ปัญหาคนหรือระบบเป็นปัญหาที่ถกกันไม่แตก ในทำนองไก่กับไข่ ข้ออ้างก็คือถ้าระบบดีคนก็จะดี แต่ข้อถกเถียงก็คือ ถ้าระบบดีแต่คนไม่ดีก็จะทำลายระบบและนำไปสู่ความเสียหายต่อสังคม กลับกัน ถ้าคนดีแต่ระบบบกพร่องความเสียหายก็จะเกิดขึ้นน้อย แต่เนื่องจากความบกพร่องของระบบก็จะเกิดความเสียหาย หรือผลงานไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย อย่างไรก็ตาม ถ้าเริ่มต้นด้วยคนดีก็น่าจะมีแนวโน้มที่จะปรับปรุงให้ระบบดีขึ้น
กรณีคนหรือระบบก็มักจะมีความพยายามจับให้มั่นคั้นให้ตายว่าอะไรสำคัญกว่า โดยข้อถกเถียงอาจจะเริ่มด้วยว่า ถ้าระบบดี มีการคัดสรรตัวบุคคล และมีการควบคุมไม่ให้มีการละเมิดกฎเกณฑ์ต่างๆ คนไม่ดีก็เข้ามาไม่ได้ตั้งแต่ต้น หรือถ้าหลุดเข้ามาได้ก็จะถูกระบบควบคุม แต่ปัญหาก็คือว่า ถ้าคนไม่ดีหลุดเข้ามาได้ก็อาจจะแก้ไขระบบที่ดีนั้นให้กลายเป็นระบบที่หละหลวมขึ้น เป็นการทำลายระบบที่ดีเพื่อจะได้มีช่องทางในการกระทำสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น ถ้าจะกล่าวอย่างกำปั้นทุบดินก็คือไม่สามารถจะบอกว่าคนหรือระบบอันไหนสำคัญกว่า แต่ต้องสรุปว่าเป็นคนและระบบ คือทั้งคนและระบบจะต้องดีด้วยกันทั้งคู่มิฉะนั้นจะไม่สามารถป้องกันไม่ให้คนไม่ดีเข้ามาสู่ระบบได้
พระราชดำรัสขององค์พระประมุขที่ว่า “...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...” (พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2512) ซึ่งหมายความว่าการจะคาดหวังให้สังคมมีคนดีทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีระบบหรือกลไกที่ไม่ให้คนไม่ดีเข้ามาสู่ระบบ มาก่อความวุ่นวาย แต่ส่งเสริมให้คนดีโดยระบบที่ดีเข้ามาบริหารประเทศ รับผิดชอบต่อภารกิจอันสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นก็ยังอยู่ที่คนอยู่ดี ในส่วนของคนนี้ คุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรม ดูจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ขงจื๊อเคยกล่าวว่า มนุษย์ที่ขาดคุณธรรมอย่าว่าจะเป็นผู้ปกครองประเทศเลย เป็นมนุษย์ก็ยังเป็นไม่ได้ เพราะมนุษย์ต่างกับสัตว์ตรงที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม หรือมีศีลธรรม ดังนั้น กล่าวได้ว่าคนซึ่งเป็นคนดีแต่อาจจะขาดความรู้ความสามารถก็ยังดีกว่าคนซึ่งเป็นคนมีความรู้ความสามารถ หรือเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนไม่ดี เพราะคนที่เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต แต่ขาดความรู้ความสามารถนั้นสามารถจะมีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยงานได้ ดังนั้น ดีแต่ไม่เก่งจะมีปัญหาน้อยกว่าคนที่เก่งแต่ไม่ดี
มีคนประเภทที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งคือ คนซึ่งเป็นคนเก่งแต่เป็นคนไม่ดี ขาดคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นคนที่ดึงดันเพราะความเชื่อมั่นตนเองอย่างผิดๆ พร้อมๆ กับการไม่สนใจต่อความเห็นของผู้อื่น ที่เรียกว่า หน้าด้าน คนซึ่งเก่งแต่ไม่ดีพร้อมดึงดันและหน้าด้านจะกลายเป็นคนซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งยวด เพราะจะทำความชั่วทุกอย่างรวมทั้งการทำลายระบบในที่สุด สังคมใดก็ตามที่มีคนที่มีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ เก่ง ไม่ดี ดึงดัน ขาดหิริโอตตัปปะ ก็จะนำสังคมไปลงเหวและจะเป็นเชื้อร้ายที่ทำลายระบบสังคมในแง่ศีลธรรมและจรรยา ทำลายระบบการเมืองด้วยการโกงการเลือกตั้ง ฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำลายระบบเศรษฐกิจด้วยการผูกขาด เล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้จะกัดกร่อนสังคมจนถึงราก สังคมใดก็ตามที่ปล่อยให้บุคคลที่มีคุณลักษณะดังกล่าวเข้ามาสู่ตำแหน่งอำนาจทางการเมือง สังคมนั้นจะมีลักษณะเป็นสังคมที่อ่อนแอ และระบบการเมืองการปกครองนั้นเป็นระบบที่ด้อยพัฒนาอย่างยิ่ง แต่ที่สำคัญที่สุด สะท้อนถึงสมาชิกในสังคมนั้นด้วยในแง่ที่ไม่สามารถจะต่อสู้และสกัดมิให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาก่อความวุ่นวาย
คนอีกประเภทหนึ่งเป็นคนซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคมเช่นเดียวกัน นั่นคือ คนซึ่งขาดความรู้ความสามารถ กล่าวคือ เป็นคนที่โง่เขลาเบาปัญญาแต่มีความขยันขันแข็ง พยายามวิ่งเต้นหาตำแหน่งอำนาจ และด้วยองค์ประกอบหลายประการโดยเฉพาะโชคทำให้สามารถเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจได้ซึ่งมักจะด้วยการออมชอม ประนีประนอม เพราะคนลักษณะนี้จะเป็นคนไม่มีหลักการอยู่แล้ว คนประเภทนี้จะมีระบบความคิดที่ขาดภูมิปัญญา ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสาร บุคคลเช่นนี้จะกลายเป็นเครื่องมือที่น่าอันตรายของผู้ที่เก่งและเป็นคนที่ฉลาดกว่าแต่ชั่ว กลายเป็นหุ่นเชิดเพื่ออำนวยประโยชน์ของผู้อยู่เบื้องหลัง คนซึ่งโง่เขลาเบาปัญญารู้ไม่ทันเกมคนอื่นจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งยวดพอๆ กับคนเก่งแต่ชั่ว กล่าวได้ว่า คนที่เป็นอันตรายต่อสังคมประเภทที่หนึ่งก็คือ คนที่เก่งและชั่ว (รวมทั้งดึงดันและหน้าด้าน) ส่วนคนอีกประเภทหนึ่งคือ โง่เขลาเบาปัญญาแต่ขยันก็จะเป็นอันตรายต่อสังคมเช่นเดียวกัน เพราะจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายสังคม
ระบบการเมืองใดก็ตามที่ถือเป็นระบบที่ดีนั้น นอกจากต้องสะท้อนถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชน ยังจะต้องสะท้อนถึงกระบวนการที่สามารถคัดสรรตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการถือบังเหียนบริหารประเทศด้วย นั่นคือ จะต้องมีความรู้ความสามารถ ประกอบกับคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ระบบที่อ้างแต่อำนาจอธิปไตยของปวงชนแต่ได้มาซึ่งผู้บริหารที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม เป็นระบบที่ไม่มีความชอบธรรมทางการเมือง ขณะเดียวกันคำอ้างที่ว่าเป็นระบบที่สะท้อนถึงอำนาจอธิปไตยเพราะมีการเลือกตั้งนั้น จะเป็นคำอ้างที่ขาดน้ำหนักเนื่องจากการเลือกตั้งนั้นไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างแท้จริง หากแต่เป็นเพียงพิธีกรรมของการหย่อนบัตร โดยมาจากกระบวนการขายสิทธิขายเสียง หรือระดมปลุกเร้าโดยรัฐ เช่น ในกรณีของการเลือกตั้งของประเทศสังคมนิยม เป็นต้น
ประเด็นเรื่องคนและระบบ และคนหรือระบบ จึงเป็นประเด็นที่ถกเถียงไม่จบสิ้น แต่ที่สรุปได้ก็คือ ทั้งคนและระบบสำคัญพอๆ กัน แต่ถ้าต้องเลือกอันใดอันหนึ่ง เลือกคนดีที่มีคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรมและหลักการ และเป็นคนเสียสละ ก็จะประกันได้ว่าจะทำความเสียหายน้อยกว่าคนเก่งแต่ไม่ดี
กรณีคนหรือระบบก็มักจะมีความพยายามจับให้มั่นคั้นให้ตายว่าอะไรสำคัญกว่า โดยข้อถกเถียงอาจจะเริ่มด้วยว่า ถ้าระบบดี มีการคัดสรรตัวบุคคล และมีการควบคุมไม่ให้มีการละเมิดกฎเกณฑ์ต่างๆ คนไม่ดีก็เข้ามาไม่ได้ตั้งแต่ต้น หรือถ้าหลุดเข้ามาได้ก็จะถูกระบบควบคุม แต่ปัญหาก็คือว่า ถ้าคนไม่ดีหลุดเข้ามาได้ก็อาจจะแก้ไขระบบที่ดีนั้นให้กลายเป็นระบบที่หละหลวมขึ้น เป็นการทำลายระบบที่ดีเพื่อจะได้มีช่องทางในการกระทำสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น ถ้าจะกล่าวอย่างกำปั้นทุบดินก็คือไม่สามารถจะบอกว่าคนหรือระบบอันไหนสำคัญกว่า แต่ต้องสรุปว่าเป็นคนและระบบ คือทั้งคนและระบบจะต้องดีด้วยกันทั้งคู่มิฉะนั้นจะไม่สามารถป้องกันไม่ให้คนไม่ดีเข้ามาสู่ระบบได้
พระราชดำรัสขององค์พระประมุขที่ว่า “...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...” (พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2512) ซึ่งหมายความว่าการจะคาดหวังให้สังคมมีคนดีทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีระบบหรือกลไกที่ไม่ให้คนไม่ดีเข้ามาสู่ระบบ มาก่อความวุ่นวาย แต่ส่งเสริมให้คนดีโดยระบบที่ดีเข้ามาบริหารประเทศ รับผิดชอบต่อภารกิจอันสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นก็ยังอยู่ที่คนอยู่ดี ในส่วนของคนนี้ คุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรม ดูจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ขงจื๊อเคยกล่าวว่า มนุษย์ที่ขาดคุณธรรมอย่าว่าจะเป็นผู้ปกครองประเทศเลย เป็นมนุษย์ก็ยังเป็นไม่ได้ เพราะมนุษย์ต่างกับสัตว์ตรงที่มีคุณธรรม มีจริยธรรม หรือมีศีลธรรม ดังนั้น กล่าวได้ว่าคนซึ่งเป็นคนดีแต่อาจจะขาดความรู้ความสามารถก็ยังดีกว่าคนซึ่งเป็นคนมีความรู้ความสามารถ หรือเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนไม่ดี เพราะคนที่เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต แต่ขาดความรู้ความสามารถนั้นสามารถจะมีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยงานได้ ดังนั้น ดีแต่ไม่เก่งจะมีปัญหาน้อยกว่าคนที่เก่งแต่ไม่ดี
มีคนประเภทที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งคือ คนซึ่งเป็นคนเก่งแต่เป็นคนไม่ดี ขาดคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นคนที่ดึงดันเพราะความเชื่อมั่นตนเองอย่างผิดๆ พร้อมๆ กับการไม่สนใจต่อความเห็นของผู้อื่น ที่เรียกว่า หน้าด้าน คนซึ่งเก่งแต่ไม่ดีพร้อมดึงดันและหน้าด้านจะกลายเป็นคนซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งยวด เพราะจะทำความชั่วทุกอย่างรวมทั้งการทำลายระบบในที่สุด สังคมใดก็ตามที่มีคนที่มีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ เก่ง ไม่ดี ดึงดัน ขาดหิริโอตตัปปะ ก็จะนำสังคมไปลงเหวและจะเป็นเชื้อร้ายที่ทำลายระบบสังคมในแง่ศีลธรรมและจรรยา ทำลายระบบการเมืองด้วยการโกงการเลือกตั้ง ฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำลายระบบเศรษฐกิจด้วยการผูกขาด เล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้จะกัดกร่อนสังคมจนถึงราก สังคมใดก็ตามที่ปล่อยให้บุคคลที่มีคุณลักษณะดังกล่าวเข้ามาสู่ตำแหน่งอำนาจทางการเมือง สังคมนั้นจะมีลักษณะเป็นสังคมที่อ่อนแอ และระบบการเมืองการปกครองนั้นเป็นระบบที่ด้อยพัฒนาอย่างยิ่ง แต่ที่สำคัญที่สุด สะท้อนถึงสมาชิกในสังคมนั้นด้วยในแง่ที่ไม่สามารถจะต่อสู้และสกัดมิให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาก่อความวุ่นวาย
คนอีกประเภทหนึ่งเป็นคนซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคมเช่นเดียวกัน นั่นคือ คนซึ่งขาดความรู้ความสามารถ กล่าวคือ เป็นคนที่โง่เขลาเบาปัญญาแต่มีความขยันขันแข็ง พยายามวิ่งเต้นหาตำแหน่งอำนาจ และด้วยองค์ประกอบหลายประการโดยเฉพาะโชคทำให้สามารถเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจได้ซึ่งมักจะด้วยการออมชอม ประนีประนอม เพราะคนลักษณะนี้จะเป็นคนไม่มีหลักการอยู่แล้ว คนประเภทนี้จะมีระบบความคิดที่ขาดภูมิปัญญา ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสาร บุคคลเช่นนี้จะกลายเป็นเครื่องมือที่น่าอันตรายของผู้ที่เก่งและเป็นคนที่ฉลาดกว่าแต่ชั่ว กลายเป็นหุ่นเชิดเพื่ออำนวยประโยชน์ของผู้อยู่เบื้องหลัง คนซึ่งโง่เขลาเบาปัญญารู้ไม่ทันเกมคนอื่นจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งยวดพอๆ กับคนเก่งแต่ชั่ว กล่าวได้ว่า คนที่เป็นอันตรายต่อสังคมประเภทที่หนึ่งก็คือ คนที่เก่งและชั่ว (รวมทั้งดึงดันและหน้าด้าน) ส่วนคนอีกประเภทหนึ่งคือ โง่เขลาเบาปัญญาแต่ขยันก็จะเป็นอันตรายต่อสังคมเช่นเดียวกัน เพราะจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายสังคม
ระบบการเมืองใดก็ตามที่ถือเป็นระบบที่ดีนั้น นอกจากต้องสะท้อนถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชน ยังจะต้องสะท้อนถึงกระบวนการที่สามารถคัดสรรตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการถือบังเหียนบริหารประเทศด้วย นั่นคือ จะต้องมีความรู้ความสามารถ ประกอบกับคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ระบบที่อ้างแต่อำนาจอธิปไตยของปวงชนแต่ได้มาซึ่งผู้บริหารที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม เป็นระบบที่ไม่มีความชอบธรรมทางการเมือง ขณะเดียวกันคำอ้างที่ว่าเป็นระบบที่สะท้อนถึงอำนาจอธิปไตยเพราะมีการเลือกตั้งนั้น จะเป็นคำอ้างที่ขาดน้ำหนักเนื่องจากการเลือกตั้งนั้นไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างแท้จริง หากแต่เป็นเพียงพิธีกรรมของการหย่อนบัตร โดยมาจากกระบวนการขายสิทธิขายเสียง หรือระดมปลุกเร้าโดยรัฐ เช่น ในกรณีของการเลือกตั้งของประเทศสังคมนิยม เป็นต้น
ประเด็นเรื่องคนและระบบ และคนหรือระบบ จึงเป็นประเด็นที่ถกเถียงไม่จบสิ้น แต่ที่สรุปได้ก็คือ ทั้งคนและระบบสำคัญพอๆ กัน แต่ถ้าต้องเลือกอันใดอันหนึ่ง เลือกคนดีที่มีคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรมและหลักการ และเป็นคนเสียสละ ก็จะประกันได้ว่าจะทำความเสียหายน้อยกว่าคนเก่งแต่ไม่ดี