xs
xsm
sm
md
lg

ดึงเอทานอลให้ธพ.คุมป้องกันขาดแคลน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน- พลังงานเล็งดึงเอทานอลให้ธพ.ดูแล หวังให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เหตุธพ.ดูแลกำกับผู้ค้าน้ำมันอยู่แล้ว หลังปัจจุบันพบช่องโหว่การทำงานไม่สอดรับกันเหตุแยกกันดูแลระหว่างพพ.และธพ. พร้อมชง 3 มาตรการดูแลปัญหาเอทานอลขาดแคลนเสนอรมว.พลังงานคนใหม่
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ กระทรวงพลังงานจะมีการเสนอน.พ.วรรณรัตน์
ชาญนุกูล รมว.พลังงานในการมอบอำนาจให้กรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เข้ามาดูแลนโยบายและแนวทางการส่งเสริมเอทานอลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเนื่องจากธพ.เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้าน้ำมันมาตรา 7 โดยตรงอยู่แล้วพร้อมกับที่จะเสนอหลักการเกี่ยวกับมาตราการแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนเอทานอล
“ปัจจุบันการส่งเสริมและพัฒนาพลังงานทดแทนโดยเฉพาะเอทานอลเป็นหน้าที่ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) แต่ผู้ค้าน้ำมันกลับเป็นธพ.ดูแลจึงทำให้การทำงานไม่ได้ดูตลอดสายหลายครั้งจึงทำให้การแก้ไขปัญหาไม่ทันท่วงที”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ หลักการในการดูแลการขาดแคลนเอทานอลสำคัญจะประกอบด้วย 1. การแก้ไขปัญหาภาวะการขาดแคลนหรือการผลิตเกินของเอทานอลด้วยการใช้กลไกราคา ที่จะต้องมาดูโครงสร้างราคาให้ผู้ผลิตเอทานอลสามารถอยู่ได้ 2. การเก็บสต็อก ซึ่งภาครัฐจะมีมาตรการสนับสนุนเช่น ดอกเบี้ยเช่นเดียวกับการส่งเสริมพลังงานทดแทนอื่นๆ เพื่อให้เกิดการสต็อกเอทานอลเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาและป้องกันการขาดแคลน 3. มาตรการดูแลและป้องกันภาวะการขาดแคลนขนาดใหญ่ เช่น กรณีเกิดพิบัติภัยกับโรงงาน การเกิดภาวะน้ำท่วม หรือภัยแล้งที่จะมีผลต่อปริมาณเอทานอลที่หยุดชะงักทันที ซึ่งจะต้องใช้วิธีการนำเข้าจากต่างประเทศ
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับปัญหาเอทานอลปัจจุบันยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากการขาดแคลน แต่ปริมาณอาจมีการตึงตัวโดยเชลล์จะขาดแคลนจริง เพราะไม่บริหารความเสี่ยงเนื่องจากจัดซื้อจากโรงงานแห่งเดียวและโรงงานเอทานอลบางแห่งมีการกักตุนไม่ยอมนำเอทานอลขายเพราะต้องการรอราคาใหม่ที่จะปรับขึ้นเป็น 24 บาทต่อลิตรจึงทำให้เชลล์ขาดอยู่รายเดียวส่วนรายอื่นๆ มีสต็อกและบริหารความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาไว้ล่วงหน้า
“เพื่อให้แน่ใจว่าเอทานอลจะไม่ขาดขณะนี้ได้มีการขอทราบตัวเลขเอทานอลที่ต้องการเพื่อประสานไปยังโรงงานผลิตขายให้เพิ่มเพราะโรงงานบางแห่งที่ผลิตอยู่ยังใช้กำลังผลิตไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งยอมรับว่าเอทานอลค่อนข้างเสี่ยงต่างจากน้ำมันที่เปิดเสรีการนำเข้ามาได้แต่กรณีเอทานอลมีการอุ้มจากภาครัฐอย่างมากด้วยการกำหนดว่าใครนำเข้ามาจะต้องจ่ายภาษีต่างๆ รวมไม่ต่ำกว่าลิตรละ 9 บาทจึงทำให้การนำเข้าไม่ง่ายนักต้องขออนุมัติเป็นพิเศษซึ่งก็คือต้องให้รัฐโดยปตท.นำเข้าเท่านั้น ซึ่งจุดนี้คงต้องมาดูว่าหลายครั้งเมื่อส่งออกไปหมดทั้งที่รัฐดูแลก็ควรจะต้องดูแลผู้บริโภคในประเทศก่อน”แหล่งข่าวกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น