ผู้จัดการรายวัน – แบงก์รัฐเปิดศึกชิงเงินฝากหลังสนองนโยบายรัฐจนสภาพคล่องตึงตัว ธ.ก.ส.ออกบัตรเพิ่มทรัพย์ 5 พันล้าน ดอกเบี้ย 1.5% อายุ 3 ปี ฉลองครบรอบ 42 ปี หวังดึงประชาชนลดซื้อหวยมีโอกาสลุ้น 36 งวดแถมได้ทุนพร้อมดอกเบี้ยคืนขณะที่รางวัลที่ 1 มีถึง 5 รางวัล ด้านแบงก์ออมสินเตรียมขายพันธบัตรออมสินคุ้มครองสุขภาพอายุ 2 ปี จ่ายดอกเบี้ย 3.5% หวังระดมเงินฝากเข้าพอร์ต 1 หมื่นล้านบาท
นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เตรียมออกพันธบัตรออมทรัพย์รุ่น "บัตรเพิ่มทรัพย์" วงเงิน 5 พันล้านบาท จำนวน 50 ล้านหน่วย ราคาหน่วยละ 100 บาท อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่รวมเงินรางวัลเท่ากับ 1.5% ต่อปี โดยจะนำเงินที่ได้มาสำรองเพื่อการปล่อยสินเชื่อ และใช้เป็นเงินหมุนเวียน ตลอดจนรองรับสลากประเภทอื่นที่ใกล้ครบอายุ แล้วยังเพิ่มโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร ในการออมเงินมากขึ้นด้วย ซึ่งจะเปิดจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ในโอกาสธ.ก.ส.ครบรอบ 42 ปี
สำหรับบัตรเพิ่มทรัพย์ สามารถตรวจรางวัลได้ 36 งวด มีรางวัลที่ 1 จำนวน 5 รางวัล รางวัลละ 1 ล้านบาท ผู้ที่ซื้อบัตรเพิ่มทรัพย์จำนวน 5 แสนบาท หรือเท่ากับ 5 พันหน่วย จะมีโอกาสถูกรางวัลเลขท้าย 3 ตัวทุกงวด และได้รับผลตอบแทนเบื้องต้นจะเท่ากับ 2.70% ต่อปี และยังมีโอกาสถูกรางวัลอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย
"บัตรเพิ่มทรัพย์จะมีลักษณะคล้ายกับบัตรทวีสิน แต่ราคาต่อหน่วยจะถูกกว่าจากหน่วยละ 500 บาท เหลือหน่วยละ 100 บาท โอกาสในการถูกรางวัลที่ 1 ก็เพิ่มมากขึ้น เพราะมีถึง 5 รางวัล ส่วนบัตรทวีสินมีเพียง 1 รางวัล แล้วผู้ที่ซื้อบัตรเพิ่มทรัพย์จำนวน 5 แสนบาท จะได้รับประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าผู้ที่ซื้อบัตรทวีสินในจำนวนเงินที่เท่ากัน ส่วนการตรวจรางวัลก็จะใช้ตัวเลขกลุ่มเดียวกันกับเลขรางวัลทวีสิน ซึ่งจะออกทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน ทั้งนี้การออกบัตรเพิ่มทรัพย์เป็นการเพิ่มทางเลือกในการออม ไม่ได้มาแย่งส่วนแบ่งของบัตรทวีสิน แม้ว่าจะเป็นตลาดเดียวกันและยังส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการออมแทนการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเพราะสามารถลุ้นได้ถึง 36 งวดและได้เงินต้นและดอกเบี้ยคืนด้วย"
ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวอีกว่า อีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจของบัตรเพิ่มทรัพย์ก็คือ รูปแบบของบัตรที่ธนาคารได้ให้ อาจารย์ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ อดีตคณะบดี คณะจิตรกรรม ปฏิมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ออกแบบภาพวาดที่จะใช้พิมพ์เป็นบัตรเพิ่มทรัพย์ ซึ่งจะเป็นรูปภาพของป่าไม้ 4 ภาค ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการจัดทำ คาดว่าจะเสร็จในเร็วๆ นี้
ออมสินออกพันธบัตรคุ้มครองสุขภาพ
ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินในฐานะที่เป็นสถาบันเพื่อการออมของประเทศได้มีการคิดค้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อส่งเสริมและสร้างวินัยการออมมาอย่างต่อเนื่องกว่า 95 ปี ล่าสุดธนาคารฯ ได้เปิดให้บริการเงินฝากในรูปแบบพันธบัตรออมสิน เพื่อจูงใจให้ประชาชนได้ออมเงินอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังได้รับความคุ้มครองสุขภาพ โดยกำหนดเปิดจองซื้อ พันธบัตรออมสิน (คุ้มครองสุขภาพ) ในระหว่างวันที่ 13-24 ตุลาคม 2551 นี้
พันธบัตรออมสิน (คุ้มครองสุขภาพ) ธนาคารออมสิน เปิดวงเงินจองซื้อ จำนวน 1 หมื่นล้านบาท อายุพันธบัตร 2 ปี จองซื้ออัตราหน่วยละ 1 หมื่นบาท ผู้สนใจสามารถจองซื้อได้ในวงเงินขั้นต่ำ 1หมื่นบาท ชำระเงินในวันจองซื้อ โดยธนาคารให้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ย 3.5% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน สำหรับผู้มีสิทธิ์จองซื้อคือ บุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป หรือบุคคลธรรมดารวมกันไม่เกิน 3 รายซื้อร่วมกันต่อ 1 บัญชี หรือจะเป็นนิติบุคคลก็ได้ โดยผู้จองซื้อก่อนมีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรก่อน และจะได้รับพันธบัตรได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ 27 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
นายเลอศักดิ์ กล่าวว่า นอกเหนือจากการได้รับผลตอบแทนข้างต้นแล้ว ธนาคารออมสิน มอบสิทธิประโยชน์พิเศษให้แก่ผู้จองซื้อ พันธบัตรออมสิน (คุ้มครองสุขภาพ) โดยร่วมกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)TIP ด้วยการ มอบความคุ้มครองสุขภาพให้แก่บุคคลธรรมดาฟรีทันทีโดยไม่ต้องชำระเบี้ยประกัน เมื่อจองซื้อพันธบัตรวงเงินตั้งแต่ 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 1,500,000 บาท จะได้รับการคุ้มครองสุขภาพตามแผน 1 คือ กรณีผู้ป่วยใน ได้รับวงเงินรักษาพยาบาลสูงสุดถึง 140,000 บาทต่อการรักษา 1 ครั้ง ส่วนกรณีผู้ป่วยนอกสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลปีละ 30 ครั้งวงเงินรักษาครั้งละ 600 บาท หากจองซื้อพันธบัตรวงเงินตั้งแต่ 1,500,000 บาทขึ้นไป จะได้รับการคุ้มครองสุขภาพในแผน 2 สำหรับผู้ป่วยในได้รับวงเงินรักษาพยาบาลสูงสุดถึง 272,800 บาทต่อการรักษา 1 ครั้ง ส่วนกรณีผู้ป่วยนอกสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลปีละ 30 ครั้งวงเงินรักษาครั้งละ 800 บาท ซึ่งความคุ้มครองดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขในระบุไว้ในกรมธรรม์
"ผู้สนใจสามารถติดต่อจองซื้อในช่วงวันที่กำหนดได้ที่ ธนาคารออมสิน ทุกสาขา หน่วยให้บริการของธนาคารออมสินในรูปแบบต่างๆ หรือ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.gsb.or.th หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Call Center โทร.1115" นายเลอศักดิ์กล่าว.
นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เตรียมออกพันธบัตรออมทรัพย์รุ่น "บัตรเพิ่มทรัพย์" วงเงิน 5 พันล้านบาท จำนวน 50 ล้านหน่วย ราคาหน่วยละ 100 บาท อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่รวมเงินรางวัลเท่ากับ 1.5% ต่อปี โดยจะนำเงินที่ได้มาสำรองเพื่อการปล่อยสินเชื่อ และใช้เป็นเงินหมุนเวียน ตลอดจนรองรับสลากประเภทอื่นที่ใกล้ครบอายุ แล้วยังเพิ่มโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร ในการออมเงินมากขึ้นด้วย ซึ่งจะเปิดจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ในโอกาสธ.ก.ส.ครบรอบ 42 ปี
สำหรับบัตรเพิ่มทรัพย์ สามารถตรวจรางวัลได้ 36 งวด มีรางวัลที่ 1 จำนวน 5 รางวัล รางวัลละ 1 ล้านบาท ผู้ที่ซื้อบัตรเพิ่มทรัพย์จำนวน 5 แสนบาท หรือเท่ากับ 5 พันหน่วย จะมีโอกาสถูกรางวัลเลขท้าย 3 ตัวทุกงวด และได้รับผลตอบแทนเบื้องต้นจะเท่ากับ 2.70% ต่อปี และยังมีโอกาสถูกรางวัลอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วย
"บัตรเพิ่มทรัพย์จะมีลักษณะคล้ายกับบัตรทวีสิน แต่ราคาต่อหน่วยจะถูกกว่าจากหน่วยละ 500 บาท เหลือหน่วยละ 100 บาท โอกาสในการถูกรางวัลที่ 1 ก็เพิ่มมากขึ้น เพราะมีถึง 5 รางวัล ส่วนบัตรทวีสินมีเพียง 1 รางวัล แล้วผู้ที่ซื้อบัตรเพิ่มทรัพย์จำนวน 5 แสนบาท จะได้รับประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าผู้ที่ซื้อบัตรทวีสินในจำนวนเงินที่เท่ากัน ส่วนการตรวจรางวัลก็จะใช้ตัวเลขกลุ่มเดียวกันกับเลขรางวัลทวีสิน ซึ่งจะออกทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน ทั้งนี้การออกบัตรเพิ่มทรัพย์เป็นการเพิ่มทางเลือกในการออม ไม่ได้มาแย่งส่วนแบ่งของบัตรทวีสิน แม้ว่าจะเป็นตลาดเดียวกันและยังส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการออมแทนการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเพราะสามารถลุ้นได้ถึง 36 งวดและได้เงินต้นและดอกเบี้ยคืนด้วย"
ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวอีกว่า อีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจของบัตรเพิ่มทรัพย์ก็คือ รูปแบบของบัตรที่ธนาคารได้ให้ อาจารย์ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ อดีตคณะบดี คณะจิตรกรรม ปฏิมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ออกแบบภาพวาดที่จะใช้พิมพ์เป็นบัตรเพิ่มทรัพย์ ซึ่งจะเป็นรูปภาพของป่าไม้ 4 ภาค ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการจัดทำ คาดว่าจะเสร็จในเร็วๆ นี้
ออมสินออกพันธบัตรคุ้มครองสุขภาพ
ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินในฐานะที่เป็นสถาบันเพื่อการออมของประเทศได้มีการคิดค้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อส่งเสริมและสร้างวินัยการออมมาอย่างต่อเนื่องกว่า 95 ปี ล่าสุดธนาคารฯ ได้เปิดให้บริการเงินฝากในรูปแบบพันธบัตรออมสิน เพื่อจูงใจให้ประชาชนได้ออมเงินอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังได้รับความคุ้มครองสุขภาพ โดยกำหนดเปิดจองซื้อ พันธบัตรออมสิน (คุ้มครองสุขภาพ) ในระหว่างวันที่ 13-24 ตุลาคม 2551 นี้
พันธบัตรออมสิน (คุ้มครองสุขภาพ) ธนาคารออมสิน เปิดวงเงินจองซื้อ จำนวน 1 หมื่นล้านบาท อายุพันธบัตร 2 ปี จองซื้ออัตราหน่วยละ 1 หมื่นบาท ผู้สนใจสามารถจองซื้อได้ในวงเงินขั้นต่ำ 1หมื่นบาท ชำระเงินในวันจองซื้อ โดยธนาคารให้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ย 3.5% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน สำหรับผู้มีสิทธิ์จองซื้อคือ บุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป หรือบุคคลธรรมดารวมกันไม่เกิน 3 รายซื้อร่วมกันต่อ 1 บัญชี หรือจะเป็นนิติบุคคลก็ได้ โดยผู้จองซื้อก่อนมีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรก่อน และจะได้รับพันธบัตรได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ 27 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
นายเลอศักดิ์ กล่าวว่า นอกเหนือจากการได้รับผลตอบแทนข้างต้นแล้ว ธนาคารออมสิน มอบสิทธิประโยชน์พิเศษให้แก่ผู้จองซื้อ พันธบัตรออมสิน (คุ้มครองสุขภาพ) โดยร่วมกับ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)TIP ด้วยการ มอบความคุ้มครองสุขภาพให้แก่บุคคลธรรมดาฟรีทันทีโดยไม่ต้องชำระเบี้ยประกัน เมื่อจองซื้อพันธบัตรวงเงินตั้งแต่ 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 1,500,000 บาท จะได้รับการคุ้มครองสุขภาพตามแผน 1 คือ กรณีผู้ป่วยใน ได้รับวงเงินรักษาพยาบาลสูงสุดถึง 140,000 บาทต่อการรักษา 1 ครั้ง ส่วนกรณีผู้ป่วยนอกสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลปีละ 30 ครั้งวงเงินรักษาครั้งละ 600 บาท หากจองซื้อพันธบัตรวงเงินตั้งแต่ 1,500,000 บาทขึ้นไป จะได้รับการคุ้มครองสุขภาพในแผน 2 สำหรับผู้ป่วยในได้รับวงเงินรักษาพยาบาลสูงสุดถึง 272,800 บาทต่อการรักษา 1 ครั้ง ส่วนกรณีผู้ป่วยนอกสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลปีละ 30 ครั้งวงเงินรักษาครั้งละ 800 บาท ซึ่งความคุ้มครองดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขในระบุไว้ในกรมธรรม์
"ผู้สนใจสามารถติดต่อจองซื้อในช่วงวันที่กำหนดได้ที่ ธนาคารออมสิน ทุกสาขา หน่วยให้บริการของธนาคารออมสินในรูปแบบต่างๆ หรือ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.gsb.or.th หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Call Center โทร.1115" นายเลอศักดิ์กล่าว.