ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
ถาม : ไม่เข้าใจการเมือง
ไม่เข้าใจว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องการอะไรกันแน่ เพราะเห็นชุมนุมยืดเยื้อ ไอ้นั่นก็ไม่เอา ไอ้นี่ก็ไม่เอา สะท้อนว่า “ได้คืบ จะเอาศอก” ใช่หรือไม่ ?
ไม่เข้าใจว่า สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาการเมือง ที่ยืดเยื้อมาหลายปี จนถึงวันนี้ คืออะไร ?
ตอบ : เป็นคำถามพื้นฐานที่ดีมาก ควรถามอย่างยิ่ง และพึงสืบค้น คิดหาคำตอบด้วย
ถ้าเราไม่เข้าใจเหตุที่แท้จริงของปัญหา เราก็อาจจะเบื่อในสิ่งที่ไม่พึงเบื่อ หรือไปยอมรับในสิ่งไม่พึงยอมรับ หรือแม้กระทั่ง เดินหลงไปใน “หลุมพรางทางการเมือง” ที่นักการเมืองผู้สูญเสียผลประโยชน์ดักล่อเอาไว้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกเขา
เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ พึงสังเกตว่า การเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่หลังเลือกตั้ง 23 ธ.ค. 2550 ได้รัฐบาลสมัครเข้ามาเป็นรัฐบาล ปัญหาบ้านเมืองกลับร้อนระอุ ร้อนรุ่ม ตึงเครียด เสมือนคนป่วยที่มีอาการผุกโผล่ออกมาทีละอย่าง
“สุขภาวะของการเมืองไทย” จึงไม่ปกติ
โดย “แสดงอาการผิดปกติ” ออกมาให้เห็น หลายประการ เช่น
1. การโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม เช่น การโยกย้ายนายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ทำคดีซุกหุ้นเอสซีแอสเซทฯ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคนในครอบครัว อย่างไม่ยอมตกอยู่ใต้อาณัติทางการเมือง, การโยกย้ายพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวช ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ทำงานไม่สนองความต้องการและผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคพวกรัฐบาล, การโยกย้ายพลตำรวจตรีทรงธรรม อัลภาชน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ที่สอบสวนทำสำนวนคดีทุจริตเลือกตั้งของนายยงยุทธ์ ติยะไพรัช อย่างตรงไปตรงมา กระทั่งศาลฎีกาฯ ให้ใบแดงนายยงยุทธ เป็นเหตุให้พรรคพลังประชาชนถูกดำเนินคดียุบพรรค, การโยกย้าย นพ.ศิริวัฒน์ ทิพธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ช่วยให้คนไทยได้เข้าถึงยาราคาถูก กระทบผลประโยชน์ของบริษัทค้ายาข้ามชาติ, การโยกย้ายนายวีระชัย พลาดิศรัย อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ที่ทำหน้าที่ในการเจรจากรณีปราสาทพระวิหารกับฝ่ายกัมพูชา ยืนหยัดรักษาผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยของชาติอย่างหนักแน่น, การโยกย้ายนายปราโมช รัฐพินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่ไม่สนองตอบความต้องการแทรกแซงสั่งการและใช้สื่อของรัฐเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างเต็มที่ ฯลฯ เป็นต้น
2. การจะแก้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพื่อให้ตนเองและพรรคพวกรอดพ้นความผิด เช่น จะแก้มาตรา 237 เพื่อตัดตอนคดียุบพรรค ที่เกิดจากการโกง ทุจริตเลือกตั้งของตนเอง, จะแก้มาตรา 309 เพื่อเปิดช่องโหว่ทางกฎหมาย ล้มล้าง ช่วยเหลือคดีทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวก เป็นต้น
3. ขบวนการจาบจ้วง ดูหมิ่น ทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงดำเนินต่อไป เช่น กรณีเลือกคนที่มีพฤติกรรมจาบจ้วงล้มล้างเข้ามาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายสมัคร, การใช้สื่อของรัฐ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับการล้มล้างสถาบันกษัตริย์เนปาล ในวันจักรี, การละเลย ละเว้น หรือล่าช้า ไม่ดำเนินคดีกับ แกนนำ นปก. ที่มีพฤติกรรมจาบจ้วง ดูหมิ่นสถาบันอย่างร้ายแรง, การดำเนินคดีกับ นปก.ที่ก่อเหตุรุนแรงหน้าบ้านพักประธานองคมนตรี, การปล่อยให้มีเว็บไซต์จาบจ้วง ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง รวมทั้งการเผยแพร่บทความ “รู้ทันราชวงศ์จักรี” อันมีเนื้อหาดูหมิ่นสถาบัน เป็นต้น
4. การไม่รักษาผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของราชอาณาจักรไทย กรณีปราสาทเขาพระวิหาร โดยรัฐบาลนายสมัครได้ออกมติคณะรัฐมนตรี ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ออกแถลงการณ์ร่วมกับฝ่ายกัมพูชา ทำให้ประเทศชาติเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน อำนาจอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติอย่างร้ายแรง ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการดำเนินการที่เอื้อประโยชน์แก่การลงทุนในประเทศกัมพูชาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
5. การเร่งรัด รวบรัด อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบผูกพันในโครงการขนาดใหญ่ ที่ใช้เงินลงทุนมหาศาล โดยไม่คุ้มกับผลประโยชน์ของชาติ หรือสุ่มเสี่ยงจะเกิดความเสียหายต่อส่วนรวมในอนาคต เช่น โครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี มูลค่าเกือบแสนล้านบาท, โครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท, โครงการขุดท่อส่งน้ำจากแม่น้ำโขง มูลค่ากว่าแสนล้านบาท, การอนุมัติให้บริษัทผู้ได้รับสัมปทานทางด่วน บีอีซีแอลฯ (ที่มีนายวีระพงษ์ รามางกูร เป็นประธานฯ) ได้ผลประโยชน์มูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท ฯลฯ เป็นต้น
6. การแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม มีประวัติด่างพร้อย มีคดีติดตัว และเป็นคนของระบอบทักษิณ เข้าไปยึดอำนาจในคณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีบทบาทกำกับดูแลสถาบันการเงิน และในคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เป็นที่ครหา กระทบต่อความน่าเชื่อถือและธรรมมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศ
ทั้งหมดนี้ คือตัวอย่าง“อาการของโรค” ที่เกิดขึ้นในการบริหารราชการแผ่นดิน
สมมติฐานของโรค คือ “ระบอบทักษิณ” ยังคงมีเชื้อร้าย ถ่ายทอด ฟักตัวอยู่ในระบบกลไกอำนาจรัฐ ผ่านพรรคไทยรักไทย สู่พรรคพลังประชาชน (กกต.มีมติว่าพรรคพลังประชาชนมีพฤติกรรมเป็นนอมินีของพรรคไทยรักไทย) ผ่านนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิด (นายสมัครออกปากว่าตนจะเป็นนอมินีให้ พ.ต.ท.ทักษิณ) โดยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน (บางส่วน) ยังคงชักใยหรือมีบทบาททางการเมืองผ่านตัวแทนของตนอยู่
การที่ประชาชนออกมาชุมนุม กดดัน เรียกร้องให้มีการดำเนินการในบางเรื่องบางปัญหา แม้จะช่วยเยียวยาแก้ไขอาการความเสียหายได้บางส่วน แต่สมมติฐานและเชื้อโรคที่แท้จริงในระบบร่างกายยังคงอยู่ และยังคงแสดงอาการออกมาอีกหลายทาง หลายรูปแบบปัญหา
แม้กระทั่งนายสมัครออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว เชื่อโรคร้ายก็ยังอยู่ ปัญหาก็ยังคงอยู่ ยังแสดงอาการออกมาอีกหลายทาง เช่น แต่งตั้งน้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเป็นนายกฯ, แต่งตั้งคนที่มีปัญหาเข้ามาเป็นรัฐมนตรี, ยังคงจะให้มีการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือพรรคพวกตนเองต่อไป
เพราะฉะนั้น ทางเดียวที่จะรักษา แก้ไขปัญหาโรคร้ายของบ้านเมืองได้ จะต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ ขจัด “ระบอบทักษิณ”
ในเฉพาะหน้า ข้อพึงกระทำ คือ
(1) จะต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้พรรคพวกของตนไม่ต้องรับผิด
(2) พรรคไทยรักไทย หรือพลังประชาชน จะต้องไม่เข้าไปยึดครองอำนาจในรัฐบาล
นี่เป็นเพียงขั้นตอนป้องกัน ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อมิให้ระบบร่างกายได้รับเชื้อร้ายเพิ่มขึ้น มิฉะนั้น อาจจะกลายพันธุ์ หรือแพร่ขยาย ลุกลามต่อไป กัดกินทำลายระบบภายในจนเกินเยียวยาให้หายขาด
ถาม : เอ๊ะ! ชักจะลืมไปแล้ว ที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” คืออะไร ? มีหน้าตาเป็นอย่างไร ?
ตอบ : ระบอบทักษิณ คือ กระบวนการยึดครองอำนาจรัฐ และใช้อำนาจรัฐไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แก่พวกพ้อง พร้อมๆ กับการรักษาอำนาจและเพิ่มพูนอำนาจของตนให้มากขึ้น จนเสมือนหนึ่งระบบเผด็จการ แม้ภายนอกจะดูเหมือนเป็นประชาธิปไตย แต่ในเนื้อแท้ ผู้นำฝ่ายบริหารกลับมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยไม่ถูกตรวจสอบ ตามหลักการดุลและคานอำนาจอย่างแท้จริง
รูปธรรม ที่เห็นชัดๆ จากบทเรียนระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยึดครองอำนาจอยู่ เช่น
(1) การผูกขาดอำนาจรัฐสภา โดยการซื้อ ควบรวม ยุบรวมพรรคการเมืองขนาดกลาและขนาดเล็กเข้ามาอยู่ในพรรคไทยรักไทย ภายหลังการเลือกตั้ง จึงเป็นการบิดเบือนผลการลงคะแนนเลือกตั้งของประชาชน แทบไม่ต่างจากการไปซื้อตัวผู้แทนประชาชนเข้ามาเป็นลูกจ้างของตนเองแต่ผู้เดียว
(2) การแทรกแซงครอบงำองค์กรอิสระ ผ่านกรรมการสรรหา ผ่านวุฒิสภา เอาคนของตนเข้าไปมีอำนาจในองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น กกต. ป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ฯลฯ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มิหนำซ้ำ ยังเป็นการทำลายเนื้อหาสาระที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ 2540 จนกระทั่ง อดีต สสร. 40 ได้ออกมาเขียนหนังสือวิพากษ์วิจารณ์ว่า “รัฐธรรมนูญตายแล้ว” หมายความว่า ในความเป็นจริง ระบอบทักษิณได้ทำลายรัฐธรรมนูญ 2540 ลงไปเสียสิ้นแล้ว
(3) การยึดอำนาจการบริหารราชการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้ข้าราชการอ่อนแอ แบ่งแยกและยึดครอง ใช้ระบบพวกพ้อง เส้นสาย มากกว่าระบบคุณธรรม ใช้ตำแหน่งและผลประโยชน์เป็นเครื่องมือในการซื้อตัวซื้อใจข้าราชการที่ต้องการมีอำนาจ สร้างระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ รวมศูนย์อำนาจขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
(4) การใช้นโยบายแบบประชานิยม ที่ใช้กลอุบายทางการตลาด สร้างสีสัน มุ่งหาเสียง สร้างคะแนนนิยม มากกว่าจะสร้างผลประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชน เช่น การแจกเงินกู้หมู่บ้านละล้านโดยไม่มีการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน, การแจกหนี้เงินกู้ธนาคารประชาชนโดยไม่มีการส่งเสริมพัฒนาการบริหารกิจการและการลงทุน, การออกหวย 2 ตัว 3 ตัว ทำลายคุณธรรมของคนในชาติ เพื่อมอมเมาประชาชนด้วยค่านิยมการพนัน, การออกข่าว ประสัมพันธ์ สร้างภาพว่าจะแก้ปัญหาความยากจนให้หมดไป ถ่ายทอดออกโทรทัศน์ เป็นข่าวเอิกเกริก แต่ในภายหลัง ผลกลับปรากฏว่า คนยากจนทั่วประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบากกว่าเดิม เป็นต้น
(5) การออกกฎหมายและมาตรการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง หรือการทุจริตเชิงนโยบาย เช่น ออก พ.ร.ก.เพื่อแปลงค่าสัมปทานโทรคมนาคมมาเป็นภาษีสรรพสามิต ช่วยให้บริษัทโทรคมนาคมของตนไม่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม, แก้สัมปทานโทรศัพท์มือถือ ลดค่าสัมปทานให้เอกชน ช่วยให้บริษัทเอไอเอสได้ผลประโยชน์หลายหมื่นล้านบาท, แก้กฎหมายเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติในกิจการโทรคมนาคม ช่วยให้ตนและครอบครัวสามารถขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้ต่างชาติได้ 73,000 ล้านบาท, อนุมัติเงินกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ (เอ็กซิมแบงก์) โดยทุจริต เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินฯ, ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่กิจการดาวเทียมไอพีสตาร์ มูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท ฯลฯ
(6) การใช้ความรุนแรงนอกกฎหมายในการปราบปรามยาเสพติด การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น นโยบายสงครามยาเสพติดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้มีคนถูกฆ่าตาย มากกว่า 2,500 คน โดยที่คณะกรรมการตรวจสอบอิสระฯ (คตน.) ที่มี ศ.ดร.คณิต ณ นคร เป็นประธานฯ ชี้ชัดว่า เป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เข้าลักษณะความผิดทางอาญา ต้องนำตัวไปขึ้นศาลโลก และดำเนินคดีอาญากับตัวผู้กำหนดหรือสั่งการนโยบาย ฯลฯ
(7) การแทรกแซง ครอบงำ คุกคาม และบิดเบือนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เช่น การใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือทางการเมืองของตน ทั้งโทรทัศน์และวิทยุ บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ออกข่าวเพื่อสร้างภาพให้รัฐบาล บิดเบือนประเด็นตรวจสอบรัฐบาล รวมไปถึงการกำหนดประเด็นข่าวที่หวือหวา เปิดประเด็นใหม่เพื่อกลบเกลื่อนประเด็นปัญหาที่แท้จริง การใช้งบประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนรัฐวิสาหกิจ เป็นเครื่องมือจูงใจให้สื่อเข้าเป็นพวก การใช้งบประชาสัมพันธ์หรืองบสปอนเซอร์ของบริษัทเอกชนในเครือรัฐบาลเป็นเครื่องมือข่มขู่และกดดันการทำงานของสื่อมวลชน การปิดปากคนที่ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายรัฐบาล ปิดรายการ ห้ามมิให้เชิญมาออกรายการ ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ ก็คือ “ลักษณะของระบอบทักษิณ”
ในเมื่อรักษาไม่หายขาด ไม่ขจัดเชื้อระบอบทักษิณให้เด็ดขาด ถึงเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ เชื้อร้ายก็สำแดงอาการออกมาใหม่ ผ่านรูปแบบอาการต่างๆ ดังที่ปรากฏอาการผิดปกติในช่วงรัฐบาลนายสมัคร นั่นเอง
สัปดาห์หน้า... มาติดตามต่อว่า ทำไมประชาชนต้องออกมาสู้โดยสันติวิธี ? แล้วทำไมต้องแข็งกร้าวขึ้นเรื่อยๆ ? และสุดท้าย ทางออกจากวิกฤติคืออะไร ?
การเมืองใหม่ ควรจะมีหน้าตาอย่างไร ?
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
ถาม : ไม่เข้าใจการเมือง
ไม่เข้าใจว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องการอะไรกันแน่ เพราะเห็นชุมนุมยืดเยื้อ ไอ้นั่นก็ไม่เอา ไอ้นี่ก็ไม่เอา สะท้อนว่า “ได้คืบ จะเอาศอก” ใช่หรือไม่ ?
ไม่เข้าใจว่า สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาการเมือง ที่ยืดเยื้อมาหลายปี จนถึงวันนี้ คืออะไร ?
ตอบ : เป็นคำถามพื้นฐานที่ดีมาก ควรถามอย่างยิ่ง และพึงสืบค้น คิดหาคำตอบด้วย
ถ้าเราไม่เข้าใจเหตุที่แท้จริงของปัญหา เราก็อาจจะเบื่อในสิ่งที่ไม่พึงเบื่อ หรือไปยอมรับในสิ่งไม่พึงยอมรับ หรือแม้กระทั่ง เดินหลงไปใน “หลุมพรางทางการเมือง” ที่นักการเมืองผู้สูญเสียผลประโยชน์ดักล่อเอาไว้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกเขา
เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ พึงสังเกตว่า การเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่หลังเลือกตั้ง 23 ธ.ค. 2550 ได้รัฐบาลสมัครเข้ามาเป็นรัฐบาล ปัญหาบ้านเมืองกลับร้อนระอุ ร้อนรุ่ม ตึงเครียด เสมือนคนป่วยที่มีอาการผุกโผล่ออกมาทีละอย่าง
“สุขภาวะของการเมืองไทย” จึงไม่ปกติ
โดย “แสดงอาการผิดปกติ” ออกมาให้เห็น หลายประการ เช่น
1. การโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม เช่น การโยกย้ายนายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ทำคดีซุกหุ้นเอสซีแอสเซทฯ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคนในครอบครัว อย่างไม่ยอมตกอยู่ใต้อาณัติทางการเมือง, การโยกย้ายพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวช ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ทำงานไม่สนองความต้องการและผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคพวกรัฐบาล, การโยกย้ายพลตำรวจตรีทรงธรรม อัลภาชน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ที่สอบสวนทำสำนวนคดีทุจริตเลือกตั้งของนายยงยุทธ์ ติยะไพรัช อย่างตรงไปตรงมา กระทั่งศาลฎีกาฯ ให้ใบแดงนายยงยุทธ เป็นเหตุให้พรรคพลังประชาชนถูกดำเนินคดียุบพรรค, การโยกย้าย นพ.ศิริวัฒน์ ทิพธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ช่วยให้คนไทยได้เข้าถึงยาราคาถูก กระทบผลประโยชน์ของบริษัทค้ายาข้ามชาติ, การโยกย้ายนายวีระชัย พลาดิศรัย อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ที่ทำหน้าที่ในการเจรจากรณีปราสาทพระวิหารกับฝ่ายกัมพูชา ยืนหยัดรักษาผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยของชาติอย่างหนักแน่น, การโยกย้ายนายปราโมช รัฐพินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่ไม่สนองตอบความต้องการแทรกแซงสั่งการและใช้สื่อของรัฐเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างเต็มที่ ฯลฯ เป็นต้น
2. การจะแก้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพื่อให้ตนเองและพรรคพวกรอดพ้นความผิด เช่น จะแก้มาตรา 237 เพื่อตัดตอนคดียุบพรรค ที่เกิดจากการโกง ทุจริตเลือกตั้งของตนเอง, จะแก้มาตรา 309 เพื่อเปิดช่องโหว่ทางกฎหมาย ล้มล้าง ช่วยเหลือคดีทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวก เป็นต้น
3. ขบวนการจาบจ้วง ดูหมิ่น ทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงดำเนินต่อไป เช่น กรณีเลือกคนที่มีพฤติกรรมจาบจ้วงล้มล้างเข้ามาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายสมัคร, การใช้สื่อของรัฐ สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับการล้มล้างสถาบันกษัตริย์เนปาล ในวันจักรี, การละเลย ละเว้น หรือล่าช้า ไม่ดำเนินคดีกับ แกนนำ นปก. ที่มีพฤติกรรมจาบจ้วง ดูหมิ่นสถาบันอย่างร้ายแรง, การดำเนินคดีกับ นปก.ที่ก่อเหตุรุนแรงหน้าบ้านพักประธานองคมนตรี, การปล่อยให้มีเว็บไซต์จาบจ้วง ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง รวมทั้งการเผยแพร่บทความ “รู้ทันราชวงศ์จักรี” อันมีเนื้อหาดูหมิ่นสถาบัน เป็นต้น
4. การไม่รักษาผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของราชอาณาจักรไทย กรณีปราสาทเขาพระวิหาร โดยรัฐบาลนายสมัครได้ออกมติคณะรัฐมนตรี ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ออกแถลงการณ์ร่วมกับฝ่ายกัมพูชา ทำให้ประเทศชาติเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน อำนาจอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติอย่างร้ายแรง ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการดำเนินการที่เอื้อประโยชน์แก่การลงทุนในประเทศกัมพูชาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
5. การเร่งรัด รวบรัด อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบผูกพันในโครงการขนาดใหญ่ ที่ใช้เงินลงทุนมหาศาล โดยไม่คุ้มกับผลประโยชน์ของชาติ หรือสุ่มเสี่ยงจะเกิดความเสียหายต่อส่วนรวมในอนาคต เช่น โครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี มูลค่าเกือบแสนล้านบาท, โครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท, โครงการขุดท่อส่งน้ำจากแม่น้ำโขง มูลค่ากว่าแสนล้านบาท, การอนุมัติให้บริษัทผู้ได้รับสัมปทานทางด่วน บีอีซีแอลฯ (ที่มีนายวีระพงษ์ รามางกูร เป็นประธานฯ) ได้ผลประโยชน์มูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท ฯลฯ เป็นต้น
6. การแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม มีประวัติด่างพร้อย มีคดีติดตัว และเป็นคนของระบอบทักษิณ เข้าไปยึดอำนาจในคณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีบทบาทกำกับดูแลสถาบันการเงิน และในคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เป็นที่ครหา กระทบต่อความน่าเชื่อถือและธรรมมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศ
ทั้งหมดนี้ คือตัวอย่าง“อาการของโรค” ที่เกิดขึ้นในการบริหารราชการแผ่นดิน
สมมติฐานของโรค คือ “ระบอบทักษิณ” ยังคงมีเชื้อร้าย ถ่ายทอด ฟักตัวอยู่ในระบบกลไกอำนาจรัฐ ผ่านพรรคไทยรักไทย สู่พรรคพลังประชาชน (กกต.มีมติว่าพรรคพลังประชาชนมีพฤติกรรมเป็นนอมินีของพรรคไทยรักไทย) ผ่านนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิด (นายสมัครออกปากว่าตนจะเป็นนอมินีให้ พ.ต.ท.ทักษิณ) โดยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน (บางส่วน) ยังคงชักใยหรือมีบทบาททางการเมืองผ่านตัวแทนของตนอยู่
การที่ประชาชนออกมาชุมนุม กดดัน เรียกร้องให้มีการดำเนินการในบางเรื่องบางปัญหา แม้จะช่วยเยียวยาแก้ไขอาการความเสียหายได้บางส่วน แต่สมมติฐานและเชื้อโรคที่แท้จริงในระบบร่างกายยังคงอยู่ และยังคงแสดงอาการออกมาอีกหลายทาง หลายรูปแบบปัญหา
แม้กระทั่งนายสมัครออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว เชื่อโรคร้ายก็ยังอยู่ ปัญหาก็ยังคงอยู่ ยังแสดงอาการออกมาอีกหลายทาง เช่น แต่งตั้งน้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเป็นนายกฯ, แต่งตั้งคนที่มีปัญหาเข้ามาเป็นรัฐมนตรี, ยังคงจะให้มีการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือพรรคพวกตนเองต่อไป
เพราะฉะนั้น ทางเดียวที่จะรักษา แก้ไขปัญหาโรคร้ายของบ้านเมืองได้ จะต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ ขจัด “ระบอบทักษิณ”
ในเฉพาะหน้า ข้อพึงกระทำ คือ
(1) จะต้องไม่แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้พรรคพวกของตนไม่ต้องรับผิด
(2) พรรคไทยรักไทย หรือพลังประชาชน จะต้องไม่เข้าไปยึดครองอำนาจในรัฐบาล
นี่เป็นเพียงขั้นตอนป้องกัน ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อมิให้ระบบร่างกายได้รับเชื้อร้ายเพิ่มขึ้น มิฉะนั้น อาจจะกลายพันธุ์ หรือแพร่ขยาย ลุกลามต่อไป กัดกินทำลายระบบภายในจนเกินเยียวยาให้หายขาด
ถาม : เอ๊ะ! ชักจะลืมไปแล้ว ที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” คืออะไร ? มีหน้าตาเป็นอย่างไร ?
ตอบ : ระบอบทักษิณ คือ กระบวนการยึดครองอำนาจรัฐ และใช้อำนาจรัฐไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แก่พวกพ้อง พร้อมๆ กับการรักษาอำนาจและเพิ่มพูนอำนาจของตนให้มากขึ้น จนเสมือนหนึ่งระบบเผด็จการ แม้ภายนอกจะดูเหมือนเป็นประชาธิปไตย แต่ในเนื้อแท้ ผู้นำฝ่ายบริหารกลับมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยไม่ถูกตรวจสอบ ตามหลักการดุลและคานอำนาจอย่างแท้จริง
รูปธรรม ที่เห็นชัดๆ จากบทเรียนระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยึดครองอำนาจอยู่ เช่น
(1) การผูกขาดอำนาจรัฐสภา โดยการซื้อ ควบรวม ยุบรวมพรรคการเมืองขนาดกลาและขนาดเล็กเข้ามาอยู่ในพรรคไทยรักไทย ภายหลังการเลือกตั้ง จึงเป็นการบิดเบือนผลการลงคะแนนเลือกตั้งของประชาชน แทบไม่ต่างจากการไปซื้อตัวผู้แทนประชาชนเข้ามาเป็นลูกจ้างของตนเองแต่ผู้เดียว
(2) การแทรกแซงครอบงำองค์กรอิสระ ผ่านกรรมการสรรหา ผ่านวุฒิสภา เอาคนของตนเข้าไปมีอำนาจในองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น กกต. ป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ฯลฯ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มิหนำซ้ำ ยังเป็นการทำลายเนื้อหาสาระที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ 2540 จนกระทั่ง อดีต สสร. 40 ได้ออกมาเขียนหนังสือวิพากษ์วิจารณ์ว่า “รัฐธรรมนูญตายแล้ว” หมายความว่า ในความเป็นจริง ระบอบทักษิณได้ทำลายรัฐธรรมนูญ 2540 ลงไปเสียสิ้นแล้ว
(3) การยึดอำนาจการบริหารราชการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้ข้าราชการอ่อนแอ แบ่งแยกและยึดครอง ใช้ระบบพวกพ้อง เส้นสาย มากกว่าระบบคุณธรรม ใช้ตำแหน่งและผลประโยชน์เป็นเครื่องมือในการซื้อตัวซื้อใจข้าราชการที่ต้องการมีอำนาจ สร้างระบบผู้ว่าฯ ซีอีโอ รวมศูนย์อำนาจขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
(4) การใช้นโยบายแบบประชานิยม ที่ใช้กลอุบายทางการตลาด สร้างสีสัน มุ่งหาเสียง สร้างคะแนนนิยม มากกว่าจะสร้างผลประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชน เช่น การแจกเงินกู้หมู่บ้านละล้านโดยไม่มีการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน, การแจกหนี้เงินกู้ธนาคารประชาชนโดยไม่มีการส่งเสริมพัฒนาการบริหารกิจการและการลงทุน, การออกหวย 2 ตัว 3 ตัว ทำลายคุณธรรมของคนในชาติ เพื่อมอมเมาประชาชนด้วยค่านิยมการพนัน, การออกข่าว ประสัมพันธ์ สร้างภาพว่าจะแก้ปัญหาความยากจนให้หมดไป ถ่ายทอดออกโทรทัศน์ เป็นข่าวเอิกเกริก แต่ในภายหลัง ผลกลับปรากฏว่า คนยากจนทั่วประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบากกว่าเดิม เป็นต้น
(5) การออกกฎหมายและมาตรการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง หรือการทุจริตเชิงนโยบาย เช่น ออก พ.ร.ก.เพื่อแปลงค่าสัมปทานโทรคมนาคมมาเป็นภาษีสรรพสามิต ช่วยให้บริษัทโทรคมนาคมของตนไม่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม, แก้สัมปทานโทรศัพท์มือถือ ลดค่าสัมปทานให้เอกชน ช่วยให้บริษัทเอไอเอสได้ผลประโยชน์หลายหมื่นล้านบาท, แก้กฎหมายเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติในกิจการโทรคมนาคม ช่วยให้ตนและครอบครัวสามารถขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้ต่างชาติได้ 73,000 ล้านบาท, อนุมัติเงินกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ (เอ็กซิมแบงก์) โดยทุจริต เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินฯ, ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่กิจการดาวเทียมไอพีสตาร์ มูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท ฯลฯ
(6) การใช้ความรุนแรงนอกกฎหมายในการปราบปรามยาเสพติด การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น นโยบายสงครามยาเสพติดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้มีคนถูกฆ่าตาย มากกว่า 2,500 คน โดยที่คณะกรรมการตรวจสอบอิสระฯ (คตน.) ที่มี ศ.ดร.คณิต ณ นคร เป็นประธานฯ ชี้ชัดว่า เป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เข้าลักษณะความผิดทางอาญา ต้องนำตัวไปขึ้นศาลโลก และดำเนินคดีอาญากับตัวผู้กำหนดหรือสั่งการนโยบาย ฯลฯ
(7) การแทรกแซง ครอบงำ คุกคาม และบิดเบือนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เช่น การใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือทางการเมืองของตน ทั้งโทรทัศน์และวิทยุ บิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ออกข่าวเพื่อสร้างภาพให้รัฐบาล บิดเบือนประเด็นตรวจสอบรัฐบาล รวมไปถึงการกำหนดประเด็นข่าวที่หวือหวา เปิดประเด็นใหม่เพื่อกลบเกลื่อนประเด็นปัญหาที่แท้จริง การใช้งบประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนรัฐวิสาหกิจ เป็นเครื่องมือจูงใจให้สื่อเข้าเป็นพวก การใช้งบประชาสัมพันธ์หรืองบสปอนเซอร์ของบริษัทเอกชนในเครือรัฐบาลเป็นเครื่องมือข่มขู่และกดดันการทำงานของสื่อมวลชน การปิดปากคนที่ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายรัฐบาล ปิดรายการ ห้ามมิให้เชิญมาออกรายการ ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ ก็คือ “ลักษณะของระบอบทักษิณ”
ในเมื่อรักษาไม่หายขาด ไม่ขจัดเชื้อระบอบทักษิณให้เด็ดขาด ถึงเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ เชื้อร้ายก็สำแดงอาการออกมาใหม่ ผ่านรูปแบบอาการต่างๆ ดังที่ปรากฏอาการผิดปกติในช่วงรัฐบาลนายสมัคร นั่นเอง
สัปดาห์หน้า... มาติดตามต่อว่า ทำไมประชาชนต้องออกมาสู้โดยสันติวิธี ? แล้วทำไมต้องแข็งกร้าวขึ้นเรื่อยๆ ? และสุดท้าย ทางออกจากวิกฤติคืออะไร ?
การเมืองใหม่ ควรจะมีหน้าตาอย่างไร ?