ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ - เปิดจุดเด่น 7 มหาวิทยาลัยของไทยที่เปิดสอนภาษาจีน “จุฬาฯ” มีหลักสูตรพร้อมตรี-โท-เอก “มธ.”ยกเครื่องใหม่หมด เน้นเรียนรู้สถานการณ์ปัจจุบันจบแล้วใช้งานได้จริง “มก.”เน้นสอนคุณธรรมผลิตคนดีสู่สังคม “ม.บูรพา”เน้นสอนตัวย่อ “มช.”เน้นพูด ขณะที่ “มข.”มีหลักสูตรร่วมเรียนไทย 2 ปี จีน 2 ปี ส่วน “ม.หัวเฉียว” ส่งเด็กเรียนในจีน 1 ปีเต็ม ทุกมหาลัยร่วมการันตี เรียนภาษาจีนได้งานเกือบ 100%
กระแสการเรียนภาษาจีนในประเทศไทย นับวันยิ่งมีมากขึ้น และไม่ใช่กระแสที่ตกไปได้ง่ายๆ เมื่อจีน กลายเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจโลก และนับวันยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นในเวทีการค้าโลก ด้วยเหตุนี้การเรียนภาษาจีนในระดับต่างๆ จึงได้รับความสนใจจากทั้งผู้ปกครองและตัวนักเรียนเองมากขึ้น โดยเฉพาะการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ที่หลายมหาวิทยาลัยต่างปรับตัวรองรับ!
จุฬาฯเปิดระดับป.เอก
ดร.สุรีย์ ชุณหเรืองเดช หัวหน้าสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สาขาวิชาภาษาจีนของจุฬาฯ ปัจจุบันมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และกำลังจะเปิดปริญญาเอกในปีการศึกษา 2552 ที่จะถึงนี้
ในระดับปริญญาตรี ทางจุฬาฯ ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลจีน และสถานทูตจีนประจำประเทศไทย ในการส่งอาจารย์จีนจาก HANBAN มาช่วยเป็นอาจารย์สอนตั้งแต่ปี 1-ปี 2 โดยจะเน้นสอนในวิชาเกี่ยวกับการสนทนา จากนั้นจึงจะเรียนในขั้นสูงขึ้น โดยการเรียนการสอนภาษาจีนของสาขาวิชาฯ จะเน้นการเรียนการสอนทั้งอักษรตัวเต็มและตัวย่อ เมื่อนิสิตจบการศึกษาไปก็จะสามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย
ในระดับปริญญาโท การเรียนการสอนภาษาจีนถือว่าก้าวหน้ามาก เนื่องจากในระดับปริญญาโท จะมีการเปิดทั้งภาคปกติ ที่สอนทั้งเป็นภาษาไทย และภาษาจีน และมีหลักสูตรนานาชาติ ที่จะมีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาจีนด้วย รวมทั้งได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ที่จะมีการส่งนิสิตไปเรียนที่ประเทศจีนเป็นเวลา 1 เดือนครึ่ง -2 เดือน เพื่อไปหาข้อมูล และเพื่อไปปรึกษากับอาจารย์สอนภาษาจีนที่นั่น เพื่อกลับมาทำวิทยานิพนธ์ด้วย ซึ่งขณะนี้ได้เปิดสอนมาแล้วจำนวน 6 รุ่น
ปัจจุบัน จุฬาฯ มีความพร้อมที่จะเปิดสอนในระดับปริญญาเอกในปีการศึกษา 2552 นี้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่จะมีการเปิดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับนี้ในประเทศไทยด้วย
มธ. ปรับหลักสูตรเข้าสถานการณ์ปัจจุบัน
รศ.ดร.มาลินี ดิลกวณิช อาจารย์ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรทุก 5 ปี ซึ่งในปี 2552 นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่มีความก้าวหน้ามาก เพราะมีการปรับหลักสูตรให้ทันสมัย และมุ่งเน้นการนำไปใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น
โดยจะเน้นสาระเนื้อหาวิชาเป็นตัวตั้ง แทนการเรียนที่เน้นทักษะ ซึ่งเป็นหลักสูตรโบราณที่ไม่ตอบสนองกับโลกในปัจจุบัน เพราะการรู้แค่ภาษาจีนวันนี้ไม่เพียงพอ เพราะไม่สามารถคุยสาระด้านอื่นๆของจีนได้ แต่ก็ไม่ทิ้งการเรียนทักษะที่ต้องเรียนควบคู่กันไป
สิ่งที่เน้นคือภาษาต้องถูกต้อง และสาระเนื้อหาที่เข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาใหม่ๆ อย่าง จีนปัจจุบัน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองจีน ฯลฯ ซึ่งในทุกสาขาวิชาจะมีการนำทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน เข้าไปแทรกทุกวิชาด้วย อีกทั้งในการเรียนการสอนยังมีอาจารย์จีนเข้ามาช่วยสอนในทุกชั้นปีด้วย
ทั้งนี้ในอนาคตอันใกล้นี้ มธ. กำลังเตรียมเปิดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับปริญญาโทด้วย โดยจะเรียนแบบสหวิทยาการ เป็นการบูรณาการความรู้ด้านภาษาจีนทุกด้าน เพื่อเน้นผลิตบุคลากรด้านจีนศึกษา
มก.เน้นเด็กดี-คุณธรรมขงจื๊อ
อาจารย์ นภ อึ๊งโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การเรียนการสอนภาษาจีนของคณะมนุษยศาสตร์ มก.นั้น นอกจากเน้นการใช้ทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน แล้ว ยังจะเน้นในเรื่องความรู้ด้านวรรณคดี และคำสอนของขงจื๊อ ด้วย เพราะมก.เชื่อว่า การผลิตบุคคลกรต้องเน้นที่การเป็นคนดี
ทั้งนี้การที่มก.มีสถาบันขงจื๊อ จึงมีข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาคือ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวของจีน ก็จะมีการมอบทุนการศึกษาให้นักศึกษาปีละ 4 ทุนการศึกษา เพื่อไปเรียนภาษาที่เมืองจีนเป็นระยะเวลา 10 เดือน ในชั้นปีการศึกษาที่ 3 ซึ่งจะมีการคัดเลือกโดยการสอบ และอาจารย์ชาวจีนจะเป็นคนออกข้อสอบ ขณะนี้ได้มีการส่งนักศึกษาไปเรียนแล้ว 2 รุ่น ซึ่งนับว่าได้ผลในการพัฒนาการเรียนภาษาจีนอย่างมาก
สำหรับการทำงาน เชื่อว่าตลาดแรงงานยังต้องการนักศึกษาที่มีความรู้ด้านจีนศึกษา โดยนักศึกษาที่จบการศึกษาไปในปี 2550 นอกเหนือจากคนที่ไปศึกษาต่อแล้ว ก็มีงานทำทุกคน
ม.บูรพาเน้น 4 ทักษะ
อาจารย์ ดารณี มณีลาภ อาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ม.บูรพา มีการเรียนการสอนภาษาจีนตั้งแต่ปี 2538 และมีการปรับหลักสูตรทุก 4 ปี ซึ่งในปี 2553 จะมีการปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับการเรียนการสอนในปัจจุบัน ในหลักสูตรปริญญาตรี จะเน้นการเรียนทักษะภาษาจีน ฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งทางม.บูรพา ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจีนหลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน มหาวิทยาลัยเวินโจว มหาวิทยาลัยยูนนาน มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง ฯลฯ ซึ่งจะมีการเชิญอาจารย์จีนมาสอนด้วย
มข.มีหลักสูตรร่วมเรียนไทย2 ปี-จีน 2ปี
อาจารย์ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การเรียนการสอนภาษาจีนของสาขาวิชาภาษาจีน จะแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ ภาษาจีนภาคปกติ และภาษาจีนธุรกิจ
โดยในภาคปกติจะเปิดรับนักศึกษาประมาณปีละ 60 คน ซึ่งทางสาขาวิชาฯ ได้มีความร่วมมือกับหลายมหาวิทยาลัยจีน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ยูนิเวอร์ซิตี้ มหาวิทยาลัยยูนนาน และมหาวิทยาลัยปักกิ่งยูเนียน ในการส่งอาจารย์จีนมาช่วยสอน ซึ่งมีทุนการศึกษาไปเรียนต่อที่จีนด้วย
ส่วนในภาคภาษาจีนธุรกิจจะเปิดรับนักศึกษาประมาณ ปีละ 100 คน จุดเด่นคือความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ยูนิเวอร์ซิตี้ มหานครฉงชิ่ง โดยนักศึกษาจะเรียนที่มข.2ปี และไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ฯ อีก 2 ปี ซึ่งได้ผลมากในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้การเรียนภาษาจีนก้าวหน้ามาก อีกทั้ง มข.จะมีโครงการเปิดสอนในระดับปริญญาโทในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
มช.เน้นพูด-สื่อสารได้ตั้งแต่ปี 2
ดร.กิตติชน ยงประพัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2552 จะมีการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีนที่ปรับปรุงใหม่ โดยในปี 1 ปี 2 จะเน้นทักษะ ฟังพูดอ่านเขียน โดยการพูดจะเน้นมากที่สุด เพราะต้องการให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ได้ประโยชน์ในการทำงานได้จริง โดยในปี 2 นักศึกษาจะสามารถสื่อสารเป็นภาษาจีนได้แล้ว
ส่วนชั้นปีที่ 3 จะมีการเรียนในวิชาต่างๆ เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น วิชาวัฒนธรรม วิชาปรัชญาจีน วิชาตัวอักษรจีน และยังมีวิชาเลือกเช่น วิชาการท่องเที่ยว วิชาธุรกิจจีน รวมถึงวิชาการแปลด้วย
นอกจากนี้ มช.ยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจีนหลายมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยคุนหมิง มหาวิทยาลัยเสฉวน ที่ได้ส่งอาจารย์จีนมาช่วยสอนด้วย สำหรับนักศึกษาที่เรียนจบไป ส่วนมากได้งานทำเกือบ 100% เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น
ม.หัวเฉียวส่งเด็กปี 3 เรียนที่จีน 1 ปีเต็ม
ดร.นริศ วศินานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ในระดับปริญญาตรี ม.หัวเฉียวได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวของจีน ซึ่งจะมีการส่งนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 ไปเรียนต่อที่จีนเป็นระยะเวลา 1 ปี เนื่องจากการไปเรียนในสภาพแวดล้อมจริง จะทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาจีนได้เร็ว
ทั้งนี้นักศึกษาตั้งแต่ปี 2 จะต้องเลือกเรียนขั้นสูงใน 2 ส่วนคือ ส่วนภาษาและวรรณคดีจีน และด้านธุรกิจ ตามความชอบ เพื่อเรียนในระดับสูงขึ้นในชั้นปีที่ 4 ด้วย ทั้งนี้สำหรับนักศึกษาส่วนต่างๆ สามารถเลือกเรียนอีกส่วนใช้เป็นวิชาโทได้ด้วย
โดยในการเรียนการสอนจะเน้นการเรียนตัวอักษรทั้งตัวเต็มและตัวย่อ เนื่องจากอยากให้นักศึกษามีความรู้รอบด้าน และเรียนจบสามารถไปทำงานได้ทั้งบริษัทที่ติดต่อกับจีนแผ่นดินใหญ่ หรือบริษัทไต้หวัน หรือฮ่องกงที่ยังใช้ตัวอักษรตัวเต็มในการทำงานอยู่ได้ด้วย
นอกจากนี้ ม.หัวเฉียวได้มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทด้วย ซึ่งจะเน้นวรรณคดีจีนสมัยใหม่และวรรณคดีจีนร่วมสมัย ซึ่งได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวของจีน ในการส่งอาจารย์มาสอน และให้นักศึกษาเดินทางไปซัมเมอร์ที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวของจีนเป็นเวลา 10 วัน เพื่อไปสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์กับอาจารย์จีนด้วย
กระแสการเรียนภาษาจีนในประเทศไทย นับวันยิ่งมีมากขึ้น และไม่ใช่กระแสที่ตกไปได้ง่ายๆ เมื่อจีน กลายเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจโลก และนับวันยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นในเวทีการค้าโลก ด้วยเหตุนี้การเรียนภาษาจีนในระดับต่างๆ จึงได้รับความสนใจจากทั้งผู้ปกครองและตัวนักเรียนเองมากขึ้น โดยเฉพาะการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ที่หลายมหาวิทยาลัยต่างปรับตัวรองรับ!
จุฬาฯเปิดระดับป.เอก
ดร.สุรีย์ ชุณหเรืองเดช หัวหน้าสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สาขาวิชาภาษาจีนของจุฬาฯ ปัจจุบันมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และกำลังจะเปิดปริญญาเอกในปีการศึกษา 2552 ที่จะถึงนี้
ในระดับปริญญาตรี ทางจุฬาฯ ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลจีน และสถานทูตจีนประจำประเทศไทย ในการส่งอาจารย์จีนจาก HANBAN มาช่วยเป็นอาจารย์สอนตั้งแต่ปี 1-ปี 2 โดยจะเน้นสอนในวิชาเกี่ยวกับการสนทนา จากนั้นจึงจะเรียนในขั้นสูงขึ้น โดยการเรียนการสอนภาษาจีนของสาขาวิชาฯ จะเน้นการเรียนการสอนทั้งอักษรตัวเต็มและตัวย่อ เมื่อนิสิตจบการศึกษาไปก็จะสามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย
ในระดับปริญญาโท การเรียนการสอนภาษาจีนถือว่าก้าวหน้ามาก เนื่องจากในระดับปริญญาโท จะมีการเปิดทั้งภาคปกติ ที่สอนทั้งเป็นภาษาไทย และภาษาจีน และมีหลักสูตรนานาชาติ ที่จะมีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาจีนด้วย รวมทั้งได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ที่จะมีการส่งนิสิตไปเรียนที่ประเทศจีนเป็นเวลา 1 เดือนครึ่ง -2 เดือน เพื่อไปหาข้อมูล และเพื่อไปปรึกษากับอาจารย์สอนภาษาจีนที่นั่น เพื่อกลับมาทำวิทยานิพนธ์ด้วย ซึ่งขณะนี้ได้เปิดสอนมาแล้วจำนวน 6 รุ่น
ปัจจุบัน จุฬาฯ มีความพร้อมที่จะเปิดสอนในระดับปริญญาเอกในปีการศึกษา 2552 นี้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่จะมีการเปิดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับนี้ในประเทศไทยด้วย
มธ. ปรับหลักสูตรเข้าสถานการณ์ปัจจุบัน
รศ.ดร.มาลินี ดิลกวณิช อาจารย์ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรทุก 5 ปี ซึ่งในปี 2552 นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรที่มีความก้าวหน้ามาก เพราะมีการปรับหลักสูตรให้ทันสมัย และมุ่งเน้นการนำไปใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น
โดยจะเน้นสาระเนื้อหาวิชาเป็นตัวตั้ง แทนการเรียนที่เน้นทักษะ ซึ่งเป็นหลักสูตรโบราณที่ไม่ตอบสนองกับโลกในปัจจุบัน เพราะการรู้แค่ภาษาจีนวันนี้ไม่เพียงพอ เพราะไม่สามารถคุยสาระด้านอื่นๆของจีนได้ แต่ก็ไม่ทิ้งการเรียนทักษะที่ต้องเรียนควบคู่กันไป
สิ่งที่เน้นคือภาษาต้องถูกต้อง และสาระเนื้อหาที่เข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาใหม่ๆ อย่าง จีนปัจจุบัน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองจีน ฯลฯ ซึ่งในทุกสาขาวิชาจะมีการนำทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน เข้าไปแทรกทุกวิชาด้วย อีกทั้งในการเรียนการสอนยังมีอาจารย์จีนเข้ามาช่วยสอนในทุกชั้นปีด้วย
ทั้งนี้ในอนาคตอันใกล้นี้ มธ. กำลังเตรียมเปิดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับปริญญาโทด้วย โดยจะเรียนแบบสหวิทยาการ เป็นการบูรณาการความรู้ด้านภาษาจีนทุกด้าน เพื่อเน้นผลิตบุคลากรด้านจีนศึกษา
มก.เน้นเด็กดี-คุณธรรมขงจื๊อ
อาจารย์ นภ อึ๊งโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การเรียนการสอนภาษาจีนของคณะมนุษยศาสตร์ มก.นั้น นอกจากเน้นการใช้ทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน แล้ว ยังจะเน้นในเรื่องความรู้ด้านวรรณคดี และคำสอนของขงจื๊อ ด้วย เพราะมก.เชื่อว่า การผลิตบุคคลกรต้องเน้นที่การเป็นคนดี
ทั้งนี้การที่มก.มีสถาบันขงจื๊อ จึงมีข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาคือ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวของจีน ก็จะมีการมอบทุนการศึกษาให้นักศึกษาปีละ 4 ทุนการศึกษา เพื่อไปเรียนภาษาที่เมืองจีนเป็นระยะเวลา 10 เดือน ในชั้นปีการศึกษาที่ 3 ซึ่งจะมีการคัดเลือกโดยการสอบ และอาจารย์ชาวจีนจะเป็นคนออกข้อสอบ ขณะนี้ได้มีการส่งนักศึกษาไปเรียนแล้ว 2 รุ่น ซึ่งนับว่าได้ผลในการพัฒนาการเรียนภาษาจีนอย่างมาก
สำหรับการทำงาน เชื่อว่าตลาดแรงงานยังต้องการนักศึกษาที่มีความรู้ด้านจีนศึกษา โดยนักศึกษาที่จบการศึกษาไปในปี 2550 นอกเหนือจากคนที่ไปศึกษาต่อแล้ว ก็มีงานทำทุกคน
ม.บูรพาเน้น 4 ทักษะ
อาจารย์ ดารณี มณีลาภ อาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ม.บูรพา มีการเรียนการสอนภาษาจีนตั้งแต่ปี 2538 และมีการปรับหลักสูตรทุก 4 ปี ซึ่งในปี 2553 จะมีการปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับการเรียนการสอนในปัจจุบัน ในหลักสูตรปริญญาตรี จะเน้นการเรียนทักษะภาษาจีน ฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งทางม.บูรพา ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจีนหลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน มหาวิทยาลัยเวินโจว มหาวิทยาลัยยูนนาน มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง ฯลฯ ซึ่งจะมีการเชิญอาจารย์จีนมาสอนด้วย
มข.มีหลักสูตรร่วมเรียนไทย2 ปี-จีน 2ปี
อาจารย์ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การเรียนการสอนภาษาจีนของสาขาวิชาภาษาจีน จะแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ ภาษาจีนภาคปกติ และภาษาจีนธุรกิจ
โดยในภาคปกติจะเปิดรับนักศึกษาประมาณปีละ 60 คน ซึ่งทางสาขาวิชาฯ ได้มีความร่วมมือกับหลายมหาวิทยาลัยจีน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ยูนิเวอร์ซิตี้ มหาวิทยาลัยยูนนาน และมหาวิทยาลัยปักกิ่งยูเนียน ในการส่งอาจารย์จีนมาช่วยสอน ซึ่งมีทุนการศึกษาไปเรียนต่อที่จีนด้วย
ส่วนในภาคภาษาจีนธุรกิจจะเปิดรับนักศึกษาประมาณ ปีละ 100 คน จุดเด่นคือความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ยูนิเวอร์ซิตี้ มหานครฉงชิ่ง โดยนักศึกษาจะเรียนที่มข.2ปี และไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ฯ อีก 2 ปี ซึ่งได้ผลมากในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้การเรียนภาษาจีนก้าวหน้ามาก อีกทั้ง มข.จะมีโครงการเปิดสอนในระดับปริญญาโทในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
มช.เน้นพูด-สื่อสารได้ตั้งแต่ปี 2
ดร.กิตติชน ยงประพัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2552 จะมีการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีนที่ปรับปรุงใหม่ โดยในปี 1 ปี 2 จะเน้นทักษะ ฟังพูดอ่านเขียน โดยการพูดจะเน้นมากที่สุด เพราะต้องการให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ได้ประโยชน์ในการทำงานได้จริง โดยในปี 2 นักศึกษาจะสามารถสื่อสารเป็นภาษาจีนได้แล้ว
ส่วนชั้นปีที่ 3 จะมีการเรียนในวิชาต่างๆ เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น วิชาวัฒนธรรม วิชาปรัชญาจีน วิชาตัวอักษรจีน และยังมีวิชาเลือกเช่น วิชาการท่องเที่ยว วิชาธุรกิจจีน รวมถึงวิชาการแปลด้วย
นอกจากนี้ มช.ยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจีนหลายมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยคุนหมิง มหาวิทยาลัยเสฉวน ที่ได้ส่งอาจารย์จีนมาช่วยสอนด้วย สำหรับนักศึกษาที่เรียนจบไป ส่วนมากได้งานทำเกือบ 100% เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น
ม.หัวเฉียวส่งเด็กปี 3 เรียนที่จีน 1 ปีเต็ม
ดร.นริศ วศินานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ในระดับปริญญาตรี ม.หัวเฉียวได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวของจีน ซึ่งจะมีการส่งนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 ไปเรียนต่อที่จีนเป็นระยะเวลา 1 ปี เนื่องจากการไปเรียนในสภาพแวดล้อมจริง จะทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาจีนได้เร็ว
ทั้งนี้นักศึกษาตั้งแต่ปี 2 จะต้องเลือกเรียนขั้นสูงใน 2 ส่วนคือ ส่วนภาษาและวรรณคดีจีน และด้านธุรกิจ ตามความชอบ เพื่อเรียนในระดับสูงขึ้นในชั้นปีที่ 4 ด้วย ทั้งนี้สำหรับนักศึกษาส่วนต่างๆ สามารถเลือกเรียนอีกส่วนใช้เป็นวิชาโทได้ด้วย
โดยในการเรียนการสอนจะเน้นการเรียนตัวอักษรทั้งตัวเต็มและตัวย่อ เนื่องจากอยากให้นักศึกษามีความรู้รอบด้าน และเรียนจบสามารถไปทำงานได้ทั้งบริษัทที่ติดต่อกับจีนแผ่นดินใหญ่ หรือบริษัทไต้หวัน หรือฮ่องกงที่ยังใช้ตัวอักษรตัวเต็มในการทำงานอยู่ได้ด้วย
นอกจากนี้ ม.หัวเฉียวได้มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทด้วย ซึ่งจะเน้นวรรณคดีจีนสมัยใหม่และวรรณคดีจีนร่วมสมัย ซึ่งได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวของจีน ในการส่งอาจารย์มาสอน และให้นักศึกษาเดินทางไปซัมเมอร์ที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวของจีนเป็นเวลา 10 วัน เพื่อไปสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์กับอาจารย์จีนด้วย