หลังจากที่สังคมไทยตกอยู่ในวังวนของข้อสงสัยและปัญหาเกี่ยวกับความสามารถ และประสิทธิภาพของเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 (GT 200) อยู่หลายสัปดาห์ ในที่สุดเมื่อวันอังคารที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมาสื่อมวลชนและคนไทยก็ได้คำตอบในส่วนหลักการการทำงานของเครื่องมือดังกล่าวในระดับหนึ่ง
วันที่ 2 ก.พ. จากการเปิดสัมมนาเรื่อง “หลักการทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารเสพติด” โดยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการเชิญนักวิทยาศาสตร์ระดับอาจารย์เพื่อมาค้นหาคำตอบในส่วนของ “หลักการทำงาน” ของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ได้ข้อสรุปสั้นๆ ว่า ในทางทฤษฎีและทางวิชาการแล้ว “เครื่องจีที 200” เปรียบเสมือนเป็นเทคโนโลยีที่หลุดมาจากโลกอนาคต เหมือนกับว่าเรากำลังพูดถึงเครื่องไมโครเวฟในยุคที่เตาแก๊สเพิ่งเริ่มมีใช้ หรือกล่าวถึงเทคโนโลยี 3G ในยุคที่โทรศัพท์บ้านเพิ่งเริ่มแพร่หลาย
เพราะ จากปากคำของนักวิทยาศาสตร์ระดับศาสตราจารย์ และ อาจารย์หลายท่านชี้ให้เห็นตรงกันว่า “เหลือเชื่อ” เช่น
ศ.เกียรติคุณ ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ม.เชียงใหม่ “ตอนนี้มีเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเป็นจริงในอีก 30-50 ปี นั่นคือเทคโนโลยีโทรจิต (Noetic Science) ซึ่งใช้ไอออนและโฟตอนเป็นหัววัด และใช้หลักการควอนตัมเอนแทงเกิลเมนท์ (Quantum Entanglement) แต่ยังไม่สามารถทำได้จริงในตอนนี้ ถ้าผู้พัฒนา จีที 200 ทำได้จริง ก็ควรได้รับรางวัลโนเบล … เทคโนโลยีที่จะนำพลังงานจากตัวเราออกไปใช้เพื่อบอกว่าใครพกระเบิดในกระเป๋า เทคโนโลยีนี้ทำได้ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ ต้องรอไปอีก 50 ปี เราต้องแยกให้ออกระหว่างความฝันกับความจริง สำหรับฟิสิกส์แล้วเป็นความจริง”
ดร.พงษ์ ทรงพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ “คงไม่มีอะไรที่ทำขึ้นมา 1 เครื่องแล้ววัดได้ครอบจักรวาล”
ดร.กว้าน สีตะธนี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ “การส่งไฟฟ้าสถิตจากร่างกายคนไปยังเป้าหมายนั้นเป็นไปได้ยาก โดยเราจะเห็นปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตในร่างกายคนได้ในช่วงหน้าหนาวหรือในประเทศเมืองหนาว แต่ไฟฟ้าสถิตก็คายประจุได้เร็วมาก”
ณ เวลานี้อาจกล่าวสรุปได้ว่า ในเชิงวิทยาศาสตร์แล้ว จีที 200 เป็นได้อย่างมากก็เพียงแค่ “เครื่องมือลวงโลกราคาแพง” เท่านั้น แต่คำถามที่ผมสนใจก็คือ เหตุใดยังมีประชาชนบางส่วน นักการเมืองบางกลุ่ม นายทหารและตำรวจส่วนหนึ่งที่แสดงความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของเครื่อง จีที 200 อย่างเต็มเปี่ยม? บางคนถึงกับด่าทอนักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาเปิดโปงเรื่องนี้อย่างรุนแรง โดยไม่ฟังเหตุผล ไม่ฟังคำทักท้วงใดๆ เพียงแต่กล่าวว่า “ทหารใช้ได้ก็ให้เขาใช้ไป จะไปยุ่งอะไรกับเขา”, “คุณไปเสี่ยงตายอย่างพวกทหารเหรอ ถึงมาตั้งคำถามกับเครื่องมือของเขา”, “มีเครื่องมือตรวจวัดอะไรออกมาให้เขาใช้แทนหรือ ถึงมาล้อเลียนเขาอย่างนี้” ฯลฯ
ทว่า ในกรณีเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 นี้ จุดประสงค์ที่กองทัพใช้เงินภาษีของประชาชนซื้อหามามิใช่เพียงเพราะว่ามันเป็น “เครื่องมือที่ทหารใช้แล้วเกิดความเชื่อมั่น” แต่ซื้อหามาใช้ในราคาที่สูงลิ่วเพราะคิดว่ามันคือ “เครื่องตรวจวัตถุระเบิด”
จริงๆ แล้ว ปัญหาเรื่องเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 นั้นมีอยู่หลายมิติ ทั้งในมิติทางความมั่นคง มิติทางวิทยาศาสตร์ มิติทางการเมือง มิติของการคอร์รัปชัน ซึ่งทุกเรื่องมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น แต่เมื่อเรื่องเหล่านี้เมื่อถูกจับมาผสมปนเปกันในสื่อทุกอย่างจึงดูสับสนไปหมด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากในข้อสรุปสุดท้ายแล้วหาก จีที 200 กลายเป็นเพียงเรื่องลวงโลกแล้ว หน่วยงานด้านการทหาร ผู้ปฏิบัติงาน ภาครัฐ รัฐบาลผู้จัดซื้อจัดหาและรัฐบาลชุดปัจจุบันก็จะตกเป็นจำเลยของสังคม และถูกประณามอย่างรุนแรง
ในอีกมุมหนึ่ง ความเชื่อมั่นในเครื่อง จีที 200 ของคนบางกลุ่มบางพวก ที่เชื่อแบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่ใช้เหตุใช้ผล ไม่ใช้หลักของความจริงเข้ามาพิสูจน์ความไม่จริง สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพและความเป็นไปของสังคมไทยประการหนึ่ง คือ สังคมไทยเป็น “สังคมวิทยไสยศาสตร์”
สังคมวิทยไสยศาสตร์เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ความขัดแย้งบางประการที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่คนเล่นหวยจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้มีการออกหวยออนไลน์ แต่คนกลุ่มเดียวกันก็ยังเชื่อข่าวไสยศาสตร์ตามหน้าหนังสือพิมพ์หัวสี โทรทัศน์ช่องหลายสี แห่ไปขอหวยกับพระเกจิ สัตว์พิการ หรือขูดหาเลขเด็ดตามต้นไม้ เสาบ้าน เป็นต้น
ไม่เพียงแต่ชาวบ้าน เพราะแม้แต่ชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครองก็ยังมีความเชื่อในเรื่องนี้ มิฉะนั้น ก็คงไม่มีข่าวออกมาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้หมอดูอีทีจากพม่าบินมาหา หรือนักการเมืองแห่ไปร่วมงานบุญของ นายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ โหร คมช. หรือมีข่าวลือว่าทุกครั้งที่จะมีการปฏิวัติรัฐประหาร คณะผู้ก่อการมักจะต้องดูฤกษ์ยามก่อนเสมอ เป็นต้น
ที่กล่าวเช่นนี้ ผมมิได้หมายความว่า “วิทยาศาสตร์” เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไป และ “ไสยศาสตร์” เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรืองมงายเสมอไป เพราะศาสตร์แต่ละศาสตร์ก็มีจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดี และข้อด้อยแตกต่างกันไป แต่ในกรณี จีที 200 นั้นแตกต่างออกไป เพราะความจริงและความเท็จเกี่ยวกับ จีที 200 นั้นหมายความถึงทรัพย์สินและชีวิตของประชาชนจำนวนมาก นับหมื่น นับแสน หรืออาจจะนับล้าน เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถเอาเรื่อง “ความเชื่อ” มาปนเปกับคำว่า “ความจริง” ได้
ระหว่างติดตามข่าวเกี่ยวกับ จีที 200 ผมต้องนับถือ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานองค์กรอุนาโลม อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาเปิดโปงเรื่องนี้ เพราะแรงเสียดทานและแรงต่อต้านจากฝั่งกองทัพและการเมืองนั้นมีมากเหลือเกิน ขณะที่คนไทยและสื่อไทยก็แบ่งแยกไม่ถูกระหว่าง “ความเชื่อ” และ “ความจริง”
เช่นกัน ในกรณีของปัญหาการเมือง ที่ทุกวันนี้ตามหน้าสื่อก็ยังติดอยู่ภายในกับดักของ “ความเชื่อ” ที่ว่า “กำลังจะมีการปฏิวัติ” อันเป็นเปลวเพลิงเผาบ้านเผาเมืองที่ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ และคนเสื้อแดง พยายามปลุกปั่นขึ้น ทั้งๆ ที่เมื่อพิจารณาจาก “ความจริง” ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยแวดล้อมทั้ง เศรษฐกิจ สังคมและต่างประเทศแล้ว โอกาสของการปฏิวัติสำเร็จนั้นมีน้อยยิ่งกว่าน้อย ส่วนโอกาสที่ปฏิวัติแล้วจะบริหารบ้านเมืองให้ไปตลอดรอดฝั่งนั้นเรียกได้ว่า “ไม่มี”
ยังมิพักต้องถามว่าการปฏิวัติจะลงมือทำโดยใคร ด้วยเหตุผลใด และเพื่อใคร?
วันที่ 2 ก.พ. จากการเปิดสัมมนาเรื่อง “หลักการทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องตรวจวัตถุระเบิดและสารเสพติด” โดยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการเชิญนักวิทยาศาสตร์ระดับอาจารย์เพื่อมาค้นหาคำตอบในส่วนของ “หลักการทำงาน” ของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ได้ข้อสรุปสั้นๆ ว่า ในทางทฤษฎีและทางวิชาการแล้ว “เครื่องจีที 200” เปรียบเสมือนเป็นเทคโนโลยีที่หลุดมาจากโลกอนาคต เหมือนกับว่าเรากำลังพูดถึงเครื่องไมโครเวฟในยุคที่เตาแก๊สเพิ่งเริ่มมีใช้ หรือกล่าวถึงเทคโนโลยี 3G ในยุคที่โทรศัพท์บ้านเพิ่งเริ่มแพร่หลาย
เพราะ จากปากคำของนักวิทยาศาสตร์ระดับศาสตราจารย์ และ อาจารย์หลายท่านชี้ให้เห็นตรงกันว่า “เหลือเชื่อ” เช่น
ศ.เกียรติคุณ ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ม.เชียงใหม่ “ตอนนี้มีเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเป็นจริงในอีก 30-50 ปี นั่นคือเทคโนโลยีโทรจิต (Noetic Science) ซึ่งใช้ไอออนและโฟตอนเป็นหัววัด และใช้หลักการควอนตัมเอนแทงเกิลเมนท์ (Quantum Entanglement) แต่ยังไม่สามารถทำได้จริงในตอนนี้ ถ้าผู้พัฒนา จีที 200 ทำได้จริง ก็ควรได้รับรางวัลโนเบล … เทคโนโลยีที่จะนำพลังงานจากตัวเราออกไปใช้เพื่อบอกว่าใครพกระเบิดในกระเป๋า เทคโนโลยีนี้ทำได้ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ ต้องรอไปอีก 50 ปี เราต้องแยกให้ออกระหว่างความฝันกับความจริง สำหรับฟิสิกส์แล้วเป็นความจริง”
ดร.พงษ์ ทรงพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ “คงไม่มีอะไรที่ทำขึ้นมา 1 เครื่องแล้ววัดได้ครอบจักรวาล”
ดร.กว้าน สีตะธนี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ “การส่งไฟฟ้าสถิตจากร่างกายคนไปยังเป้าหมายนั้นเป็นไปได้ยาก โดยเราจะเห็นปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตในร่างกายคนได้ในช่วงหน้าหนาวหรือในประเทศเมืองหนาว แต่ไฟฟ้าสถิตก็คายประจุได้เร็วมาก”
ณ เวลานี้อาจกล่าวสรุปได้ว่า ในเชิงวิทยาศาสตร์แล้ว จีที 200 เป็นได้อย่างมากก็เพียงแค่ “เครื่องมือลวงโลกราคาแพง” เท่านั้น แต่คำถามที่ผมสนใจก็คือ เหตุใดยังมีประชาชนบางส่วน นักการเมืองบางกลุ่ม นายทหารและตำรวจส่วนหนึ่งที่แสดงความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของเครื่อง จีที 200 อย่างเต็มเปี่ยม? บางคนถึงกับด่าทอนักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาเปิดโปงเรื่องนี้อย่างรุนแรง โดยไม่ฟังเหตุผล ไม่ฟังคำทักท้วงใดๆ เพียงแต่กล่าวว่า “ทหารใช้ได้ก็ให้เขาใช้ไป จะไปยุ่งอะไรกับเขา”, “คุณไปเสี่ยงตายอย่างพวกทหารเหรอ ถึงมาตั้งคำถามกับเครื่องมือของเขา”, “มีเครื่องมือตรวจวัดอะไรออกมาให้เขาใช้แทนหรือ ถึงมาล้อเลียนเขาอย่างนี้” ฯลฯ
ทว่า ในกรณีเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 นี้ จุดประสงค์ที่กองทัพใช้เงินภาษีของประชาชนซื้อหามามิใช่เพียงเพราะว่ามันเป็น “เครื่องมือที่ทหารใช้แล้วเกิดความเชื่อมั่น” แต่ซื้อหามาใช้ในราคาที่สูงลิ่วเพราะคิดว่ามันคือ “เครื่องตรวจวัตถุระเบิด”
จริงๆ แล้ว ปัญหาเรื่องเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 นั้นมีอยู่หลายมิติ ทั้งในมิติทางความมั่นคง มิติทางวิทยาศาสตร์ มิติทางการเมือง มิติของการคอร์รัปชัน ซึ่งทุกเรื่องมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น แต่เมื่อเรื่องเหล่านี้เมื่อถูกจับมาผสมปนเปกันในสื่อทุกอย่างจึงดูสับสนไปหมด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากในข้อสรุปสุดท้ายแล้วหาก จีที 200 กลายเป็นเพียงเรื่องลวงโลกแล้ว หน่วยงานด้านการทหาร ผู้ปฏิบัติงาน ภาครัฐ รัฐบาลผู้จัดซื้อจัดหาและรัฐบาลชุดปัจจุบันก็จะตกเป็นจำเลยของสังคม และถูกประณามอย่างรุนแรง
ในอีกมุมหนึ่ง ความเชื่อมั่นในเครื่อง จีที 200 ของคนบางกลุ่มบางพวก ที่เชื่อแบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่ใช้เหตุใช้ผล ไม่ใช้หลักของความจริงเข้ามาพิสูจน์ความไม่จริง สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพและความเป็นไปของสังคมไทยประการหนึ่ง คือ สังคมไทยเป็น “สังคมวิทยไสยศาสตร์”
สังคมวิทยไสยศาสตร์เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ความขัดแย้งบางประการที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่คนเล่นหวยจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้มีการออกหวยออนไลน์ แต่คนกลุ่มเดียวกันก็ยังเชื่อข่าวไสยศาสตร์ตามหน้าหนังสือพิมพ์หัวสี โทรทัศน์ช่องหลายสี แห่ไปขอหวยกับพระเกจิ สัตว์พิการ หรือขูดหาเลขเด็ดตามต้นไม้ เสาบ้าน เป็นต้น
ไม่เพียงแต่ชาวบ้าน เพราะแม้แต่ชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครองก็ยังมีความเชื่อในเรื่องนี้ มิฉะนั้น ก็คงไม่มีข่าวออกมาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้หมอดูอีทีจากพม่าบินมาหา หรือนักการเมืองแห่ไปร่วมงานบุญของ นายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ โหร คมช. หรือมีข่าวลือว่าทุกครั้งที่จะมีการปฏิวัติรัฐประหาร คณะผู้ก่อการมักจะต้องดูฤกษ์ยามก่อนเสมอ เป็นต้น
ที่กล่าวเช่นนี้ ผมมิได้หมายความว่า “วิทยาศาสตร์” เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไป และ “ไสยศาสตร์” เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรืองมงายเสมอไป เพราะศาสตร์แต่ละศาสตร์ก็มีจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดี และข้อด้อยแตกต่างกันไป แต่ในกรณี จีที 200 นั้นแตกต่างออกไป เพราะความจริงและความเท็จเกี่ยวกับ จีที 200 นั้นหมายความถึงทรัพย์สินและชีวิตของประชาชนจำนวนมาก นับหมื่น นับแสน หรืออาจจะนับล้าน เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถเอาเรื่อง “ความเชื่อ” มาปนเปกับคำว่า “ความจริง” ได้
ระหว่างติดตามข่าวเกี่ยวกับ จีที 200 ผมต้องนับถือ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานองค์กรอุนาโลม อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาเปิดโปงเรื่องนี้ เพราะแรงเสียดทานและแรงต่อต้านจากฝั่งกองทัพและการเมืองนั้นมีมากเหลือเกิน ขณะที่คนไทยและสื่อไทยก็แบ่งแยกไม่ถูกระหว่าง “ความเชื่อ” และ “ความจริง”
เช่นกัน ในกรณีของปัญหาการเมือง ที่ทุกวันนี้ตามหน้าสื่อก็ยังติดอยู่ภายในกับดักของ “ความเชื่อ” ที่ว่า “กำลังจะมีการปฏิวัติ” อันเป็นเปลวเพลิงเผาบ้านเผาเมืองที่ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ และคนเสื้อแดง พยายามปลุกปั่นขึ้น ทั้งๆ ที่เมื่อพิจารณาจาก “ความจริง” ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยแวดล้อมทั้ง เศรษฐกิจ สังคมและต่างประเทศแล้ว โอกาสของการปฏิวัติสำเร็จนั้นมีน้อยยิ่งกว่าน้อย ส่วนโอกาสที่ปฏิวัติแล้วจะบริหารบ้านเมืองให้ไปตลอดรอดฝั่งนั้นเรียกได้ว่า “ไม่มี”
ยังมิพักต้องถามว่าการปฏิวัติจะลงมือทำโดยใคร ด้วยเหตุผลใด และเพื่อใคร?