ผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เล็งขึ้นบัญชีควบคุมทองคำ หลังประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมหันออมทองคำและเก็งกำไรกันมากขึ้น ขณะที่ร้านค้ามีการคิดค่ากำเหน็จเกินจริง และปรับวิธีการขายเป็นออกใบจองแทน ระบุหากคุมแล้ว ร้านค้าต้องแจ้งปริมาณ และราคาซื้อขายเป็นรายวัน แต่เบื้องต้นจะให้คิดค่ากำเหน็จตายตัว และใช้เครื่องชั่งทศนิยม 2 ตำแหน่ง ป้องกันปัดเศษ ส่วนผลสำรวจสินค้ากินเจพบผักราคาพุ่งขึ้นจากปัญหาน้ำท่วม
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้เตรียมพิจารณานำสินค้าทองคำ เข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าควบคุม หากพบว่ามีการซื้อขายทองคำไม่เป็นธรรม หรือมีร้านค้าเอาเปรียบผู้บริโภค เพราะขณะนี้ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ซื้อทองผ่านสายด่วนแม่บ้าน 1569 หลายรายว่า ร้านทองคิดค่ากำเหน็จที่สูงเกินจริง และมีการออกใบจองทองคำ (ตั๋วทอง) ให้แทน ซึ่งผู้บริโภคและนักลงทุนรายย่อยเกรงว่าอาจถูกเอาเปรียบ ด้วยการปฏิเสธการซื้อตั๋วทองคืนหากราคาเพิ่ม หรือไม่ส่งมอบทองคำจริงตามเวลาที่กำหนดถ้าราคาผันผวน
“ปัจจุบันนี้ พฤติกรรมการซื้อทองของคนไทยเปลี่ยนไป โดยหันมาซื้อเพื่อการลงทุน และการออมมากขึ้น ต่างจากเดิมที่ซื้อเป็นเครื่องประดับ กรมฯ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ว่าจะนำทองคำเข้าเป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ เพื่อควบคุมการซื้อขายทั้งระบบ ตั้งแต่ราคาขาย ค่ากำเหน็จ การแจ้งการถือครอง ปริมาณซื้อขายในแต่ละวัน รวมถึงหลักเกณฑ์การออกใบจองด้วย เพื่อทำให้มั่นใจว่า ลูกค้าจะไม่ถูกโกง เพราะเดี๋ยวนี้มูลค่าซื้อขายเพิ่มมาก ผู้ซื้อบางรายซื้อกันเป็นหลักล้านบาท ขณะที่ร้านค้าก็ออกใบจองสูงต่อวันถึง 20-30 ล้านบาท”นายยรรยงกล่าว
สำหรับการนำทองคำเข้าเป็นสินค้าควบคุม สามารถใช้อำนาจตามพ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ นำทองคำเข้าเป็นสินค้าควบคุมได้ทันที แม้ทองคำจะไม่ใช่สินค้าจำเป็น แต่ก็เข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีราคาผันผวนขึ้นลงรวดเร็ว ประชาชนทั่วไปมีสิทธิบริโภค และสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคในวงกว้าง ซึ่งหากนำเข้าเป็นสินค้าควบคุมแล้ว ร้านค้าทอง จะต้องแจ้งปริมาณ มูลค่าซื้อขายในแต่ละวันให้กรมฯ รับทราบ เพิ่มเติมจากเดิมที่แจ้งเฉพาะการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างเดียว วันละ 3 เวลา 09.00 น. 11.00น. และ15.00 น.
อย่างไรก็ตาม ในการหารือเบื้องต้นกับสมาคมผู้ค้าทองคำ ต่างเห็นด้วยในหลักการ และต้องการให้กระทรวงพาณิชย์นำทองคำเป็นสินค้าควบคุมเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสมาคมฯ จะเป็นตัวกลางที่ช่วยประสานไปถึงร้านค้าที่เป็นสมาชิกให้ ส่วนเรื่องการคุมค่ากำเหน็จทองรูปพรรณ คาดว่าจะสรุปได้เร็วๆ นี้ โดยอาจให้คิดค่ากำเหน็จตามสัดส่วนราคาทอง เช่น 5% หรือ 10% เป็นต้น เพราะตอนนี้ยังไม่มีมาตรฐานในการคิดราคาทำให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบได้ง่าย ขณะที่เรื่องการควบคุมน้ำหนักทองคำ ร้านค้าจะต้องใช้ตราชั่งแบบทศนิยม 2 ตำแหน่งเท่านั้น เพื่อป้องกันการปัดเศษโกงน้ำหนัก
นายยรรยงกล่าวว่า วันเดียวกันนี้ ได้มีการตรวจสอบราคาขายปลีกอาหารสด ก่อนเทศกาลกินเจ 29 ก.ย.-7 ต.ค.2551 ที่ตลาดเก่าเยาวราช พบว่า สินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารเจ เช่น เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ ดอกไม้จีน หมี่กึง โปรตีนเกษตร เส้นหมี่ เห็ด เริ่มปรับราคาขึ้นเล็กน้อยตามภาวะตลาด เพราะสินค้าบางรายการมีต้นทุนเพิ่มจากการนำเข้าจากจีน รวมถึงบางรายการได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมทำให้ขาดตลาด โดยเฉพาะผักสดประเภทใบ เช่น ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ราคาสูงขึ้นเฉลี่ย ก.ก.ละ 10-15 บาท
อย่างไรก็ตาม กรมฯ คงไม่เข้าไปควบคุม เพราะเรื่องเป็นไปตามกลไกลตลาด แต่จะหามาตรการบรรเทาผลกระทบให้ผู้บริโภค โดยวันที่ 28 ก.ย.นี้จะร่วมกับตลาดสดยิ่งเจริญนำผักที่นำประกอบเป็นอาหารเจนำมาจำหน่ายและกระจายไปสู่ตลาดอื่น รวมถึงให้ค้าภายในจังหวัดประสานงานไปตลาดสดแต่ละพื้นที่ เพื่อหาตลาดกระจายผักและนำร้านอาหารเจจำหน่ายราคาถูก
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้เตรียมพิจารณานำสินค้าทองคำ เข้ามาอยู่ในบัญชีสินค้าควบคุม หากพบว่ามีการซื้อขายทองคำไม่เป็นธรรม หรือมีร้านค้าเอาเปรียบผู้บริโภค เพราะขณะนี้ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ซื้อทองผ่านสายด่วนแม่บ้าน 1569 หลายรายว่า ร้านทองคิดค่ากำเหน็จที่สูงเกินจริง และมีการออกใบจองทองคำ (ตั๋วทอง) ให้แทน ซึ่งผู้บริโภคและนักลงทุนรายย่อยเกรงว่าอาจถูกเอาเปรียบ ด้วยการปฏิเสธการซื้อตั๋วทองคืนหากราคาเพิ่ม หรือไม่ส่งมอบทองคำจริงตามเวลาที่กำหนดถ้าราคาผันผวน
“ปัจจุบันนี้ พฤติกรรมการซื้อทองของคนไทยเปลี่ยนไป โดยหันมาซื้อเพื่อการลงทุน และการออมมากขึ้น ต่างจากเดิมที่ซื้อเป็นเครื่องประดับ กรมฯ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ว่าจะนำทองคำเข้าเป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ เพื่อควบคุมการซื้อขายทั้งระบบ ตั้งแต่ราคาขาย ค่ากำเหน็จ การแจ้งการถือครอง ปริมาณซื้อขายในแต่ละวัน รวมถึงหลักเกณฑ์การออกใบจองด้วย เพื่อทำให้มั่นใจว่า ลูกค้าจะไม่ถูกโกง เพราะเดี๋ยวนี้มูลค่าซื้อขายเพิ่มมาก ผู้ซื้อบางรายซื้อกันเป็นหลักล้านบาท ขณะที่ร้านค้าก็ออกใบจองสูงต่อวันถึง 20-30 ล้านบาท”นายยรรยงกล่าว
สำหรับการนำทองคำเข้าเป็นสินค้าควบคุม สามารถใช้อำนาจตามพ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ นำทองคำเข้าเป็นสินค้าควบคุมได้ทันที แม้ทองคำจะไม่ใช่สินค้าจำเป็น แต่ก็เข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีราคาผันผวนขึ้นลงรวดเร็ว ประชาชนทั่วไปมีสิทธิบริโภค และสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคในวงกว้าง ซึ่งหากนำเข้าเป็นสินค้าควบคุมแล้ว ร้านค้าทอง จะต้องแจ้งปริมาณ มูลค่าซื้อขายในแต่ละวันให้กรมฯ รับทราบ เพิ่มเติมจากเดิมที่แจ้งเฉพาะการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างเดียว วันละ 3 เวลา 09.00 น. 11.00น. และ15.00 น.
อย่างไรก็ตาม ในการหารือเบื้องต้นกับสมาคมผู้ค้าทองคำ ต่างเห็นด้วยในหลักการ และต้องการให้กระทรวงพาณิชย์นำทองคำเป็นสินค้าควบคุมเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสมาคมฯ จะเป็นตัวกลางที่ช่วยประสานไปถึงร้านค้าที่เป็นสมาชิกให้ ส่วนเรื่องการคุมค่ากำเหน็จทองรูปพรรณ คาดว่าจะสรุปได้เร็วๆ นี้ โดยอาจให้คิดค่ากำเหน็จตามสัดส่วนราคาทอง เช่น 5% หรือ 10% เป็นต้น เพราะตอนนี้ยังไม่มีมาตรฐานในการคิดราคาทำให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบได้ง่าย ขณะที่เรื่องการควบคุมน้ำหนักทองคำ ร้านค้าจะต้องใช้ตราชั่งแบบทศนิยม 2 ตำแหน่งเท่านั้น เพื่อป้องกันการปัดเศษโกงน้ำหนัก
นายยรรยงกล่าวว่า วันเดียวกันนี้ ได้มีการตรวจสอบราคาขายปลีกอาหารสด ก่อนเทศกาลกินเจ 29 ก.ย.-7 ต.ค.2551 ที่ตลาดเก่าเยาวราช พบว่า สินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารเจ เช่น เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ ดอกไม้จีน หมี่กึง โปรตีนเกษตร เส้นหมี่ เห็ด เริ่มปรับราคาขึ้นเล็กน้อยตามภาวะตลาด เพราะสินค้าบางรายการมีต้นทุนเพิ่มจากการนำเข้าจากจีน รวมถึงบางรายการได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมทำให้ขาดตลาด โดยเฉพาะผักสดประเภทใบ เช่น ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ราคาสูงขึ้นเฉลี่ย ก.ก.ละ 10-15 บาท
อย่างไรก็ตาม กรมฯ คงไม่เข้าไปควบคุม เพราะเรื่องเป็นไปตามกลไกลตลาด แต่จะหามาตรการบรรเทาผลกระทบให้ผู้บริโภค โดยวันที่ 28 ก.ย.นี้จะร่วมกับตลาดสดยิ่งเจริญนำผักที่นำประกอบเป็นอาหารเจนำมาจำหน่ายและกระจายไปสู่ตลาดอื่น รวมถึงให้ค้าภายในจังหวัดประสานงานไปตลาดสดแต่ละพื้นที่ เพื่อหาตลาดกระจายผักและนำร้านอาหารเจจำหน่ายราคาถูก