รอยเตอร์ - วอชิงตัน มิวฌวล อิงค์ ยักษ์ใหญ่แบงก์เพื่อการออมทรัพย์และปล่อยกู้สินเชื่อเคหะ ถูกรัฐบาลประกาศปิดแล้วหลังจากซวนเซมาหลายเดือน กลายเป็นกรณีธนาคารล้มคว่ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ โดยสินทรัพย์ต่างๆ ถูกขายให้แก่ เจพีมอร์แกน เชส ด้วยราคาเพียง 1,900 ล้านดอลลาร์
การยึดกิจการและประกาศขายเมื่อวันพฤหัสบดี(25) ยังเป็นย่างก้าวทางประวัติศาสตร์ก้าวล่าสุด ในความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯที่จะสะสางอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ที่เต็มไปด้วยหนี้เน่าของสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งลากเอาสถาบันการเงินหลายแห่งล้มครืนในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และทำให้รัฐบาลต้องเสนอแผนมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อกอบกู้ภาคการเงินของประเทศ โดยเวลานี้กำลังอยู่ระหว่างการอภิปรายต่อรองกันของรัฐสภาสหรัฐฯ
วอชิงตัน มิวฌวล หรือที่เรียกกันสั้น ๆว่า วามิว (WaMu) เป็นธนาคารรับฝากเงินออมทรัพย์และปล่อยสินเชื่อเคหะ (savings and loan) รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ และได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดสภาพคล่องและตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศตกต่ำมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเท่าที่ผ่านมามีการขาดทุนในตราสารหนี้อิงสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
วามิวถูกประกาศปิดโดยสำนักงานกำกับตรวจสอบสถาบันเพื่อการออมทรัพย์และสินเชื่อเคหะสหรัฐฯ(โอทีเอส) และให้โอนเงินฝากของธนาคารเข้าไปอยู่ในความดูแลของสำนักงานประกันเงินฝากสหรัฐฯ(เอฟดีไอซี) ทั้งนี้ โอทีเอสระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน มีลูกค้ามาถอนเงินฝากออกไปแล้วเป็นจำนวนสูงถึง 16,700 ล้านดอลลาร์
"เนื่องจากธนาคารขาดแคลนสภาพคล่องอย่างหนักจนไม่สามารถทำตามภาระผูกพันได้ วามิวจึงเป็นสถาบัการเงินที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง" โอทีเอสระบุ ในขณะเดียวกันเอฟดีไอซีก็ออกมาให้คำมั่นว่า ลูกค้าของธนาคารจะได้รับการบริการเหมือนเดิมในวันศุกร์(26) และผู้ฝากเงินทั้งหลายจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายกำหนดไว้สูงสุด
ประธานของสำนักงานประกันเงินฝากสหรัฐฯ ชีลา แบร์ กล่าวว่า ที่คราวนี้ต้องดำเนินการอย่างฉับพลันตั้งแต่คืนวันพฤหัสบดี เนื่องจากข่าวเริ่มรั่วออกไปทางสื่อแล้ว และเพื่อป้องกันมิให้ลูกค้าตื่นตระหนกไปมากกว่านี้ ปกติแล้วเอฟดีไอซีมักเข้าควบคุมสถาบันการเงินที่ไปไม่รอดในคืนวันศุกร์ เพื่อจะได้ใช้ช่วงสุดสัปดาห์สะสางบัญชี และให้เปิดใหม่อีกครั้งด้วยความราบรื่นในวันจันทร์
วามิวนั้นมีสินทรัพย์ราว 307,000 ล้านดอลลาร์ และมีเงินฝาก 188,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้การล้มครืนลงมาครั้งนี้ มีขนาดใหญ่โตมหึมากว่ามาก เมื่อเทียบกับแชมป์แบงก์ล้มรายใหญ่ที่สุดรายเดิม อันได้แก่ คอนติเนนตัล อิลลินอยส์ เนชั่นแนล แบงก์ แอนด์ ทรัสต์ ที่มีสินทรัพย์ราว 40,000 ล้านดอลลาร์ขณะที่ล้มละลายในปี 1984
ทางด้านเจพีมอร์แกนเชส แถลงว่าการซื้อสินทรัพย์ของวามิวเข้ามา ทำให้ตอนนี้ตนเองมีสาขาถึง 5,410 แห่งใน 23 มลรัฐของสหรัฐฯ รวมทั้งกลายเป็นเจ้าของธุรกิจบัตรเครดิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย
นอกจากนั้น การเทคโอเวอร์คราวนี้ยังทำให้เจพีมอร์แกน แซงแบงก์ออฟอเมริกา ขึ้นเป็นธนาคารใหญ่อันดับสองของประเทศด้วยสินทรัพย์ 2.04 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่าซิตี้กรุ๊ปที่ครองอันดับหนึ่งอยู่เล็กน้อย แต่อีกไม่นานแบงก์ออฟอเมริกาก็จะแซงขึ้นไปเป็นที่หนึ่ง เมื่ออแผนการควบรวมกับ เมอร์ริลลินช์ เสร็จสมบูรณ์
มาตรการยุบรวมวามิวเข้ากับเจพีมอร์แกนนี้ ทำให้ความหวังของ เจมี ไดมอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจพีมอร์แกน ที่จะทำให้แบงก์ของเขากลายเป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยที่แข็งแกร่งในภาคตะวันตกของสหรัฐฯ โดยที่เพียงเมื่อสี่เดือนก่อน เจพีมอร์แกน เชสก็เพิ่งเทคโอเวอร์วาณิชธนกิจ แบร์สเติร์นส์ ในราคาแสนถูกมาแล้ว โดยมีรัฐบาลเข้าช่วยเหลือทางการเงินในการซื้อขายด้วย
ในการแถลงข่าวคราวนี้ ไดมอนกล่าวว่า "ความเสี่ยงที่เห็นได้ชัดก็คือมูลค่าของสินทรัพย์ต่าง ๆ" ทว่าเขาก็กล่าวต่อไปว่า "แต่มันก็ทำให้เรามีโอกาสตรงนี้ขึ้นมา"
เจพีมอร์แกนคาดว่าจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย 1,500 ล้านดอลลาร์ แต่ก็จะมีรายได้จากเงินฝากรายปีเท่า ๆกันกลับคืนมา โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2010จะได้คืนมากที่สุด นอกจากนี้ธนาคารก็ยังคาดว่าการซื้อวามิวจะทำให้รายได้ต่อหุ้นเพิ่มขึ้นในทันที และในปี 2011 รายได้ต่อหุ้นจะเพิ่มขึ้นถึง 70 เซนต์
**จับตา"ไดมอน"**
ไดมอนนั้นเคยเป็นดาวเด่นของซิตี้กรุ๊ป ก่อนที่จะถูก แซนฟอร์ด "แซนดี้" เวลล์ ผู้เป็นครูพี่เลี้ยงของเขา ดำเนินการจนเขากระเด็นออกมาในปี 1998 ไดมอนวางตัวเองเอาไว้ว่าต้องการมีบทบาททำนองเป็นผู้ที่คอยช่วยชีวิตวอลล์สตรีทผู้หนึ่ง
เขาเข้าร่วมงานกับเจพีมอร์แกนในปี 2004 ภายหลังที่ขาย แบงก์ วัน คอร์ป ซึ่งเขาบริหารอยู่ในขณะนั้น ให้แก่ทางธนาคารแห่งนี้ในราคา 56,900 ล้านดอลลาร์ และขึ้นเป็นซีอีโอของเจพีมอร์แกนตอนสิ้นปี 2005
การยึดกิจการและประกาศขายเมื่อวันพฤหัสบดี(25) ยังเป็นย่างก้าวทางประวัติศาสตร์ก้าวล่าสุด ในความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯที่จะสะสางอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ที่เต็มไปด้วยหนี้เน่าของสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งลากเอาสถาบันการเงินหลายแห่งล้มครืนในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และทำให้รัฐบาลต้องเสนอแผนมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อกอบกู้ภาคการเงินของประเทศ โดยเวลานี้กำลังอยู่ระหว่างการอภิปรายต่อรองกันของรัฐสภาสหรัฐฯ
วอชิงตัน มิวฌวล หรือที่เรียกกันสั้น ๆว่า วามิว (WaMu) เป็นธนาคารรับฝากเงินออมทรัพย์และปล่อยสินเชื่อเคหะ (savings and loan) รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ และได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดสภาพคล่องและตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศตกต่ำมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเท่าที่ผ่านมามีการขาดทุนในตราสารหนี้อิงสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
วามิวถูกประกาศปิดโดยสำนักงานกำกับตรวจสอบสถาบันเพื่อการออมทรัพย์และสินเชื่อเคหะสหรัฐฯ(โอทีเอส) และให้โอนเงินฝากของธนาคารเข้าไปอยู่ในความดูแลของสำนักงานประกันเงินฝากสหรัฐฯ(เอฟดีไอซี) ทั้งนี้ โอทีเอสระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน มีลูกค้ามาถอนเงินฝากออกไปแล้วเป็นจำนวนสูงถึง 16,700 ล้านดอลลาร์
"เนื่องจากธนาคารขาดแคลนสภาพคล่องอย่างหนักจนไม่สามารถทำตามภาระผูกพันได้ วามิวจึงเป็นสถาบัการเงินที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง" โอทีเอสระบุ ในขณะเดียวกันเอฟดีไอซีก็ออกมาให้คำมั่นว่า ลูกค้าของธนาคารจะได้รับการบริการเหมือนเดิมในวันศุกร์(26) และผู้ฝากเงินทั้งหลายจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายกำหนดไว้สูงสุด
ประธานของสำนักงานประกันเงินฝากสหรัฐฯ ชีลา แบร์ กล่าวว่า ที่คราวนี้ต้องดำเนินการอย่างฉับพลันตั้งแต่คืนวันพฤหัสบดี เนื่องจากข่าวเริ่มรั่วออกไปทางสื่อแล้ว และเพื่อป้องกันมิให้ลูกค้าตื่นตระหนกไปมากกว่านี้ ปกติแล้วเอฟดีไอซีมักเข้าควบคุมสถาบันการเงินที่ไปไม่รอดในคืนวันศุกร์ เพื่อจะได้ใช้ช่วงสุดสัปดาห์สะสางบัญชี และให้เปิดใหม่อีกครั้งด้วยความราบรื่นในวันจันทร์
วามิวนั้นมีสินทรัพย์ราว 307,000 ล้านดอลลาร์ และมีเงินฝาก 188,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้การล้มครืนลงมาครั้งนี้ มีขนาดใหญ่โตมหึมากว่ามาก เมื่อเทียบกับแชมป์แบงก์ล้มรายใหญ่ที่สุดรายเดิม อันได้แก่ คอนติเนนตัล อิลลินอยส์ เนชั่นแนล แบงก์ แอนด์ ทรัสต์ ที่มีสินทรัพย์ราว 40,000 ล้านดอลลาร์ขณะที่ล้มละลายในปี 1984
ทางด้านเจพีมอร์แกนเชส แถลงว่าการซื้อสินทรัพย์ของวามิวเข้ามา ทำให้ตอนนี้ตนเองมีสาขาถึง 5,410 แห่งใน 23 มลรัฐของสหรัฐฯ รวมทั้งกลายเป็นเจ้าของธุรกิจบัตรเครดิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย
นอกจากนั้น การเทคโอเวอร์คราวนี้ยังทำให้เจพีมอร์แกน แซงแบงก์ออฟอเมริกา ขึ้นเป็นธนาคารใหญ่อันดับสองของประเทศด้วยสินทรัพย์ 2.04 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่าซิตี้กรุ๊ปที่ครองอันดับหนึ่งอยู่เล็กน้อย แต่อีกไม่นานแบงก์ออฟอเมริกาก็จะแซงขึ้นไปเป็นที่หนึ่ง เมื่ออแผนการควบรวมกับ เมอร์ริลลินช์ เสร็จสมบูรณ์
มาตรการยุบรวมวามิวเข้ากับเจพีมอร์แกนนี้ ทำให้ความหวังของ เจมี ไดมอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจพีมอร์แกน ที่จะทำให้แบงก์ของเขากลายเป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยที่แข็งแกร่งในภาคตะวันตกของสหรัฐฯ โดยที่เพียงเมื่อสี่เดือนก่อน เจพีมอร์แกน เชสก็เพิ่งเทคโอเวอร์วาณิชธนกิจ แบร์สเติร์นส์ ในราคาแสนถูกมาแล้ว โดยมีรัฐบาลเข้าช่วยเหลือทางการเงินในการซื้อขายด้วย
ในการแถลงข่าวคราวนี้ ไดมอนกล่าวว่า "ความเสี่ยงที่เห็นได้ชัดก็คือมูลค่าของสินทรัพย์ต่าง ๆ" ทว่าเขาก็กล่าวต่อไปว่า "แต่มันก็ทำให้เรามีโอกาสตรงนี้ขึ้นมา"
เจพีมอร์แกนคาดว่าจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย 1,500 ล้านดอลลาร์ แต่ก็จะมีรายได้จากเงินฝากรายปีเท่า ๆกันกลับคืนมา โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2010จะได้คืนมากที่สุด นอกจากนี้ธนาคารก็ยังคาดว่าการซื้อวามิวจะทำให้รายได้ต่อหุ้นเพิ่มขึ้นในทันที และในปี 2011 รายได้ต่อหุ้นจะเพิ่มขึ้นถึง 70 เซนต์
**จับตา"ไดมอน"**
ไดมอนนั้นเคยเป็นดาวเด่นของซิตี้กรุ๊ป ก่อนที่จะถูก แซนฟอร์ด "แซนดี้" เวลล์ ผู้เป็นครูพี่เลี้ยงของเขา ดำเนินการจนเขากระเด็นออกมาในปี 1998 ไดมอนวางตัวเองเอาไว้ว่าต้องการมีบทบาททำนองเป็นผู้ที่คอยช่วยชีวิตวอลล์สตรีทผู้หนึ่ง
เขาเข้าร่วมงานกับเจพีมอร์แกนในปี 2004 ภายหลังที่ขาย แบงก์ วัน คอร์ป ซึ่งเขาบริหารอยู่ในขณะนั้น ให้แก่ทางธนาคารแห่งนี้ในราคา 56,900 ล้านดอลลาร์ และขึ้นเป็นซีอีโอของเจพีมอร์แกนตอนสิ้นปี 2005