เอเอฟพี - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) และ ธนาคารโลก ออกมาแสดงความชื่นชมเมื่อวันอาทิตย์(12) ที่มีความก้าวหน้าในการร่วมมือประสานงานกันของกลุ่ม จี7, กลุ่มใช้เงินสกุลยูโร, ตลอดจนสถาบันพหุภาคีทั้งหลาย เพื่อหาทางบรรเทาวิกฤตการเงินที่กำลังสั่นสะเทือนโลกอยู่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม องค์การทั้งสองแห่งนี้ เตือนด้วยว่าประเทศยากจนก็ไม่ควรถูกลืมเลือนเช่นกัน
ในวันสุดท้ายของการเจรจาเป็นเวลาสามวันในกรุงวอชิงตัน (อันมีทั้งการประชุม จี7, จี20, การประชุมของไอเอ็มเอฟ และของธนาคารโลก) รวมทั้งการประชุมระดับผู้นำกลุ่มยูโรที่กรุงปารีสเมื่อวันอาทิตย์ รัฐบาลต่าง ๆมีความเคลื่อนไหวคืบหน้าอย่างสำคัญ ในการเสนอหนทางแก้ไขปัญหาแบบประสานสอดคล้องกัน รวมทั้ง การกำหนดมาตรการต่างๆ ในขนาดขอบเขตและค่าใช้จ่ายอันมหาศาลไม่เคยมีมาก่อน
"ผมมั่นใจ (ว่าการร่วมมือกันจะได้ผล)" กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ โดมินิก สเตราส์-คาห์น กล่าวในระหว่างแถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก
ในวันศุกร์(10) กลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี 7) เห็นพ้องต้องกันในแผนปฏิบัติการ 5 ข้อ เพื่อมิให้ธนาคารที่มีความสำคัญกับระบบการเงินใด ๆต้องล้มครืนลงมาอีก
รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของทั้งสหรัฐ, อังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี และญี่ปุ่นต่างให้คำมั่นว่าจะใช้วิธีการทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อรับมือกับวิกฤต และก็ได้อัดฉีดเงินหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯรวมกันเพื่อประคองระบบการเงินและธนาคารของตนเองเอาไว้
และในวันเสาร์แผนการดังกล่าวก็ได้รับการหนุนหลังอย่างเป็นทางการจากทั้งไอเอ็มเอฟ และกลุ่ม จี 20 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่ม จี7+ประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ+ประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่+ประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ๆ
ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ ผู้นำของกลุ่มยูโรโซนที่เข้าประชุมกันที่ปารีส ก็ตกลงกันได้ที่จะออกมาตรการกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาด โดยการรับประกันการกู้ยืมระหว่างธนาคาร และป้องกันมิให้สถาบันการเงินล้มละลายต่อไปอีก
"ผมยินดีต่อผลการประชุมของเขตยูโรโซo" สเตราส์-คาห์นกล่าว และเสริมว่าไอเอ็มเอฟได้เรียกร้องมาเป็นเวลาหลายเดือนให้แล้วประเทศต่าง ๆออกมาตรการร่วมกัน และก็เพิ่งเห็นความร่วมมืออยู่เป็นรูปธรรมในวันนี้
"ในประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าเกือบทั้งหมด ต่างก็เข้ามาอยู่ภายใต้มาตรการนี้แล้ว และคาดว่าข้อตกลงในยูโรโซนอาจจะขยายออกไปในยุโรปทั้งหมด" เขากล่าว
"แผนการของยูโรโซนเป็นสิ่งที่นำมาปฏิบัติได้" และเป็นสิ่งที่ไอเอ็มเอฟมองหามาตลอด "ซึ่งตอนนี้เราก็เดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว"
ส่วนประธานธนาคารโลก โรเบิร์ต เซลลิก ก็กล่าวในการแถลงข่าวครั้งเดียวกันว่า วิกฤตการเงินครั้งนี้เป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬารทั่วโลกเมื่อปี 1929 เป็นต้นมา จึงจำเป็นจะต้องมาการลงมือร่วมกันเพื่อสร้างระบบพหุภาคีที่ดีขึ้นกว่าเดิม
"เราต้องการระบบพหุภาคีที่มีความทันสมัยสำหรับเศรษฐกิจโลกสมัยใหม่" เขากล่าว "เราต้องการความร่วมมือกันโดยพร้อมเพรียง...เพื่อสร้างระบบที่ดีกว่าสำหรับอนาคต"
เซลลิกประกาศว่าบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานให้สินเชื่อภาคเอกชนของไอเอ็มเอฟ ก็กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะช่วยกอบกู้ธนาคารในประเทศกำลังพัฒนา ที่กำลังจะล่มลงจากคลื่นสึนามิทางการเงิน
นอกจากนี้ธนาคารโลกก็คาดด้วยว่ามีคนจำนวนมากกว่า 100 ล้านที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงของการร่วงลงไปอยู่ในความยากจนอีกครั้ง เพราะราคาอาหาร ราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเงินบริจาคในโครงการพัฒนาเพื่อช่วยเหลือพวกเขาเหล่านี้ก็ลดน้อยลงไป อันเป็นผลพวงจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้น
ในวันสุดท้ายของการเจรจาเป็นเวลาสามวันในกรุงวอชิงตัน (อันมีทั้งการประชุม จี7, จี20, การประชุมของไอเอ็มเอฟ และของธนาคารโลก) รวมทั้งการประชุมระดับผู้นำกลุ่มยูโรที่กรุงปารีสเมื่อวันอาทิตย์ รัฐบาลต่าง ๆมีความเคลื่อนไหวคืบหน้าอย่างสำคัญ ในการเสนอหนทางแก้ไขปัญหาแบบประสานสอดคล้องกัน รวมทั้ง การกำหนดมาตรการต่างๆ ในขนาดขอบเขตและค่าใช้จ่ายอันมหาศาลไม่เคยมีมาก่อน
"ผมมั่นใจ (ว่าการร่วมมือกันจะได้ผล)" กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ โดมินิก สเตราส์-คาห์น กล่าวในระหว่างแถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก
ในวันศุกร์(10) กลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี 7) เห็นพ้องต้องกันในแผนปฏิบัติการ 5 ข้อ เพื่อมิให้ธนาคารที่มีความสำคัญกับระบบการเงินใด ๆต้องล้มครืนลงมาอีก
รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของทั้งสหรัฐ, อังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี และญี่ปุ่นต่างให้คำมั่นว่าจะใช้วิธีการทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อรับมือกับวิกฤต และก็ได้อัดฉีดเงินหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯรวมกันเพื่อประคองระบบการเงินและธนาคารของตนเองเอาไว้
และในวันเสาร์แผนการดังกล่าวก็ได้รับการหนุนหลังอย่างเป็นทางการจากทั้งไอเอ็มเอฟ และกลุ่ม จี 20 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่ม จี7+ประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ+ประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่+ประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ๆ
ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ ผู้นำของกลุ่มยูโรโซนที่เข้าประชุมกันที่ปารีส ก็ตกลงกันได้ที่จะออกมาตรการกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาด โดยการรับประกันการกู้ยืมระหว่างธนาคาร และป้องกันมิให้สถาบันการเงินล้มละลายต่อไปอีก
"ผมยินดีต่อผลการประชุมของเขตยูโรโซo" สเตราส์-คาห์นกล่าว และเสริมว่าไอเอ็มเอฟได้เรียกร้องมาเป็นเวลาหลายเดือนให้แล้วประเทศต่าง ๆออกมาตรการร่วมกัน และก็เพิ่งเห็นความร่วมมืออยู่เป็นรูปธรรมในวันนี้
"ในประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าเกือบทั้งหมด ต่างก็เข้ามาอยู่ภายใต้มาตรการนี้แล้ว และคาดว่าข้อตกลงในยูโรโซนอาจจะขยายออกไปในยุโรปทั้งหมด" เขากล่าว
"แผนการของยูโรโซนเป็นสิ่งที่นำมาปฏิบัติได้" และเป็นสิ่งที่ไอเอ็มเอฟมองหามาตลอด "ซึ่งตอนนี้เราก็เดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว"
ส่วนประธานธนาคารโลก โรเบิร์ต เซลลิก ก็กล่าวในการแถลงข่าวครั้งเดียวกันว่า วิกฤตการเงินครั้งนี้เป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬารทั่วโลกเมื่อปี 1929 เป็นต้นมา จึงจำเป็นจะต้องมาการลงมือร่วมกันเพื่อสร้างระบบพหุภาคีที่ดีขึ้นกว่าเดิม
"เราต้องการระบบพหุภาคีที่มีความทันสมัยสำหรับเศรษฐกิจโลกสมัยใหม่" เขากล่าว "เราต้องการความร่วมมือกันโดยพร้อมเพรียง...เพื่อสร้างระบบที่ดีกว่าสำหรับอนาคต"
เซลลิกประกาศว่าบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานให้สินเชื่อภาคเอกชนของไอเอ็มเอฟ ก็กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะช่วยกอบกู้ธนาคารในประเทศกำลังพัฒนา ที่กำลังจะล่มลงจากคลื่นสึนามิทางการเงิน
นอกจากนี้ธนาคารโลกก็คาดด้วยว่ามีคนจำนวนมากกว่า 100 ล้านที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงของการร่วงลงไปอยู่ในความยากจนอีกครั้ง เพราะราคาอาหาร ราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเงินบริจาคในโครงการพัฒนาเพื่อช่วยเหลือพวกเขาเหล่านี้ก็ลดน้อยลงไป อันเป็นผลพวงจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้น