เอฟเอพี - ในที่สุดบรรดาสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯและรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็สามารถตกลงกันได้ในรายละเอียดของแผนฟื้นฟูภาคการเงินของสหรัฐฯมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อกอบกู้ช่วยชีวิตระบบการเงินวอลล์สตรีท รวมทั้งหวังกันว่าจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยรวมให้กลับดีขึ้นด้วย
รัฐสภาสหรัฐฯกำหนดลงมติผ่านแผนฟื้นฟูความยาว 106 หน้าภายในสัปดาห์นี้ ชื่อที่เป็นทางการก็คือ "รัฐบัญญัติเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจฉุกเฉินปี 2008" โดยที่เริ่มแรกเลยเป็นแค่รายงานสรุป 3 หน้าของรัฐมนตรีคลังสหรัฐ เฮนรี พอลสัน ที่เสนอให้รัฐบาลซื้อสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับหนี้เน่าในสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากพวกธนาคารเข้ามา โดยใช้เงิน 700,000 ล้านดอลลาร์ ร่างกฎหมายฉบับนี้ระบุจุดมุ่งหมายไว้ว่า เป็นการ "ให้อำนาจและเครื่องมือต่าง ๆแก่รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เพื่อนำมาใช้ฟื้นฟูสภาพคล่องและเสถียรภาพในระบบการเงินของสหรัฐฯ"
หลักการสำคัญของร่างกฏหมายฉบับนี้ก็คือ มาตรการฟื้นฟูจะดำเนินการโดยคำนึงถึงการคุ้มครองมูลค่าของที่อยู่อาศัย และเงินออมของผู้เสียภาษี, อำนวยให้เจ้าของบ้านดำรงสิทธิ์ต่อไปได้, กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ, และให้ผลตอบแทนสูงที่สุดแก่รัฐบาลซึ่งใช้เงินภาษีของประชาชนเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา
การบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2009 แต่ก็สามารถยืดเวลาออกไปอีกได้หากรัฐบาลร้องขอ ทว่ารวมแล้วไม่เกินสองปีหลังจากที่กฏหมายได้รับอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว
รายละเอียดต่าง ๆของกฏหมายอาจจะเปลี่ยนแปลงได้อีก เพราะผู้นำของทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันก็ยังกำลังต่อรองกันอยู่ เพื่อให้บรรดสมาชิกรัฐสภาในกลุ่มต่าง ๆหันมาสนับสนุนแนวคิดตนเอง
สาระสำคัญของข้อเสนอคราวนี้ประกอบด้วย
**การช่วยชีวิตสถาบันการเงินที่มีปัญหา**
--แผนฟื้นฟูนี้จะแบ่งดำเนินการเป็นสามขั้นตอน เริ่มด้วยการให้อำนาจแก่กระทรวงการคลังซื้อ "สินทรัพย์ที่มีปัญหา" มูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์ได้ทันที และหากว่าประธานาธิบดีร้องขอก็อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 350,000 ล้านดอลลาร์ได้ ถ้าหากมีการซื้อสินทรัพย์สูงไปกว่านั้นอีก ก็ต้องกลับมาให้รัฐสภาอนุมัติ และต้องไม่เกินเพดานซึ่งกฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ที่ 700,000 ล้านดอลลาร์
-- ให้ประชาชนผู้เสียภาษี(ซึ่งก็คือทางการนั่นเอง) เข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ขอกู้เงินจากแผนฟื้นฟูนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถจะทำกำไรจากการขายหุ้นดังกล่าวหากว่าสถานการณ์ของตลาดดีขึ้นกว่าเดิม หรือว่าสามารถฟื้นฟูสินทรัพย์บางส่วนของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการได้
-- กำไรสุดท้ายที่ได้จากการขายสินทรัพย์ที่รัฐบาลถือครองอยู่ จะถูกนำไปใช้ในปลดหนี้ของรัฐบาลกลาง และจะต้องกันส่วนหนึ่งไว้สำหรับสำนักงานที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลาง
-- หากว่าเมื่อครบ 5 ปีแล้ว สินทรัพย์ที่ขายออกไปยังคงได้เงินเข้ามา น้อยกว่ารัฐบาลให้กู้ยืมตามโครงการนี้ เงินที่ขาดไปทางสถาบันการเงินที่ได้รับประโยชน์จากแผนฟื้นฟูจะต้องเข้ามาชดเชย
-- กำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังประสานกับหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินรวมทั้งธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ เพื่อจัดทำโครงการกอบกู้ช่วยชีวิตภาคการเงิน ที่คล้ายคลึงกันนี้
**การกำหนดเพดานเงินเดือนและโบนัสสำหรับผู้บริหาร**
-- ตราบเท่าที่กระทรวงการคลังยังถือหุ้นในบริษัทที่ใช้เงินจากแผนฟื้นฟู ซีอีโอและผู้บริหารบริษัทนั้นๆ ที่ถูกปลดออกหรือลาออก จะไม่ได้เงินชดเชยจากการออกจากงานตามที่เคยตกลงกับบริษัทไว้เดิม ซึ่งมักเป็นมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ และเรียกกันเป็นศัพท์ "ร่มชูชีพทองคำ"
--กำหนดเพดานของเงินโบนัสและเงินชดเชยอื่น ๆที่อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นต่อบริษัท
-- เรียกคืนโบนัสที่จ่ายไปแล้ว ซึ่งมาจากการคำนวณรายได้หรือกำไรที่ไม่ถูกต้องหรือบิดเบือน
**การกำกับดูแลแผนของรัฐบาล**
--ผู้ที่ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูคือกระทรวงการคลัง โดยจะมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารกลาง, รัฐมนตรีคลัง, ประธานของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เข้ามากำกับอีกชั้นหนึ่ง
--ให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสอบบัญชีแห่งรัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับตรวจสอบของฝ่ายรัฐสภา ไปประจำอยู่ในกระทรวงการคลัง เพื่อคอยดูแลโครงการนี้ รวมทั้งดำเนินการสอบบัญชี
--แต่งตั้ง "ผู้ตรวจการใหญ่" ที่เป็นอิสระ เข้าทำหน้าที่ติดตามการตัดสินใจว่าจะเข้าช่วยเหลือบริษัทใดบ้างของทางรัฐมนตรีคลัง
--ให้มีฝ่ายตุลาการเข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐมนตรีคลัง
**การคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของบ้าน**
--คุ้มครองสิทธิของเจ้าของบ้านที่กำลังจะถูกบังคับยึดบ้านซึ่งใช้เป็นหลักประกันสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ในปีหน้าคาดว่าจะมีเจ้าของบ้านราว 2 ล้านรายถูกบังคับขายบ้าน อันเนื่องจากไม่สามารถผ่อนส่งเงินกู้ต่อไปได้
--ให้อำนาจแก่รัฐบาลในการเจรจาต่อรองเงื่อนไขของสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อบรรเทาแรงกดดันที่มีต่อเจ้าของบ้านที่กำลังถูกบังคับขายบ้าน
--ให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารชุมชนขนาดเล็ก ๆที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่อที่อยู่อาศัย
รัฐสภาสหรัฐฯกำหนดลงมติผ่านแผนฟื้นฟูความยาว 106 หน้าภายในสัปดาห์นี้ ชื่อที่เป็นทางการก็คือ "รัฐบัญญัติเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจฉุกเฉินปี 2008" โดยที่เริ่มแรกเลยเป็นแค่รายงานสรุป 3 หน้าของรัฐมนตรีคลังสหรัฐ เฮนรี พอลสัน ที่เสนอให้รัฐบาลซื้อสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับหนี้เน่าในสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากพวกธนาคารเข้ามา โดยใช้เงิน 700,000 ล้านดอลลาร์ ร่างกฎหมายฉบับนี้ระบุจุดมุ่งหมายไว้ว่า เป็นการ "ให้อำนาจและเครื่องมือต่าง ๆแก่รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เพื่อนำมาใช้ฟื้นฟูสภาพคล่องและเสถียรภาพในระบบการเงินของสหรัฐฯ"
หลักการสำคัญของร่างกฏหมายฉบับนี้ก็คือ มาตรการฟื้นฟูจะดำเนินการโดยคำนึงถึงการคุ้มครองมูลค่าของที่อยู่อาศัย และเงินออมของผู้เสียภาษี, อำนวยให้เจ้าของบ้านดำรงสิทธิ์ต่อไปได้, กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ, และให้ผลตอบแทนสูงที่สุดแก่รัฐบาลซึ่งใช้เงินภาษีของประชาชนเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหา
การบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2009 แต่ก็สามารถยืดเวลาออกไปอีกได้หากรัฐบาลร้องขอ ทว่ารวมแล้วไม่เกินสองปีหลังจากที่กฏหมายได้รับอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว
รายละเอียดต่าง ๆของกฏหมายอาจจะเปลี่ยนแปลงได้อีก เพราะผู้นำของทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันก็ยังกำลังต่อรองกันอยู่ เพื่อให้บรรดสมาชิกรัฐสภาในกลุ่มต่าง ๆหันมาสนับสนุนแนวคิดตนเอง
สาระสำคัญของข้อเสนอคราวนี้ประกอบด้วย
**การช่วยชีวิตสถาบันการเงินที่มีปัญหา**
--แผนฟื้นฟูนี้จะแบ่งดำเนินการเป็นสามขั้นตอน เริ่มด้วยการให้อำนาจแก่กระทรวงการคลังซื้อ "สินทรัพย์ที่มีปัญหา" มูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์ได้ทันที และหากว่าประธานาธิบดีร้องขอก็อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 350,000 ล้านดอลลาร์ได้ ถ้าหากมีการซื้อสินทรัพย์สูงไปกว่านั้นอีก ก็ต้องกลับมาให้รัฐสภาอนุมัติ และต้องไม่เกินเพดานซึ่งกฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ที่ 700,000 ล้านดอลลาร์
-- ให้ประชาชนผู้เสียภาษี(ซึ่งก็คือทางการนั่นเอง) เข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ขอกู้เงินจากแผนฟื้นฟูนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถจะทำกำไรจากการขายหุ้นดังกล่าวหากว่าสถานการณ์ของตลาดดีขึ้นกว่าเดิม หรือว่าสามารถฟื้นฟูสินทรัพย์บางส่วนของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการได้
-- กำไรสุดท้ายที่ได้จากการขายสินทรัพย์ที่รัฐบาลถือครองอยู่ จะถูกนำไปใช้ในปลดหนี้ของรัฐบาลกลาง และจะต้องกันส่วนหนึ่งไว้สำหรับสำนักงานที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลาง
-- หากว่าเมื่อครบ 5 ปีแล้ว สินทรัพย์ที่ขายออกไปยังคงได้เงินเข้ามา น้อยกว่ารัฐบาลให้กู้ยืมตามโครงการนี้ เงินที่ขาดไปทางสถาบันการเงินที่ได้รับประโยชน์จากแผนฟื้นฟูจะต้องเข้ามาชดเชย
-- กำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังประสานกับหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินรวมทั้งธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ เพื่อจัดทำโครงการกอบกู้ช่วยชีวิตภาคการเงิน ที่คล้ายคลึงกันนี้
**การกำหนดเพดานเงินเดือนและโบนัสสำหรับผู้บริหาร**
-- ตราบเท่าที่กระทรวงการคลังยังถือหุ้นในบริษัทที่ใช้เงินจากแผนฟื้นฟู ซีอีโอและผู้บริหารบริษัทนั้นๆ ที่ถูกปลดออกหรือลาออก จะไม่ได้เงินชดเชยจากการออกจากงานตามที่เคยตกลงกับบริษัทไว้เดิม ซึ่งมักเป็นมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ และเรียกกันเป็นศัพท์ "ร่มชูชีพทองคำ"
--กำหนดเพดานของเงินโบนัสและเงินชดเชยอื่น ๆที่อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นต่อบริษัท
-- เรียกคืนโบนัสที่จ่ายไปแล้ว ซึ่งมาจากการคำนวณรายได้หรือกำไรที่ไม่ถูกต้องหรือบิดเบือน
**การกำกับดูแลแผนของรัฐบาล**
--ผู้ที่ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูคือกระทรวงการคลัง โดยจะมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารกลาง, รัฐมนตรีคลัง, ประธานของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เข้ามากำกับอีกชั้นหนึ่ง
--ให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสอบบัญชีแห่งรัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับตรวจสอบของฝ่ายรัฐสภา ไปประจำอยู่ในกระทรวงการคลัง เพื่อคอยดูแลโครงการนี้ รวมทั้งดำเนินการสอบบัญชี
--แต่งตั้ง "ผู้ตรวจการใหญ่" ที่เป็นอิสระ เข้าทำหน้าที่ติดตามการตัดสินใจว่าจะเข้าช่วยเหลือบริษัทใดบ้างของทางรัฐมนตรีคลัง
--ให้มีฝ่ายตุลาการเข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐมนตรีคลัง
**การคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของบ้าน**
--คุ้มครองสิทธิของเจ้าของบ้านที่กำลังจะถูกบังคับยึดบ้านซึ่งใช้เป็นหลักประกันสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ในปีหน้าคาดว่าจะมีเจ้าของบ้านราว 2 ล้านรายถูกบังคับขายบ้าน อันเนื่องจากไม่สามารถผ่อนส่งเงินกู้ต่อไปได้
--ให้อำนาจแก่รัฐบาลในการเจรจาต่อรองเงื่อนไขของสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อบรรเทาแรงกดดันที่มีต่อเจ้าของบ้านที่กำลังถูกบังคับขายบ้าน
--ให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารชุมชนขนาดเล็ก ๆที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่อที่อยู่อาศัย