ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
บทความทางวิชาการนี้ ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะให้สังคมได้ทราบถึงอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญและตามการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีความหมายอย่างไร
ตามวัฒนธรรมประเพณีแต่โบราณกาล ประเทศไทยมีการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด และเป็นเจ้าของอำนาจการปกครองประเทศโดยสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานอำนาจการปกครองประเทศของพระองค์ให้แก่ปวงชนชาวไทย โดยมีพระราชปณิธานมอบอำนาจการปกครองประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทยทุกคน มิใช่มอบให้แก่เฉพาะกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อำนาจการปกครองประเทศจึงถือได้ว่าเป็นมรดกตกทอดเป็นของประชาชนชาวไทยทุกคนจนบัดนี้ หรืออำนาจอธิปไตยจึงเป็นของปวงชนชาวไทย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญตามมติมหาชน ที่ได้ออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประกาศใช้โดยผ่านมติมหาชน และโดยมติมหาชนนี้ ประชาชนชาวไทยได้มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ ทำนุบำรุงรักษาทุกศาสนา เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ ยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม กำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีทางปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและเที่ยงธรรม
วัตถุประสงค์ของประชาชนชาวไทยที่ได้ผ่านมติมหาชนดังกล่าวจึงเป็น “หลักรัฐธรรมนูญ” และหลักรัฐธรรมนูญนี้มีนัยที่สำคัญคือ ประชาชนชาวไทยคนใดก็ตามที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่แทนปวงชนชาวไทย เพื่อใช้อำนาจในการปกครองประเทศไม่ว่าอาสาเข้ามาเป็นผู้ใช้อำนาจในทางฝ่ายนิติบัญญัติ หรือใช้อำนาจฝ่ายบริหาร จะต้องอยู่ในกรอบแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การใช้อำนาจการปกครองนั้นมีดุลยภาพและมีประสิทธิภาพตามวิถีทางปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม ให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนรวมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรมฯลฯ โดยการใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือการตีความในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องสอดคล้องกับ “หลักรัฐธรรมนูญ”ดังกล่าว เพราะ “หลักรัฐธรรมนูญ”เป็นเจตนารมณ์และเป็นวัตถุประสงค์ร่วมกันแห่งมหาชน
จาก “หลักรัฐธรรมนูญ” กฎหมายรัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติยืนยันอำนาจการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยไว้ตามมาตรา 3 และได้บัญญัติรับรองสิทธิให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 69 โดยให้บุคคลมีสิทธิต่อต้านโดยวิธีสันติซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในทางปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งยังได้บัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้มาตรา 70 มาตรา 71 และรัฐธรรมนูญได้บัญญัติห้ามมิให้ “บุคคล”หรือ “พรรคการเมือง”ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรวมทั้งห้ามไม่ให้ “บุคคล”หรือ “พรรคการเมือง”กระทำการใดๆเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยบัญญัติไว้ใน มาตรา 68
รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 จึงเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับบุคคลหรือผู้ใช้อำนาจปกครอง โดยกำจัดสิทธิซึ่งห้ามไม่ให้ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และห้ามบุคคลหรือผู้ใช้อำนาจปกครองมิให้ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในทางปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 69 นั้นเป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่บุคคลหรือประชาชนซึ่งไม่ใช่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรวมถึงผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจปกครองตามมาตรา 68 ในการที่ต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆให้เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยมีบทบัญญัติมาตรา 70 และมาตรา 71 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องกระทำการดังกล่าวได้
เหตุการณ์ที่ได้เกิดการชุมนุมของประชาชนเป็นเวลาอันยาวนานเกินกว่า 3 เดือน โดยมีสาเหตุที่ปรากฏต่อสาธารณชนและต่อประชาคมโลกจนเป็นที่รู้กันทั่วไปถึงความต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 และมาตรา 309 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้พรรคการเมืองบางพรรคต้องถูกยุบโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะอยู่ในระหว่างการรอส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญของอัยการสูงสุด และการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะมีผลทำให้การดำเนินคดีกับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้มีการสอบสวนไปแล้ว หรือกำลังดำเนินคดีในศาล จะมีผลเป็นการยกเลิกหรือไร้ผลไป อันเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีจุดประสงค์ที่จะไม่ให้สถาบันศาลสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม ซึ่งขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ อันเป็นการใช้อำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
และในระหว่างการชุมนุมก็ได้ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นมาอีกว่า ได้เกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กรณีขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก อันเป็นการทำสนธิสัญญาโดยไม่ผ่านรัฐสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า เป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จึงมีข้อกังขาถึงการใช้อำนาจในทางปกครองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อันเป็นเหตุให้ประเทศไทยต้องเสียอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนให้แก่รัฐต่างประเทศ ซึ่งเข้าข่ายของการกระทำความผิดอาญาในข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป และการกระทำเพื่อประโยชน์ของรัฐต่างประเทศ ด้วยประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐ หรือในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 มาตรา 119 และมาตรา 120 ซึ่งก็ปรากฏผลเป็นข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏต่อสาธารณชนและประชาคมโลกแล้วถึงการเรียกร้องของรัฐต่างประเทศที่จะเอาดินแดนอื่นนอกจากปราสาทพระวิหารและดินแดนปราสาทอื่นตามมาพร้อมทั้งการแสดงออกซึ่งกองกำลังที่จะทำการรบต่อรัฐจนต้องมีการเจราต่อกัน เพื่อระงับการรบที่จะเกิดขึ้น
การชุมนุมต่อต้านที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีคำตอบจากผู้ใช้อำนาจปกครองประเทศ จนมีการเรียกร้องให้รัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศลาออกนั้น เป็นการแสดงบทบาทของการมีส่วนร่วมในทางปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และป้องกันการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งยังเป็นหน้าที่ที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยได้ใช้วิธีการต่อต้านโดยสันติวิธี ( NON VIOLENCE) การชุมนุมโดยเหตุปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยตามหลักรัฐธรรมนูญและตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาชนมีสิทธิที่จะต่อต้านโดยสันติวิธี เพื่อให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองหรือคืนอำนาจอธิปไตยกลับสู่ประชาชน อันเป็นสิทธิสูงสุด ( PARAMOUNT) ตามรัฐธรรมนูญของประชาชนที่กระทำได้ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการกระทำดังกล่าวที่มีเจตนาที่จะแสดงออกเพื่อเรียกคืนอำนาจการปกครองจากผู้ใช้อำนาจการปกครองนั้น เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญซึ่งไม่เป็นการกระทำความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาใดๆทั้งสิ้น
การชุมนุมของประชาชนโดยสันติวิธีตามหลักรัฐธรรมนูญของประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในสากลนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการต่อสู้ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องของการเอาชนะกันระหว่างประชาชนกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่มีสิทธิ ไม่มีอำนาจ หรือไม่มีหลักความชอบธรรมใดๆที่จะต่อสู้กับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้เลย นอกจากรัฐบาลจะต้องชี้แจง แก้ไข หรือทำความเข้าใจถึงการใช้อำนาจปกครองที่ได้กระทำไปแล้วนั้นให้ประชาชนได้ทราบ เข้าใจพอใจ และแก้ไขให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเท่านั้น เพราะอำนาจรัฐบาลที่มีอยู่หรือใช้อำนาจนั้น เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนทั้งสิ้น แต่เมื่อประชาชนไม่ต้องการให้รัฐบาลใช้อำนาจในการปกครองประเทศหรือใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนแล้ว อำนาจการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยนั้นต้องคืนสู่ประชาชนทันที อันเป็นหลักการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นสากลที่อารยประเทศปฏิบัติกัน
ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือรัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติใดๆไม่มีอำนาจที่จะชักจูง หรือใช้ จ้าง วาน ยุยงให้ประชาชนที่ไม่ได้ออกมาใช้สิทธิเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากผู้ใช้อำนาจการปกครองหรือรัฐบาลมาต่อต้านหรือทำร้ายประชาชนที่มาใช้สิทธิเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นหาได้ไม่ เพราะการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทำในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรได้ และเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายให้เกิดการจลาจลได้
และการกระทำดังกล่าวไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการปกครองประเทศโดยอำนาจของกลุ่มคนที่ยังคงมีโอกาสยึดครองการใช้อำนาจการปกครองไว้เท่านั้น
การกล่าวหาผู้ชุมนุมที่ได้กระทำการต่อต้านโดยสันติวิธี เพื่อให้ได้คืนมาซึ่งอำนาจอธิปไตยจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ โดยกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการกบฏ หรือเป็นกบฏนั้น ย่อมเป็นการกล่าวหาโดยที่ไม่มีมูลคดีอาญาในความผิดที่กล่าวหา ( NON PRIMA FACIE ) เพราะข้อเท็จจริงของการชุมนุมเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นสาธารณชนแล้ว การดำเนินการของพนักงานสอบสวนในการรับแจ้งข้อกล่าวหาหรือการดำเนินการสอบสวน จะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะมิใช่เป็นกรณีปกติธรรมดาที่จะรับแจ้งและทำการสอบสวนได้เช่นคดีอาญาโดยทั่วไป เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นสาธารณะแล้วนั้นได้ตัดสิทธิการกระทำหน้าที่ทั้งของพนักงานสอบสวนและพนักงานตำรวจแล้ว ในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนนั้น พนักงานสอบสวนและพนักงานตำรวจจะต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 74 ซึ่งพนักงานสอบสวนจะรับคดีและทำการสอบสวนอย่างคดีอาญาธรรมดาหาได้ไม่ จะต้องทำการสอบสวนจุดประสงค์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ามีเจตนาและจุดประสงค์อย่างไร และถ้าปรากฏว่าเป็นปัญหาการต่อต้านการใช้อำนาจปกครองประเทศของรัฐบาลแล้ว สิทธิในการทำหน้าที่ของการเป็นพนักงานสอบสวนจะหมดสิทธิในทันที โดยพนักงานสอบสวนจะต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง โดยจะรับเรื่องและทำการสอบสวนเป็นคดีอาญาในข้อหากบฏหาได้ไม่ เพราะการปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนนั้นเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน พนักงานสอบสวนจะใช้อำนาจของประชาชนเพื่อกล่าวหาผู้ชุมนุมเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือจากฝ่ายบริหาร หรือจากรัฐบาลไม่ได้เลย เพราะขัดต่อหลักการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ไม่ใช่เป็นของคนใดคนหนึ่งหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
การดำเนินการใดๆของพนักงานสอบสวน เพื่อให้เกิดผลตามการสอบสวนที่ได้กระทำไปนั้น เช่นการไปขอให้ศาลออกหมายจับ จึงเป็นการกระทำไปโดยที่ไม่มีอำนาจในการสอบสวน และไม่มีมูลความผิดอาญาที่จะทำการสอบสวนได้ ผลของการกระทำดังกล่าวย่อมไม่มีผลในทางกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับประชาชนได้เลย เพราะเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนเพื่อทำลาย หรือก่อให้เกิดโทษแก่ประชาชนนั้นขัดต่อหลักการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 74 วรรคสอง คือต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง มิใช่เป็นเครื่องมือทางการเมือง
บทความทางวิชาการนี้ ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะให้สังคมได้ทราบถึงอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญและตามการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีความหมายอย่างไร
ตามวัฒนธรรมประเพณีแต่โบราณกาล ประเทศไทยมีการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด และเป็นเจ้าของอำนาจการปกครองประเทศโดยสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานอำนาจการปกครองประเทศของพระองค์ให้แก่ปวงชนชาวไทย โดยมีพระราชปณิธานมอบอำนาจการปกครองประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทยทุกคน มิใช่มอบให้แก่เฉพาะกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อำนาจการปกครองประเทศจึงถือได้ว่าเป็นมรดกตกทอดเป็นของประชาชนชาวไทยทุกคนจนบัดนี้ หรืออำนาจอธิปไตยจึงเป็นของปวงชนชาวไทย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญตามมติมหาชน ที่ได้ออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประกาศใช้โดยผ่านมติมหาชน และโดยมติมหาชนนี้ ประชาชนชาวไทยได้มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ ทำนุบำรุงรักษาทุกศาสนา เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ ยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม กำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีทางปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและเที่ยงธรรม
วัตถุประสงค์ของประชาชนชาวไทยที่ได้ผ่านมติมหาชนดังกล่าวจึงเป็น “หลักรัฐธรรมนูญ” และหลักรัฐธรรมนูญนี้มีนัยที่สำคัญคือ ประชาชนชาวไทยคนใดก็ตามที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่แทนปวงชนชาวไทย เพื่อใช้อำนาจในการปกครองประเทศไม่ว่าอาสาเข้ามาเป็นผู้ใช้อำนาจในทางฝ่ายนิติบัญญัติ หรือใช้อำนาจฝ่ายบริหาร จะต้องอยู่ในกรอบแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การใช้อำนาจการปกครองนั้นมีดุลยภาพและมีประสิทธิภาพตามวิถีทางปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม ให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนรวมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรมฯลฯ โดยการใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือการตีความในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องสอดคล้องกับ “หลักรัฐธรรมนูญ”ดังกล่าว เพราะ “หลักรัฐธรรมนูญ”เป็นเจตนารมณ์และเป็นวัตถุประสงค์ร่วมกันแห่งมหาชน
จาก “หลักรัฐธรรมนูญ” กฎหมายรัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติยืนยันอำนาจการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยไว้ตามมาตรา 3 และได้บัญญัติรับรองสิทธิให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 69 โดยให้บุคคลมีสิทธิต่อต้านโดยวิธีสันติซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในทางปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งยังได้บัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้มาตรา 70 มาตรา 71 และรัฐธรรมนูญได้บัญญัติห้ามมิให้ “บุคคล”หรือ “พรรคการเมือง”ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรวมทั้งห้ามไม่ให้ “บุคคล”หรือ “พรรคการเมือง”กระทำการใดๆเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยบัญญัติไว้ใน มาตรา 68
รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 จึงเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับบุคคลหรือผู้ใช้อำนาจปกครอง โดยกำจัดสิทธิซึ่งห้ามไม่ให้ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และห้ามบุคคลหรือผู้ใช้อำนาจปกครองมิให้ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในทางปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 69 นั้นเป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่บุคคลหรือประชาชนซึ่งไม่ใช่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรวมถึงผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจปกครองตามมาตรา 68 ในการที่ต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆให้เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยมีบทบัญญัติมาตรา 70 และมาตรา 71 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องกระทำการดังกล่าวได้
เหตุการณ์ที่ได้เกิดการชุมนุมของประชาชนเป็นเวลาอันยาวนานเกินกว่า 3 เดือน โดยมีสาเหตุที่ปรากฏต่อสาธารณชนและต่อประชาคมโลกจนเป็นที่รู้กันทั่วไปถึงความต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 และมาตรา 309 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้พรรคการเมืองบางพรรคต้องถูกยุบโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะอยู่ในระหว่างการรอส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญของอัยการสูงสุด และการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะมีผลทำให้การดำเนินคดีกับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้มีการสอบสวนไปแล้ว หรือกำลังดำเนินคดีในศาล จะมีผลเป็นการยกเลิกหรือไร้ผลไป อันเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีจุดประสงค์ที่จะไม่ให้สถาบันศาลสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม ซึ่งขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ อันเป็นการใช้อำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
และในระหว่างการชุมนุมก็ได้ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นมาอีกว่า ได้เกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กรณีขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก อันเป็นการทำสนธิสัญญาโดยไม่ผ่านรัฐสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า เป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จึงมีข้อกังขาถึงการใช้อำนาจในทางปกครองที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อันเป็นเหตุให้ประเทศไทยต้องเสียอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนให้แก่รัฐต่างประเทศ ซึ่งเข้าข่ายของการกระทำความผิดอาญาในข้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป และการกระทำเพื่อประโยชน์ของรัฐต่างประเทศ ด้วยประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐ หรือในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 มาตรา 119 และมาตรา 120 ซึ่งก็ปรากฏผลเป็นข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏต่อสาธารณชนและประชาคมโลกแล้วถึงการเรียกร้องของรัฐต่างประเทศที่จะเอาดินแดนอื่นนอกจากปราสาทพระวิหารและดินแดนปราสาทอื่นตามมาพร้อมทั้งการแสดงออกซึ่งกองกำลังที่จะทำการรบต่อรัฐจนต้องมีการเจราต่อกัน เพื่อระงับการรบที่จะเกิดขึ้น
การชุมนุมต่อต้านที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีคำตอบจากผู้ใช้อำนาจปกครองประเทศ จนมีการเรียกร้องให้รัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศลาออกนั้น เป็นการแสดงบทบาทของการมีส่วนร่วมในทางปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และป้องกันการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งยังเป็นหน้าที่ที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยได้ใช้วิธีการต่อต้านโดยสันติวิธี ( NON VIOLENCE) การชุมนุมโดยเหตุปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยตามหลักรัฐธรรมนูญและตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาชนมีสิทธิที่จะต่อต้านโดยสันติวิธี เพื่อให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองหรือคืนอำนาจอธิปไตยกลับสู่ประชาชน อันเป็นสิทธิสูงสุด ( PARAMOUNT) ตามรัฐธรรมนูญของประชาชนที่กระทำได้ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการกระทำดังกล่าวที่มีเจตนาที่จะแสดงออกเพื่อเรียกคืนอำนาจการปกครองจากผู้ใช้อำนาจการปกครองนั้น เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญซึ่งไม่เป็นการกระทำความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาใดๆทั้งสิ้น
การชุมนุมของประชาชนโดยสันติวิธีตามหลักรัฐธรรมนูญของประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในสากลนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการต่อสู้ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องของการเอาชนะกันระหว่างประชาชนกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่มีสิทธิ ไม่มีอำนาจ หรือไม่มีหลักความชอบธรรมใดๆที่จะต่อสู้กับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้เลย นอกจากรัฐบาลจะต้องชี้แจง แก้ไข หรือทำความเข้าใจถึงการใช้อำนาจปกครองที่ได้กระทำไปแล้วนั้นให้ประชาชนได้ทราบ เข้าใจพอใจ และแก้ไขให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเท่านั้น เพราะอำนาจรัฐบาลที่มีอยู่หรือใช้อำนาจนั้น เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนทั้งสิ้น แต่เมื่อประชาชนไม่ต้องการให้รัฐบาลใช้อำนาจในการปกครองประเทศหรือใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนแล้ว อำนาจการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยนั้นต้องคืนสู่ประชาชนทันที อันเป็นหลักการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นสากลที่อารยประเทศปฏิบัติกัน
ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือรัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติใดๆไม่มีอำนาจที่จะชักจูง หรือใช้ จ้าง วาน ยุยงให้ประชาชนที่ไม่ได้ออกมาใช้สิทธิเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากผู้ใช้อำนาจการปกครองหรือรัฐบาลมาต่อต้านหรือทำร้ายประชาชนที่มาใช้สิทธิเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นหาได้ไม่ เพราะการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นการกระทำในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรได้ และเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายให้เกิดการจลาจลได้
และการกระทำดังกล่าวไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการปกครองประเทศโดยอำนาจของกลุ่มคนที่ยังคงมีโอกาสยึดครองการใช้อำนาจการปกครองไว้เท่านั้น
การกล่าวหาผู้ชุมนุมที่ได้กระทำการต่อต้านโดยสันติวิธี เพื่อให้ได้คืนมาซึ่งอำนาจอธิปไตยจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ โดยกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการกบฏ หรือเป็นกบฏนั้น ย่อมเป็นการกล่าวหาโดยที่ไม่มีมูลคดีอาญาในความผิดที่กล่าวหา ( NON PRIMA FACIE ) เพราะข้อเท็จจริงของการชุมนุมเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นสาธารณชนแล้ว การดำเนินการของพนักงานสอบสวนในการรับแจ้งข้อกล่าวหาหรือการดำเนินการสอบสวน จะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะมิใช่เป็นกรณีปกติธรรมดาที่จะรับแจ้งและทำการสอบสวนได้เช่นคดีอาญาโดยทั่วไป เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นสาธารณะแล้วนั้นได้ตัดสิทธิการกระทำหน้าที่ทั้งของพนักงานสอบสวนและพนักงานตำรวจแล้ว ในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนนั้น พนักงานสอบสวนและพนักงานตำรวจจะต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 74 ซึ่งพนักงานสอบสวนจะรับคดีและทำการสอบสวนอย่างคดีอาญาธรรมดาหาได้ไม่ จะต้องทำการสอบสวนจุดประสงค์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ามีเจตนาและจุดประสงค์อย่างไร และถ้าปรากฏว่าเป็นปัญหาการต่อต้านการใช้อำนาจปกครองประเทศของรัฐบาลแล้ว สิทธิในการทำหน้าที่ของการเป็นพนักงานสอบสวนจะหมดสิทธิในทันที โดยพนักงานสอบสวนจะต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง โดยจะรับเรื่องและทำการสอบสวนเป็นคดีอาญาในข้อหากบฏหาได้ไม่ เพราะการปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนนั้นเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน พนักงานสอบสวนจะใช้อำนาจของประชาชนเพื่อกล่าวหาผู้ชุมนุมเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือจากฝ่ายบริหาร หรือจากรัฐบาลไม่ได้เลย เพราะขัดต่อหลักการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ไม่ใช่เป็นของคนใดคนหนึ่งหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
การดำเนินการใดๆของพนักงานสอบสวน เพื่อให้เกิดผลตามการสอบสวนที่ได้กระทำไปนั้น เช่นการไปขอให้ศาลออกหมายจับ จึงเป็นการกระทำไปโดยที่ไม่มีอำนาจในการสอบสวน และไม่มีมูลความผิดอาญาที่จะทำการสอบสวนได้ ผลของการกระทำดังกล่าวย่อมไม่มีผลในทางกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับประชาชนได้เลย เพราะเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนเพื่อทำลาย หรือก่อให้เกิดโทษแก่ประชาชนนั้นขัดต่อหลักการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 74 วรรคสอง คือต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง มิใช่เป็นเครื่องมือทางการเมือง