ผู้จัดการรายวัน- ยอดขอรับฯส่งเสริมการลงทุนผ่านบีโอไอ 9 เดือนแรกปีนี้ 964 รายเงินลงทุน 3.41 แสนล้านบาทโดยพบว่ามูลค่าลงทุนหดตัวไป 8.5 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน “บีโอไอ” แจงเหตุมูลค่าลดลงเหตุเป็นการลงทุนขนาดเล็กเพราะขนาดใหญ่ได้ลงทุนไปในช่วงปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก ชี้นักลงทุนยังสนใจไทยแม้จะมีปัญหาการเมืองเหตุนโยบายด้านลงทุนไม่เปลี่ยน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ได้แจ้งยอดการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านบีโอไอช่วง 9 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-ก.ย.) พบว่า มียอดขอรับทั้งสิ้น 964 รายเงินลงทุน 3.41 แสนล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 1.39 แสนคน ซึ่งปรากฏว่าจำนวนโครงการ9 เดือนแรกของปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับเพิ่มขึ้นแต่มูลค่าลดลงไปประมาณ 8.5 หมื่นล้านบาทโดยช่วงเดียวกันของปีก่อนมีจำนวนที่ขอรับการส่งเสริมฯ 932 รายเงินลงทุน 4.27 แสนล้านบาท
“ ยอดอนุมัติให้การส่งเสริมลงทุน 9 ดือนแรกมีทั้งสิ้น 799 ราย เงินลงทุน 2.68 แสนล้านบาทสาเหตุที่อนุมัติได้น้อยเนื่องจากเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีผลให้การอนุมัติให้การส่งเสริมผ่านบอร์ดบีโอไอชุดต่างๆ ต้องชะงักออกไปจนถึงปัจจุบัน”แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมฯ 9 เดือนแรกปีนี้มากสุดเป็นการลงทุนทางด้านการบริการและระบบสาธารณูปโภค รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่การลงทุนผลิตผลทางการเกษตรมีทิศทางที่ปรับลดลง และหากพิจารณาการลงทุนรวมจากต่างประเทศ(Total Foreign Invesment) แล้วพบว่า 9 เดือนแรกปีนี้มีการขอรับการส่งเสริมฯ 635 รายมูลค่า 2.21 แสนล้านบาทซึ่งมูลค่าลดลงจากช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขอรับการส่งเสริมฯ 604 รายแต่มีมูลค่าลงทุนสูงถึง 3.34 แสนล้านบาท ทั้งนี้การลงทุนจากต่างประเทศญี่ปุ่นยังคงครองแชมป์การลงทุนสูงสุดเช่นเดิม
นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการบีโอไอกล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 356 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 115,068 ล้านบาท โดยจำนวนโครงการปรับเพิ่มขึ้น 7 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2550 ซึ่งมี 333 โครงการ สำหรับมูลค่าเงินลงทุนแม้จะปรับลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2550 ประมาณ 12 % เนื่องจากปีที่ผ่านมามีโครงการขนาดใหญ่ขอรับส่งเสริมหลายโครงการ ในขณะที่ปีนี้มีโครงการขนาดใหญ่น้อยกว่า
ทั้งนี้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นอยู่ในกลุ่มยุโรป และอาเซียน ซึ่งลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการ และมูลค่าเงินลงทุน โดยทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว มีมูลค่าเงินลงทุนรวมกัน ทั้งสิ้น 85,416 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าประมาณ 72,829 ล้านบาท
“ แม้ไทยจะมีความวุ่นวายทางการเมือง แต่รัฐบาลยังยืนยันไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุน ประกอบกับประเทศมีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภค และเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลาย ๆ ด้าน จึงยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่อเนื่อง” นางอรรชกากล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ได้แจ้งยอดการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านบีโอไอช่วง 9 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-ก.ย.) พบว่า มียอดขอรับทั้งสิ้น 964 รายเงินลงทุน 3.41 แสนล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 1.39 แสนคน ซึ่งปรากฏว่าจำนวนโครงการ9 เดือนแรกของปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับเพิ่มขึ้นแต่มูลค่าลดลงไปประมาณ 8.5 หมื่นล้านบาทโดยช่วงเดียวกันของปีก่อนมีจำนวนที่ขอรับการส่งเสริมฯ 932 รายเงินลงทุน 4.27 แสนล้านบาท
“ ยอดอนุมัติให้การส่งเสริมลงทุน 9 ดือนแรกมีทั้งสิ้น 799 ราย เงินลงทุน 2.68 แสนล้านบาทสาเหตุที่อนุมัติได้น้อยเนื่องจากเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีผลให้การอนุมัติให้การส่งเสริมผ่านบอร์ดบีโอไอชุดต่างๆ ต้องชะงักออกไปจนถึงปัจจุบัน”แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมฯ 9 เดือนแรกปีนี้มากสุดเป็นการลงทุนทางด้านการบริการและระบบสาธารณูปโภค รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่การลงทุนผลิตผลทางการเกษตรมีทิศทางที่ปรับลดลง และหากพิจารณาการลงทุนรวมจากต่างประเทศ(Total Foreign Invesment) แล้วพบว่า 9 เดือนแรกปีนี้มีการขอรับการส่งเสริมฯ 635 รายมูลค่า 2.21 แสนล้านบาทซึ่งมูลค่าลดลงจากช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขอรับการส่งเสริมฯ 604 รายแต่มีมูลค่าลงทุนสูงถึง 3.34 แสนล้านบาท ทั้งนี้การลงทุนจากต่างประเทศญี่ปุ่นยังคงครองแชมป์การลงทุนสูงสุดเช่นเดิม
นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการบีโอไอกล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 356 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 115,068 ล้านบาท โดยจำนวนโครงการปรับเพิ่มขึ้น 7 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2550 ซึ่งมี 333 โครงการ สำหรับมูลค่าเงินลงทุนแม้จะปรับลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2550 ประมาณ 12 % เนื่องจากปีที่ผ่านมามีโครงการขนาดใหญ่ขอรับส่งเสริมหลายโครงการ ในขณะที่ปีนี้มีโครงการขนาดใหญ่น้อยกว่า
ทั้งนี้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นอยู่ในกลุ่มยุโรป และอาเซียน ซึ่งลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการ และมูลค่าเงินลงทุน โดยทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว มีมูลค่าเงินลงทุนรวมกัน ทั้งสิ้น 85,416 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าประมาณ 72,829 ล้านบาท
“ แม้ไทยจะมีความวุ่นวายทางการเมือง แต่รัฐบาลยังยืนยันไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุน ประกอบกับประเทศมีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภค และเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลาย ๆ ด้าน จึงยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่อเนื่อง” นางอรรชกากล่าว