กระทรวงการคลัง เร่งแก้ประกาศกระทรวง ชง ครม.อนุมัติซื้อขายทองคำได้ล่วงหน้า คาดมีผลเดือน ส.ค.นี้ เพื่อให้ทันการเปิดซื้อขายของบริษัทตลาดอนุพันธ์ที่กำหนดไว้เดือน ก.ย.ด้านสมาคมทองคำ ติงหลักเกณฑ์เอื้อต่างชาติสกัดร้านค้ารายเล็ก
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเปิดช่องให้ตลาดอนุพันธ์สามารถนำทองคำมาเป็นสินค้าซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเป็นการสร้างตลาดให้เหมือนในต่างประเทศและลดการเก็งกำไรจากทองคำแห่งที่มีการนำเข้ามาปริมาณมากในแต่ละเดือน ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างแก้ไขประกาศกระทรวงการคลังให้สามารถซื้อขายทองล่วงหน้าได้ จากเดิมที่มีข้อกำหนดห้ามซื้อขายทองคำล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเก็งกำไร โดยคาดว่าจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบได้ในเร็วๆ นี้ หลังจากนั้นสามารถใช้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามในประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ทันที ซึ่งน่าจะเป็นภายในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อให้ทันกับการเปิดซื้อขายเดือน ก.ย.นี้
“ที่ผ่านมา แม้จะห้ามซื้อขายล่วงหน้าก็มีการเก็งกำไรทองคำแท่งอยู่แล้ว ก็ควรเปิดกว้างให้ซื้อขายล่วงหน้าในตลาดอนุพันธ์ได้เหมือนในต่างประเทศ ส่วนจะช่วยลดการนำเข้าทองคำแท่งได้หรือไม่นั้นอยู่ที่ความต้องการลงทุน โดยหากผู้ลงทุนเห็นว่าดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นก็อาจหันไปฝากเงินมากกว่า” นางพรรณี กล่าว
ด้าน นายจิตติ ตั้งสิทธิภักดี นายกสมาคมทองคำ กล่าวว่า จากการหารือกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น เห็นว่า การวางระบบการซื้อขายหรือโครงสร้างของตลาดยังไม่เหมาะสม โดยควรจะการเปิดกว้างให้ร้านทองที่มีอยู่ประมาณ 7 พันแห่ง เข้ามามีส่วนร่วมได้มากขึ้น เพราะข้อกำหนดการเป็น มาร์เก็ต เมคเกอร์ ในการซื้อขายทองล่วงหน้านั้นกำหนดค่าสมาชิกไว้ถึง 20 ล้านบาท เป็นการกันรายเล็กให้เข้ามาในตลาด
“มองว่า โครงสร้างของระบบที่วางไว้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้ามือ ร้านค้ารายเล็กก็เป็นเพียงผู้เล่นในตลาดแทนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างตลาด แต่ค่าสมาชิกที่กำหนดไว้สูงเกินไปรายเล็กคงเข้าร่วมไม่ได้ และหากมีตลาดล่วงหน้าก็จะมีการเข้ามาเก็งกำไรมากขึ้น ระดับล่างที่ยังไม่มีความรู้เพียงพอก็จะเดือดร้อน จึงจะเสนอให้ปรับหลักเกณฑ์ใหม่ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้งในเร็วๆ นี้” นายจิตติ กล่าวและว่า อยากให้มีการแยกตลาดซื้อขายทองล่วงหน้าออกไปจากตลาดอนุพันธ์สินค้าอื่นๆ ซึ่งในต่างประเทศก็มีการแยกตลาดกันชัดเจน และควรให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจทองคำเข้ามามีบทบาททั้งการดูแลและร่วมให้ข้อมูล
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมเห็นด้วยให้มีตลาดซื้อขายทองคำล่วงหน้า เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายทองคำในภูมิภาคได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ แต่ต้องมีการปรับระบบและโครงสร้างของตลาดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันไทยยังมีการส่งออกทำมากกว่าการนำเข้าจึงไม่น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ขาดดุการค้า
อนึ่ง ทางบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กำลังยื่นรายละเอียดให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณารายละเอียดของสินค้า รวมถึงข้อกำหนดของมาร์เก็ตเมกเกอร์ หากไม่มีอะไรผิดพลาด ก.ล.ต.น่าจะอนุมัติภายในเดือนนี้ และเปิดซื้อขายล่วงหน้าได้เดือน ก.ย.สำหรับการซื้อขายทองคำล่วงหน้าจะอ้างอิงกับทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% ซึ่งเป็นความบริสุทธิ์ของทองคำที่ซื้อขายกันอย่างแพร่หลายในไทย โดยการซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส จะใช้วิธีชำระราคาเป็นเงินสดเท่านั้น
จากกรณีที่ประชาชนหันมานิยมลงทุนในทองคำแท่งแทนการฝากเงิน จนมีการนำเข้าทองคำแท่งเพื่อเก็งกำไรจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะการขาดดุลการค้า กระทรวงการคลังจึงมีแผนจัดตั้งตลาดทองคำล่วงหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากการซื้อขายทองคำในตลาดล่วงหน้านั้น เป็นรูปแบบของการแลกเปลี่ยนสัญญาซื้อขาย ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องส่งมอบและนำเข้าทองคำมาจริง
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเปิดช่องให้ตลาดอนุพันธ์สามารถนำทองคำมาเป็นสินค้าซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเป็นการสร้างตลาดให้เหมือนในต่างประเทศและลดการเก็งกำไรจากทองคำแห่งที่มีการนำเข้ามาปริมาณมากในแต่ละเดือน ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างแก้ไขประกาศกระทรวงการคลังให้สามารถซื้อขายทองล่วงหน้าได้ จากเดิมที่มีข้อกำหนดห้ามซื้อขายทองคำล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเก็งกำไร โดยคาดว่าจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบได้ในเร็วๆ นี้ หลังจากนั้นสามารถใช้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามในประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ทันที ซึ่งน่าจะเป็นภายในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อให้ทันกับการเปิดซื้อขายเดือน ก.ย.นี้
“ที่ผ่านมา แม้จะห้ามซื้อขายล่วงหน้าก็มีการเก็งกำไรทองคำแท่งอยู่แล้ว ก็ควรเปิดกว้างให้ซื้อขายล่วงหน้าในตลาดอนุพันธ์ได้เหมือนในต่างประเทศ ส่วนจะช่วยลดการนำเข้าทองคำแท่งได้หรือไม่นั้นอยู่ที่ความต้องการลงทุน โดยหากผู้ลงทุนเห็นว่าดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นก็อาจหันไปฝากเงินมากกว่า” นางพรรณี กล่าว
ด้าน นายจิตติ ตั้งสิทธิภักดี นายกสมาคมทองคำ กล่าวว่า จากการหารือกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น เห็นว่า การวางระบบการซื้อขายหรือโครงสร้างของตลาดยังไม่เหมาะสม โดยควรจะการเปิดกว้างให้ร้านทองที่มีอยู่ประมาณ 7 พันแห่ง เข้ามามีส่วนร่วมได้มากขึ้น เพราะข้อกำหนดการเป็น มาร์เก็ต เมคเกอร์ ในการซื้อขายทองล่วงหน้านั้นกำหนดค่าสมาชิกไว้ถึง 20 ล้านบาท เป็นการกันรายเล็กให้เข้ามาในตลาด
“มองว่า โครงสร้างของระบบที่วางไว้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้ามือ ร้านค้ารายเล็กก็เป็นเพียงผู้เล่นในตลาดแทนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างตลาด แต่ค่าสมาชิกที่กำหนดไว้สูงเกินไปรายเล็กคงเข้าร่วมไม่ได้ และหากมีตลาดล่วงหน้าก็จะมีการเข้ามาเก็งกำไรมากขึ้น ระดับล่างที่ยังไม่มีความรู้เพียงพอก็จะเดือดร้อน จึงจะเสนอให้ปรับหลักเกณฑ์ใหม่ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้งในเร็วๆ นี้” นายจิตติ กล่าวและว่า อยากให้มีการแยกตลาดซื้อขายทองล่วงหน้าออกไปจากตลาดอนุพันธ์สินค้าอื่นๆ ซึ่งในต่างประเทศก็มีการแยกตลาดกันชัดเจน และควรให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจทองคำเข้ามามีบทบาททั้งการดูแลและร่วมให้ข้อมูล
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมเห็นด้วยให้มีตลาดซื้อขายทองคำล่วงหน้า เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายทองคำในภูมิภาคได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ แต่ต้องมีการปรับระบบและโครงสร้างของตลาดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันไทยยังมีการส่งออกทำมากกว่าการนำเข้าจึงไม่น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ขาดดุการค้า
อนึ่ง ทางบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กำลังยื่นรายละเอียดให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณารายละเอียดของสินค้า รวมถึงข้อกำหนดของมาร์เก็ตเมกเกอร์ หากไม่มีอะไรผิดพลาด ก.ล.ต.น่าจะอนุมัติภายในเดือนนี้ และเปิดซื้อขายล่วงหน้าได้เดือน ก.ย.สำหรับการซื้อขายทองคำล่วงหน้าจะอ้างอิงกับทองคำแท่งที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% ซึ่งเป็นความบริสุทธิ์ของทองคำที่ซื้อขายกันอย่างแพร่หลายในไทย โดยการซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส จะใช้วิธีชำระราคาเป็นเงินสดเท่านั้น
จากกรณีที่ประชาชนหันมานิยมลงทุนในทองคำแท่งแทนการฝากเงิน จนมีการนำเข้าทองคำแท่งเพื่อเก็งกำไรจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะการขาดดุลการค้า กระทรวงการคลังจึงมีแผนจัดตั้งตลาดทองคำล่วงหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากการซื้อขายทองคำในตลาดล่วงหน้านั้น เป็นรูปแบบของการแลกเปลี่ยนสัญญาซื้อขาย ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องส่งมอบและนำเข้าทองคำมาจริง