ผู้จัดการรายวัน - กกร.เสนอ 7 เรื่องเร่งด่วนต่อนายกฯ ในการหารือเศรษฐกิจ 8 ต.ค.นี้ มุ่งประเด็นรับมือวิกฤติการเงินของโลก ผวาฉุดเศรษฐกิจดิ่งหนักในปีหน้าเหตุกระทบส่งออกแน่ จี้หาตลาดใหม่พร้อมดูแลสภาพคล่องการเงินด้วยการสร้างกลไกดูแลเงินทุนไหลออกก่อนเงินตึงตัวหนัก เผยภาคผลิตชี้ออร์เดอร์สิ้นปีหดตัวแล้ว 10%
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีได้นัดหารือกับ กกร.ในวันที่ 8 ต.ค.นี้ ที่ประชุม กกร.จึงได้เห็นชอบแนวทางที่จะเสนอนายกฯเร่งด่วน 7 เรื่อง เพื่อเร่งรับมือกับวิกฤติการเงินสหรัฐฯ ที่อาจจะกระทบไทยในอนาคตโดยเฉพาะการส่งออกในปี 2552 ที่จะลดลงค่อนข้างชัดเจน
“จะกระทบมากน้อยคงจะเห็นผลชัดเจนขึ้นในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าหลังสหรัฐอัดฉีดเงินในระบบ 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯแล้วจะเพียงพอหรือไม่อย่างไร ส่วนกรณีที่มีการจับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ยังไม่อยากคาดเดาว่าเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่แต่คงทำให้การสมานฉันท์จะลำบากขึ้นดังนั้นเห็นว่ารัฐบาลกำลังเข้ามาบริหารงานแล้วหากไม่รีบทำอะไรน่าจะเสียหายมากกว่าเพราะที่ผ่านมาก็เกียร์ว่างมาพอสมควร” นายประมนต์กล่าว
สำหรับข้อเสนอ 7 ข้อประกอบด้วย 1. ยืนยันบทบาทความร่วมมือผ่านคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)ที่มีนายกฯเป็นประธานเพื่อแก้ไขเศรษฐกิจโดยอาจจะมีการขยายความร่วมมือไปยังคณะกรรมการอื่นๆที่มีนายกฯเป็นประธานและเชื่อมโยงกันเช่น คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่ง (ลอจิสติกส์) คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (เซาท์เทิร์นซีบอร์ด) ฯลฯ
2. การเร่งรัดผ่านการพิจารณางบประมาณประจำปี 2552 เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายของภาครัฐเกิดขึ้นโดยเฉพาะเม็ดเงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับการลงทุนเอกชนในอนาคตเช่น ท่าเรือ ไฟฟ้า และน้ำ ซึ่งหากขาดงบประมาณเป็นตัวเร่งทางเศรษฐกิจแล้วคาดว่าในปี 2552 จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง 3. การเจาะตลาดส่งออกในภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งที่ผ่านมาการส่งออกเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในปี 2552 คาดว่าตลาดหลักในการส่งออกของไทยเช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จะเกิดเศรษฐกิจชะลอตัว เอกชนจึงขอให้รัฐบาลนำเอกชนไปโรดโชว์หรือเจาะตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา ฯลฯ เพื่อความมั่นใจต่อผู้ส่งออกรวมทั้งผู้นำเข้าและส่งออก
4. สร้างกลไกเฝ้าระวังผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์วิกฤติการเงินสหรัฐฯและของโลกจะเกิดขึ้นในปี 2552 กับไทยชัดเจนคาดว่าจะมีเงินทุนไหลกลับสหรัฐฯ เพื่อนำไปพยุงบริษัทแม่ให้อยู่รอดภาวะการเงินคงจะฝืด และมีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกจะสูง รัฐบาลจึงควรมีกลไกเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เงินทุนไหลออก โดยเฉพาะที่ผ่านมามีการกู้เงินจากประเทศไทยจำนวนมากเช่น เกาหลีใต้ เพราะอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ หากไม่ระมัดระวังไทยจะมีประหาเรื่องเงินทุนตึงตัวและเอกชนไทยจะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก
5. ประเด็นอุปสรรคการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งมีผลบังคับ 1 พ.ย. 50 ซึ่งจำเป็นต้องมีการเจรจาตกลงในเรื่องของรายการสินค้าที่จะนำไปสู่การลดภาษีที่ชัดเจน โดยเฉพาะกรณีของเหล็ก 6. การส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) โดยผลักดันมห้มีช่องทางหรือมาตรการรองรับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการหลังการยกเลิกให้การช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตามกฏหมายใหม่ซึ่งมีผลกระทบต่อเอสเอ็มอีที่ยังคงอ่อนแอ ข้อเสนอคือ กระทรวงการคลังควรจัดสรรงบประมาณผ่านช่องทางธนาคารรัฐเช่น ธนาคารออมสิน เพื่อนำมาฝากยังธนาคารพาณิชย์เพื่อจัดสรรสินเชื่อแก่เอสเอ็มอีที่เข้าข่าย โดยความเสี่ยงทั้งหมดยังคงอยู่กับธนาคารพาณิชย์ โดยหลักเกณฑ์ยังคงใช้ของ ธปท.
7. การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งควรจะดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเน้นส่วนร่วมทุกฝ่าย เพื่อมมาตรการสนับสนุนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
***ออร์เดอร์หดแล้ว10%
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้ผลกระทบการส่งออกเริ่มมีบ้างแล้วในบางอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยลดลงไป 10% แต่ภาพรวมสิ้นปีนี้คงไม่กระทบมากเพราะมีคำสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าอาจจะมีการปรับลดลงไปบ้างเล็กน้อยแต่สิ่งที่เป็นห่วงคือปี 2552 การส่งออกคงลดลงแน่นอนเพราะตลาดหลักๆ คงจะเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั้งหสรัฐและญี่ปุ่นดังนั้นจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน
“ ข้อเสนอเอกชน 7 เรื่องด่วนนั้นจะนำไปรวมกับข้อเสนออีก 7 เรื่องที่จะหารือกับนายกฯในเวทีกรอ.อีกครั้งหนึ่งซึ่งทางกกร.พยายามนัดเวลากับนายกฯและขอให้สมาชิกไปรวบรวมรายละเอียดสิ่งที่จะเสนอมาอีกครั้ง ส่วนกรณีแกนนำพันธมิตรถูกจับก็เป็นสิ่งที่เอกชนเฝ้าตามอยู่ถ้าไม่ลุกลามใหญ่โตคงไม่มีปัญหาจึงต้องการฝากรัฐบาลควรจะใช้วิธีเจรจาให้ดีที่สุด”นายสันติกล่าว
***แบงก์เปรียบสึนามิการเงิน
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นเหมือนสึนามิทางการเงินในที่สุดคงจะมาถึงไทยดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติควรมีการบริหารจัดการในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงินให้ดีเพราะอาจมีการถอนเงินทุนออกไปการกู้เงินจะยากขึ้นแม้ว่าไทยจะโชคดีที่มีทุนสำรองสูงแต่หากบริหารไม่ดีก็จะทำให้เงินตึงตัวได้สูงขึ้น รัฐบาลควรจะเดินนโยบายการเงินและคลังให้ดีเช่น เร่งใช้งบเพื่ออัดฉีดเงินสู่เศรษฐกิจ การผ่อนกฏเรื่องของดอกเบี้ยให้ลดลงซึ่งก็อยู่ที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะต้องร่วมมือกัน โดยคิดว่า 6 เดือนน่าจะเห็นผลกระทบชัดเจน.
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีได้นัดหารือกับ กกร.ในวันที่ 8 ต.ค.นี้ ที่ประชุม กกร.จึงได้เห็นชอบแนวทางที่จะเสนอนายกฯเร่งด่วน 7 เรื่อง เพื่อเร่งรับมือกับวิกฤติการเงินสหรัฐฯ ที่อาจจะกระทบไทยในอนาคตโดยเฉพาะการส่งออกในปี 2552 ที่จะลดลงค่อนข้างชัดเจน
“จะกระทบมากน้อยคงจะเห็นผลชัดเจนขึ้นในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าหลังสหรัฐอัดฉีดเงินในระบบ 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯแล้วจะเพียงพอหรือไม่อย่างไร ส่วนกรณีที่มีการจับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ยังไม่อยากคาดเดาว่าเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่แต่คงทำให้การสมานฉันท์จะลำบากขึ้นดังนั้นเห็นว่ารัฐบาลกำลังเข้ามาบริหารงานแล้วหากไม่รีบทำอะไรน่าจะเสียหายมากกว่าเพราะที่ผ่านมาก็เกียร์ว่างมาพอสมควร” นายประมนต์กล่าว
สำหรับข้อเสนอ 7 ข้อประกอบด้วย 1. ยืนยันบทบาทความร่วมมือผ่านคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.)ที่มีนายกฯเป็นประธานเพื่อแก้ไขเศรษฐกิจโดยอาจจะมีการขยายความร่วมมือไปยังคณะกรรมการอื่นๆที่มีนายกฯเป็นประธานและเชื่อมโยงกันเช่น คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่ง (ลอจิสติกส์) คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (เซาท์เทิร์นซีบอร์ด) ฯลฯ
2. การเร่งรัดผ่านการพิจารณางบประมาณประจำปี 2552 เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายของภาครัฐเกิดขึ้นโดยเฉพาะเม็ดเงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานรองรับการลงทุนเอกชนในอนาคตเช่น ท่าเรือ ไฟฟ้า และน้ำ ซึ่งหากขาดงบประมาณเป็นตัวเร่งทางเศรษฐกิจแล้วคาดว่าในปี 2552 จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง 3. การเจาะตลาดส่งออกในภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งที่ผ่านมาการส่งออกเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในปี 2552 คาดว่าตลาดหลักในการส่งออกของไทยเช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จะเกิดเศรษฐกิจชะลอตัว เอกชนจึงขอให้รัฐบาลนำเอกชนไปโรดโชว์หรือเจาะตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา ฯลฯ เพื่อความมั่นใจต่อผู้ส่งออกรวมทั้งผู้นำเข้าและส่งออก
4. สร้างกลไกเฝ้าระวังผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์วิกฤติการเงินสหรัฐฯและของโลกจะเกิดขึ้นในปี 2552 กับไทยชัดเจนคาดว่าจะมีเงินทุนไหลกลับสหรัฐฯ เพื่อนำไปพยุงบริษัทแม่ให้อยู่รอดภาวะการเงินคงจะฝืด และมีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกจะสูง รัฐบาลจึงควรมีกลไกเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เงินทุนไหลออก โดยเฉพาะที่ผ่านมามีการกู้เงินจากประเทศไทยจำนวนมากเช่น เกาหลีใต้ เพราะอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ หากไม่ระมัดระวังไทยจะมีประหาเรื่องเงินทุนตึงตัวและเอกชนไทยจะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก
5. ประเด็นอุปสรรคการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งมีผลบังคับ 1 พ.ย. 50 ซึ่งจำเป็นต้องมีการเจรจาตกลงในเรื่องของรายการสินค้าที่จะนำไปสู่การลดภาษีที่ชัดเจน โดยเฉพาะกรณีของเหล็ก 6. การส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) โดยผลักดันมห้มีช่องทางหรือมาตรการรองรับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการหลังการยกเลิกให้การช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตามกฏหมายใหม่ซึ่งมีผลกระทบต่อเอสเอ็มอีที่ยังคงอ่อนแอ ข้อเสนอคือ กระทรวงการคลังควรจัดสรรงบประมาณผ่านช่องทางธนาคารรัฐเช่น ธนาคารออมสิน เพื่อนำมาฝากยังธนาคารพาณิชย์เพื่อจัดสรรสินเชื่อแก่เอสเอ็มอีที่เข้าข่าย โดยความเสี่ยงทั้งหมดยังคงอยู่กับธนาคารพาณิชย์ โดยหลักเกณฑ์ยังคงใช้ของ ธปท.
7. การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งควรจะดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเน้นส่วนร่วมทุกฝ่าย เพื่อมมาตรการสนับสนุนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
***ออร์เดอร์หดแล้ว10%
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้ผลกระทบการส่งออกเริ่มมีบ้างแล้วในบางอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยลดลงไป 10% แต่ภาพรวมสิ้นปีนี้คงไม่กระทบมากเพราะมีคำสั่งซื้อไว้ล่วงหน้าอาจจะมีการปรับลดลงไปบ้างเล็กน้อยแต่สิ่งที่เป็นห่วงคือปี 2552 การส่งออกคงลดลงแน่นอนเพราะตลาดหลักๆ คงจะเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั้งหสรัฐและญี่ปุ่นดังนั้นจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน
“ ข้อเสนอเอกชน 7 เรื่องด่วนนั้นจะนำไปรวมกับข้อเสนออีก 7 เรื่องที่จะหารือกับนายกฯในเวทีกรอ.อีกครั้งหนึ่งซึ่งทางกกร.พยายามนัดเวลากับนายกฯและขอให้สมาชิกไปรวบรวมรายละเอียดสิ่งที่จะเสนอมาอีกครั้ง ส่วนกรณีแกนนำพันธมิตรถูกจับก็เป็นสิ่งที่เอกชนเฝ้าตามอยู่ถ้าไม่ลุกลามใหญ่โตคงไม่มีปัญหาจึงต้องการฝากรัฐบาลควรจะใช้วิธีเจรจาให้ดีที่สุด”นายสันติกล่าว
***แบงก์เปรียบสึนามิการเงิน
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นเหมือนสึนามิทางการเงินในที่สุดคงจะมาถึงไทยดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติควรมีการบริหารจัดการในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงินให้ดีเพราะอาจมีการถอนเงินทุนออกไปการกู้เงินจะยากขึ้นแม้ว่าไทยจะโชคดีที่มีทุนสำรองสูงแต่หากบริหารไม่ดีก็จะทำให้เงินตึงตัวได้สูงขึ้น รัฐบาลควรจะเดินนโยบายการเงินและคลังให้ดีเช่น เร่งใช้งบเพื่ออัดฉีดเงินสู่เศรษฐกิจ การผ่อนกฏเรื่องของดอกเบี้ยให้ลดลงซึ่งก็อยู่ที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะต้องร่วมมือกัน โดยคิดว่า 6 เดือนน่าจะเห็นผลกระทบชัดเจน.