นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงข่าวกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ รวม 20 คน ได้ยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. กล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.อ. จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. กับพวก ได้ร่วมกันเป็นตัวกลางผู้ใช้ ผู้สนันสนุน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธที่ร้ายแรง ปราบปรามการการชุมนุมโดยสงบ ทำให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บประมาณ 400 คน บาดเจ็บสาหัส 6 คน เสียชีวิต 2 คน ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทางฝ่ายผู้ร้องกล่าวหา ผู้ถูกร้องเรียน ว่า เป็นการปฎิบัติ หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา ขอให้ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ ความผิดตามอำนาจ หน้าที่
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาโดยทางเจ้าหน้าที่สำนักงานได้สรุปคำกล่าวหาร้องเรียน สรุปข้อเท็จจริงเสนอกรรมการแล้ว เห็นว่าหนังสือร้องเรียนของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ดังกล่าว ประกอบกับทางสื่อมวลชน และสื่อประเภทอื่น นับตั้งแต่ 7 ต.ค. ข้อเท็จจริงในชั้นต้นพอฟังได้ว่า พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พล.ต.ท. สุชาติ เหมือนแก้ว พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน ได้มีส่วนในการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุนุมนุมโดยใช้อาวุธที่ร้ายแรงเกินกว่าเหตุ อันเป็นการปฎิบัติ หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามที่กล่าวหา
ส่วนกรณีกล่าวหา นายสมชาย วงศ์สวัดิ์ นายกฯ และพล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร.ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฎข้อเท็จจริง และหลักฐานเพียงพอที่จะฟังได้ว่า มีส่วนร่วมในการสั่งการดังกล่าว ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน พล.ต.อ.พัชรวาท พล.ต.ท.สุชาติ พล.ต.ต.อำนวย โดยมี นายวิชา มหาคุน กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน หากการไต่สวนปรากฎว่า มีบุคคลอื่นร่วมในการกระทำความผิดครั้งนี้ด้วย ก็ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อมูลที่นำมาไต่สวนก่อนจะจัดตั้งคณะอนุกรรมการ มาจากส่วนไหนบ้าง นายกล้านรงค์ กล่าวว่า มาจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ส่งเอกสารประกอบคำร้อง และมาจากการติดตามรวบรวมข้อมูลจากสื่อ และเป็นเรื่องของคำร้องด้วย เป็นเรื่องเหตุที่ควรสงสัยด้วย ซึ่งคณะกรรมการป.ป.ช. สามารถหยิบยกมาทำการไต่สวนได้
ส่วนจะใช้เวลานานหรือไม่ ต้องเป็นไปตามกระบวนการ ซึ่งอนุกรรมการฯ ต้องแจ้งคำสั่งการตั้งอนุกรรมการไต่สวนให้กับผู้ถูกกล่าวหาทราบ หลังจากนั้นก็ต้องรอว่าจะคัดค้านหรือไม่ ถ้ามีการคัดค้าน ก็จะต้องนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อวินิจฉัยข้อคัดค้าน ถ้าเห็นว่าข้อคัดค้านไม่มีเหตุ ก็จะยกคำคัดค้าน และคณะกรรมการไต่สวนก็จะรวบรวมหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ และสอบพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีมูลก็จะแจ้งข้อกล่าวหา ให้แก้ข้อกล่าวหา โดยให้นำพยานบุคคลมาพิสูจน์ในขั้นของการไต่สวนได้ เมื่อรวบหลักฐานเสร็จแล้วคณะอนุกรรมการ ก็จะเสนอต่อคณะกรรมการป.ป.ช. ต่อไป เพราะกฎหมายกำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจน
เมื่อถามว่าในการพิจารณาทำไมถึงไม่มีชื่อนายกฯ ถูกไต่สวน เพราะนายกฯ อยู่ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรง นายกล้านรงค์ กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดูจากหลักฐานทั้งหมดแล้วเห็นว่า นายกฯ รวมทั้ง พล.ต.อ.จงรัก ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพียงพอที่จะชี้ ให้เห็นได้ว่าเป็นผู้ที่สั่งการ ดังนั้นจึงเป็น 3 ท่านก่อน หากการสอบสวนปรากฏว่ามีพยาน หลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือเอกสารได้พาดพิงถึงใครนอกจากนี้ หรือมีพยานเพียงพอสามารถขยายผลเพิ่มได้ ไม่จำเป็นต้องเฉพาะแค่ 5 คน
เมื่อถามว่า จะมีการขอมติครม. เมื่อคืนวันที่ 6 ต.ค. มาดูหรือไม่ นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ในกระบวนไต่สวน ต้องขอเอกสารทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นคำสั่ง หรือมติครม. เพราะป.ป.ช. สามารถขอเอกสาร และเรียกคนมาสอบสวนได้ ไม่ว่าจะเป็นเอกชน รัฐบาล หน่วยราชการ
**ชี้มูลความผิดสมชาย 16 ต.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ป.ป.ช. จะลงมติชี้มูลความผิด นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในสมัยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม กรณีสั่งระงับเรื่องไม่ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่มีความผิดกรณีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายทอดตลาดที่ดินศาลจังหวัดธัญบุรี มูลค่า 70 ล้านบาท ในวันที่ 16 ต.ค.นี้ พร้อมจะแถลงผลงานของ ป.ป.ช. ในรอบ 2 ปีด้วย
**"สุชาติ"อ้างทำตามคำสั่งนาย
ด้านพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. เปิดเผยถึงการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า เจ้าหน้าที่เป็นฝ่ายปฏิบัติ จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และตั้งมั่นที่จะป้องกันไม่ให้ 2 ฝ่าย ที่มีความขัดแย้งด้านความคิดมาเผชิญหน้าจนเกิดการปะทะกัน เพราะมีบทเรียนมาแล้ว เมื่อวันที่ 2 ก.ย. ที่กลุ่มนปก.ปะทะกับพันธมิตรฯ จนมีผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่จึงป้องกันไม่ให้ 2 ฝ่ายมาเผชิญหน้ากัน
ผบช.น. กล่าวว่าได้สั่งการให้ฝ่ายสืบสวนคอยติดตามความเคลื่อนไหวของทั้ง 2 กลุ่ม ขณะนี้ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะคนที่มาร่วมชุมนุมทั้งสองกลุ่มน้อยลงทุกวัน ความคิดอาจแตกต่างได้แต่ต้องไม่แตกแยก
สำหรับความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น พล.ต.ท.สุชาติ ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติ คงปฏิเสธไม่ได้ที่จะรับผิดชอบในส่วนของการกระทำ และขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการมาพิจารณาว่า ใครเป็นคนผิด และคณะกรรมการที่เยียวยาผู้เสียหาย คงต้องรอคณะกรรมการพิจารณาอีกครั้ง เราพร้อมที่จะรับคำตัดสินของคณะกรรมการอย่างไม่มีเงื่อนไข ในส่วนของเรื่องแก๊สน้ำตา เราเป็นผู้ปฏิบัติ ของที่นำมาใช้ เราไม่ได้เป็นคนซื้อ มีฝ่ายจัดซื้อจัดหามาให้เราใช้ควบคุมสถานการณ์ ทั้งหมดคงต้องรอผลสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการอีกครั้ง
**ไม่รู้"บิ๊กจิ๋ว"สั่งการหรือไม่
พล.ต.ท.สุชาติ ยังกล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในคืนวันที่ 6 ต.ค. ว่า ตนมีภารกิจตอนช่วง 02.00 น. จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม จึงไม่สามารถพูดได้ว่า พล.อ.ชวลิต เป็นผู้สั่งการหรือไม่ เพราะเป็นรายละเอียดในที่ประชุม ส่วนในตอนเช้ายอมรับว่าเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งได้นำแผนกรกฎ 48 มาใช้ ตนเป็น ผบช.น. ต้องเป็นผู้บัญชาการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว แต่คนที่เข้าไปปฏิบัติการต่างๆ เข้าไปควบคุมการปฏิบัติการในพื้นที่ มีทั้งผู้บัญชาการ และรองผู้บัญชาการต่างๆ อยู่ในเหตุการณ์ด้วย
"ตลอดเหตุการณ์ มีการประชุมหารือโดยตลอดว่าภารกิจที่มอบหมาย ต้องปฏิบัติการอย่างไร ตั้งแต่จะต้องทำ หรือไม่ ทำไมต้องทำ ต้องทำอย่างไร และทำอย่างไรที่จะสูญเสียน้อยที่สุด นี่คือหลักตามแผนกรกฎ 48" ผบช.น. กล่าว
**ระดมยิงแก๊สน้ำตาแค่ต้องการยับยั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมจึงมีการระดมยิงแก๊สน้ำตาเป็นจำนวนมาก พล.ต.ท.สุชาติ กล่าวว่า เป็นความจำเป็นที่จะต้องยับยั้งฝูงชน แต่คงไม่ใช่การสลาย หรือขับไล่ เราต้องป้องกันสถานที่สำคัญของราชการ ทั้งหมดตนขอรับผิดชอบ มันชัดเจนในตัวมันอยู่แล้ว ที่ตนเองต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
**ลิ่วล้อแม้ว แจ้งจับพันธมิตรฯ รุ่น 2
เวลา 15.30 น. วานนี้ ที่สน.ดุสิต นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี นายธเนศ เครือรัตน์ ส.ส.ศรีสะเกษ พล.ท.มะ โพธิ์งาม ส.ส.กาญจนบุรี นายวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคพลังประชาชน เดินทางเข้าพบ พ.ต.ต.ธันยวัต ชวาฤทธิ์ พนักงานสอบสวน (สบ 2) สน.ดุสิต เพื่อแจ้งความให้ดำเนินคดีกับแกนนำพันธมิตร รุ่น 2 ที่พาประชาชนไปปิดล้อมรัฐสภา ใน 2 ข้อหา ประกอบด้วย หน่วงเหนี่ยวกักขัง ตามมาตรา 310 "ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวกักขังผูอื่น หรือกระทำด้วยประการใด ให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้น กระทำการใด ให้แก่ผู้กระทำ หรือบุคคอื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท" และข้อหาข่มขู่ ทำให้เกิดความกลัว ตามมาตรา 392 "ผู้ใด ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญ มีโทษปรับไม่เกิน 1 พันบาท" โดยนำหลักฐานเป็นภาพถ่ายกล้องวงจรปิดรอบอาคารรัฐสภา ที่ถูกกลุ่มพันธมิตรฯ ใช้ผ้าดำคลุม ภาพรอยกระสุนที่กระจกชั้น 2 ของอาคาร 2 รัฐสภา มอบไว้ให้เป็นหลักฐานด้วย
นายสุชาติ กล่าวว่า ที่มาแจ้งความ เนื่องจากเมื่อวันที่ 7 ต.ค. มีการประชุมสภา เพื่อแถลงนโยบายของรัฐบาล กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ไปปิดล้อมอาคารรัฐสภาไว้ ทำให้ส.ส.ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ และภายหลังเมื่อเข้าไปประชุมสภาได้แล้ว กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ยังปิดล้อมอาคารรัฐสภาอยู่ นอกจากนี้ ยังมีการตะโกนข่มขู่ต่างๆ นานา จนกระทั่งประชุมสภาเสร็จ ก็ไม่สามารถกลับออกมาได้ ถูกปิดล้อมอยู่นาน จนช่วงเย็นในเวลา 16.00 น. จึงสามารถออกมาได้เพียงบางส่วน
"กลุ่มผู้ชุมนุม พยายามจะพังรั้วเข้าไปข้างใน นอกจากนี้ ยังมีการตะโกนขู่ฆ่า ปลุกระดมกลุ่มผู้ชุมนุมให้เข้าไปฆ่ามัน ซึ่งหากพังรั้วเข้าไปได้ ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น เนื่องจากทางกลุ่มพันธมิตรฯ มีการเตรียมยาง และน้ำมัน เหมือนจะเข้าไปเผา ส่วนรอยกระสุน เกิดขึ้นช่วงประมาณเวลา 17.30 น. ที่กลุ่มพันธมิตรฯ พยายามจะบุกเข้าไป และกลุ่มพันธมิตรฯ มีการใช้ปืนยิงใส่เจ้าหน้าที่ จึงมีรอยกระสุนอยู่ที่กระจกชั้น 2 ของอาคาร 2 รัฐสภา นอกจากนี้ ยังมีการนำ ผ้าดำ ไปปิดกล้องไว้หมดโดยรอบด้วย "
นายสุชาติ กล่าวว่าในเบื้องต้น ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีกับแกนนำทั้ง 4 คน ก่อนประกอบด้วย นายอมร อมรรัตนานนท์ นายศิริชัย ไม้งาม นายสำราญ รอดเพชร นายสาวิทย์ แก้วหวาน ซึ่งเบื้องต้นพบว่า มี 4 คนดังกล่าว ที่เป็นแกนนำ และหลังจากนี้หากตรวจสอบหลักฐานพบว่ามีแกนนำคนใดเพิ่มเติม ก็จะมาแจ้งความดำเนินคดีเพิ่มเติมภายหลัง
ด้านพ.ต.ต.ธันยวัต กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้รับแจ้งความไว้ จากนั้นจะสอบปากคำผู้เสียหายทั้งหมด และจะรวบรวมคำให้การ ส่งให้คณะกรรมการของ บช.น. ซึ่งทำคดีเกี่ยวกับพันธมิตรฯ อยู่แล้ว ดำเนินการต่อไป
**ตั้ง"ปรีชา"ประธาน กก.สอบสวน
สำหรับความเคลื่อนไหวของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (14 ต.ค.) นายสมชาย เดินทางถึงสนามบินดอนเมือง เพื่อเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามปกติ
หลังการประชุมครม. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ วันที่ 7 ต.ค.51 เพื่อให้ได้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และรายละเอียดต่างๆจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเพื่อให้การดำเนินงานในเรื่องนี้มีความเป็นกลาง เป็นธรรม ตลอดจนสร้างความเข้าใจอันดี และความปรองดองสมานฉันท์ในหมู่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาชนทั่วไป
อาศัยความตามในมาตรา11 (6) และ (9) แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกฯโดยความเห็นชอบของครม. จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระฯ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นคณะหนึ่ง มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
นายปรีชา พานิชวงศ์ เป็นประธานกรรมการ นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา พล.ร.อ.ชลินทร์ สาครสินธุ์ นายสหาย ทรัพย์สุนทร นายจรัส สุวรรณเวลา นายประเสริฐ บุญศรี คุณพรทิพย์ จาละ นายยุวรัตน์ กมลเวชช์ นายสมชาย ผลเอี่ยมเอก นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นกรรมการ และนายวิชัย ตันติกุลานนท์ เป็นกรรมการ และเลขานุการ
โดยมี อำนาจหน้าที่ 1.รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง ตลอดจนรายละเอียดต่างๆรวมทั้งรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับเหตุการณ์
2. ในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ ให้ทุกกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนในการจัดส่งข้อมูลเอกสาร และหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ รวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจงตามที่คณะกรรมการร้องขอ
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานตามความจำเป็นเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
4. จัดทำรายงาน ข้อเสนอแนะ และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นต่อนายกฯ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี และความปรองดองสมานฉันท์
5 . ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการฯลฯ ให้ได้รับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นตามที่ได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง และเบิกจ่ายงบประมาณจากสำนักเลขาธิการนายกฯ
6. ให้สำนักเลขาธิการนายกฯ จัดหาสถานที่ปฏิบัติงาน และสถานที่ประชุมตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน
7. ให้สำนักเลขาธิการนายกฯ และสำนักงบประมาณ จัดสรรเงินงบประมาณให้เพียงพอกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
**ตั้ง"ชวรัตน์"ประธาน กก.เยียวยา
นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติคำสั่งสำนักนายกฯ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยา และช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ 7 ต.ค.51 และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อเยียวยาและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับผู้เสียหายตลอดจนสร้างความเข้าใจอันดีและความปรองดองสมานฉันท์ ในหมู่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาชนโดยทั่วไป โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยาฯ มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รองนายกฯเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกทม. ผอ.สำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผบ.ตร. อัยการสูงสุด อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ผอ.สำนักการแพทย์กทม. เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศูนย์นเรนทร) เจ้ากรมกิจการพลเรือน ที่ปรึกษารองนายกฯ และเลขาธิการรองนายกฯ เป็นกรรมการ และปลัดสำนักนายกฯ เป็นกรรมการ และเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่
1. กำหนดกรอบการพิจารณาเยียวและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ 7 ต.ต.51 และเหตุการณ์เกี่ยวเนื่อง ก่อนหน้าและหลังนั้น ตามที่เห็นสมควร
2. รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง รายละเอียดต่างๆ รวมทั้งรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดเหตุการณ์ตามข้อ 1 . เพื่อประกอบพิจารณาดำเนินการ
3 . ตรวจสอบและรับรองบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ ซึ่งสมควรได้รับการเยียวยา และช่วยเหลือ 4 . ประสานงาน หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน 5. เรียกเอกสาร และเจ้าหน้าที่มาให้ข้อมูล
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ มาช่วยเหลือตามความจำเป็น 7. รายงานผลการดำเนินงานให้นายกฯรับทราบเป็นระยะ 8. จัดทำรายงานและข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์มาตรการอื่นๆในการเยียวยา และช่วยเหลือต่อนายกฯ และครม.ตามลำดับ เมื่อได้รับการอนุมัติจากครม.แล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
9.ให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการคตามคำสั่งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน และขอขยายเวลาได้ตามความจำเป็น 10 . ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกฯ หรือ ครม.มอบหมาย 11 . ให้คณะกรรมการฯลฯ ให้ได้รับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นตามที่ได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง และเบิกจ่ายงบประมาณจากสำนักเลขาธิการนายกฯ
12 ให้สำนักปลัดสำนักนายกฯ และสำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้เพียงพอกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯลฯ
ทั้งนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระฯ ชุดของนายปรีชานั้น รัฐบาลไม่มีส่วนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ การสรรหากรรมการฯ โดยมอบให้นายปรีชา ทาบทามบุคคลมาเป็นกรรมการได้อย่างเต็มที่ และน่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้สังคมได้พอควร ในการทำหน้าที่ และเรื่องสำคัญที่สังคมจับตามอง และเชื่อว่าคณะกรรมการฯ น่าจะทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อนำความจริงมาสู่สังคม ทั้งนี้จะดำเนินการโดยเร่งด่วน แม้รัฐบาลจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการทำงาน
**นายกฯไม่ปริปากพูดเรื่องการเมือง
นายณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมครม. นายกฯไม่ได้พูดถึงสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาล นอกจากว่า เมื่อวันที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา นายกฯได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายรายงาน การปฏิบัติราชการตามปกติเท่านั้น
**"สล้าง"โผล่ชวน"สมพงษ์"กินเหล้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา18.20 น. พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีตรอง ผบ.ตร. เดินทางมายังสนามบินดอนเมือง โดยพล.ต.อ.สล้าง กล่าวว่า มาเยี่ยม นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ เพื่อชวนไปกินเหล้า ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ พล.ต.อ.สล้าง เดินทางมาพบนายสมพงษ์ ปรากฎว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยังคงทำงานอยู่ที่ห้องทำงาน จากนั้นในเวลา 18.50 น. นายสมพงษ์ เดินทางออกจากดอนเมือง พร้อมทั้งกล่าวว่า พล.ต.อ.สล้าง เเวะมาเยี่ยมเฉยๆไม่มีอะไร
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่าในเวลาไล่เลี่ยกันนายสมชาย ก็ได้เดินทางออกจากที่ทำงานที่ดอนเมืองเช่นกันโดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาโดยทางเจ้าหน้าที่สำนักงานได้สรุปคำกล่าวหาร้องเรียน สรุปข้อเท็จจริงเสนอกรรมการแล้ว เห็นว่าหนังสือร้องเรียนของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ดังกล่าว ประกอบกับทางสื่อมวลชน และสื่อประเภทอื่น นับตั้งแต่ 7 ต.ค. ข้อเท็จจริงในชั้นต้นพอฟังได้ว่า พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พล.ต.ท. สุชาติ เหมือนแก้ว พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน ได้มีส่วนในการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุนุมนุมโดยใช้อาวุธที่ร้ายแรงเกินกว่าเหตุ อันเป็นการปฎิบัติ หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามที่กล่าวหา
ส่วนกรณีกล่าวหา นายสมชาย วงศ์สวัดิ์ นายกฯ และพล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร.ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฎข้อเท็จจริง และหลักฐานเพียงพอที่จะฟังได้ว่า มีส่วนร่วมในการสั่งการดังกล่าว ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน พล.ต.อ.พัชรวาท พล.ต.ท.สุชาติ พล.ต.ต.อำนวย โดยมี นายวิชา มหาคุน กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน หากการไต่สวนปรากฎว่า มีบุคคลอื่นร่วมในการกระทำความผิดครั้งนี้ด้วย ก็ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ข้อมูลที่นำมาไต่สวนก่อนจะจัดตั้งคณะอนุกรรมการ มาจากส่วนไหนบ้าง นายกล้านรงค์ กล่าวว่า มาจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ส่งเอกสารประกอบคำร้อง และมาจากการติดตามรวบรวมข้อมูลจากสื่อ และเป็นเรื่องของคำร้องด้วย เป็นเรื่องเหตุที่ควรสงสัยด้วย ซึ่งคณะกรรมการป.ป.ช. สามารถหยิบยกมาทำการไต่สวนได้
ส่วนจะใช้เวลานานหรือไม่ ต้องเป็นไปตามกระบวนการ ซึ่งอนุกรรมการฯ ต้องแจ้งคำสั่งการตั้งอนุกรรมการไต่สวนให้กับผู้ถูกกล่าวหาทราบ หลังจากนั้นก็ต้องรอว่าจะคัดค้านหรือไม่ ถ้ามีการคัดค้าน ก็จะต้องนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อวินิจฉัยข้อคัดค้าน ถ้าเห็นว่าข้อคัดค้านไม่มีเหตุ ก็จะยกคำคัดค้าน และคณะกรรมการไต่สวนก็จะรวบรวมหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ และสอบพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีมูลก็จะแจ้งข้อกล่าวหา ให้แก้ข้อกล่าวหา โดยให้นำพยานบุคคลมาพิสูจน์ในขั้นของการไต่สวนได้ เมื่อรวบหลักฐานเสร็จแล้วคณะอนุกรรมการ ก็จะเสนอต่อคณะกรรมการป.ป.ช. ต่อไป เพราะกฎหมายกำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจน
เมื่อถามว่าในการพิจารณาทำไมถึงไม่มีชื่อนายกฯ ถูกไต่สวน เพราะนายกฯ อยู่ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรง นายกล้านรงค์ กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดูจากหลักฐานทั้งหมดแล้วเห็นว่า นายกฯ รวมทั้ง พล.ต.อ.จงรัก ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพียงพอที่จะชี้ ให้เห็นได้ว่าเป็นผู้ที่สั่งการ ดังนั้นจึงเป็น 3 ท่านก่อน หากการสอบสวนปรากฏว่ามีพยาน หลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือเอกสารได้พาดพิงถึงใครนอกจากนี้ หรือมีพยานเพียงพอสามารถขยายผลเพิ่มได้ ไม่จำเป็นต้องเฉพาะแค่ 5 คน
เมื่อถามว่า จะมีการขอมติครม. เมื่อคืนวันที่ 6 ต.ค. มาดูหรือไม่ นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ในกระบวนไต่สวน ต้องขอเอกสารทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นคำสั่ง หรือมติครม. เพราะป.ป.ช. สามารถขอเอกสาร และเรียกคนมาสอบสวนได้ ไม่ว่าจะเป็นเอกชน รัฐบาล หน่วยราชการ
**ชี้มูลความผิดสมชาย 16 ต.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ป.ป.ช. จะลงมติชี้มูลความผิด นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในสมัยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม กรณีสั่งระงับเรื่องไม่ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่มีความผิดกรณีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการขายทอดตลาดที่ดินศาลจังหวัดธัญบุรี มูลค่า 70 ล้านบาท ในวันที่ 16 ต.ค.นี้ พร้อมจะแถลงผลงานของ ป.ป.ช. ในรอบ 2 ปีด้วย
**"สุชาติ"อ้างทำตามคำสั่งนาย
ด้านพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. เปิดเผยถึงการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า เจ้าหน้าที่เป็นฝ่ายปฏิบัติ จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และตั้งมั่นที่จะป้องกันไม่ให้ 2 ฝ่าย ที่มีความขัดแย้งด้านความคิดมาเผชิญหน้าจนเกิดการปะทะกัน เพราะมีบทเรียนมาแล้ว เมื่อวันที่ 2 ก.ย. ที่กลุ่มนปก.ปะทะกับพันธมิตรฯ จนมีผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่จึงป้องกันไม่ให้ 2 ฝ่ายมาเผชิญหน้ากัน
ผบช.น. กล่าวว่าได้สั่งการให้ฝ่ายสืบสวนคอยติดตามความเคลื่อนไหวของทั้ง 2 กลุ่ม ขณะนี้ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะคนที่มาร่วมชุมนุมทั้งสองกลุ่มน้อยลงทุกวัน ความคิดอาจแตกต่างได้แต่ต้องไม่แตกแยก
สำหรับความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น พล.ต.ท.สุชาติ ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติ คงปฏิเสธไม่ได้ที่จะรับผิดชอบในส่วนของการกระทำ และขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการมาพิจารณาว่า ใครเป็นคนผิด และคณะกรรมการที่เยียวยาผู้เสียหาย คงต้องรอคณะกรรมการพิจารณาอีกครั้ง เราพร้อมที่จะรับคำตัดสินของคณะกรรมการอย่างไม่มีเงื่อนไข ในส่วนของเรื่องแก๊สน้ำตา เราเป็นผู้ปฏิบัติ ของที่นำมาใช้ เราไม่ได้เป็นคนซื้อ มีฝ่ายจัดซื้อจัดหามาให้เราใช้ควบคุมสถานการณ์ ทั้งหมดคงต้องรอผลสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการอีกครั้ง
**ไม่รู้"บิ๊กจิ๋ว"สั่งการหรือไม่
พล.ต.ท.สุชาติ ยังกล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในคืนวันที่ 6 ต.ค. ว่า ตนมีภารกิจตอนช่วง 02.00 น. จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม จึงไม่สามารถพูดได้ว่า พล.อ.ชวลิต เป็นผู้สั่งการหรือไม่ เพราะเป็นรายละเอียดในที่ประชุม ส่วนในตอนเช้ายอมรับว่าเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งได้นำแผนกรกฎ 48 มาใช้ ตนเป็น ผบช.น. ต้องเป็นผู้บัญชาการโดยตำแหน่งอยู่แล้ว แต่คนที่เข้าไปปฏิบัติการต่างๆ เข้าไปควบคุมการปฏิบัติการในพื้นที่ มีทั้งผู้บัญชาการ และรองผู้บัญชาการต่างๆ อยู่ในเหตุการณ์ด้วย
"ตลอดเหตุการณ์ มีการประชุมหารือโดยตลอดว่าภารกิจที่มอบหมาย ต้องปฏิบัติการอย่างไร ตั้งแต่จะต้องทำ หรือไม่ ทำไมต้องทำ ต้องทำอย่างไร และทำอย่างไรที่จะสูญเสียน้อยที่สุด นี่คือหลักตามแผนกรกฎ 48" ผบช.น. กล่าว
**ระดมยิงแก๊สน้ำตาแค่ต้องการยับยั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมจึงมีการระดมยิงแก๊สน้ำตาเป็นจำนวนมาก พล.ต.ท.สุชาติ กล่าวว่า เป็นความจำเป็นที่จะต้องยับยั้งฝูงชน แต่คงไม่ใช่การสลาย หรือขับไล่ เราต้องป้องกันสถานที่สำคัญของราชการ ทั้งหมดตนขอรับผิดชอบ มันชัดเจนในตัวมันอยู่แล้ว ที่ตนเองต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
**ลิ่วล้อแม้ว แจ้งจับพันธมิตรฯ รุ่น 2
เวลา 15.30 น. วานนี้ ที่สน.ดุสิต นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี นายธเนศ เครือรัตน์ ส.ส.ศรีสะเกษ พล.ท.มะ โพธิ์งาม ส.ส.กาญจนบุรี นายวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคพลังประชาชน เดินทางเข้าพบ พ.ต.ต.ธันยวัต ชวาฤทธิ์ พนักงานสอบสวน (สบ 2) สน.ดุสิต เพื่อแจ้งความให้ดำเนินคดีกับแกนนำพันธมิตร รุ่น 2 ที่พาประชาชนไปปิดล้อมรัฐสภา ใน 2 ข้อหา ประกอบด้วย หน่วงเหนี่ยวกักขัง ตามมาตรา 310 "ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวกักขังผูอื่น หรือกระทำด้วยประการใด ให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้น กระทำการใด ให้แก่ผู้กระทำ หรือบุคคอื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท" และข้อหาข่มขู่ ทำให้เกิดความกลัว ตามมาตรา 392 "ผู้ใด ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือความตกใจ โดยการขู่เข็ญ มีโทษปรับไม่เกิน 1 พันบาท" โดยนำหลักฐานเป็นภาพถ่ายกล้องวงจรปิดรอบอาคารรัฐสภา ที่ถูกกลุ่มพันธมิตรฯ ใช้ผ้าดำคลุม ภาพรอยกระสุนที่กระจกชั้น 2 ของอาคาร 2 รัฐสภา มอบไว้ให้เป็นหลักฐานด้วย
นายสุชาติ กล่าวว่า ที่มาแจ้งความ เนื่องจากเมื่อวันที่ 7 ต.ค. มีการประชุมสภา เพื่อแถลงนโยบายของรัฐบาล กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ไปปิดล้อมอาคารรัฐสภาไว้ ทำให้ส.ส.ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ และภายหลังเมื่อเข้าไปประชุมสภาได้แล้ว กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ยังปิดล้อมอาคารรัฐสภาอยู่ นอกจากนี้ ยังมีการตะโกนข่มขู่ต่างๆ นานา จนกระทั่งประชุมสภาเสร็จ ก็ไม่สามารถกลับออกมาได้ ถูกปิดล้อมอยู่นาน จนช่วงเย็นในเวลา 16.00 น. จึงสามารถออกมาได้เพียงบางส่วน
"กลุ่มผู้ชุมนุม พยายามจะพังรั้วเข้าไปข้างใน นอกจากนี้ ยังมีการตะโกนขู่ฆ่า ปลุกระดมกลุ่มผู้ชุมนุมให้เข้าไปฆ่ามัน ซึ่งหากพังรั้วเข้าไปได้ ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น เนื่องจากทางกลุ่มพันธมิตรฯ มีการเตรียมยาง และน้ำมัน เหมือนจะเข้าไปเผา ส่วนรอยกระสุน เกิดขึ้นช่วงประมาณเวลา 17.30 น. ที่กลุ่มพันธมิตรฯ พยายามจะบุกเข้าไป และกลุ่มพันธมิตรฯ มีการใช้ปืนยิงใส่เจ้าหน้าที่ จึงมีรอยกระสุนอยู่ที่กระจกชั้น 2 ของอาคาร 2 รัฐสภา นอกจากนี้ ยังมีการนำ ผ้าดำ ไปปิดกล้องไว้หมดโดยรอบด้วย "
นายสุชาติ กล่าวว่าในเบื้องต้น ได้แจ้งความให้ดำเนินคดีกับแกนนำทั้ง 4 คน ก่อนประกอบด้วย นายอมร อมรรัตนานนท์ นายศิริชัย ไม้งาม นายสำราญ รอดเพชร นายสาวิทย์ แก้วหวาน ซึ่งเบื้องต้นพบว่า มี 4 คนดังกล่าว ที่เป็นแกนนำ และหลังจากนี้หากตรวจสอบหลักฐานพบว่ามีแกนนำคนใดเพิ่มเติม ก็จะมาแจ้งความดำเนินคดีเพิ่มเติมภายหลัง
ด้านพ.ต.ต.ธันยวัต กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้รับแจ้งความไว้ จากนั้นจะสอบปากคำผู้เสียหายทั้งหมด และจะรวบรวมคำให้การ ส่งให้คณะกรรมการของ บช.น. ซึ่งทำคดีเกี่ยวกับพันธมิตรฯ อยู่แล้ว ดำเนินการต่อไป
**ตั้ง"ปรีชา"ประธาน กก.สอบสวน
สำหรับความเคลื่อนไหวของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.วานนี้ (14 ต.ค.) นายสมชาย เดินทางถึงสนามบินดอนเมือง เพื่อเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามปกติ
หลังการประชุมครม. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมว่า นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ วันที่ 7 ต.ค.51 เพื่อให้ได้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และรายละเอียดต่างๆจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเพื่อให้การดำเนินงานในเรื่องนี้มีความเป็นกลาง เป็นธรรม ตลอดจนสร้างความเข้าใจอันดี และความปรองดองสมานฉันท์ในหมู่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาชนทั่วไป
อาศัยความตามในมาตรา11 (6) และ (9) แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกฯโดยความเห็นชอบของครม. จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระฯ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นคณะหนึ่ง มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
นายปรีชา พานิชวงศ์ เป็นประธานกรรมการ นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา พล.ร.อ.ชลินทร์ สาครสินธุ์ นายสหาย ทรัพย์สุนทร นายจรัส สุวรรณเวลา นายประเสริฐ บุญศรี คุณพรทิพย์ จาละ นายยุวรัตน์ กมลเวชช์ นายสมชาย ผลเอี่ยมเอก นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นกรรมการ และนายวิชัย ตันติกุลานนท์ เป็นกรรมการ และเลขานุการ
โดยมี อำนาจหน้าที่ 1.รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง ตลอดจนรายละเอียดต่างๆรวมทั้งรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับเหตุการณ์
2. ในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ ให้ทุกกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนในการจัดส่งข้อมูลเอกสาร และหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ รวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจงตามที่คณะกรรมการร้องขอ
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานตามความจำเป็นเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
4. จัดทำรายงาน ข้อเสนอแนะ และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นต่อนายกฯ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี และความปรองดองสมานฉันท์
5 . ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการฯลฯ ให้ได้รับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นตามที่ได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง และเบิกจ่ายงบประมาณจากสำนักเลขาธิการนายกฯ
6. ให้สำนักเลขาธิการนายกฯ จัดหาสถานที่ปฏิบัติงาน และสถานที่ประชุมตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน
7. ให้สำนักเลขาธิการนายกฯ และสำนักงบประมาณ จัดสรรเงินงบประมาณให้เพียงพอกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
**ตั้ง"ชวรัตน์"ประธาน กก.เยียวยา
นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติคำสั่งสำนักนายกฯ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยา และช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ 7 ต.ค.51 และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อเยียวยาและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับผู้เสียหายตลอดจนสร้างความเข้าใจอันดีและความปรองดองสมานฉันท์ ในหมู่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาชนโดยทั่วไป โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยาฯ มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รองนายกฯเป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกทม. ผอ.สำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผบ.ตร. อัยการสูงสุด อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ผอ.สำนักการแพทย์กทม. เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศูนย์นเรนทร) เจ้ากรมกิจการพลเรือน ที่ปรึกษารองนายกฯ และเลขาธิการรองนายกฯ เป็นกรรมการ และปลัดสำนักนายกฯ เป็นกรรมการ และเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่
1. กำหนดกรอบการพิจารณาเยียวและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ 7 ต.ต.51 และเหตุการณ์เกี่ยวเนื่อง ก่อนหน้าและหลังนั้น ตามที่เห็นสมควร
2. รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง รายละเอียดต่างๆ รวมทั้งรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดเหตุการณ์ตามข้อ 1 . เพื่อประกอบพิจารณาดำเนินการ
3 . ตรวจสอบและรับรองบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ ซึ่งสมควรได้รับการเยียวยา และช่วยเหลือ 4 . ประสานงาน หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน 5. เรียกเอกสาร และเจ้าหน้าที่มาให้ข้อมูล
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ มาช่วยเหลือตามความจำเป็น 7. รายงานผลการดำเนินงานให้นายกฯรับทราบเป็นระยะ 8. จัดทำรายงานและข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์มาตรการอื่นๆในการเยียวยา และช่วยเหลือต่อนายกฯ และครม.ตามลำดับ เมื่อได้รับการอนุมัติจากครม.แล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
9.ให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการคตามคำสั่งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน และขอขยายเวลาได้ตามความจำเป็น 10 . ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกฯ หรือ ครม.มอบหมาย 11 . ให้คณะกรรมการฯลฯ ให้ได้รับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นตามที่ได้ตกลงกับกระทรวงการคลัง และเบิกจ่ายงบประมาณจากสำนักเลขาธิการนายกฯ
12 ให้สำนักปลัดสำนักนายกฯ และสำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้เพียงพอกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯลฯ
ทั้งนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระฯ ชุดของนายปรีชานั้น รัฐบาลไม่มีส่วนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ การสรรหากรรมการฯ โดยมอบให้นายปรีชา ทาบทามบุคคลมาเป็นกรรมการได้อย่างเต็มที่ และน่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้สังคมได้พอควร ในการทำหน้าที่ และเรื่องสำคัญที่สังคมจับตามอง และเชื่อว่าคณะกรรมการฯ น่าจะทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อนำความจริงมาสู่สังคม ทั้งนี้จะดำเนินการโดยเร่งด่วน แม้รัฐบาลจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาการทำงาน
**นายกฯไม่ปริปากพูดเรื่องการเมือง
นายณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมครม. นายกฯไม่ได้พูดถึงสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาล นอกจากว่า เมื่อวันที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา นายกฯได้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายรายงาน การปฏิบัติราชการตามปกติเท่านั้น
**"สล้าง"โผล่ชวน"สมพงษ์"กินเหล้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา18.20 น. พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีตรอง ผบ.ตร. เดินทางมายังสนามบินดอนเมือง โดยพล.ต.อ.สล้าง กล่าวว่า มาเยี่ยม นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ เพื่อชวนไปกินเหล้า ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่ พล.ต.อ.สล้าง เดินทางมาพบนายสมพงษ์ ปรากฎว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยังคงทำงานอยู่ที่ห้องทำงาน จากนั้นในเวลา 18.50 น. นายสมพงษ์ เดินทางออกจากดอนเมือง พร้อมทั้งกล่าวว่า พล.ต.อ.สล้าง เเวะมาเยี่ยมเฉยๆไม่มีอะไร
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่าในเวลาไล่เลี่ยกันนายสมชาย ก็ได้เดินทางออกจากที่ทำงานที่ดอนเมืองเช่นกันโดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ