ผู้จัดการรายวัน - ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นเจรจาอูเบะกรุ๊ป เพื่อเข้าไปถือหุ้นในคาโปรแลคตัมไทย หวังต่อยอดเบนซีนให้แข็งแกร่งขึ้น รองรับตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวในอนาคต
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)(PTTAR) เปิดเผยว่า บริษัทสนใจที่จะเข้าไปร่วมถือหุ้นในบริษัท คาโปรแลคตัมไทย จำกัด ซึ่งกลุ่มอูเบะกรุ๊ปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เนื่องจากเห็นว่าคาโปรแลคตัมเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ใช้วัตถุดิบ คือ เบนซีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักตัวหนึ่งของPTTAR การเข้าไปถือหุ้นดังกล่าวจะทำให้มีตลาดรองรับที่แน่นอนและแนวโน้มตลาดคาโปรแลคตัมก็มีการขยายตัวที่ดี
"ได้มีการเจรจากับทางคาโปรแลคตัมเพื่อเข้าไปถือหุ้นร่วมตั้งแต่ยังเป็นบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) แต่ต้องหยุดการเจรจาไป เนื่องจากมีการควบรวมกิจการกับบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) แต่เมื่อทุกอย่างควบรวมกิจการเรียบร้อยแล้วก็หันมาเจรจากันต่อ ซึ่งที่ผ่านมาทางฝ่ายนั้นก็โอเพ่นมาโดยตลอด"แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ทางคาโปรแลคตัวไทยอยู่ระหว่างตัดสินใจขยายกำลังการผลิตสารคาโปรแลคตัมเพิ่มขึ้นจาก 1.1 แสนตันเป็น 1.3 แสนตัน คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1 พันล้านบาท โดยคาโปรแลคตัมที่ผลิตได้จะป้อนให้โรงงานผลิตไนล่อนวิศวกรรมที่ได้มีการขยายกำลังการผลิตไปก่อนหน้านี้ โดยไนล่อนวิศวกรรมนี้ เป็นวัตถุดิบใช้ทำสิ่งทอและผ้าใบยางรถยนต์
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์และยางรถยนต์มีการเติบโตที่ดีทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ความต้องการคาโปรแลคตัมและไนล่อนวิศวกรรมขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา ราคาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาเบนซีนที่ขยับขึ้นตามราคาน้ำมันโลก
อย่างไรก็ตาม การเจรจาดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุป หากให้บริษัทเข้าไปร่วมทุน ก็จะทำให้ทางอูเบะกรุ๊ปไม่ต้องลงทุนในส่วนขยายกำลังการผลิตแบบคอขวดของคาโปรแลคตัมมูลค่า 1พันล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกเหนือจากการเข้าไปร่วมทุนในโครงการคาโปแลคตัมและทางบริษัทยังศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อยอดเบนซีนในโครงการอื่นๆ อีก เนื่องจากโรงอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แล้วเสร็จจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 2 ล้านตัน/ปี ซึ่งส่วนหนึ่งจะป้อนให้บริษัทในเครือฯ และส่วนหนึ่งจะเหลือส่งออก ซึ่งมีความเสี่ยงด้านราคาที่จะผันผวนไปตามตลาดโลก
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)(PTTAR) เปิดเผยว่า บริษัทสนใจที่จะเข้าไปร่วมถือหุ้นในบริษัท คาโปรแลคตัมไทย จำกัด ซึ่งกลุ่มอูเบะกรุ๊ปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เนื่องจากเห็นว่าคาโปรแลคตัมเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ใช้วัตถุดิบ คือ เบนซีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักตัวหนึ่งของPTTAR การเข้าไปถือหุ้นดังกล่าวจะทำให้มีตลาดรองรับที่แน่นอนและแนวโน้มตลาดคาโปรแลคตัมก็มีการขยายตัวที่ดี
"ได้มีการเจรจากับทางคาโปรแลคตัมเพื่อเข้าไปถือหุ้นร่วมตั้งแต่ยังเป็นบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) แต่ต้องหยุดการเจรจาไป เนื่องจากมีการควบรวมกิจการกับบริษัทโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) แต่เมื่อทุกอย่างควบรวมกิจการเรียบร้อยแล้วก็หันมาเจรจากันต่อ ซึ่งที่ผ่านมาทางฝ่ายนั้นก็โอเพ่นมาโดยตลอด"แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ทางคาโปรแลคตัวไทยอยู่ระหว่างตัดสินใจขยายกำลังการผลิตสารคาโปรแลคตัมเพิ่มขึ้นจาก 1.1 แสนตันเป็น 1.3 แสนตัน คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1 พันล้านบาท โดยคาโปรแลคตัมที่ผลิตได้จะป้อนให้โรงงานผลิตไนล่อนวิศวกรรมที่ได้มีการขยายกำลังการผลิตไปก่อนหน้านี้ โดยไนล่อนวิศวกรรมนี้ เป็นวัตถุดิบใช้ทำสิ่งทอและผ้าใบยางรถยนต์
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์และยางรถยนต์มีการเติบโตที่ดีทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ความต้องการคาโปรแลคตัมและไนล่อนวิศวกรรมขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา ราคาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาเบนซีนที่ขยับขึ้นตามราคาน้ำมันโลก
อย่างไรก็ตาม การเจรจาดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุป หากให้บริษัทเข้าไปร่วมทุน ก็จะทำให้ทางอูเบะกรุ๊ปไม่ต้องลงทุนในส่วนขยายกำลังการผลิตแบบคอขวดของคาโปรแลคตัมมูลค่า 1พันล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกเหนือจากการเข้าไปร่วมทุนในโครงการคาโปแลคตัมและทางบริษัทยังศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อยอดเบนซีนในโครงการอื่นๆ อีก เนื่องจากโรงอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แล้วเสร็จจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 2 ล้านตัน/ปี ซึ่งส่วนหนึ่งจะป้อนให้บริษัทในเครือฯ และส่วนหนึ่งจะเหลือส่งออก ซึ่งมีความเสี่ยงด้านราคาที่จะผันผวนไปตามตลาดโลก