนแรงครั้งนี้ ก็ถือว่าร้ายแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อพ.ศ.2475 และมันจะยิ่งกว่าการปฏิวัติ เพราะคนในประเทศมีการแบ่งฝ่าย ผมอยากเรียกร้องให้ประชาชน หันมาปรองดอง เพื่อเห็นแก่พระเจ้าอยู่หัวฯ เพราะท่านทรงทุกข์มากแล้ว ถ้าทุกคนหันมาแก้ปัญหาร่วมกัน ประเทศชาติน่าจะกลับไปสู่ภาวะปกติได้ เรื่องที่น่าจะจบก็ควรจะจบได้แล้ว บ้านเมืองในขณะนี้แย่เต็มที ทุกฝ่ายควรลดราวาศอก การชุมนุมในวันนี้ ทุกฝ่ายควรอยู่ในที่ตั้ง เพราะถ้าหากมีการเคลื่อนขบวนออกมาจนเกิดการปะทะกัน แล้วเกิดการบาดเจ็บ ไม่มีอะไรดี ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม อย่าลืมว่าทุกคนเป็นคนไทยทั้งหมด" นายบรรหาร กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะที่นายบรรหาร ให้สัมภาษณ์นั้นได้พยายามปั้นสีหน้าให้ดูเคร่งเครียด จริงจัง
**"โกวิท"ปัดไม่เกี่ยว"สล้าง"
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมโทรศัพท์มาออกรายการ ความจริงวันนี้ ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ว่า "เรื่องนี้แล้วแต่ความคิดของผู้ชมไม่มีอะไร"
ส่วน พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค เตรียมการล้อมทำเนียบฯ จะเป็นชนวนความขัดแย้งอีกหรือไม่ พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่า "ไม่มีอะไรมั้ง ผมคิดว่าคนไทยคิดดี ทำดี" เมื่อถามต่อว่าได้พูดคุยกับ พล.ต.อ.สล้าง เป็นการส่วนตัวหรือไม่ พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่า ก็ไม่เกี่ยวกับผม เป็นเรื่องของเขาเอง" รมว.มหาดไทย กล่าว
นายกษิต กล่าวถึง วิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศอังกฤษนั้น เริ่มจากรัฐบาลไทยต้องมีหนังสือถึงรัฐบาลอังกฤษอย่างเป็นทางการ ซึ่งทำได้ด้วย 2 ช่องทาง คือ 1. อสส. แจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศ แล้วกระทรวงการต่างประเทศ อาจจะเชิญเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยมาพบ เพื่อยื่นหนังสือไปถึงรัฐบาลอังกฤษ
2. ส่งเรื่องผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ เพื่อยื่นต่อกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ซึ่งในการยื่นหนังสือต่อทางการอังกฤษนี้ ฝ่ายไทย ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับคดีดังกล่าวให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นฐานความผิด สำนวนฟ้อง และเอกสารประกาศจับที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ
นายกษิต กล่าวว่าเมื่อเรื่องดังกล่าวถูกส่งไปทางการอังกฤษแล้ว ศาลของอังกฤษ จะเป็นผู้วินิจฉัยว่า คดีเกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายของอังกฤษหรือไม่ และถ้าวินิจฉัยว่าเป็นความผิดทางอาญาจริงตามระบบกฎหมายของไทย และของอังกฤษหรือไม่ จากนั้นจะพิจารณาต่อไปว่า เป็นความผิดทางอาญาสามัญ หรือเป็นความผิดทางอาญาการเมือง ซึ่งถ้าเป็นความผิดทางอาญาการเมือง หรือมีเหตุจูงใจทางการเมือง จะถูกชี้ขาดว่า ไม่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ และต้องยุติการส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศไทย เพราะเป็นคดีทางการเมือง แต่ถ้าวินิจฉัยว่าเป็นความผิดทางอาญาสามัญ ก็สามารถพิจารณาส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาได้ ซึ่งศาลอังกฤษจะต้องส่งเรื่องเพื่อหารือกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ว่า จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอหรือไม่ แล้วจึงจะส่งต่อไปวุฒิสภา และรัฐบาลอังกฤษเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตาม อสส. ต้องรีบทำหนังสือผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังรัฐบาลอังกฤษให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
นายกษิต ยอมรับว่าการนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะดูได้จากกรณีที่ทางการเปรู ขอตัวนาย อัลเบอร์โต้ ฟูจิโมริ อดีตประธานาธิบดีเปรู ที่หนีไปยังประเทศญี่ปุ่นและชิลี ซึ่งศาลของชิลี ได้ตัดสินให้ส่งตัวไปขึ้นศาลที่เปรู โดยเรื่องนี้ใช้เวลานานหลายปี หรือกรณีที่นายพล ออกุสโต ปิโนเชต์ อดีตประธานาธิบดีชิลี หนีไปรักษาตัวในประเทศอังกฤษ ซึ่งประเทศสเปนได้ฟ้องไปยังรัฐบาลอังกฤษ และเรื่องผ่านเข้าสู่ศาลยุติธรรม และวุฒิสภาของอังกฤษ จนอนุมัติให้ส่งตัวนายพลปิโนเชต์ กลับไปดำเนินคดีในชิลี แต่นายพลปิโนเชต์ กลับเสียชีวิตไปก่อน โดยกรณีนี้ใช้เวลานานหลายปี เพราะอังกฤษต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
ทั้งนี้ กรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ นั้นต่างจากนายปิ่น จักกะพาก อดีตผู้บริหารบริษัทเงินทุน เอกธนกิจ และนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (บีบีซี) ซึ่งทั้งสองเป็นนักธุรกิจ แต่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ และยังพัวพันกับคดีอาญาจึงเชื่อว่ารัฐบาลอังกฤษคงพิจารณาเรื่องนี้ในทุกด้านอย่างถี่ถ้วน
ทั้งนี้ แม้ในคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการใช้อำนาจมิชอบ หรือผลประโยชน์ทับซ้อนในฐานะที่เป็นนักการเมือง แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในการฆ่าตัดตอนและ คดีกรือเซะ-ตากใบ ที่รัฐบาลไทยสามารถนำไปอ้างอิงในการขอตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาได้ด้วย
**อัยการประชุมล่าตัว "แม้ว"
วันเดียวกันนี้ ที่ห้องประชุมสำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก นายถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุด ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเพื่อเตรียมการและดำเนินการขอให้ส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดน ได้ประชุมคณะทำงานประกอบด้วย นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศ และนายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และคณะทำงานกว่า 10 คน โดยมีวาระการประชุม 3 วาระ ประกอบด้วย การแต่งตั้งคณะทำงาน การสรุปคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ และแนวทางการเตรียมการ และดำเนินการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน
หลังการประชุม นายถาวร เปิดเผยว่า ได้หารือในรายละเอียดว่า คณะทำงานจะมีขั้นตอนเตรียมการอย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องการกำหนดหน้าที่ของอัยการในการเดินทางไปต่างประเทศนั้น ยังไม่มีการพูดถึง คณะทำงานเพียงแต่กำหนดว่าจะต้องใช้เอกสารอะไร รวมถึงการขอเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเอกสารทุกฉบับที่ส่งไปต่างประเทศ จะต้องทำการแปลเป็นภาษาอังกฤษก่อน ส่วนการประชุมครั้งต่อไป จะต้องดูว่ามีเอกสารใดเพิ่มเติมอีกหรือไม่
ส่วนการขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา จะต้องรอให้การยื่นอุทธรณ์เสร็จสิ้นก่อนหรือไม่ นายถาวร กล่าวว่า ในส่วนนี้ คณะทำงานได้เตรียมการไว้ก่อนเท่าที่มีข้อเท็จจริง ทั้งนี้คงไม่สามารถตอบได้ว่า จะขอตัวกลับได้เมื่อไร เพราะต้องดูเอกสารต่างๆประกอบด้วย ส่วนขั้นตอนการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นไปตาม สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกรุงสยาม ร.ศ.130 โดยยื่นผ่านกระทรวงการต่างประเทศ
ต่อข้อถามว่า โอกาสได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมานั้นแทบจะเป็นศูนย์ ใช่หรือไม่ นายถาวร กล่าวว่า อยู่ที่ดุลพินิจทั้งสองฝ่าย ทั้งทางไทยและอังกฤษ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเท่าไร ตอบไม่ได้
**อ้างยังไม่ได้หมายจับจากตำรวจ
ด้านนายศิริศักดิ์ กล่าวว่า การขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากเอกสารยังไม่สามารถคัดถ่ายคำพิพากษาฉบับจริงได้ รวมทั้งยังไม่ได้รับหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามปกติแล้วการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว ซึ่งจะใช้เวลาเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าพ.ต.ท.ทักษิณ จะต่อสู้อย่างไร ประกอบกับการกำหนดขั้นตอนขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนของทางการอังกฤษนั้น มีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนด้วย
ขณะที่นายเศกสรรค์ กล่าวถึงกรณีคำพิพากษาว่า ศาลไม่ได้มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ที่ดินเพราะฉะนั้นที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นของคุณหญิงพจมาน อยู่ การประมูลซื้อขายที่ดิน ไม่ได้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ส่วนประเด็นที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์นั้น เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 278 ทั้งนี้ทางอัยการไม่ทราบว่าฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ จะดำเนินการอย่างไร คงต้องรอดูว่า จะมีการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วันหรือไม่ และศาลมีคำสั่งรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาด้วยหรือไม่ เท่ากับอัยการจะต้องรอต่อไปว่าฝ่ายจำเลยจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ เท่าที่อัยการทำได้ขณะนี้คือ การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
**แม้วทำเรื่องส่วนตัวเป็นระดับชาติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พ.ต.ททักษิณ ออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลฏีกาฯ ที่พิพากษาให้จำคุก 2 ปี ว่า รัฐบาลต้องชี้แจงข้อเท็จจริง เพราะเป็นการบิดเบือนข้อมูลโดยไม่อธิบายถึงเหตุผลที่ถูกลงโทษ และการทำผิดกฏหมาย อีกทั้งเป็นเรื่องข้อผลประโยชน์ขัดกัน แต่กลับอ้างว่าเป็นเรื่องทางการเมือง และยังลากเอากระบวนการยุติธรรม และศาลเข้ามาสู่วังวนทางการเมือง โดยเอาต่างชาติมากดดันประเทศไทย "พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังเอาปัญหาส่วนตัวมาเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล มีหน้าที่ที่จะต้องนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ เหมือนกับคนไทยคนอื่นๆ และนายสมชาย ต้องอธิบายให้เข้าใจถึงกระบวนการยุติธรรมว่า มีมาตรฐาน หากไม่ทำก็เท่ากับว่ารัฐบาลสมรู้ร่วมคิด และพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีสิทธิ์เหนือคนไทยคนอื่น เมื่อทำผิดก็ต้องรับโทษ แต่กลับมีการป้ายสีกระบวนการยุติธรรม สร้างปัญหาให้กับประเทศ และนำประเทศเข้าสู่ความขัดแย้ง"
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมจะโฟนอินผ่านรายการความจริงวันนี้ ในวันที่ 1 พ.ย. นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องถามตัวนายกฯ ที่เคยบอกกับตนว่า จะไม่สนับสนุนให้มีกิจกรรมที่สร้างความขัดแย้ง และหากตนเป็นนายกฯ ก็จะต้องปกป้องประเทศ ยืนยันกับต่างชาติว่า ประเทศไทยมีมาตรฐาน จะไม่ยอมให้เศรษฐี หรือคนมีอำนาจอยู่เหนือกฏหมาย การที่พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างว่าเป็นนักประชาธิปไตยเสรี ทำให้ถูกเล่นงาน เพราะเป็นนักการเมือง และเป็นภัยคุกคามของชนชั้นสูงนั้น ตนเชื่อว่า ไม่มีนักการเมืองคนใดที่เป็นประชาธิปไตยเสรี แล้วละเมิดสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชน
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนปช.ผ่านรายการความจริงวันนี้ และกลุ่มของพล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจว่ายิ่งจะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อ และเสี่ยงต่อระบอบประชาธิปไตย
**บรรหารซัดแม้วต้องรับคำตัดสิน
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการตัดสินของศาลไทยว่า ถือเป็นความเห็นที่ไม่ตรงกัน แต่เมื่อศาลพิจารณาอย่างไรก็ควรจะยอมรับในคำตัดสิน
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่าถูกศาลกลั่นแกล้งนั้น ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ แต่ในส่วนของพรรคชาติไทยเห็นว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ประเทศชาติจำเป็นต้องมีรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาของประเทศชาติต่อไป เพราะหากไม่มีรัฐบาล และเกิดสุญญากาศทางการเมือง ประเทศชาติจะอยู่อย่างไร และหากนายกฯลาออกแล้วมีการเลือกตั้งใหม่ ก็ไม่รู้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไร ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ ทุกฝ่ายต้องอดทน
ส่วนกรณีที่วันนี้ (25ต.ค.) ที่มีข่าวว่าจะมีม็อบ 3 ฝ่าย ระดมพลเคลื่อนไหวเข้ายึดทำเนียบฯนั้น นายบรรหาร กล่าวว่าเป็นห่วงมาก หากทุกฝ่ายมีการเคลื่อนพล เกรงว่าจะเกิดการปะทะกันเกิดขึ้น บ้านเมืองอาจจะพัง เศรษฐกิจอาจวิกฤติลงไปอีก
"หากเกิดความรุนแรงครั้งนี้ ก็ถือว่าร้ายแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อพ.ศ.2475 และมันจะยิ่งกว่าการปฏิวัติ เพราะคนในประเทศมีการแบ่งฝ่าย ผมอยากเรียกร้องให้ประชาชน หันมาปรองดอง เพื่อเห็นแก่พระเจ้าอยู่หัวฯ เพราะท่านทรงทุกข์มากแล้ว ถ้าทุกคนหันมาแก้ปัญหาร่วมกัน ประเทศชาติน่าจะกลับไปสู่ภาวะปกติได้ เรื่องที่น่าจะจบก็ควรจะจบได้แล้ว บ้านเมืองในขณะนี้แย่เต็มที ทุกฝ่ายควรลดราวาศอก การชุมนุมในวันนี้ ทุกฝ่ายควรอยู่ในที่ตั้ง เพราะถ้าหากมีการเคลื่อนขบวนออกมาจนเกิดการปะทะกัน แล้วเกิดการบาดเจ็บ ไม่มีอะไรดี ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม อย่าลืมว่าทุกคนเป็นคนไทยทั้งหมด" นายบรรหาร กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะที่นายบรรหาร ให้สัมภาษณ์นั้นได้พยายามปั้นสีหน้าให้ดูเคร่งเครียด จริงจัง
**"โกวิท"ปัดไม่เกี่ยว"สล้าง"
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมโทรศัพท์มาออกรายการ ความจริงวันนี้ ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ว่า "เรื่องนี้แล้วแต่ความคิดของผู้ชมไม่มีอะไร"
ส่วน พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค เตรียมการล้อมทำเนียบฯ จะเป็นชนวนความขัดแย้งอีกหรือไม่ พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่า "ไม่มีอะไรมั้ง ผมคิดว่าคนไทยคิดดี ทำดี" เมื่อถามต่อว่าได้พูดคุยกับ พล.ต.อ.สล้าง เป็นการส่วนตัวหรือไม่ พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่า ก็ไม่เกี่ยวกับผม เป็นเรื่องของเขาเอง" รมว.มหาดไทย กล่าว