รอยเตอร์/เอเอฟพี – นักเศรษฐศาสตร์อเมริกัน พอล ครุกแมน ผู้วิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนที่สุดคนหนึ่งต่อนโยบายของคณะรัฐบาลบุช ซึ่งเขามองว่าเป็นตัวการนำมาสู่วิกฤตทางการเงินในปัจจุบัน ได้รับการประกาศเมื่อวานนี้(13)ว่า เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2008
คณะกรรมการรางวัลโนเบลแถลงว่า ให้รางวัลสำหรับผลงานของครุกแมนที่ช่วยอธิบายว่า ทำไมบางประเทศจึงครอบงำการค้าระหว่างประเทศ โดยที่เขาทำงานพัฒนาทฤษฎีนี้ตั้งแต่งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ไว้เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน
ครุกแมนซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่รู้จักกันกว้างขวาง ในฐานะเป็นคอลัมนิสต์ประจำของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ได้ถูกจับตามองมานานแล้วว่าจะได้รับรางวัลโนเบล เวลานี้เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยพรินซตัน, สหรัฐอเมริกา
ขณะแถลงข่าวทางโทรศัพท์ภายหลังทราบว่าได้รับรางวัล ครุกแมนบอกว่าข่าวเรื่องนี้ทำให้เขาต้องร้อนรนมาก “ผมต้องรีบอาบน้ำเพื่อให้สามารถเข้าร่วมการแถลงข่าวคราวนี้ ผมโทรศัพท์ถึงภรรยาของผม และผมโทรศัพท์ถึงพ่อแม่ของผม ผมยังไม่ได้มีเวลาหากาแฟให้ตัวเองเลย” เขากล่าว
แต่แม้ขาดคาเฟอีนก็ไม่ได้ทำให้เขาหยุดยั้งนำเสนอการวินิจฉัยภาวะป่วยไข้ของเศรษฐกิจโลกในเวลานี้
“เวลานี้เรากำลังเป็นประจักษ์พยานของวิกฤตซึ่งมีความสาหัสพอๆ กับวิกฤตที่เล่นงานเอเชียในทศวรรษ 1990 วิกฤตคราวนี้มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงบางประการกับวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬาร (ในทศวรรษ 1930)”
เขายกย่องความพยายามของผู้นำโลกที่รีบหาทางหยุดยั้งไม่ให้เลือดไหลออกทะลักจากระบบการเงินต่อไปอีก พร้อมกับบอกว่า “ผมรู้สึกสยดสยองน้อยลงหน่อยในวันนี้ เมื่อเทียบกับที่ผมรู้สึกในวันศุกร์(10)”
ทั้งนี้บรรดาผู้วางนโยบายระดับโลกได้ประชุมหารือกันในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตามเวทีต่างๆ ทั้งการประชุม จี7, จี20, ไอเอ็มเอฟ, เวิลด์แบงก์ ที่กรุงวอชิงตัน และการประชุมระดับผู้นำของกลุ่มยูโรโซนที่กรุงปารีส จากนั้นก็ประกาศใช้มาตรการอันรุนแรงในการช่วยชีวิตแบงก์และสถาบันการเงิน
งานเขียนล่าสุดในคอลัมน์ของเขาที่นิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวานนี้ ครุกแมนได้ยกย่องอังกฤษที่ขบคิดได้อย่างกระจ่างชัด และปฏิบัติการอย่างว่องไวเพื่อแก้ไขวิกฤต ซึ่งช่างแตกต่างไปจากสหรัฐฯ
ที่ผ่านมาครุกแมนวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของคณะรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช อย่างดุเดือด โดยบอกว่าความกระตือรือร้นอย่างเกินงามในเรื่องการลดเลิกระเบียบกฎเกณฑ์กำกับตรวจสอบ และการใช้นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายวินัย มีส่วนช่วยจุดชนวนให้เกิดการล้มครืนของระบบการเงินในเวลานี้
คณะกรรมการรางวัลโนเบลบอกว่า รางวัลที่มีมูลค่า 10 ล้านคราวน์ (1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) มอบให้แก่ครุกแมน สำหรับการที่เขาได้สร้างทฤษฎีใหม่ที่ใช้อธิบายว่าอะไรเป็นแรงขับดันกระบวนการสร้างเมืองใหญ่ขึ้นในทั่วโลก
ในประกาศมอบรางวัลของคณะกรรมการรางวัลโนเบล ได้ยกย่องครุกแมนสำหรับวิธีการศึกษา “ที่วางพื้นฐานอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า สินค้าและบริการจำนวนมากสามารถที่จะผลิตได้ถูกลงมากเมื่อผลิตเป็นชุดยาวๆ อันเป็นแนวคิดที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “การประหยัดอันเกิดจากขนาด” (economies of scale)”
ทฤษฎีของเขาแสดงให้เห็นว่า โลกาภิวัตน์มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่งแรงกดดันต่อการพำนักอาศัยตามเมืองใหญ่ เพราะความต้องการผู้ทำงานอย่างชำนาญเฉพาะด้าน จะดูดกลืนผู้คนให้เข้าสู่ศูนย์แห่งการรวมตัวเข้มข้นเหล่านี้ โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ซึ่งสามารถทำให้ ใน “ภูมิภาคต่างๆ ถูกแบ่งแยกออกเป็นแกนกลางลักษณะเป็นตัวเมืองใหญ่ที่มีเทคโนโลยีสูง และพื้นที่ชายขอบซึ่งมีการพัฒนาน้อยกว่า” ประกาศของคณะกรรมการรางวัลโนเบลแจกแจง
ทฤษฎีการค้าเดิมๆ ถือเอาว่าความแตกต่างระหว่างประเทศต่างๆ สามารถนำมาใช้อธิบายได้ว่าทำไมบางประเทศจึงส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ขณะที่ประเทศอื่นๆ ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ทฤษฎีเช่นนี้เท่ากับมองภาพทิศทางเอาไว้ว่า บางประเทศสามารถที่จะปรับปรุงยกระดับสถานการณ์ของพวกเขาด้วยการแสดงตนคอยเสริมคอยเติมให้คนอื่น
ทว่าสำหรับครุกแมนแล้ว ทฤษฎีของเขา อธิบายอย่างชัดแจ้งว่า ทำไมในทางเป็นจริงแล้วการค้าทั่วโลกจึงถูกครอบงำโดยบางประเทศซึ่งไม่เพียงมีเงื่อนไขทำนองเดียวกันเท่านั้น แต่ยังค้าขายในผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกันอีกด้วย คณะกรรมการกล่าว
สำหรับประวัติส่วนของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลคนล่าสุดผู้นี้ ครุกแมนเกิดที่นครนิวยอร์กในปี 1953 เขาสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และผ่านการสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง ทั้ง เยล, เอ็มไอที, และสแตนฟอร์ด จากนั้นได้มาสอนที่พรินซตันตั้งแต่ปี 2000
นอกเหนือจากเขียนคอลัมน์ที่นิวยอร์กไทมส์แล้ว ครุกแมนยังเขียนหนังสือพิมพ์เป็นเล่มมา 20 เล่ม และเขียนรายงานต่างๆ มากกว่า 200 ชื้น
คณะกรรมการรางวัลโนเบลแถลงว่า ให้รางวัลสำหรับผลงานของครุกแมนที่ช่วยอธิบายว่า ทำไมบางประเทศจึงครอบงำการค้าระหว่างประเทศ โดยที่เขาทำงานพัฒนาทฤษฎีนี้ตั้งแต่งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ไว้เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน
ครุกแมนซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่รู้จักกันกว้างขวาง ในฐานะเป็นคอลัมนิสต์ประจำของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ได้ถูกจับตามองมานานแล้วว่าจะได้รับรางวัลโนเบล เวลานี้เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยพรินซตัน, สหรัฐอเมริกา
ขณะแถลงข่าวทางโทรศัพท์ภายหลังทราบว่าได้รับรางวัล ครุกแมนบอกว่าข่าวเรื่องนี้ทำให้เขาต้องร้อนรนมาก “ผมต้องรีบอาบน้ำเพื่อให้สามารถเข้าร่วมการแถลงข่าวคราวนี้ ผมโทรศัพท์ถึงภรรยาของผม และผมโทรศัพท์ถึงพ่อแม่ของผม ผมยังไม่ได้มีเวลาหากาแฟให้ตัวเองเลย” เขากล่าว
แต่แม้ขาดคาเฟอีนก็ไม่ได้ทำให้เขาหยุดยั้งนำเสนอการวินิจฉัยภาวะป่วยไข้ของเศรษฐกิจโลกในเวลานี้
“เวลานี้เรากำลังเป็นประจักษ์พยานของวิกฤตซึ่งมีความสาหัสพอๆ กับวิกฤตที่เล่นงานเอเชียในทศวรรษ 1990 วิกฤตคราวนี้มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงบางประการกับวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬาร (ในทศวรรษ 1930)”
เขายกย่องความพยายามของผู้นำโลกที่รีบหาทางหยุดยั้งไม่ให้เลือดไหลออกทะลักจากระบบการเงินต่อไปอีก พร้อมกับบอกว่า “ผมรู้สึกสยดสยองน้อยลงหน่อยในวันนี้ เมื่อเทียบกับที่ผมรู้สึกในวันศุกร์(10)”
ทั้งนี้บรรดาผู้วางนโยบายระดับโลกได้ประชุมหารือกันในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตามเวทีต่างๆ ทั้งการประชุม จี7, จี20, ไอเอ็มเอฟ, เวิลด์แบงก์ ที่กรุงวอชิงตัน และการประชุมระดับผู้นำของกลุ่มยูโรโซนที่กรุงปารีส จากนั้นก็ประกาศใช้มาตรการอันรุนแรงในการช่วยชีวิตแบงก์และสถาบันการเงิน
งานเขียนล่าสุดในคอลัมน์ของเขาที่นิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวานนี้ ครุกแมนได้ยกย่องอังกฤษที่ขบคิดได้อย่างกระจ่างชัด และปฏิบัติการอย่างว่องไวเพื่อแก้ไขวิกฤต ซึ่งช่างแตกต่างไปจากสหรัฐฯ
ที่ผ่านมาครุกแมนวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของคณะรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช อย่างดุเดือด โดยบอกว่าความกระตือรือร้นอย่างเกินงามในเรื่องการลดเลิกระเบียบกฎเกณฑ์กำกับตรวจสอบ และการใช้นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายวินัย มีส่วนช่วยจุดชนวนให้เกิดการล้มครืนของระบบการเงินในเวลานี้
คณะกรรมการรางวัลโนเบลบอกว่า รางวัลที่มีมูลค่า 10 ล้านคราวน์ (1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) มอบให้แก่ครุกแมน สำหรับการที่เขาได้สร้างทฤษฎีใหม่ที่ใช้อธิบายว่าอะไรเป็นแรงขับดันกระบวนการสร้างเมืองใหญ่ขึ้นในทั่วโลก
ในประกาศมอบรางวัลของคณะกรรมการรางวัลโนเบล ได้ยกย่องครุกแมนสำหรับวิธีการศึกษา “ที่วางพื้นฐานอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า สินค้าและบริการจำนวนมากสามารถที่จะผลิตได้ถูกลงมากเมื่อผลิตเป็นชุดยาวๆ อันเป็นแนวคิดที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “การประหยัดอันเกิดจากขนาด” (economies of scale)”
ทฤษฎีของเขาแสดงให้เห็นว่า โลกาภิวัตน์มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่งแรงกดดันต่อการพำนักอาศัยตามเมืองใหญ่ เพราะความต้องการผู้ทำงานอย่างชำนาญเฉพาะด้าน จะดูดกลืนผู้คนให้เข้าสู่ศูนย์แห่งการรวมตัวเข้มข้นเหล่านี้ โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ซึ่งสามารถทำให้ ใน “ภูมิภาคต่างๆ ถูกแบ่งแยกออกเป็นแกนกลางลักษณะเป็นตัวเมืองใหญ่ที่มีเทคโนโลยีสูง และพื้นที่ชายขอบซึ่งมีการพัฒนาน้อยกว่า” ประกาศของคณะกรรมการรางวัลโนเบลแจกแจง
ทฤษฎีการค้าเดิมๆ ถือเอาว่าความแตกต่างระหว่างประเทศต่างๆ สามารถนำมาใช้อธิบายได้ว่าทำไมบางประเทศจึงส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ขณะที่ประเทศอื่นๆ ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ทฤษฎีเช่นนี้เท่ากับมองภาพทิศทางเอาไว้ว่า บางประเทศสามารถที่จะปรับปรุงยกระดับสถานการณ์ของพวกเขาด้วยการแสดงตนคอยเสริมคอยเติมให้คนอื่น
ทว่าสำหรับครุกแมนแล้ว ทฤษฎีของเขา อธิบายอย่างชัดแจ้งว่า ทำไมในทางเป็นจริงแล้วการค้าทั่วโลกจึงถูกครอบงำโดยบางประเทศซึ่งไม่เพียงมีเงื่อนไขทำนองเดียวกันเท่านั้น แต่ยังค้าขายในผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกันอีกด้วย คณะกรรมการกล่าว
สำหรับประวัติส่วนของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลคนล่าสุดผู้นี้ ครุกแมนเกิดที่นครนิวยอร์กในปี 1953 เขาสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และผ่านการสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง ทั้ง เยล, เอ็มไอที, และสแตนฟอร์ด จากนั้นได้มาสอนที่พรินซตันตั้งแต่ปี 2000
นอกเหนือจากเขียนคอลัมน์ที่นิวยอร์กไทมส์แล้ว ครุกแมนยังเขียนหนังสือพิมพ์เป็นเล่มมา 20 เล่ม และเขียนรายงานต่างๆ มากกว่า 200 ชื้น