เอเอฟพี/รอยเตอร์ – บรรดาผู้นำของยุโรปต่างแสดงความหวัง จะสามารถตกลงกันในการประชุมที่กรุงปารีสวานนี้(12) เกี่ยวกับแผนการที่มีรายละเอียดเป็นเนื้อเป็นหนัง เพื่อมุ่งสกัดความตื่นตระหนกของตลาด อีกทั้งหลีกเลี่ยงสิ่งที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศเตือนว่า อาจจะเป็นการล้มครืนของระบบการเงินโลก ภายหลังจากที่บรรดาชาติหลักๆ ทั่วโลกต่างแสดงท่าทีในเชิงหลักการในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ให้ความสนับสนุนเต็มที่ต่อความพยายามในการแก้ไขปัญหา
ภายหลังการหารือของรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจากกลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7) ในวันศุกร์(10) ทางกลุ่มจี 20 ซึ่งประกอบด้วยชาติจี7+ชาติมั่งคั่งอื่นๆ +ชาติเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่+ชาติกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ และรวมกันแล้วมีขนาดเท่ากับ 85% ของเศรษฐกิจโลก ก็ได้ประชุมกันที่กรุงวอชิงตันเช่นเดียวกันในวันเสาร์(11) และมีมติให้ออกแถลงการณ์ร่วม แสดงความสนับสนุน “แผนปฏิบัติการ 5 ข้อ” ของจี7 ซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้ “เครื่องมือทางการเงินและทางเศรษฐกิจทั้งหมด” เพื่อสยบพายุร้ายแรงคราวนี้ (ดูรายละเอียดในข่าว จี20-IMFต่างหนุนแผน5ข้อจี7 หน้า28)
แถลงการณ์ของชาติกลุ่มจี20 บอกด้วยว่า การปฏิบัติการต่างๆ จะต้อง “มีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด เพื่อที่ปฏิบัติการของประเทศหนึ่งจะไม่กลายเป็นความเสียหายของชาติอื่นๆ หรือเป็นความเสียหายต่อเสถียรภาพของระบบโดยรวม”
ทางด้าน โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่าความพยายามของประเทศสำคัญๆ ทั้งหลายซึ่งต่างให้สัญญาที่จะร่วมมือกันเพื่อทำให้ความปั่นป่วนผันผวนที่กำลังระอุดุเดือด กลับคืนสู่เสถียรภาพเช่นนี้ สามารถที่จะผ่าทางตันพบช่องทางในการแก้ปัญหาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ตัวเขาเองได้กล่าวเตือนว่า “ความวิตกกังวลที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว เกี่ยวกับสภาพคล่องของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สุดจำนวนหนึ่งทั้งที่ตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯและในยุโรป ได้ผลักดันให้ระบบการเงินทั่วโลกเข้าสู่ริมขอบแห่งการล้มครืนเชิงระบบ”
แต่ถึงแม้กลุ่ม จี7 จะประกาศแผนปฏิบัติการ 5 ข้อ ซึ่งได้รับความสนับสนุนอย่างกว้างขวางดังกล่าวแล้ว ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยู่มากว่า แผนปฏิบัติการของ จี7 ยังมีลักษณะเชิงหลักการและขาดรายละเอียดรูปธรรม จึงมีความลำบากที่จะฟื้นฟูความมั่นใจขึ้นมาให้ได้จริงๆ
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อวานนี้ความสนใจจึงหันออกจากกรุงวอชิงตัน ไปสู่อีกฟากฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก นั่นคือที่กรุงปารีส ที่กำลังมีการประชุมระดับผู้นำของ “กลุ่มยูโร” หรือ 15 ชาติซึ่งใช้เงินตราสกุลยูโร โดยที่มีนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เข้าร่วมการหารือข้างเคียงด้วย แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่มนี้
รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศส คริสตีน ลาการ์ด กล่าวก่อนที่จะออกจากกรุงวอชิงตันกลับไปประชุมที่ปารีสว่า โลกจะ “ไม่ถูกทำให้ผิดหวัง” จากมาตรการต่างๆ ซึ่งจะได้รับการรับรองในที่ประชุมของกลุ่มยูโรคราวนี้ โดยที่บรรดาผู้นำยุโรปจะ “นำเอาเนื้อหนัง, มัดกล้าม มาสวมใส่เข้ากับกระดูกของโครงกระดูก(แผนปฏิบัติการ5ข้อ) และก็จะพัฒนา, ติดตามผล, ตลอดจนดำเนินการตามแผนการดังกล่าว”
มีรายงานข่าวว่ากลุ่มยูโรมีแนวโน้มที่จะยอมรับแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาของอังกฤษ โดยมาตรการที่สำคัญคือการที่รัฐเข้าค้ำประกันการกู้ยืมระหว่างธนาคาร และเข้าซื้อหุ้นจำนวนหนึ่งในธนาคารและสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา
ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศส ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป(อียู)วาระปัจจุบัน กำหนดนัดหมายที่จะหารือกับนายกฯบราวน์ จากนั้นจึงจะจัดการประชุมกลุ่มยูโร
บราวน์ได้เตือนบรรดาผู้นำยุโรปก่อนหน้าการประชุมปารีสคราวนี้ว่า พวกเขากำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่จะต้องตัดสินใจให้เด็ดขาด พร้อมกับให้คำมั่นว่า อังกฤษจะ “เป็นผู้นำทาง” ให้พ้นออกจากวิกฤตสินเชื่อได้
“เหตุการณ์ในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นแล้วว่า นี่คือปัญหาระดับโลก ซึ่งจำเป็นจะต้องมีหนทางแก้ไขในระดับโลก” บราวน์เขียนในบทความซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ซันเดย์มีร์เรอร์ฉบับวานนี้ “ผมกำลังจะไปที่ปารีสเพื่อชักชวนประเทศยุโรปอื่นๆ ให้ยอมรับวิธีแก้ไขปัญหาแบบครอบคลุมซึ่งเรากำลังใช้กันอยู่ในอังกฤษ สำหรับยุโรปแล้ว เดิมพันไม่อาจจะสูงไปกว่านี้อีกแล้ว และนี่คือช่วงเวลาแห่งการต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาด”
หนังสือพิมพ์ในอังกฤษ 2 ฉบับรายงานวานนี้ว่า รัฐบาลอังกฤษกำลังเตรียมที่จะเข้าไปถือหุ้นใหญ่ซึ่งสามารถควบคุมกิจการในธนาคาร รอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) และ เอชบีโอเอส อันเป็น 2 ธนาคารใหญ่ที่สุดของอังกฤษซึ่งกำลังถูกเล่นงานหนักหน่วงที่สุดจากวิกฤตทางการเงินคราวนี้
ทางด้านหนังสือพิมพ์ บิลด์ อัม ซอนน์ทาก ของเยอรมนีก็รายงานว่า นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล กล่าวว่า ในเวลานี้มีแต่รัฐเท่านั้นที่จะสามารถฟื้นฟูทำให้ตลาดการเงินกลับเกิดความไว้วางใจขึ้นมาอีก และเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศต่างๆ จะต้องไม่ทำอะไรตามอำเภอใจฝ่ายเดียว แต่จะต้องร่วมมือกันทั้งในระดับทั่วยุโรปและระดับนานาชาติ และจากนั้นจึงปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่ตกลงกัน ภายในความรับผิดชอบระดับชาติของแต่ละฝ่าย
มีรายงานด้วยว่า เยอรมนีกำลังเตรียมจะเปิดเผยแพกเกจมูลค่ามหึมาเพื่อช่วยเหลือบรรดาธนาคารในประเทศตน
ภายหลังการหารือของรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจากกลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7) ในวันศุกร์(10) ทางกลุ่มจี 20 ซึ่งประกอบด้วยชาติจี7+ชาติมั่งคั่งอื่นๆ +ชาติเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่+ชาติกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ และรวมกันแล้วมีขนาดเท่ากับ 85% ของเศรษฐกิจโลก ก็ได้ประชุมกันที่กรุงวอชิงตันเช่นเดียวกันในวันเสาร์(11) และมีมติให้ออกแถลงการณ์ร่วม แสดงความสนับสนุน “แผนปฏิบัติการ 5 ข้อ” ของจี7 ซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้ “เครื่องมือทางการเงินและทางเศรษฐกิจทั้งหมด” เพื่อสยบพายุร้ายแรงคราวนี้ (ดูรายละเอียดในข่าว จี20-IMFต่างหนุนแผน5ข้อจี7 หน้า28)
แถลงการณ์ของชาติกลุ่มจี20 บอกด้วยว่า การปฏิบัติการต่างๆ จะต้อง “มีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด เพื่อที่ปฏิบัติการของประเทศหนึ่งจะไม่กลายเป็นความเสียหายของชาติอื่นๆ หรือเป็นความเสียหายต่อเสถียรภาพของระบบโดยรวม”
ทางด้าน โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่าความพยายามของประเทศสำคัญๆ ทั้งหลายซึ่งต่างให้สัญญาที่จะร่วมมือกันเพื่อทำให้ความปั่นป่วนผันผวนที่กำลังระอุดุเดือด กลับคืนสู่เสถียรภาพเช่นนี้ สามารถที่จะผ่าทางตันพบช่องทางในการแก้ปัญหาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ตัวเขาเองได้กล่าวเตือนว่า “ความวิตกกังวลที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว เกี่ยวกับสภาพคล่องของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สุดจำนวนหนึ่งทั้งที่ตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯและในยุโรป ได้ผลักดันให้ระบบการเงินทั่วโลกเข้าสู่ริมขอบแห่งการล้มครืนเชิงระบบ”
แต่ถึงแม้กลุ่ม จี7 จะประกาศแผนปฏิบัติการ 5 ข้อ ซึ่งได้รับความสนับสนุนอย่างกว้างขวางดังกล่าวแล้ว ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยู่มากว่า แผนปฏิบัติการของ จี7 ยังมีลักษณะเชิงหลักการและขาดรายละเอียดรูปธรรม จึงมีความลำบากที่จะฟื้นฟูความมั่นใจขึ้นมาให้ได้จริงๆ
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อวานนี้ความสนใจจึงหันออกจากกรุงวอชิงตัน ไปสู่อีกฟากฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก นั่นคือที่กรุงปารีส ที่กำลังมีการประชุมระดับผู้นำของ “กลุ่มยูโร” หรือ 15 ชาติซึ่งใช้เงินตราสกุลยูโร โดยที่มีนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เข้าร่วมการหารือข้างเคียงด้วย แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่มนี้
รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศส คริสตีน ลาการ์ด กล่าวก่อนที่จะออกจากกรุงวอชิงตันกลับไปประชุมที่ปารีสว่า โลกจะ “ไม่ถูกทำให้ผิดหวัง” จากมาตรการต่างๆ ซึ่งจะได้รับการรับรองในที่ประชุมของกลุ่มยูโรคราวนี้ โดยที่บรรดาผู้นำยุโรปจะ “นำเอาเนื้อหนัง, มัดกล้าม มาสวมใส่เข้ากับกระดูกของโครงกระดูก(แผนปฏิบัติการ5ข้อ) และก็จะพัฒนา, ติดตามผล, ตลอดจนดำเนินการตามแผนการดังกล่าว”
มีรายงานข่าวว่ากลุ่มยูโรมีแนวโน้มที่จะยอมรับแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาของอังกฤษ โดยมาตรการที่สำคัญคือการที่รัฐเข้าค้ำประกันการกู้ยืมระหว่างธนาคาร และเข้าซื้อหุ้นจำนวนหนึ่งในธนาคารและสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา
ประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศส ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป(อียู)วาระปัจจุบัน กำหนดนัดหมายที่จะหารือกับนายกฯบราวน์ จากนั้นจึงจะจัดการประชุมกลุ่มยูโร
บราวน์ได้เตือนบรรดาผู้นำยุโรปก่อนหน้าการประชุมปารีสคราวนี้ว่า พวกเขากำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่จะต้องตัดสินใจให้เด็ดขาด พร้อมกับให้คำมั่นว่า อังกฤษจะ “เป็นผู้นำทาง” ให้พ้นออกจากวิกฤตสินเชื่อได้
“เหตุการณ์ในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นแล้วว่า นี่คือปัญหาระดับโลก ซึ่งจำเป็นจะต้องมีหนทางแก้ไขในระดับโลก” บราวน์เขียนในบทความซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ซันเดย์มีร์เรอร์ฉบับวานนี้ “ผมกำลังจะไปที่ปารีสเพื่อชักชวนประเทศยุโรปอื่นๆ ให้ยอมรับวิธีแก้ไขปัญหาแบบครอบคลุมซึ่งเรากำลังใช้กันอยู่ในอังกฤษ สำหรับยุโรปแล้ว เดิมพันไม่อาจจะสูงไปกว่านี้อีกแล้ว และนี่คือช่วงเวลาแห่งการต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาด”
หนังสือพิมพ์ในอังกฤษ 2 ฉบับรายงานวานนี้ว่า รัฐบาลอังกฤษกำลังเตรียมที่จะเข้าไปถือหุ้นใหญ่ซึ่งสามารถควบคุมกิจการในธนาคาร รอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) และ เอชบีโอเอส อันเป็น 2 ธนาคารใหญ่ที่สุดของอังกฤษซึ่งกำลังถูกเล่นงานหนักหน่วงที่สุดจากวิกฤตทางการเงินคราวนี้
ทางด้านหนังสือพิมพ์ บิลด์ อัม ซอนน์ทาก ของเยอรมนีก็รายงานว่า นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล กล่าวว่า ในเวลานี้มีแต่รัฐเท่านั้นที่จะสามารถฟื้นฟูทำให้ตลาดการเงินกลับเกิดความไว้วางใจขึ้นมาอีก และเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศต่างๆ จะต้องไม่ทำอะไรตามอำเภอใจฝ่ายเดียว แต่จะต้องร่วมมือกันทั้งในระดับทั่วยุโรปและระดับนานาชาติ และจากนั้นจึงปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่ตกลงกัน ภายในความรับผิดชอบระดับชาติของแต่ละฝ่าย
มีรายงานด้วยว่า เยอรมนีกำลังเตรียมจะเปิดเผยแพกเกจมูลค่ามหึมาเพื่อช่วยเหลือบรรดาธนาคารในประเทศตน