เอเอฟพี - บรรษัทการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ (Government of Singapore Investment Corp. ใช้ตัวย่อว่า GIC) ซึ่งที่ผ่านมาชอบทำตัวลึกลับ แต่มีบทบาทโด่งดังในช่วงหลังๆ นี้จากการเข้าไปช่วยซื้อหุ้นแบงก์หลายรายที่ฐานะย่ำแย่จากวิกฤตทางการเงินทั่วโลก ได้ออกมาแถลงผลการบริหารจัดการพอร์ตกองทุนของตนประจำปีเป็นครั้งแรกเมื่อวานนี้(23) โดยระบุว่า รอบ 20 ปีที่ผ่านมา สามารถทำผลกำไรตามตัวเลขซึ่งคำนวณเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ในอัตรา 7.8%
จีไอซี นับเป็นกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ (sovereign wealth fund หรือ SWF)ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยใหญ่โตกว่า SWF อีกแห่งหนึ่งของรัฐบาลสิงคโปร์ นั่นคือ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม รายงานความยาว 48 หน้าฉบับนี้ แทบไม่ค่อยได้เปิดเผยรายละเอียดทางการเงินมากไปกว่านี้
"วัตถุประสงค์ในการลงทุนของจีไอซี คือเพื่อบรรลุอัตราผลตอบแทนอันสมเหตุสมผล ซึ่งอยู่เหนืออัตราเงินเฟ้อของโลก โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย" โทนี ตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเวลานี้เป็นรองประธานและกรรมการบริหารของจีไอซี กล่าวต่อที่ประชุมแถลงข่าวเมื่อวาน
ตันบอกว่าทางบริษัทสามารถทำตามวัตถุประสงค์ในการลงทุนของตนในช่วงเวลาที่ผ่านๆ มา ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ทั่วโลกอยู่ในสภาพตื่นตระหนก จากวิกฤตการเงินเอเชียเมื่อสิบปีก่อน หรือ "ความปั่นป่วนด้านสินเชื่อในตลาดระหว่างประเทศที่ยังคงดำเนินอยู่ในขณะนี้"
เขาบอกด้วยว่า อัตราผลตอบแทนของจีไอซี เมื่อคิดตามตัวเลขแท้จริง นั่นคือหักลบเรื่องเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว จะอยู่ในระดับ 4.5% ตลอดระยะ 20 ปีมานี้
ในรายงานที่จีไอซีนำออกเผยแพร่คราวนี้ ระบุว่าทางบริษัทบริหารจัดการการลงทุนรวมเป็นมูลค่ากว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันเป็นตัวเลขเดียวกับที่ได้เคยแถลงเปิดเผยมาก่อนหน้านี้
รายงานแจกแจงว่า ณ วันที่ 31 มีนาคมปีนี้ การลงทุนในพอร์ตของจีไอซี จำนวนมากที่สุดเป็นการลงทุนในทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ โดยที่สหรัฐฯประเทศเดียวทางบริษัทไปลงทุนไว้คิดเป็น 34% ของการลงทุนทั้งหมด ขณะที่ภูมิภาคยุโรปไปลงทุนไว้คิดเป็น 35% ส่วนเอเชียเท่ากับ 23% และออสเตรเลเชีย คิดเป็น 2%
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วซึ่งวิกฤตภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ได้ลุกลามกลายเป็นวิกฤตสินเชื่อทั่วโลก จีไอซีก็ได้ลงทุนในแบงก์และสถาบันการเงินชื่อดัง ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องฐานะเซซวด
โดยในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว จีไอซีประกาศอัดฉีดเงินเพื่อซื้อหุ้นเป็นจำนวน 11,000 ล้านฟรังสวิส (10,200 ล้านดอลลาร์) ใน ยูบีเอส แบงก์ยักษ์ของสวิตเซอร์แลนด์ และเดือนมกราคมก็แถลงข่าวปล่อยเงิน 6,880 ล้านดอลลาร์เข้าไปซื้อหุ้น ซิตี้กรุ๊ป ของสหรัฐฯ
ตันบอกกับผู้สื่อข่าวว่า จีไอซีเชื่อว่าการลงทุนในยูบีเอสและซิตี้กรุ๊ปเช่นนี้ ในที่สุดแล้วจะได้ผลตอบแทนที่ดี
ทางด้าน กิตเว่ยเจิ้ง นักวิเคราะห์ที่ทำงานให้กับซิตี้กรุ๊ป โดยประจำอยู่ในสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า อัตราผลตอบแทนที่จีไอซีทำได้ใน 20 ปีที่ผ่านมา ถือว่าสมเหตุสมผล แต่ก็ไม่หวือหวา
จีไอซี นับเป็นกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ (sovereign wealth fund หรือ SWF)ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยใหญ่โตกว่า SWF อีกแห่งหนึ่งของรัฐบาลสิงคโปร์ นั่นคือ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม รายงานความยาว 48 หน้าฉบับนี้ แทบไม่ค่อยได้เปิดเผยรายละเอียดทางการเงินมากไปกว่านี้
"วัตถุประสงค์ในการลงทุนของจีไอซี คือเพื่อบรรลุอัตราผลตอบแทนอันสมเหตุสมผล ซึ่งอยู่เหนืออัตราเงินเฟ้อของโลก โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย" โทนี ตัน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเวลานี้เป็นรองประธานและกรรมการบริหารของจีไอซี กล่าวต่อที่ประชุมแถลงข่าวเมื่อวาน
ตันบอกว่าทางบริษัทสามารถทำตามวัตถุประสงค์ในการลงทุนของตนในช่วงเวลาที่ผ่านๆ มา ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ทั่วโลกอยู่ในสภาพตื่นตระหนก จากวิกฤตการเงินเอเชียเมื่อสิบปีก่อน หรือ "ความปั่นป่วนด้านสินเชื่อในตลาดระหว่างประเทศที่ยังคงดำเนินอยู่ในขณะนี้"
เขาบอกด้วยว่า อัตราผลตอบแทนของจีไอซี เมื่อคิดตามตัวเลขแท้จริง นั่นคือหักลบเรื่องเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว จะอยู่ในระดับ 4.5% ตลอดระยะ 20 ปีมานี้
ในรายงานที่จีไอซีนำออกเผยแพร่คราวนี้ ระบุว่าทางบริษัทบริหารจัดการการลงทุนรวมเป็นมูลค่ากว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันเป็นตัวเลขเดียวกับที่ได้เคยแถลงเปิดเผยมาก่อนหน้านี้
รายงานแจกแจงว่า ณ วันที่ 31 มีนาคมปีนี้ การลงทุนในพอร์ตของจีไอซี จำนวนมากที่สุดเป็นการลงทุนในทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ โดยที่สหรัฐฯประเทศเดียวทางบริษัทไปลงทุนไว้คิดเป็น 34% ของการลงทุนทั้งหมด ขณะที่ภูมิภาคยุโรปไปลงทุนไว้คิดเป็น 35% ส่วนเอเชียเท่ากับ 23% และออสเตรเลเชีย คิดเป็น 2%
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วซึ่งวิกฤตภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ได้ลุกลามกลายเป็นวิกฤตสินเชื่อทั่วโลก จีไอซีก็ได้ลงทุนในแบงก์และสถาบันการเงินชื่อดัง ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องฐานะเซซวด
โดยในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว จีไอซีประกาศอัดฉีดเงินเพื่อซื้อหุ้นเป็นจำนวน 11,000 ล้านฟรังสวิส (10,200 ล้านดอลลาร์) ใน ยูบีเอส แบงก์ยักษ์ของสวิตเซอร์แลนด์ และเดือนมกราคมก็แถลงข่าวปล่อยเงิน 6,880 ล้านดอลลาร์เข้าไปซื้อหุ้น ซิตี้กรุ๊ป ของสหรัฐฯ
ตันบอกกับผู้สื่อข่าวว่า จีไอซีเชื่อว่าการลงทุนในยูบีเอสและซิตี้กรุ๊ปเช่นนี้ ในที่สุดแล้วจะได้ผลตอบแทนที่ดี
ทางด้าน กิตเว่ยเจิ้ง นักวิเคราะห์ที่ทำงานให้กับซิตี้กรุ๊ป โดยประจำอยู่ในสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า อัตราผลตอบแทนที่จีไอซีทำได้ใน 20 ปีที่ผ่านมา ถือว่าสมเหตุสมผล แต่ก็ไม่หวือหวา