เอเอฟพี – รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯแถลงเมื่อวันพุธ(12) เปลี่ยนแปลงแผนการกู้ชีวิตภาคการเงินมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ที่เพิ่งประกาศใช้ไม่นานก่อนหน้านี้อย่างชนิดมโหฬาร โดยจะเลิกเข้าซื้อตราสารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่เน่าเสีย หันมาเน้นลงทุนโดยตรงด้วยการซื้อหุ้นของพวกสถาบันการเงิน พร้อมกันนั้นก็เรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันฟื้นฟูภาวะสินเชื่อของสถาบันการเงิน “นอนแบงก์”
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชจะกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวพันกับการประชุมระดับผู้นำกลุ่มจี 20 ที่จะจัดขึ้นในกรุงวอชิงตันสุดสัปดาห์นี้
“เพราะว่าข้อมูลต่าง ๆเปลี่ยนไป และสถานการณ์ก็ย่ำแย่ลง เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่แล้ว เราเห็นว่าวิธีการที่ถูกต้องในการใช้เงินของผู้เสียภาษีให้เกิดประโยชน์ที่สุด น่าจะกระทำโดยผ่านทางโครงการลงทุน” นั่นคือการอัดฉีดเงินเข้าไปซื้อหุ้นของธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ที่ต้องการปรับโครงสร้างเงินทุน พอลสันกล่าว
ขุนคลังสหรัฐฯกล่าว โครงการ 700,000 ล้านดอลลาร์ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่ประสบปัญหา” (Trobled Asset Relief Program หรือ TARP) เวลานี้จะเน้นไปที่การอัดฉีดเงินเข้าไปเพิ่มทุนให้ธนาคารที่กำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ขณะเดียวกันก็จะมองหาทางเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่พวกสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (nonbank) ด้วย
การช่วยเหลือพวก “นอนแบงก์” อาจจะครอบคลุมถึงพวกหนี้สินบัตรเครดิต และหนี้สินเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งในสหรัฐฯก็จะอยู่ในลักษณะเดียวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย นั่นคือมักจะถูกนำมาจัดแพกเกจใหม่และแปลงให้เป็นตราสารหนี้ เพื่อขายแก่นักลงทุนต่อไป พอลสันบอก
รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯกล่าวว่า แม้แผนการ TARP ในตอนเริ่มแรกจะจัดทำขึ้นมาเพื่อเข้าซื้อพวกตราสารหนี้อิงสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ “แต่จากการประเมินของเราในเวลานี้ กลายเป็นว่าการซื้อสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยออกมาไม่ใช่หนทางการใช้เม็ดเงินที่ของแผนการที่มีประสิทธิภาพที่สุดอีกต่อไปแล้ว” พอลสันบอก
“ผมจะไม่กล่าวขอโทษที่ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางหรือยุทธศาสตร์เสียใหม่ ในเมื่อข้อเท็จจริงมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว” เขากล่าว “ผมคิดว่าการขอโทษควรจะเกิดขึ้นเมื่อข้อเท็จจริงได้เปลี่ยนไปแต่เรากลับไม่เปลี่ยนวิธีการตามไปด้วยต่างหาก”
อย่างไรก็ตาม พอลสันกล่าวว่าแผนการทีเออาร์พีไม่ได้มีอำนาจที่จะให้สินเชื่อโดยตรงเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ ทั้งนี้ 3 บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกัน นั่นคือ เจเนอรัลมอเตอร์ส (จีเอ็ม), ฟอร์ด, และไครสเลอร์ ต่างกำลังอยู่ในสถานะง่อนแง่น และออกมาเตือนว่า บริษัททั้งสามอาจจะถึงขึ้นขาดแคลนเม็ดเงินในเร็ว ๆนี้
“เรามีความกังวลต่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ พวกเขาเป็นส่วนที่เป็นหลักของอุตสาหกรรมการผลิตอของเรา” ขุนคลังอเมริกันบอก อย่างไรก็ตาม เขายืนยันว่า จุดมุ่งหมายของแผนทีเออาร์พี คือการแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมภาคการเงินเท่านั้น
คำพูดเหล่านี้ของรัฐมนตรีคลัง มีขึ้นหลังจากที่จีเอ็มและฟอร์ด ซึ่งขาดทุนรวมกันเป็นเงินถึง 30,000 ล้านดอลลาร์ภายในปีนี้ ต่างออกมาเรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาล
สิ่งที่บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งสองเรียกร้องก็คือเงินกู้ระยะสั้น 25,000 ล้านดอลลาร์เพื่อฉุดบริษัทให้พ้นจากการล้มละลาย จีเอ็มออกมาบอกว่าตอนนี้เงินสดที่อยู่ในมือบริษัทนั้นสามารถใช้ในการดำเนินงานไปได้เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น
โครงการทีเออาร์พี ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาโดยเบื้องต้นทีเดียว เพื่อให้รัฐบาลเข้าซื้อตราสารสินเชื่อที่อยู่ที่อาศัยที่ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง แต่นักวิเคราะห์หลายคนก็เตือนว่าเรื่องนี้อาจจะทำไม่ได้ เพราะว่ายากที่จะกำหนดราคาตราสารเหล่านี้ ในเมื่อสถานการณ์อันย่ำแย่จะทำให้ราคาร่วงลงไปเรื่อย ๆ
ด้วยเหตุนี้เอง พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจึงได้หันไปเลียนแบบแผนการช่วยเหลือในอังกฤษตลอดจนประเทศอื่นๆ นั่นคือ การแก้ไขปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง ด้วยการเข้าไปลงทุนในธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ โดยตรง
พอลสันกล่าวต่อไปอีกว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาที่จะเข้าช่วยเหลือพวกสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคประเภทต่างๆ ตลอดจนตราสารหนี้ที่หนุนหลังโดยสินทรัพย์ชนิดต่างๆ ซึ่งตลาดก็กำลังประสบภาวะชะงักงันอย่างรุนแรงเช่นกัน
“ภาคการเงินเพื่อการบริโภคที่นอกเหนือไปจากภาคการธนาคารเหล่านี้ ก็ประสบปัญหาเรื่องเงินทุนเช่นเดียวกัน” เขาชี้
“ต้นทุนการกู้ยืมในตลาดเหล่านี้พุ่งขึ้นทะลุฟ้า และธุรกรรมใหม่ ๆก็ชะงักงันโดยสิ้นเชิง”
พอลสันกล่าว และพูดต่อไปว่าการขาดแคลนสภาพคล่องในภาคธุรกิจเหล่านี้ “ทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลอย่างเช่นสินเชื่อรถยนต์, สินเชื่อเพื่อการศึกษาและบัตรเครดิต มีดอกเบี้ยแพงขึ้นมหาศาล นอกจากนี้ปริมาณสินเชื่อใหม่ก็ลดลงอย่างมากด้วย
พอลสันกล่าวว่ากระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯกำลัง “มองหาหนทางเพื่อพัฒนากลไกในการอัดฉีดสภาพคล่องใหม่ ๆ” สำหรับสินทรัพย์ที่อยู่นอกภาคธนาคารที่ได้รับการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดในขณะนี้ รวมทั้งหาทางใหม่ที่จะบรรเทาการบังคับขายบ้านติดจำนอง โดยไม่ต้องใช้วิธีที่ทางการเข้าไปซื้อหลักทรัพย์ที่อิงอยู่กับสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม ตลาดวอลล์สตรีทรู้สึกผิดหวังกับการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงการคลังคราวนี้ จนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวันพุธ ลดลงมา 411.30 จุด หรือ 4.73%
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชจะกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวพันกับการประชุมระดับผู้นำกลุ่มจี 20 ที่จะจัดขึ้นในกรุงวอชิงตันสุดสัปดาห์นี้
“เพราะว่าข้อมูลต่าง ๆเปลี่ยนไป และสถานการณ์ก็ย่ำแย่ลง เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่แล้ว เราเห็นว่าวิธีการที่ถูกต้องในการใช้เงินของผู้เสียภาษีให้เกิดประโยชน์ที่สุด น่าจะกระทำโดยผ่านทางโครงการลงทุน” นั่นคือการอัดฉีดเงินเข้าไปซื้อหุ้นของธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ที่ต้องการปรับโครงสร้างเงินทุน พอลสันกล่าว
ขุนคลังสหรัฐฯกล่าว โครงการ 700,000 ล้านดอลลาร์ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่ประสบปัญหา” (Trobled Asset Relief Program หรือ TARP) เวลานี้จะเน้นไปที่การอัดฉีดเงินเข้าไปเพิ่มทุนให้ธนาคารที่กำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ขณะเดียวกันก็จะมองหาทางเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่พวกสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (nonbank) ด้วย
การช่วยเหลือพวก “นอนแบงก์” อาจจะครอบคลุมถึงพวกหนี้สินบัตรเครดิต และหนี้สินเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งในสหรัฐฯก็จะอยู่ในลักษณะเดียวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย นั่นคือมักจะถูกนำมาจัดแพกเกจใหม่และแปลงให้เป็นตราสารหนี้ เพื่อขายแก่นักลงทุนต่อไป พอลสันบอก
รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯกล่าวว่า แม้แผนการ TARP ในตอนเริ่มแรกจะจัดทำขึ้นมาเพื่อเข้าซื้อพวกตราสารหนี้อิงสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ “แต่จากการประเมินของเราในเวลานี้ กลายเป็นว่าการซื้อสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยออกมาไม่ใช่หนทางการใช้เม็ดเงินที่ของแผนการที่มีประสิทธิภาพที่สุดอีกต่อไปแล้ว” พอลสันบอก
“ผมจะไม่กล่าวขอโทษที่ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางหรือยุทธศาสตร์เสียใหม่ ในเมื่อข้อเท็จจริงมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว” เขากล่าว “ผมคิดว่าการขอโทษควรจะเกิดขึ้นเมื่อข้อเท็จจริงได้เปลี่ยนไปแต่เรากลับไม่เปลี่ยนวิธีการตามไปด้วยต่างหาก”
อย่างไรก็ตาม พอลสันกล่าวว่าแผนการทีเออาร์พีไม่ได้มีอำนาจที่จะให้สินเชื่อโดยตรงเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ ทั้งนี้ 3 บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกัน นั่นคือ เจเนอรัลมอเตอร์ส (จีเอ็ม), ฟอร์ด, และไครสเลอร์ ต่างกำลังอยู่ในสถานะง่อนแง่น และออกมาเตือนว่า บริษัททั้งสามอาจจะถึงขึ้นขาดแคลนเม็ดเงินในเร็ว ๆนี้
“เรามีความกังวลต่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ พวกเขาเป็นส่วนที่เป็นหลักของอุตสาหกรรมการผลิตอของเรา” ขุนคลังอเมริกันบอก อย่างไรก็ตาม เขายืนยันว่า จุดมุ่งหมายของแผนทีเออาร์พี คือการแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมภาคการเงินเท่านั้น
คำพูดเหล่านี้ของรัฐมนตรีคลัง มีขึ้นหลังจากที่จีเอ็มและฟอร์ด ซึ่งขาดทุนรวมกันเป็นเงินถึง 30,000 ล้านดอลลาร์ภายในปีนี้ ต่างออกมาเรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาล
สิ่งที่บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งสองเรียกร้องก็คือเงินกู้ระยะสั้น 25,000 ล้านดอลลาร์เพื่อฉุดบริษัทให้พ้นจากการล้มละลาย จีเอ็มออกมาบอกว่าตอนนี้เงินสดที่อยู่ในมือบริษัทนั้นสามารถใช้ในการดำเนินงานไปได้เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น
โครงการทีเออาร์พี ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาโดยเบื้องต้นทีเดียว เพื่อให้รัฐบาลเข้าซื้อตราสารสินเชื่อที่อยู่ที่อาศัยที่ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง แต่นักวิเคราะห์หลายคนก็เตือนว่าเรื่องนี้อาจจะทำไม่ได้ เพราะว่ายากที่จะกำหนดราคาตราสารเหล่านี้ ในเมื่อสถานการณ์อันย่ำแย่จะทำให้ราคาร่วงลงไปเรื่อย ๆ
ด้วยเหตุนี้เอง พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจึงได้หันไปเลียนแบบแผนการช่วยเหลือในอังกฤษตลอดจนประเทศอื่นๆ นั่นคือ การแก้ไขปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง ด้วยการเข้าไปลงทุนในธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ โดยตรง
พอลสันกล่าวต่อไปอีกว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาที่จะเข้าช่วยเหลือพวกสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคประเภทต่างๆ ตลอดจนตราสารหนี้ที่หนุนหลังโดยสินทรัพย์ชนิดต่างๆ ซึ่งตลาดก็กำลังประสบภาวะชะงักงันอย่างรุนแรงเช่นกัน
“ภาคการเงินเพื่อการบริโภคที่นอกเหนือไปจากภาคการธนาคารเหล่านี้ ก็ประสบปัญหาเรื่องเงินทุนเช่นเดียวกัน” เขาชี้
“ต้นทุนการกู้ยืมในตลาดเหล่านี้พุ่งขึ้นทะลุฟ้า และธุรกรรมใหม่ ๆก็ชะงักงันโดยสิ้นเชิง”
พอลสันกล่าว และพูดต่อไปว่าการขาดแคลนสภาพคล่องในภาคธุรกิจเหล่านี้ “ทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลอย่างเช่นสินเชื่อรถยนต์, สินเชื่อเพื่อการศึกษาและบัตรเครดิต มีดอกเบี้ยแพงขึ้นมหาศาล นอกจากนี้ปริมาณสินเชื่อใหม่ก็ลดลงอย่างมากด้วย
พอลสันกล่าวว่ากระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯกำลัง “มองหาหนทางเพื่อพัฒนากลไกในการอัดฉีดสภาพคล่องใหม่ ๆ” สำหรับสินทรัพย์ที่อยู่นอกภาคธนาคารที่ได้รับการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดในขณะนี้ รวมทั้งหาทางใหม่ที่จะบรรเทาการบังคับขายบ้านติดจำนอง โดยไม่ต้องใช้วิธีที่ทางการเข้าไปซื้อหลักทรัพย์ที่อิงอยู่กับสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม ตลาดวอลล์สตรีทรู้สึกผิดหวังกับการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงการคลังคราวนี้ จนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวันพุธ ลดลงมา 411.30 จุด หรือ 4.73%