ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงระนาว เหตุนักลงทุนหวั่นวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ลามไม่หยุด แม้ทางการประสานเสียงเสริมสภาพคล่อง โดยตลาดหุ้นไทยดิ่งหนักจนตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องประกาศหยุดการซื้อขายชั่วคราว (เซอร์กิตเบรกเกอร์) เป็นเวลา 30 นาที ก่อนจะเด้งกลับมาปิดที่ 451.96 จุด ลดลงกว่า48 จุด หรือ 9.61% “ปกรณ์” เผยต่างชาติยังทิ้งหุ้นไทยต่อจนกว่าปัญหาจะยุติ แม้ยอดขายสุทธิตั้งแต่ต้นปีทะลุ 1.3 แสนล้านแล้ว โบรกเกอร์สั่งจับตาการเงินสหรัฐฯ–การเมืองใกล้ชิด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10 ต.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตั้งแต่เปิดการซื้อขายภาคเช้า ตามทิศทางของตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนต่างวิตกวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ จะยังคงลุกลาม และขยายวงกว้างภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และมาตรการต่างๆ ที่ทางการของประเทศต่างๆทั่วโลกออกมานั้นเป็นเพียงมาตรการชะลอปัญหาไม่ใช่มาตรการสำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ขณะที่ในช่วงบ่าย นักลงทุนยังคงเทขายหุ้นออกมา ฉุดให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงกว่า 10% หลังจากเปิดไปได้แค่ 5 นาที โดยดัชนีอยู่ที่ 449.91 จุด ลดลง 50.08 จุด หรือคิดเป็น 10.02% ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงใช้มาตรการหยุดการซื้อขายชั่วคราว (Circuit Breaker) เป็นเวลา 30 นาที
อย่างไรก็ตาม หลังจากการเปิดการซื้อขายอีกรอบ ดัชนีได้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยมีราคาสูงสุดที่ 468.13 จุด ต่ำสุด 449.53 จุด และปิดการซื้อขายที่ 451.96 จุด ลดลงจากวันก่อนถึง 48.03 จุด คิดเป็น 9.61% มูลค่าการซื้อขายรวม 16,291.63 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง คือมียอดขายสุทธิ 256.06 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 2,192.04 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,448.09 ล้านบาท
สำหรับการใช้มาตรการหยุดการซื้อขายชั่วคราว (Circuit Breaker) ครั้งนี้ ถือเป็นการประกาศใช้ครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดทำการ โดยครั้งแรกประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2549 หลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% ซึ่งทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงถึง 140 จุดภายในวันเดียว
***แนวโน้มต่างชาติทิ้งหุ้นไทยต่อ
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ตามการปรับตัวลดลงตามดัชนีดาวโจนส์ที่ลดลงถึง 687 จุด จากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ที่ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกัน และจนถึงขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยออกมาแล้วกว่า 1.3 แสนล้านบาท และยังคงมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลาย
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า จากการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง 10% นั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการหยุดพักการซื้อขายชั่วคราวเป็นเวลา 30 นาที เพื่อที่จะให้นักลงทุนติดตามข้อมูลต่างๆ ให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจการลงทุน ก่อนที่จะเปิดการซื้อขายอีกครั้ง
" ตั้งแต่ต้นปีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงมาแล้วประมาณ 50% ถือว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่าตลาดหุ้นอื่นที่ปรับตัวลดลงระดับ 70-80% การทำเซอร์กิจเบรกเกอร์วันนี้เป็นไปตามต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง เช่น ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปรับลง10 % , ตลาดนิเคอิ ปรับลง 10.38% โดยดัชนีตลาดหุ้นไทย อีกทั้งสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่คลี่คลายก็ยังเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลหนักลงทุนวิตกกังวล"
ทั้งนี้ มั่นใจว่ามาตราการที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นดีอยู่แล้ว และไม่มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนกฏเกณฑ์ รวมถึงแนวคิดหยุดทำการซื้อขายเป็นวัน ส่วนกองทุนLTF ได้มีการขยายฐานในการหักลดหย่อนภาษีเพิ่มเป็น 7 แสนบาท จากเดิมที่สามารถหักลดหย่อนได้ที่ 5 แสนบาท
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า จะต้องติดตามปัจจัย 2 เรื่อง คือ สถานการณ์ตลาดหุ้นในสหรัฐ และยุโรป และการเมืองภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้นักลงทุนจะต้องติดตามข่าวสารต่างๆ กันทุกชั่วโมง แต่การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรง ขณะนี้ถือว่าลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยแล้ว ซึ่งนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่ก็ไม่ควรจะขายออกมา ควรถือในระยะยาว เพราะมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูง
ด้าน มล.ทองมกุฏ ทองใหญ่ ผู้บริหารฝ่ายค้าหลักทรัพย์ บล.ซิตี้ คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมโบรกเกอร์ต่างประเทศ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงถึง 10% จนตลาดหลักทรัพย์ต้องใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ ถือเป็นเรื่องปกติที่ตลาดฯ จำเป็นจะต้องใช้มาตรการที่มีอยู่ โดยการปรับตัวลดลงครั้งนี้เป็นเพราะปัจจัยลบจากปัญหาการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ทั่วโลกถูกแรงขาย
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง เช่นเดียวกันกับดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้า หากเปรียบเทียบกันแล้วตลาดหุ้นไทยยังปรับตัวลดลงน้อยเมื่อเทียบกับภูมิภาค รวมถึงมองว่าแรงขายของนักลงทุนต่างชาติน่าจะคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแรงเทขายตั้งแต่ต้นปีรวมแล้วกว่า 4 พันกว่าล้านเหรียญสหรัฐ
***หุ้นตกบ่งชี้วิกฤติการเงินไม่จบง่าย
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้มาตรการหยุดการซื้อขายชั่วคราวหลังตลาดหุ้นตกลงอย่างหนัก เกิดจากภาคเอกชนมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและไทยมากขึ้น และไม่แน่ใจถึงแนวทางการแก้วิกฤติการเงินโลกแม้จะมีการอัดฉีดเงินเพิ่ม การลดดอกเบี้ยเพื่อเสริมสภาพคล่องแล้ว
"การระดมทุนผ่านตลาดหุ้นภายในสิ้นปีนี้คงยากที่จะเห็น ขณะที่ต้นปีหน้าจะต้องมาดูทิศทางกันใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับตลาดหุ้นทั่วโลก ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมคงจะต้องเร่งปรับตัวรับกับปัญหาการเงินที่อาจจะตึงตัวได้จากนี้ไปซึ่งกังวลมากสุดคงจะเป็นปี 2552 เพราะปีนี้ได้มีการส่งออกไปค่อนข้างมากแล้วออเดอร์อาจจะลดช่วงสิ้นปีนี้เท่านั้น แต่ปีหน้าจะเริ่มตั้งแต่ต้นปีทำให้ต้องวางแผนให้ดี" นายสันติกล่าว
**หุ้นโลกดิ่งเหวระเนระนาด
สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกยังคงอยู่ในอาการควงสว่านดำดิ่งลึกลงไปในกระแสน้ำวนเมื่อวานนี้(10) ท่ามกลางกระแสกดดันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ให้บรรดารัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7) ต้องร่วมมือกันออกมาตรการใหม่ๆ และแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน ระหว่างการประชุมของพวกเขาที่กรุงวอชิงตันเมื่อคืนวาน
ตลาดหุ้นทั่วโลกยังอยู่ในอาการแตกตื่นหวาดผวา และไม่มีความมั่นใจในมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขวิกฤต ซึ่งทางการของประเทศต่างๆ นำออกมาใช้ทั้งในแบบตามลำพังและแบบรวมหมู่ร่วมกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ, การลดอัตราดอกเบี้ย, หรือการเข้าไปอุ้มสถาบันการเงิน
ตั้งแต่ตลาดวอลล์สตรีทเมื่อวันพฤหัสบดี(9) ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจน์ปิดตลาดโดยตกลงมา 7.33% หรือ 678.91 อยู่ในระดับ 8,579.19 ซึ่งถือเป็นการปิดในระดับต่ำกว่า 9,000 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2003
จากนั้นพอมาถึงฟากเอเชียวานนี้ ราคาหุ้นก็ไหลรูดอย่างไม่หยุดยั้ง ตลาดโตเกียวนั้นมีอยู่ช่วงหนึ่ง ติดลบถึง 11% ก่อนจะกระเตื้องขึ้นได้บ้าง กระนั้นก็ปิดโดยติดลบ 9.6% เมื่อคิดตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นต่างๆ ที่นำมาคำนวณเป็นดัชนีหุ้นนิกเคอิ ก็สูญเสียมูลค่าไปกว่า 24% ทีเดียว
เช่นเดียวกับฮ่องกง ซึ่งวานนี้ติดลบอีก 7.2% รวมทั้งสัปดาห์ได้หดหายไป 16% และหากนับตั้งแต่เริ่มปีนี้มา มูลค่าก็ได้สูญเสียไป 47% ส่วนทางด้านสิงคโปร์วานนี้หล่นฮวบลงมา 7.34% สู่ระดับที่แย่ที่สุดในรอบกว่า 4 ปี
ด้านตลาดแถบยุโรปก็อยู่ในสภาพแบบเดียวกัน ตอนช่วงแรกๆ ของการซื้อขายในตลาดลอนดอนวานนี้ ดัชนีสำคัญปักหัวลงมา 10.20% ก่อนจะขยับขึ้นไปได้บ้าง กระนั้นในเวลาใกล้ๆ เที่ยงวัน ก็ยังคงติดลบ 7.81% สำหรับตลาดแฟรงเฟิร์ตและปารีส ช่วงแรกๆ วานนี้ได้ถลาลงมา 10.0% และ 9.68% ตามลำดับ ก่อนจะกระเตื้องขึ้นไปอยู่แถว -9.06% และ 7.99%
ตลาดหลักทรัพย์หลายๆ แห่งในเอเชียและยุโรป ได้แก่ ไอซ์แลนด์, รัสเซีย, ออสเตรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, และอินโดนีเซีย ถึงขั้นต้องหยุดการซื้อขายไปเลย เพราะดัชนีราคาหุ้นทรุดทะลุฟลอร์ที่กำหนดไว้
"ความแตกตื่นและความหวาดกลัวที่เรากำลังพบเห็นอยู่ในเวลานี้ คืออาการของการช็อกอย่างสุดขีด มันดูเหมือนกับว่าตลาดกำลังกำหนดราคาหุ้นในสภาพของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่" แมตต์ แมคคอลล์ ประธานบริหารของ เพนน์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป แห่งเมืองริดจ์วูด มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ ให้ความเห็น "สภาพที่ไม่มีความมั่นใจกันเลยนั้น ไม่ใช่แค่ไม่มั่นใจเศรษฐกิจโลก แต่ยังไม่มั่นใจในผู้นำของโลกด้วย"
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10 ต.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตั้งแต่เปิดการซื้อขายภาคเช้า ตามทิศทางของตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนต่างวิตกวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ จะยังคงลุกลาม และขยายวงกว้างภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และมาตรการต่างๆ ที่ทางการของประเทศต่างๆทั่วโลกออกมานั้นเป็นเพียงมาตรการชะลอปัญหาไม่ใช่มาตรการสำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ขณะที่ในช่วงบ่าย นักลงทุนยังคงเทขายหุ้นออกมา ฉุดให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงกว่า 10% หลังจากเปิดไปได้แค่ 5 นาที โดยดัชนีอยู่ที่ 449.91 จุด ลดลง 50.08 จุด หรือคิดเป็น 10.02% ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงใช้มาตรการหยุดการซื้อขายชั่วคราว (Circuit Breaker) เป็นเวลา 30 นาที
อย่างไรก็ตาม หลังจากการเปิดการซื้อขายอีกรอบ ดัชนีได้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยมีราคาสูงสุดที่ 468.13 จุด ต่ำสุด 449.53 จุด และปิดการซื้อขายที่ 451.96 จุด ลดลงจากวันก่อนถึง 48.03 จุด คิดเป็น 9.61% มูลค่าการซื้อขายรวม 16,291.63 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศยังคงขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง คือมียอดขายสุทธิ 256.06 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 2,192.04 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,448.09 ล้านบาท
สำหรับการใช้มาตรการหยุดการซื้อขายชั่วคราว (Circuit Breaker) ครั้งนี้ ถือเป็นการประกาศใช้ครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดทำการ โดยครั้งแรกประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2549 หลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% ซึ่งทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงถึง 140 จุดภายในวันเดียว
***แนวโน้มต่างชาติทิ้งหุ้นไทยต่อ
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ตามการปรับตัวลดลงตามดัชนีดาวโจนส์ที่ลดลงถึง 687 จุด จากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ที่ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกัน และจนถึงขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยออกมาแล้วกว่า 1.3 แสนล้านบาท และยังคงมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลาย
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า จากการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง 10% นั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการหยุดพักการซื้อขายชั่วคราวเป็นเวลา 30 นาที เพื่อที่จะให้นักลงทุนติดตามข้อมูลต่างๆ ให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจการลงทุน ก่อนที่จะเปิดการซื้อขายอีกครั้ง
" ตั้งแต่ต้นปีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงมาแล้วประมาณ 50% ถือว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่าตลาดหุ้นอื่นที่ปรับตัวลดลงระดับ 70-80% การทำเซอร์กิจเบรกเกอร์วันนี้เป็นไปตามต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง เช่น ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปรับลง10 % , ตลาดนิเคอิ ปรับลง 10.38% โดยดัชนีตลาดหุ้นไทย อีกทั้งสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่คลี่คลายก็ยังเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลหนักลงทุนวิตกกังวล"
ทั้งนี้ มั่นใจว่ามาตราการที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นดีอยู่แล้ว และไม่มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนกฏเกณฑ์ รวมถึงแนวคิดหยุดทำการซื้อขายเป็นวัน ส่วนกองทุนLTF ได้มีการขยายฐานในการหักลดหย่อนภาษีเพิ่มเป็น 7 แสนบาท จากเดิมที่สามารถหักลดหย่อนได้ที่ 5 แสนบาท
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์หน้า จะต้องติดตามปัจจัย 2 เรื่อง คือ สถานการณ์ตลาดหุ้นในสหรัฐ และยุโรป และการเมืองภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้นักลงทุนจะต้องติดตามข่าวสารต่างๆ กันทุกชั่วโมง แต่การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรง ขณะนี้ถือว่าลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยแล้ว ซึ่งนักลงทุนที่มีหุ้นอยู่ก็ไม่ควรจะขายออกมา ควรถือในระยะยาว เพราะมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูง
ด้าน มล.ทองมกุฏ ทองใหญ่ ผู้บริหารฝ่ายค้าหลักทรัพย์ บล.ซิตี้ คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมโบรกเกอร์ต่างประเทศ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงถึง 10% จนตลาดหลักทรัพย์ต้องใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ ถือเป็นเรื่องปกติที่ตลาดฯ จำเป็นจะต้องใช้มาตรการที่มีอยู่ โดยการปรับตัวลดลงครั้งนี้เป็นเพราะปัจจัยลบจากปัญหาการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ทั่วโลกถูกแรงขาย
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง เช่นเดียวกันกับดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้า หากเปรียบเทียบกันแล้วตลาดหุ้นไทยยังปรับตัวลดลงน้อยเมื่อเทียบกับภูมิภาค รวมถึงมองว่าแรงขายของนักลงทุนต่างชาติน่าจะคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแรงเทขายตั้งแต่ต้นปีรวมแล้วกว่า 4 พันกว่าล้านเหรียญสหรัฐ
***หุ้นตกบ่งชี้วิกฤติการเงินไม่จบง่าย
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้มาตรการหยุดการซื้อขายชั่วคราวหลังตลาดหุ้นตกลงอย่างหนัก เกิดจากภาคเอกชนมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและไทยมากขึ้น และไม่แน่ใจถึงแนวทางการแก้วิกฤติการเงินโลกแม้จะมีการอัดฉีดเงินเพิ่ม การลดดอกเบี้ยเพื่อเสริมสภาพคล่องแล้ว
"การระดมทุนผ่านตลาดหุ้นภายในสิ้นปีนี้คงยากที่จะเห็น ขณะที่ต้นปีหน้าจะต้องมาดูทิศทางกันใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับตลาดหุ้นทั่วโลก ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมคงจะต้องเร่งปรับตัวรับกับปัญหาการเงินที่อาจจะตึงตัวได้จากนี้ไปซึ่งกังวลมากสุดคงจะเป็นปี 2552 เพราะปีนี้ได้มีการส่งออกไปค่อนข้างมากแล้วออเดอร์อาจจะลดช่วงสิ้นปีนี้เท่านั้น แต่ปีหน้าจะเริ่มตั้งแต่ต้นปีทำให้ต้องวางแผนให้ดี" นายสันติกล่าว
**หุ้นโลกดิ่งเหวระเนระนาด
สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกยังคงอยู่ในอาการควงสว่านดำดิ่งลึกลงไปในกระแสน้ำวนเมื่อวานนี้(10) ท่ามกลางกระแสกดดันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ให้บรรดารัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7) ต้องร่วมมือกันออกมาตรการใหม่ๆ และแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน ระหว่างการประชุมของพวกเขาที่กรุงวอชิงตันเมื่อคืนวาน
ตลาดหุ้นทั่วโลกยังอยู่ในอาการแตกตื่นหวาดผวา และไม่มีความมั่นใจในมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขวิกฤต ซึ่งทางการของประเทศต่างๆ นำออกมาใช้ทั้งในแบบตามลำพังและแบบรวมหมู่ร่วมกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ, การลดอัตราดอกเบี้ย, หรือการเข้าไปอุ้มสถาบันการเงิน
ตั้งแต่ตลาดวอลล์สตรีทเมื่อวันพฤหัสบดี(9) ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจน์ปิดตลาดโดยตกลงมา 7.33% หรือ 678.91 อยู่ในระดับ 8,579.19 ซึ่งถือเป็นการปิดในระดับต่ำกว่า 9,000 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2003
จากนั้นพอมาถึงฟากเอเชียวานนี้ ราคาหุ้นก็ไหลรูดอย่างไม่หยุดยั้ง ตลาดโตเกียวนั้นมีอยู่ช่วงหนึ่ง ติดลบถึง 11% ก่อนจะกระเตื้องขึ้นได้บ้าง กระนั้นก็ปิดโดยติดลบ 9.6% เมื่อคิดตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นต่างๆ ที่นำมาคำนวณเป็นดัชนีหุ้นนิกเคอิ ก็สูญเสียมูลค่าไปกว่า 24% ทีเดียว
เช่นเดียวกับฮ่องกง ซึ่งวานนี้ติดลบอีก 7.2% รวมทั้งสัปดาห์ได้หดหายไป 16% และหากนับตั้งแต่เริ่มปีนี้มา มูลค่าก็ได้สูญเสียไป 47% ส่วนทางด้านสิงคโปร์วานนี้หล่นฮวบลงมา 7.34% สู่ระดับที่แย่ที่สุดในรอบกว่า 4 ปี
ด้านตลาดแถบยุโรปก็อยู่ในสภาพแบบเดียวกัน ตอนช่วงแรกๆ ของการซื้อขายในตลาดลอนดอนวานนี้ ดัชนีสำคัญปักหัวลงมา 10.20% ก่อนจะขยับขึ้นไปได้บ้าง กระนั้นในเวลาใกล้ๆ เที่ยงวัน ก็ยังคงติดลบ 7.81% สำหรับตลาดแฟรงเฟิร์ตและปารีส ช่วงแรกๆ วานนี้ได้ถลาลงมา 10.0% และ 9.68% ตามลำดับ ก่อนจะกระเตื้องขึ้นไปอยู่แถว -9.06% และ 7.99%
ตลาดหลักทรัพย์หลายๆ แห่งในเอเชียและยุโรป ได้แก่ ไอซ์แลนด์, รัสเซีย, ออสเตรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, และอินโดนีเซีย ถึงขั้นต้องหยุดการซื้อขายไปเลย เพราะดัชนีราคาหุ้นทรุดทะลุฟลอร์ที่กำหนดไว้
"ความแตกตื่นและความหวาดกลัวที่เรากำลังพบเห็นอยู่ในเวลานี้ คืออาการของการช็อกอย่างสุดขีด มันดูเหมือนกับว่าตลาดกำลังกำหนดราคาหุ้นในสภาพของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่" แมตต์ แมคคอลล์ ประธานบริหารของ เพนน์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป แห่งเมืองริดจ์วูด มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ ให้ความเห็น "สภาพที่ไม่มีความมั่นใจกันเลยนั้น ไม่ใช่แค่ไม่มั่นใจเศรษฐกิจโลก แต่ยังไม่มั่นใจในผู้นำของโลกด้วย"