รอยเตอร์/เอเอฟพี – บรรดารัฐมนตรีคลังจากประเทศร่ำรวยชั้นนำของโลก ถูกเรียกร้องกดดันเมื่อวานนี้(9)ให้เพิ่มการปฏิบัติการร่วมกัน ภายหลังการหั่นอัตราดอกเบี้ยลงอย่างฉุกเฉินพร้อมๆ กัน ตลอดจนการที่รัฐบาลเข้าสนับสนุนพวกธนาคารที่ประสบปัญหาซวนเซ ยังคงได้รับการต้อนรับอย่างไม่มั่นใจจากตลาดการเงิน
หลังจากที่ธนาคารกลางในอเมริกาและยุโรป ทั้ง ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด), ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี), แบงก์ชาติของอังกฤษ, สวิตเซอร์แลนด์, สวีเดน, และแคนาดา ต่างประกาศในคืนวันพุธ(8) หั่นลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญของพวกตนพร้อมๆกัน 0.5% โดยที่ แบงก์ชาติของจีนก็ร่วมมือด้วย แม้จะลดดอกเบี้ยลงมาในตัวเลขที่น้อยกว่า ต่อมาวานนี้ ธนาคารกลางในเอเชียแห่งอื่นๆ อีก 3 แห่งก็แถลงลดอัตราดอกเบี้ยตามเช่นกัน
โดยที่ แบงก์ชาติของเกาหลีใต้ และธนาคารกลางของไต้หวัน ต่างประกาศหั่นดอกเบี้ยสำคัญของพวกตนลงมา 0.25% ขณะที่ทบวงการเงินของฮ่องกง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนธนาคารกลาง ได้ลดดอกเบี้ยพื้นฐานลงมาอีก 0.5% ถึงแม้เมื่อวันพุธก็ได้ลดลงมาแล้ว 1% เต็ม
นอกเหนือจากมาตรการด้านนโยบายการเงินเช่นนี้แล้ว ทางด้าน เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ได้กล่าวในวันพุธว่า ตามกฎหมายอนุมัติแผนการ 700,000 ล้านดอลลาร์ช่วยซื้อสินทรัพย์เน่าเสียของสถาบันการเงิน ซึ่งเพิ่งออกมาบังคับใช้หมาดๆ นั้น ได้ให้อำนาจแก่เขาที่จะอัดฉีดเงินทุนเข้าไปในระบบธนาคาร ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่ว่า กระทรวงการคลังอาจจะเข้าไปซื้อหุ้นบางจำนวนของพวกธนาคาร ถ้าหากมีความจำเป็น
คำพูดของขุนคลังอเมริกัน ทำให้เล็งเห็นกันว่าเขาอาจจะกระทำตามแผนการของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งได้ประกาศไปแล้วในวันพุธ ว่าจะทุ่มเงินเป็นจำนวนที่อาจจะสูงถึง 87,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อกอบกู้ระบบธนาคารของประเทศตน ด้วยการเข้าไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวนหนึ่งในบรรดาธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยที่กำลังประสบปัญหาซวนเซ อันเท่ากับเป็นการโอนกิจการเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาเป็นของชาตินั่นเอง
ไม่เพียงการแสดงท่าทีของพอลสันเท่านั้น หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานโดยอ้างเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯหลายๆ คนที่ไม่ระบุชื่อ เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาที่จะเข้าไปถือหุ้นในธนาคารของสหรัฐฯหลายๆ แห่งจริงๆ
ขณะเดียวกัน ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันพุธ เกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมของโลก (จี7) ซึ่งกำหนดจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันในวันนี้(10) ก่อนหน้าการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลก-กองทุนการเงินระหว่างประเทศนั้น ทั้งพอลสัน และปลัดกระทรวงการคลัง เดวิด แมคคอร์มิก ต่างกล่าวย้ำว่า ที่ประชุมจะให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องความผันผวนของตลาดการเงิน
พอลสันบอกว่า ตลาดการเงินอยู่ในสภาพ “ตึงตัวอย่างร้ายแรง” และผู้บริโภคตลอดจนธุรกิจต่างๆ ไม่สามารถหาสินเชื่อได้ ทำให้ความเชื่อมั่นหดหายไปอย่างรวดเร็ว
“รัฐบาลต่างๆ ยังคงจะต้องดำเนินปฏิบัติการทั้งแบบเดี่ยวๆ และรวมหมู่กัน เพื่อจัดหาสภาพคล่องที่จำเป็นเป็นจำนวนมากเข้ามา, เพิ่มความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินต่างๆ ผ่านทางการจัดหาเงินทุนให้ ... และพิทักษ์คุ้มครองเงินออมของพลเมืองของเรา” ขุนคลังสหรัฐฯกล่าว
แต่เขาก็บอกด้วยว่า “เรายังต้องดูแลเอาใจใส่เพื่อสร้างหลักประกันว่า ปฏิบัติการของเรามีการประสานงานกันและสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด เพื่อที่ว่าปฏิบัติการของประเทศหนึ่งจะไม่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศอื่นๆ หรือสร้างความเสียหายต่อเสถียรภาพของระบบโดยองค์รวม”
พอลสันยังได้หยิบยกมาตรการต่างๆ ที่บรรดาสมาชิกของ จี7 อันได้แก่ สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, แคนาดา, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, และอิตาลี ตลอดจนประเทศอื่นๆ อีก ได้ประกาศออกใช้เพื่อหยุดยั้งราคาหุ้นซึ่งดำดิ่งระเนระนาดในระยะไม่กี่วันที่ผ่านมา และฟื้นฟูความเชื่อมั่นขึ้นมาบ้าง ถึงแม้เขายอมรับว่ายังไม่ทราบเหมือนกันว่า จะมีการฟื้นตัวขึ้นมาได้เมื่อใดกันแน่ๆ
“ผมจะไม่ขอคาดเก็งใดๆ ในเรื่องระยะเวลาที่จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาได้” เขากล่าว หรือคาดเก็งว่ายังจะมีการร่วมมือหั่นดอกเบี้ยพร้อมๆ กันอีกหรือไม่
นอกจากนั้น รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯแจ้งว่า หลังจากการประชุม จี 7 แล้ว ยังจะมีการประชุมกลุ่ม จี20 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของประเทศร่ำรวยและประเทศเฟื่องฟูใหม่ ตลอดจนประเทศกำลังพัฒนารายใหญ่ๆ ซึ่งก็กำลังถูกกระหน่ำจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เช่นเดียวกัน
“ผมขอเรียกร้องให้กลุ่มจี 20 จัดการประชุมวาระพิเศษ ในระดับของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการคลัง, ผู้ว่าการธนาคารกลาง, และเจ้าหน้าที่กำกับตรวจสอบจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดใหญ่ เพื่อหารือร่วมกันว่า เราจะร่วมมือกันอย่างไรเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการเงินและภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่” พอลสันแถลงต่อสื่อมวลชน
ทั้งนี้ กลุ่มประเทศจี 20 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1999 เพื่อเป็นเวทีหารือร่วมกันระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยประเทศร่ำรวยในกลุ่มจี 7 (สหรัฐฯ, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, อิตาลีและแคนาดา), ประเทศอื่นๆ ในประชาคมยุโรป ตลอดจนอาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, บราซิล, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เม็กซิโก, รัสเซีย, แอฟริกาใต้, เกาหลีใต้ และตุรกี
ถึงแม้มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างมากเช่นนี้ แต่ตลาดหลักทรัพย์ก็ดูยังให้การต้อนรับแบบไม่ค่อยมั่นใจ โดยในวันพุธ ทั้งๆ ที่ทราบข่าวบรรดาธนาคารกลางร่วมมือกันหั่นดอกเบี้ยแล้ว ตลาดแถบยุโรปยังคงติดลบแรง เช่นเดียวกับวอลล์สตรีท ซึ่งดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ –2.01%
เมื่อมาในแถบเอเชียวานนี้ ตลาดก็ยังมีทิศทางไม่ชัดเจน อาทิ โตเกียว –0.5% แต่ฮ่องกง +3.5% กระทั่งข้ามไปถึงปลายๆ ตลาดของยุโรปวานนี้ และวอลล์สตรีทเริ่มเปิดซื้อขาย ตลาดจึงดูอยู่ในแดนบวกอย่างชัดเจนทั่วหน้า
นักวิเคราะห์บอกว่า ขณะนี้ความสนใจกำลังมุ่งไปยังที่ประชุมจี7 วันนี้ โดยที่นักลงทุนต่างต้องการให้พวกนักการเมืองแสดงออกซึ่งความร่วมมือประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าในปัจจุบัน แทนที่จะประกาศแผนการแก้ปัญหาของแต่ละประเทศซึ่งอยู่ในลักษณะของการหาทางออกเฉพาะหน้าและชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
หลังจากที่ธนาคารกลางในอเมริกาและยุโรป ทั้ง ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด), ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี), แบงก์ชาติของอังกฤษ, สวิตเซอร์แลนด์, สวีเดน, และแคนาดา ต่างประกาศในคืนวันพุธ(8) หั่นลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญของพวกตนพร้อมๆกัน 0.5% โดยที่ แบงก์ชาติของจีนก็ร่วมมือด้วย แม้จะลดดอกเบี้ยลงมาในตัวเลขที่น้อยกว่า ต่อมาวานนี้ ธนาคารกลางในเอเชียแห่งอื่นๆ อีก 3 แห่งก็แถลงลดอัตราดอกเบี้ยตามเช่นกัน
โดยที่ แบงก์ชาติของเกาหลีใต้ และธนาคารกลางของไต้หวัน ต่างประกาศหั่นดอกเบี้ยสำคัญของพวกตนลงมา 0.25% ขณะที่ทบวงการเงินของฮ่องกง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนธนาคารกลาง ได้ลดดอกเบี้ยพื้นฐานลงมาอีก 0.5% ถึงแม้เมื่อวันพุธก็ได้ลดลงมาแล้ว 1% เต็ม
นอกเหนือจากมาตรการด้านนโยบายการเงินเช่นนี้แล้ว ทางด้าน เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ได้กล่าวในวันพุธว่า ตามกฎหมายอนุมัติแผนการ 700,000 ล้านดอลลาร์ช่วยซื้อสินทรัพย์เน่าเสียของสถาบันการเงิน ซึ่งเพิ่งออกมาบังคับใช้หมาดๆ นั้น ได้ให้อำนาจแก่เขาที่จะอัดฉีดเงินทุนเข้าไปในระบบธนาคาร ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่ว่า กระทรวงการคลังอาจจะเข้าไปซื้อหุ้นบางจำนวนของพวกธนาคาร ถ้าหากมีความจำเป็น
คำพูดของขุนคลังอเมริกัน ทำให้เล็งเห็นกันว่าเขาอาจจะกระทำตามแผนการของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งได้ประกาศไปแล้วในวันพุธ ว่าจะทุ่มเงินเป็นจำนวนที่อาจจะสูงถึง 87,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อกอบกู้ระบบธนาคารของประเทศตน ด้วยการเข้าไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์จำนวนหนึ่งในบรรดาธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยที่กำลังประสบปัญหาซวนเซ อันเท่ากับเป็นการโอนกิจการเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาเป็นของชาตินั่นเอง
ไม่เพียงการแสดงท่าทีของพอลสันเท่านั้น หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานโดยอ้างเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯหลายๆ คนที่ไม่ระบุชื่อ เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาที่จะเข้าไปถือหุ้นในธนาคารของสหรัฐฯหลายๆ แห่งจริงๆ
ขณะเดียวกัน ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันพุธ เกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมของโลก (จี7) ซึ่งกำหนดจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันในวันนี้(10) ก่อนหน้าการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลก-กองทุนการเงินระหว่างประเทศนั้น ทั้งพอลสัน และปลัดกระทรวงการคลัง เดวิด แมคคอร์มิก ต่างกล่าวย้ำว่า ที่ประชุมจะให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องความผันผวนของตลาดการเงิน
พอลสันบอกว่า ตลาดการเงินอยู่ในสภาพ “ตึงตัวอย่างร้ายแรง” และผู้บริโภคตลอดจนธุรกิจต่างๆ ไม่สามารถหาสินเชื่อได้ ทำให้ความเชื่อมั่นหดหายไปอย่างรวดเร็ว
“รัฐบาลต่างๆ ยังคงจะต้องดำเนินปฏิบัติการทั้งแบบเดี่ยวๆ และรวมหมู่กัน เพื่อจัดหาสภาพคล่องที่จำเป็นเป็นจำนวนมากเข้ามา, เพิ่มความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินต่างๆ ผ่านทางการจัดหาเงินทุนให้ ... และพิทักษ์คุ้มครองเงินออมของพลเมืองของเรา” ขุนคลังสหรัฐฯกล่าว
แต่เขาก็บอกด้วยว่า “เรายังต้องดูแลเอาใจใส่เพื่อสร้างหลักประกันว่า ปฏิบัติการของเรามีการประสานงานกันและสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด เพื่อที่ว่าปฏิบัติการของประเทศหนึ่งจะไม่สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศอื่นๆ หรือสร้างความเสียหายต่อเสถียรภาพของระบบโดยองค์รวม”
พอลสันยังได้หยิบยกมาตรการต่างๆ ที่บรรดาสมาชิกของ จี7 อันได้แก่ สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, แคนาดา, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, และอิตาลี ตลอดจนประเทศอื่นๆ อีก ได้ประกาศออกใช้เพื่อหยุดยั้งราคาหุ้นซึ่งดำดิ่งระเนระนาดในระยะไม่กี่วันที่ผ่านมา และฟื้นฟูความเชื่อมั่นขึ้นมาบ้าง ถึงแม้เขายอมรับว่ายังไม่ทราบเหมือนกันว่า จะมีการฟื้นตัวขึ้นมาได้เมื่อใดกันแน่ๆ
“ผมจะไม่ขอคาดเก็งใดๆ ในเรื่องระยะเวลาที่จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาได้” เขากล่าว หรือคาดเก็งว่ายังจะมีการร่วมมือหั่นดอกเบี้ยพร้อมๆ กันอีกหรือไม่
นอกจากนั้น รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯแจ้งว่า หลังจากการประชุม จี 7 แล้ว ยังจะมีการประชุมกลุ่ม จี20 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของประเทศร่ำรวยและประเทศเฟื่องฟูใหม่ ตลอดจนประเทศกำลังพัฒนารายใหญ่ๆ ซึ่งก็กำลังถูกกระหน่ำจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เช่นเดียวกัน
“ผมขอเรียกร้องให้กลุ่มจี 20 จัดการประชุมวาระพิเศษ ในระดับของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการคลัง, ผู้ว่าการธนาคารกลาง, และเจ้าหน้าที่กำกับตรวจสอบจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดใหญ่ เพื่อหารือร่วมกันว่า เราจะร่วมมือกันอย่างไรเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการเงินและภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่” พอลสันแถลงต่อสื่อมวลชน
ทั้งนี้ กลุ่มประเทศจี 20 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1999 เพื่อเป็นเวทีหารือร่วมกันระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยประเทศร่ำรวยในกลุ่มจี 7 (สหรัฐฯ, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส, อิตาลีและแคนาดา), ประเทศอื่นๆ ในประชาคมยุโรป ตลอดจนอาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, บราซิล, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เม็กซิโก, รัสเซีย, แอฟริกาใต้, เกาหลีใต้ และตุรกี
ถึงแม้มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างมากเช่นนี้ แต่ตลาดหลักทรัพย์ก็ดูยังให้การต้อนรับแบบไม่ค่อยมั่นใจ โดยในวันพุธ ทั้งๆ ที่ทราบข่าวบรรดาธนาคารกลางร่วมมือกันหั่นดอกเบี้ยแล้ว ตลาดแถบยุโรปยังคงติดลบแรง เช่นเดียวกับวอลล์สตรีท ซึ่งดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ –2.01%
เมื่อมาในแถบเอเชียวานนี้ ตลาดก็ยังมีทิศทางไม่ชัดเจน อาทิ โตเกียว –0.5% แต่ฮ่องกง +3.5% กระทั่งข้ามไปถึงปลายๆ ตลาดของยุโรปวานนี้ และวอลล์สตรีทเริ่มเปิดซื้อขาย ตลาดจึงดูอยู่ในแดนบวกอย่างชัดเจนทั่วหน้า
นักวิเคราะห์บอกว่า ขณะนี้ความสนใจกำลังมุ่งไปยังที่ประชุมจี7 วันนี้ โดยที่นักลงทุนต่างต้องการให้พวกนักการเมืองแสดงออกซึ่งความร่วมมือประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าในปัจจุบัน แทนที่จะประกาศแผนการแก้ปัญหาของแต่ละประเทศซึ่งอยู่ในลักษณะของการหาทางออกเฉพาะหน้าและชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น