ความจริงแล้วการเมืองไทยนั้นเดินเข้าถึงมุมอับและถึง “ทางตัน” มานานแล้ว แต่เราคิดไม่ออกว่าจะหาทางปลดล็อกออกจากระบบเก่าๆ ได้อย่างไรดี
ปล่อยให้คิดกันง่ายๆ ว่า การเลือกตั้งไปใช้สิทธิลงคะแนน 4 ปี ครั้ง ให้มีพรรคการเมืองได้หลายพรรค ฯลฯ เท่ากับได้ประชาธิปไตยแล้ว
แม้แต่นักวิชาการซึ่งอุตส่าห์ไปเรียนมาจากเมืองนอกก็เชื่ออย่างนี้
พอคุณสนธิประกาศ “การเมืองใหม่” โดยยกตัวอย่าง 70:30 ให้เลือกผู้แทน 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการสมมติ
เท่านั้นเอง
มิใช่พวก ส.ส.จากการเมืองเก่าที่พากันคัดค้าน นักวิชาการเองก็ค้านเหมือน ส.ส.น้ำเน่าด้วย
บิ๊กจิ๋วเห็นด้วยกับการเมืองใหม่เสนอว่า 50:50 น่าจะเหมาะ
แต่ผมว่าสัดส่วนไม่สำคัญเท่ากับวิธีการคัดเลือก และขั้นตอนในการได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชน
ผมมาคิดดูว่าขั้นตอนนั้นควรจะให้ประชาชนระดับรากหญ้าเลือกโดยตรงตามสิทธิเป็นขั้นแรก หลังจากนั้นก็รวมพวกที่ได้รับเลือกทั้งประเทศ สมมติว่า 50 เปอร์เซ็นต์มาไว้กลุ่มหนึ่ง
ขณะที่กลุ่มอาชีพต่างๆ ก็เลือกกันมา ได้อีกกลุ่มหนึ่ง
ครับ... ยังมีกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่อาจจะอยู่ในกลุ่ม 1 หรือ 2 แล้ว แต่ได้รับการคัดสรรพิเศษจากคณะกรรมการการเลือกตั้งที่รัฐตั้งขึ้น
กลุ่ม 3 นี้ จะเลือกคนในกลุ่มแรกไว้เพียงครึ่งเดียว และคนในกลุ่มอาชีพอีกครึ่งหนึ่งเท่านั้น
ดังนั้น คนที่เป็นตัวแทนประชาชนจริงก็จะมีแค่ครึ่งสภาเท่านั้น
ส่วนที่เหลือยังอยู่ในฐานะสำรอง ส.ส. ทำหน้าที่เลขานุการหรือผู้ช่วย, นักวิจัย ฯลฯ ได้ โดยมีฐานะหน้าที่ในสภา รวมทั้งสามารถทำหน้าที่แทน ส.ส.ที่ตนเองช่วยงานอยู่ก็ได้ (เช่นโหวต) ยกเว้นเสนอกฎหมาย, แก้กฎหมาย หรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวพันกับการปรับปรุงกฎหมายใดๆ ด้วย
ส.ส.ที่เป็นตัวแทนทำหน้าที่ 1 ปี หลังจากนั้นพวกที่เหลือจะผลัดเป็น ส.ส.บ้าง 1 ปี
ส่วน ส.ส.สาขาอาชีพจะเป็นตลอดไป 3 ปี โดยมีสำรองคอยช่วย 3 ปี
ส.ส.จากจังหวัดต่างๆ มีอายุ 2 ปี ก็จะกลับไปเลือกตั้ง โดยมีเทอม 2 ปี ซึ่งไม่คุ้ม หากคิดจะลงทุนซื้อเสียง
ส่วนถ้าพบว่ามีการทุจริตซื้อเสียงหรือทุจริตอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะหมดสิทธิไปตลอดชีวิต
ส.ส.กลุ่มอาชีพมีอายุ 3 ปี ก็จะเลือกกันใหม่ และกลุ่มวิชาชีพก็จะต้องมีการคัดสรรให้รอบคอบด้วย
หากภายใน 5 ปี การเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดควบคุมการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะให้สภาได้พิจารณาเพิ่มโควตา ส.ส.จังหวัดได้ปีละ 10 คนขึ้นไป โดยเพิ่มได้แบบปีเว้นปี จนไม่เกิน 60/40 คือ 60 มาจากจังหวัด
แต่กลุ่ม 40 ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาชีพนั้น จะพัฒนาการไปสู่การเป็นวุฒิสภาต่อไป (ขณะนี้มีสภาเดียว)
เมื่อมี 2 สภาแล้ว สภาล่างก็จะเป็นสภาผู้แทนและจะปรับมามีอายุ 3 ปี (เลือก 3 ปีต่อครั้งเหมือนบางประเทศ) ส่วนวุฒิสภาก็จะปรับเป็น 3 ปีเท่านั้น
ครับ... นี่คือวิธีตามแบบของผมครับ
วิธีการนี้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป รัฐเองก็จะมีบทบาท และแม้ว่าจะเลือกตั้ง 3 ปีครั้ง แต่ก็จะช่วยให้การถ่ายเวียนเลือดใหม่เร็วขึ้น
แน่นอนว่าความคิดนี้จะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
ที่สำคัญคือมันได้เปลี่ยนวิธีคิด 2-3 อย่างครับ
อย่างแรกนั้น คือเปลี่ยนความคิดว่า เมื่อเลือกจากประชาชนมาโดยตรงแล้ว คุณคือ ส.ส.เลยไม่ใช่ แต่ต้องถูกกรองอีกรอบหนึ่ง แม้คุณไม่ผ่านก็ใช่ว่าจะสอบตก คุณยังมีโอกาสโดยรอไป 1 ปี ระหว่างรอคุณฝึกงานเป็นผู้ช่วย ส.ส. เป็นนักวิจัยเรียนรู้ไปก่อน รวมทั้งทำหน้าที่ ส.ส. หาก ส.ส.ที่คุณช่วยงานไม่อยู่ไปต่างประเทศ, ป่วยไข้ ฯลฯ
อย่างที่สองการเลือกตั้งนั้นไม่คุ้มเงินทุ่มซื้อเสียงเพราะอายุสั้น ต้องเลือกในระยะแรกๆ ทุก 2 ปี แถมหากถูกจับได้ก็จะหมดสิทธิไปตลอดชีวิตอีกด้วย
อย่างที่สามโอกาสที่ ส.ส.จะเป็นผู้แทนเต็มสภาก็เมื่อมี 2 สภา โดยวุฒิสภามาจากสภาวิชาชีพ
อย่างที่สี่การเลือกตั้ง จะมีทุก 3 ปี ต่อครั้งเป็นการหมุนเวียนถ่ายเลือดใหม่ในสภาให้ดีขึ้น
การเมืองใหม่เกิดขึ้นไม่ได้หรอกครับ หากไม่เกิดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และคิดไม่ได้หรอกครับ ถ้าไม่มีระบอบเน่าเฟะของทักษิณที่พยายามกินรวบประเทศไทยโดยกินกัดโกงแบบเบ็ดเสร็จ
เมื่อไม่สำเร็จก็ดิ้นรนตั้งนอมินีขึ้นอีก 2 รัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนอมินีหนึ่งของหมักปากสุนัข และนอมินีสอง สมชาย วงศ์สวัสดิ์
คำตอบของการเมืองใหม่ เวลานี้ยังไม่ได้มีสูตรสำเร็จ มีเพียงการขอให้ส่งแนวคิดมายังพันธมิตรฯ โดยหวังว่าหลายความคิดจะทำให้โมเดลดีขึ้น
และได้เป็นการเมืองใหม่ที่สมบูรณ์ขึ้น
เป็นต้นฉบับของประชาชนจริงๆ
ปล่อยให้คิดกันง่ายๆ ว่า การเลือกตั้งไปใช้สิทธิลงคะแนน 4 ปี ครั้ง ให้มีพรรคการเมืองได้หลายพรรค ฯลฯ เท่ากับได้ประชาธิปไตยแล้ว
แม้แต่นักวิชาการซึ่งอุตส่าห์ไปเรียนมาจากเมืองนอกก็เชื่ออย่างนี้
พอคุณสนธิประกาศ “การเมืองใหม่” โดยยกตัวอย่าง 70:30 ให้เลือกผู้แทน 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการสมมติ
เท่านั้นเอง
มิใช่พวก ส.ส.จากการเมืองเก่าที่พากันคัดค้าน นักวิชาการเองก็ค้านเหมือน ส.ส.น้ำเน่าด้วย
บิ๊กจิ๋วเห็นด้วยกับการเมืองใหม่เสนอว่า 50:50 น่าจะเหมาะ
แต่ผมว่าสัดส่วนไม่สำคัญเท่ากับวิธีการคัดเลือก และขั้นตอนในการได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชน
ผมมาคิดดูว่าขั้นตอนนั้นควรจะให้ประชาชนระดับรากหญ้าเลือกโดยตรงตามสิทธิเป็นขั้นแรก หลังจากนั้นก็รวมพวกที่ได้รับเลือกทั้งประเทศ สมมติว่า 50 เปอร์เซ็นต์มาไว้กลุ่มหนึ่ง
ขณะที่กลุ่มอาชีพต่างๆ ก็เลือกกันมา ได้อีกกลุ่มหนึ่ง
ครับ... ยังมีกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่อาจจะอยู่ในกลุ่ม 1 หรือ 2 แล้ว แต่ได้รับการคัดสรรพิเศษจากคณะกรรมการการเลือกตั้งที่รัฐตั้งขึ้น
กลุ่ม 3 นี้ จะเลือกคนในกลุ่มแรกไว้เพียงครึ่งเดียว และคนในกลุ่มอาชีพอีกครึ่งหนึ่งเท่านั้น
ดังนั้น คนที่เป็นตัวแทนประชาชนจริงก็จะมีแค่ครึ่งสภาเท่านั้น
ส่วนที่เหลือยังอยู่ในฐานะสำรอง ส.ส. ทำหน้าที่เลขานุการหรือผู้ช่วย, นักวิจัย ฯลฯ ได้ โดยมีฐานะหน้าที่ในสภา รวมทั้งสามารถทำหน้าที่แทน ส.ส.ที่ตนเองช่วยงานอยู่ก็ได้ (เช่นโหวต) ยกเว้นเสนอกฎหมาย, แก้กฎหมาย หรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวพันกับการปรับปรุงกฎหมายใดๆ ด้วย
ส.ส.ที่เป็นตัวแทนทำหน้าที่ 1 ปี หลังจากนั้นพวกที่เหลือจะผลัดเป็น ส.ส.บ้าง 1 ปี
ส่วน ส.ส.สาขาอาชีพจะเป็นตลอดไป 3 ปี โดยมีสำรองคอยช่วย 3 ปี
ส.ส.จากจังหวัดต่างๆ มีอายุ 2 ปี ก็จะกลับไปเลือกตั้ง โดยมีเทอม 2 ปี ซึ่งไม่คุ้ม หากคิดจะลงทุนซื้อเสียง
ส่วนถ้าพบว่ามีการทุจริตซื้อเสียงหรือทุจริตอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะหมดสิทธิไปตลอดชีวิต
ส.ส.กลุ่มอาชีพมีอายุ 3 ปี ก็จะเลือกกันใหม่ และกลุ่มวิชาชีพก็จะต้องมีการคัดสรรให้รอบคอบด้วย
หากภายใน 5 ปี การเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดควบคุมการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะให้สภาได้พิจารณาเพิ่มโควตา ส.ส.จังหวัดได้ปีละ 10 คนขึ้นไป โดยเพิ่มได้แบบปีเว้นปี จนไม่เกิน 60/40 คือ 60 มาจากจังหวัด
แต่กลุ่ม 40 ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาชีพนั้น จะพัฒนาการไปสู่การเป็นวุฒิสภาต่อไป (ขณะนี้มีสภาเดียว)
เมื่อมี 2 สภาแล้ว สภาล่างก็จะเป็นสภาผู้แทนและจะปรับมามีอายุ 3 ปี (เลือก 3 ปีต่อครั้งเหมือนบางประเทศ) ส่วนวุฒิสภาก็จะปรับเป็น 3 ปีเท่านั้น
ครับ... นี่คือวิธีตามแบบของผมครับ
วิธีการนี้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป รัฐเองก็จะมีบทบาท และแม้ว่าจะเลือกตั้ง 3 ปีครั้ง แต่ก็จะช่วยให้การถ่ายเวียนเลือดใหม่เร็วขึ้น
แน่นอนว่าความคิดนี้จะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
ที่สำคัญคือมันได้เปลี่ยนวิธีคิด 2-3 อย่างครับ
อย่างแรกนั้น คือเปลี่ยนความคิดว่า เมื่อเลือกจากประชาชนมาโดยตรงแล้ว คุณคือ ส.ส.เลยไม่ใช่ แต่ต้องถูกกรองอีกรอบหนึ่ง แม้คุณไม่ผ่านก็ใช่ว่าจะสอบตก คุณยังมีโอกาสโดยรอไป 1 ปี ระหว่างรอคุณฝึกงานเป็นผู้ช่วย ส.ส. เป็นนักวิจัยเรียนรู้ไปก่อน รวมทั้งทำหน้าที่ ส.ส. หาก ส.ส.ที่คุณช่วยงานไม่อยู่ไปต่างประเทศ, ป่วยไข้ ฯลฯ
อย่างที่สองการเลือกตั้งนั้นไม่คุ้มเงินทุ่มซื้อเสียงเพราะอายุสั้น ต้องเลือกในระยะแรกๆ ทุก 2 ปี แถมหากถูกจับได้ก็จะหมดสิทธิไปตลอดชีวิตอีกด้วย
อย่างที่สามโอกาสที่ ส.ส.จะเป็นผู้แทนเต็มสภาก็เมื่อมี 2 สภา โดยวุฒิสภามาจากสภาวิชาชีพ
อย่างที่สี่การเลือกตั้ง จะมีทุก 3 ปี ต่อครั้งเป็นการหมุนเวียนถ่ายเลือดใหม่ในสภาให้ดีขึ้น
การเมืองใหม่เกิดขึ้นไม่ได้หรอกครับ หากไม่เกิดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และคิดไม่ได้หรอกครับ ถ้าไม่มีระบอบเน่าเฟะของทักษิณที่พยายามกินรวบประเทศไทยโดยกินกัดโกงแบบเบ็ดเสร็จ
เมื่อไม่สำเร็จก็ดิ้นรนตั้งนอมินีขึ้นอีก 2 รัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนอมินีหนึ่งของหมักปากสุนัข และนอมินีสอง สมชาย วงศ์สวัสดิ์
คำตอบของการเมืองใหม่ เวลานี้ยังไม่ได้มีสูตรสำเร็จ มีเพียงการขอให้ส่งแนวคิดมายังพันธมิตรฯ โดยหวังว่าหลายความคิดจะทำให้โมเดลดีขึ้น
และได้เป็นการเมืองใหม่ที่สมบูรณ์ขึ้น
เป็นต้นฉบับของประชาชนจริงๆ