รอยเตอร์ - เยอรมนีตำหนิสหรัฐฯวานนี้(25) ว่าเป็นตัวการทำให้เกิดวิกฤตทางการเงินทั่วโลกในปัจจุบัน จากการมุ่งแสวงหาผลกำไรที่สูงขึ้นๆ อย่างหลับหูหลับตา พร้อมกับบอกด้วยว่า วอชิงตันเวลานี้สูญเสียฐานะความเป็นอภิมหาอำนาจทางการเงินไปแล้ว และจะต้องยอมรับนำเอากฎระเบียบกำกับตรวจสอบตลาดมาใช้กันเพิ่มขึ้นให้มากๆ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเยอรมัน เปเออร์ สไตน์บรืค ซึ่งกล่าวแถลงต่อรัฐสภาวานนี้ ด้วยการใช้ภาษาถ้อยคำที่แข็งกร้าวที่สุดนับแต่ที่วิกฤตเพิ่มความเลวร้ายขึ้นมากในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ระบุว่าความปั่นป่วนผันผวนทางการเงินคราวนี้ จะต้องทิ้ง "เครื่องหมายอันล้ำลึก"เอาไว้ ทว่าโดยพื้นฐานแล้วเรื่องนี้เป็นปัญหาของทางอเมริกัน
"โลกจะไม่มีทางเหมือนกับที่มันเคยเป็นก่อนช่วงเกิดวิกฤตอีกแล้ว" สไตน์บรืค ซึ่งเป็นรองหัวหน้าพรรคโซเชียล เดโมแครต อันเป็นพรรคการเมืองแนวทางกลางซ้าย บอกกับสภาล่างของรัฐสภา
"สหรัฐฯจะสูญเสียฐานะความเป็นอภิมหาอำนาจของตนในระบบการเงินโลก ระบบการเงินโลกจะเปลี่ยนไปสู่ระบบที่มีหลายขั้วมากขึ้น"
สไตน์บรืค ซึ่งเคยพยายามที่จะดำเนินการจัดระเบียบพวกกองทุนเฮดจ์ฟันด์ให้มีความโปร่งใสเพิ่มขึ้น ระหว่างที่เยอรมนีดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) เมื่อปีที่แล้ว ทว่ากลับต้องล้มเหลวลงไม่เป็นท่าจากการคัดค้านของสหรัฐฯและอังกฤษ มาเมื่อวานนี้เขาได้กล่าวโจมตีสิ่งที่เขาเรียกว่า "แรงขับดันแบบแองโกล-แซกซอน" ที่มุ่งแต่จะหากำไรระดับตัวเลขสองหลัก และมุ่งแต่จะทำให้พวกนายแบงก์และผู้บริหารบริษัทต่างๆ ได้เงินโบนัสก้อนมหึมา
"พวกวาณิชธนกรและนักการเมืองในนิวยอร์ก, วอชิงตัน, และลอนดอน ไม่ได้มีเจตจำนงที่จะยอมเลิกสิ่งเหล่านี้เลย" เขากล่าว
รัฐมนตรีคลังแดนดอยช์ยังได้เสนอมาตรการรวม 8 ประการเพื่อใช้รับมือกับวิกฤตคราวนี้ อาทิ การออกกฎระเบียบระหว่างประเทศที่ห้ามการทำชอร์ตเซลชนิดทีเป็นไป "เพื่อการเก็งกำไรถ่ายเดียว" , การกำหนดให้บรรดาธนาคารต้องเพิ่มเงินทุน เพื่อชดเชยกับความเสี่ยงในเรื่องสินเชื่อ
สไตน์บรืคแสดงความยินดีต้อนรับความพยายามต่างๆ ของสหรัฐฯ อาทิ โครงการใช้เงิน 700,000 ล้านดอลลาร์เพื่อดูดซับหนี้เสียของบรรดาสถาบันการเงิน แต่เขาก็กล่าวด้วยว่า ไม่มีความจำเป็นและก็ไม่เป็นการฉลาดด้วยที่เยอรมนีจะต้องลอกเลียนแผนการเช่นนี้ของสหรัฐฯ เพราะแม้สถาบันการเงินเยอรมันกำลังประสบปัญหาอยู่เช่นกัน แต่ก็ไม่ได้เผชิญอันตรายในระดับเดียวกับที่พวกสถาบันการเงินอเมริกันประสบอยู่
ขุนคลังเยอรมันชี้ว่า บาฟิน ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับตรวจสอบภาคธนาคารเชื่อว่า บรรดาแบงก์เยอรมันสามารถรับมือกับความเสียหายที่เกิดขึ้นมา และสามารถรับประกันเงินออมของภาคเอกชนได้แน่นอน
เขาเรียกวิกฤตที่เกิดขึ้นคราวนี้ว่าโดยพื้นฐานแล้วคือปัญหาของฝ่ายอเมริกัน "วิกฤตทางการเงินคราวนี้เหนืออื่นใดเลยคือปัญหาของฝ่ายอเมริกัน รัฐมนตรีคลังจี7 คนอื่นๆ ในภาคพื้นยุโรปต่างก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นเช่นนี้" เขาบอก
"ระบบนี้ ซึ่งมีการปล่อยปละค่อนข้างมาก โดยไม่ได้มีระเบียบกฎเกณฑ์ดูแลให้เพียงพอ เวลานี้กำลังพังทลายลง ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องอย่างยาวไกลต่อตลาดการเงินสหรัฐฯ และผลส่งกระทบลุกลามอย่างมหาศาลต่อส่วนอื่นๆ ของโลกด้วย" สไตน์บรืคกล่าวต่อ
เขาเรียกร้องให้มีการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ที่เข้มแข็งขึ้น และมีการร่วมมือประสานกันไปในระดับระหว่างประเทศ โดยบอกว่าจากวิกฤตคราวนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การปฏิบัติการแค่ในระดับชาตินั้นยังไม่เพียงพอรับมือกับปัญหา
"กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ควรต้องกลายเป็นหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องการควบคุม สำหรับการนำเอามาตรฐานตลาดการเงินระดับโลกมาประยุกต์ใช้" เขากล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเยอรมัน เปเออร์ สไตน์บรืค ซึ่งกล่าวแถลงต่อรัฐสภาวานนี้ ด้วยการใช้ภาษาถ้อยคำที่แข็งกร้าวที่สุดนับแต่ที่วิกฤตเพิ่มความเลวร้ายขึ้นมากในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ระบุว่าความปั่นป่วนผันผวนทางการเงินคราวนี้ จะต้องทิ้ง "เครื่องหมายอันล้ำลึก"เอาไว้ ทว่าโดยพื้นฐานแล้วเรื่องนี้เป็นปัญหาของทางอเมริกัน
"โลกจะไม่มีทางเหมือนกับที่มันเคยเป็นก่อนช่วงเกิดวิกฤตอีกแล้ว" สไตน์บรืค ซึ่งเป็นรองหัวหน้าพรรคโซเชียล เดโมแครต อันเป็นพรรคการเมืองแนวทางกลางซ้าย บอกกับสภาล่างของรัฐสภา
"สหรัฐฯจะสูญเสียฐานะความเป็นอภิมหาอำนาจของตนในระบบการเงินโลก ระบบการเงินโลกจะเปลี่ยนไปสู่ระบบที่มีหลายขั้วมากขึ้น"
สไตน์บรืค ซึ่งเคยพยายามที่จะดำเนินการจัดระเบียบพวกกองทุนเฮดจ์ฟันด์ให้มีความโปร่งใสเพิ่มขึ้น ระหว่างที่เยอรมนีดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) เมื่อปีที่แล้ว ทว่ากลับต้องล้มเหลวลงไม่เป็นท่าจากการคัดค้านของสหรัฐฯและอังกฤษ มาเมื่อวานนี้เขาได้กล่าวโจมตีสิ่งที่เขาเรียกว่า "แรงขับดันแบบแองโกล-แซกซอน" ที่มุ่งแต่จะหากำไรระดับตัวเลขสองหลัก และมุ่งแต่จะทำให้พวกนายแบงก์และผู้บริหารบริษัทต่างๆ ได้เงินโบนัสก้อนมหึมา
"พวกวาณิชธนกรและนักการเมืองในนิวยอร์ก, วอชิงตัน, และลอนดอน ไม่ได้มีเจตจำนงที่จะยอมเลิกสิ่งเหล่านี้เลย" เขากล่าว
รัฐมนตรีคลังแดนดอยช์ยังได้เสนอมาตรการรวม 8 ประการเพื่อใช้รับมือกับวิกฤตคราวนี้ อาทิ การออกกฎระเบียบระหว่างประเทศที่ห้ามการทำชอร์ตเซลชนิดทีเป็นไป "เพื่อการเก็งกำไรถ่ายเดียว" , การกำหนดให้บรรดาธนาคารต้องเพิ่มเงินทุน เพื่อชดเชยกับความเสี่ยงในเรื่องสินเชื่อ
สไตน์บรืคแสดงความยินดีต้อนรับความพยายามต่างๆ ของสหรัฐฯ อาทิ โครงการใช้เงิน 700,000 ล้านดอลลาร์เพื่อดูดซับหนี้เสียของบรรดาสถาบันการเงิน แต่เขาก็กล่าวด้วยว่า ไม่มีความจำเป็นและก็ไม่เป็นการฉลาดด้วยที่เยอรมนีจะต้องลอกเลียนแผนการเช่นนี้ของสหรัฐฯ เพราะแม้สถาบันการเงินเยอรมันกำลังประสบปัญหาอยู่เช่นกัน แต่ก็ไม่ได้เผชิญอันตรายในระดับเดียวกับที่พวกสถาบันการเงินอเมริกันประสบอยู่
ขุนคลังเยอรมันชี้ว่า บาฟิน ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับตรวจสอบภาคธนาคารเชื่อว่า บรรดาแบงก์เยอรมันสามารถรับมือกับความเสียหายที่เกิดขึ้นมา และสามารถรับประกันเงินออมของภาคเอกชนได้แน่นอน
เขาเรียกวิกฤตที่เกิดขึ้นคราวนี้ว่าโดยพื้นฐานแล้วคือปัญหาของฝ่ายอเมริกัน "วิกฤตทางการเงินคราวนี้เหนืออื่นใดเลยคือปัญหาของฝ่ายอเมริกัน รัฐมนตรีคลังจี7 คนอื่นๆ ในภาคพื้นยุโรปต่างก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นเช่นนี้" เขาบอก
"ระบบนี้ ซึ่งมีการปล่อยปละค่อนข้างมาก โดยไม่ได้มีระเบียบกฎเกณฑ์ดูแลให้เพียงพอ เวลานี้กำลังพังทลายลง ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องอย่างยาวไกลต่อตลาดการเงินสหรัฐฯ และผลส่งกระทบลุกลามอย่างมหาศาลต่อส่วนอื่นๆ ของโลกด้วย" สไตน์บรืคกล่าวต่อ
เขาเรียกร้องให้มีการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ที่เข้มแข็งขึ้น และมีการร่วมมือประสานกันไปในระดับระหว่างประเทศ โดยบอกว่าจากวิกฤตคราวนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การปฏิบัติการแค่ในระดับชาตินั้นยังไม่เพียงพอรับมือกับปัญหา
"กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ควรต้องกลายเป็นหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องการควบคุม สำหรับการนำเอามาตรฐานตลาดการเงินระดับโลกมาประยุกต์ใช้" เขากล่าว