ผู้จัดการรายวัน - "สถาบันคุ้มครองเงินฝาก" วางเป้าสิ้นปีเริ่มรับเม็ดเงินค่าฟีจากสมาชิกประมาณ 8,000 - 10,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าสรรหาบุคลากรมาดำเนินงาน ควบคู่กับการออกข้อบังคับ และวางกอบการลงทุนของเม็ดเงินที่เน้นความเสี่ยงต่ำ อัดแบงก์เจ้าเล่ห์ ลักไก่หาผลประโยชน์ช่องว่างกฏหมาย ชวนลูกค้าซื้อบี/อีฟันยิลด์สูง พอมีปัญหาเปลี่ยนกลับเป็นเงินฝากเพื่อรับการคุ้มครอง ชี้ผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไข เตรียมหารือธปท.หาทางสกัดกั้น
นายสิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เปิดเผยว่า สถาบันแห่งนี้เริ่มเปิดดำเนินงานมาพร้อมกับการเริ่มมีผลบังคับใช้ของพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร ซึ่งขณะนี้มีเจ้าหน้าที่จากธปท.เข้ามาช่วยปฏิบัติงานทั้งสิ้น 14 ราย ซึ่งเร่องแรกที่สถาบันต้องรีบดำเนินการ คือการสรรหาบุคลากรเข้ามาทำงานเพิ่มเติม
"ก่อนสถาบันเริ่มดำเนินงานคนของแบงก์ชาติ ได้เข้ามาช่วยเตรียมงานก่อนหน้านี้แล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งเรื่องต่อไปเราต้องทำการประกาศและสอบคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานเพิ่มเติม ซึ่งเรื่องนี้ต้องผ่านการเห็นชอบของบอร์ดด้วย"
ทั้งนี้ สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้รับอนุมัติงบประมาณขั้นต้นในการก่อตั้งสำนักงานจากงบประมาณแผ่นดิน กระทรวงการคลัง จำนวน 100 ล้านบาท และเมื่อสถาบันเริ่มเปิดดำเนินงานได้รับอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมอีกประมาณ 200 กว่าล้านบาท เพื่อนำมาใช้ดำเนินงาน จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสรรหาบุคลากรเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้นประมาณ 350 ล้านบาท และในอนาคตสำนักงานจะมีงบประมาณเพื่อนำมาใช้บริหารจากกึ่งหนึ่งของผลกำไรของการดำเนินงานของเงินกองทุนที่ได้รับมาจากสมาชิก"
โดย หน้าที่ในการดำเนินงานของสถาบันประกอบไปด้วย การคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝาก โดยจะจ่ายคืนเงินฝากตามจำนวนที่ฝากไว้ แต่ไม่เกินจำนวนที่คุ้มครอง รวมทั้งติดตามฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก พร้อมกับประสานงานกับหน่วยงานของรัฐเพื่อร่วมกันดูแลระบบสถาบันการเงินให้มีสเถียรภาพ และชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ
สำหรับแผนดำเนินงานระยะสั้น นอกเหนือจากการสรรหาบุคลากรแล้ว สถาบันฯจะดำเนินการออกข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การเรียกเก็บเงินนำส่ง ประเภทเงิน ฝากที่ได้รับการคุ้มครอง การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง
ส่วนแผนระยะต่อไป สถาบันจะเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคุ้ทครองเงินฝากพร้อมจัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปโดยสะดวก
ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก กล่าวถึงการเรียกเก็บเงินนำส่งของสถาบันการเงินต่างๆ ว่า คณะกรรมการของสถาบันได้กำหนดอัตราเงินนำส่งช่วงแรกไว้ที่0.4%ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่สถาบันการเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูสถาบันการเงิน (FIDF) โดยขณะนี้ได้นำพเสนอต่อกระทรวงการคลัง เพื่อตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้
"เราได้ส่งเรตอัตราการเรียกเก็ยในช่วงเริ่มเปิดดำเนินงานแก่กระทรวงการคลังไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขั้นตอนต่อไปทางกระทรวงการคลังจะนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ทำการพิจารณา หากได้รับการอนุมัติ ก็จะถูกนำเสนอให้สำนักงานพระราชกฤษฎีกาต่อไป "
อย่างไรก็ตาม อัตราการเรียกเก็บ0.4% เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งผู้อำนวยการสถาบันฯกล่าวว่าสามารถปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมได้ แต่ในครั้งแรกสมาชิกทุกรายต้องนำส่งเงินในอัตราเดียวกันทั้งหมด และต่อไปอาจกำหนดให้มีความแตกต่างกันได้ตามประเภทและฐานการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งความว่าจะเริ่มรับรู้จำนวนเงินกล่าวได้ในช่วงสิ้นปี 2551 ประมาณ 8,000 - 10,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ในส่วนของเงินที่ได้รับมาจากสมาชิก จะถูกนำไปจัดตั้งกองทุนเพื่อนำไปลงทุนหาผลตอบแทนเพิ่มเติม ซึ่งยังไม่เป็นที่สรุปว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด โดยทางสำนักงานต้องกำหนดกรอบและนโยบายการลงทุนเสนอคณะกรรมการให้พิจารณาเสียก่อน ในที่นี้รวมถึงแนวคิดการจัดจ้างบริษัทจัดการลงทุนเข้ามาบริหาร หรือบริหารการลงทุนด้วยสำนักงานฯเอง
แต่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝากยืนยันว่า จำนวนเงินที่ได้รับมาจะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ซึ่งหมายถึงการลงทุนผ่านตราสารหนี้ พันธบัตรของรัฐบาลในประเทศไทย ส่วนหุ้นแม้ให้ผลตอบแทนที่ดีแต่มีความผันผวนมากในช่วงแรกนี้จึงไม่มีแนวคิดเข้าลงทุนผ่านช่องทางดังกล่าว เช่นเดียวกับการลงทุนในต่างประเทศ
"ระบบคุ้มครองเงินฝาก จะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน เพราะการคุ้มครองเที่จำกัดวงเงินจะทำให้ประชาชนผู้ฝากเงินคำนึงถึงปัจจัยต่างๆในการเลือกใช้บริการ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินเองจะมีการพัฒนาเชิงคุณภาพและบริการ อย่างระมัดระวังมากขึ้น เพราะมีการแข่งขันในเชิงทคุณภาพ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือของผู้ฝากเงิน"นายสิงหะ กล่าว
นายสิงหะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้พบว่ามีสถาบันการเงินบางแห่งกระทำผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไข ด้วยการชักชวนลูกค้าที่ฝากเงินมาลงทุนในตราสารประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่นตั๋วบี/อี แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยในช่วงปกติลูกค้าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง แต่พอเกิดวิกฤตหรือปัจจัยเสี่ยงก็จะโยกเงินลงทุนดังกล่าวให้กลับมาเป็นการฝากเงินเช่นเดิม เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน ซึ่งถือว่าผิดหลักเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ในการออกพ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยทางสถาบันฯ และธปท.กำลังติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และมีแนวคิดจะจัดเก็บค่าฟีจากการลงทุนผ่าน ตราสารประเภทนี้ เพื่อปิดช่องการฉวยโอกาสนำช่องว่างทางกฏหมายมาหาผลประโยชน์
นอกจากนี้ ในส่วนผลกระทบวิกฤตสถาบันการเงิน สหรัฐอเมริกา ผอ.สถาบันฯ กล่าวยืนยันว่าระบบสถาบันการเงินของไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว โดยกระทรวงการคลังและธปทฬได้ให้ความมั่นใจ ว่ามีการเกี่ยวข้องกับเลห์แมน บราเธอร์สไม่มาก และสามารถดูแลแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เช่นเดียวกับคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่ให้ความมั่นใจในเรื่องดังกล่าวไม่กระทบกับการประกอบธุรกิจประกันไทยของบริษัทในไทย อย่างไรก็ดีไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
นายสิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เปิดเผยว่า สถาบันแห่งนี้เริ่มเปิดดำเนินงานมาพร้อมกับการเริ่มมีผลบังคับใช้ของพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร ซึ่งขณะนี้มีเจ้าหน้าที่จากธปท.เข้ามาช่วยปฏิบัติงานทั้งสิ้น 14 ราย ซึ่งเร่องแรกที่สถาบันต้องรีบดำเนินการ คือการสรรหาบุคลากรเข้ามาทำงานเพิ่มเติม
"ก่อนสถาบันเริ่มดำเนินงานคนของแบงก์ชาติ ได้เข้ามาช่วยเตรียมงานก่อนหน้านี้แล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งเรื่องต่อไปเราต้องทำการประกาศและสอบคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานเพิ่มเติม ซึ่งเรื่องนี้ต้องผ่านการเห็นชอบของบอร์ดด้วย"
ทั้งนี้ สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้รับอนุมัติงบประมาณขั้นต้นในการก่อตั้งสำนักงานจากงบประมาณแผ่นดิน กระทรวงการคลัง จำนวน 100 ล้านบาท และเมื่อสถาบันเริ่มเปิดดำเนินงานได้รับอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมอีกประมาณ 200 กว่าล้านบาท เพื่อนำมาใช้ดำเนินงาน จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสรรหาบุคลากรเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้นประมาณ 350 ล้านบาท และในอนาคตสำนักงานจะมีงบประมาณเพื่อนำมาใช้บริหารจากกึ่งหนึ่งของผลกำไรของการดำเนินงานของเงินกองทุนที่ได้รับมาจากสมาชิก"
โดย หน้าที่ในการดำเนินงานของสถาบันประกอบไปด้วย การคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝาก โดยจะจ่ายคืนเงินฝากตามจำนวนที่ฝากไว้ แต่ไม่เกินจำนวนที่คุ้มครอง รวมทั้งติดตามฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก พร้อมกับประสานงานกับหน่วยงานของรัฐเพื่อร่วมกันดูแลระบบสถาบันการเงินให้มีสเถียรภาพ และชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ
สำหรับแผนดำเนินงานระยะสั้น นอกเหนือจากการสรรหาบุคลากรแล้ว สถาบันฯจะดำเนินการออกข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การเรียกเก็บเงินนำส่ง ประเภทเงิน ฝากที่ได้รับการคุ้มครอง การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง
ส่วนแผนระยะต่อไป สถาบันจะเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคุ้ทครองเงินฝากพร้อมจัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปโดยสะดวก
ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก กล่าวถึงการเรียกเก็บเงินนำส่งของสถาบันการเงินต่างๆ ว่า คณะกรรมการของสถาบันได้กำหนดอัตราเงินนำส่งช่วงแรกไว้ที่0.4%ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่สถาบันการเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูสถาบันการเงิน (FIDF) โดยขณะนี้ได้นำพเสนอต่อกระทรวงการคลัง เพื่อตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้
"เราได้ส่งเรตอัตราการเรียกเก็ยในช่วงเริ่มเปิดดำเนินงานแก่กระทรวงการคลังไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขั้นตอนต่อไปทางกระทรวงการคลังจะนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ทำการพิจารณา หากได้รับการอนุมัติ ก็จะถูกนำเสนอให้สำนักงานพระราชกฤษฎีกาต่อไป "
อย่างไรก็ตาม อัตราการเรียกเก็บ0.4% เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งผู้อำนวยการสถาบันฯกล่าวว่าสามารถปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมได้ แต่ในครั้งแรกสมาชิกทุกรายต้องนำส่งเงินในอัตราเดียวกันทั้งหมด และต่อไปอาจกำหนดให้มีความแตกต่างกันได้ตามประเภทและฐานการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น ซึ่งความว่าจะเริ่มรับรู้จำนวนเงินกล่าวได้ในช่วงสิ้นปี 2551 ประมาณ 8,000 - 10,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ในส่วนของเงินที่ได้รับมาจากสมาชิก จะถูกนำไปจัดตั้งกองทุนเพื่อนำไปลงทุนหาผลตอบแทนเพิ่มเติม ซึ่งยังไม่เป็นที่สรุปว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด โดยทางสำนักงานต้องกำหนดกรอบและนโยบายการลงทุนเสนอคณะกรรมการให้พิจารณาเสียก่อน ในที่นี้รวมถึงแนวคิดการจัดจ้างบริษัทจัดการลงทุนเข้ามาบริหาร หรือบริหารการลงทุนด้วยสำนักงานฯเอง
แต่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝากยืนยันว่า จำนวนเงินที่ได้รับมาจะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ซึ่งหมายถึงการลงทุนผ่านตราสารหนี้ พันธบัตรของรัฐบาลในประเทศไทย ส่วนหุ้นแม้ให้ผลตอบแทนที่ดีแต่มีความผันผวนมากในช่วงแรกนี้จึงไม่มีแนวคิดเข้าลงทุนผ่านช่องทางดังกล่าว เช่นเดียวกับการลงทุนในต่างประเทศ
"ระบบคุ้มครองเงินฝาก จะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน เพราะการคุ้มครองเที่จำกัดวงเงินจะทำให้ประชาชนผู้ฝากเงินคำนึงถึงปัจจัยต่างๆในการเลือกใช้บริการ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินเองจะมีการพัฒนาเชิงคุณภาพและบริการ อย่างระมัดระวังมากขึ้น เพราะมีการแข่งขันในเชิงทคุณภาพ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือของผู้ฝากเงิน"นายสิงหะ กล่าว
นายสิงหะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้พบว่ามีสถาบันการเงินบางแห่งกระทำผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไข ด้วยการชักชวนลูกค้าที่ฝากเงินมาลงทุนในตราสารประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่นตั๋วบี/อี แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยในช่วงปกติลูกค้าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง แต่พอเกิดวิกฤตหรือปัจจัยเสี่ยงก็จะโยกเงินลงทุนดังกล่าวให้กลับมาเป็นการฝากเงินเช่นเดิม เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน ซึ่งถือว่าผิดหลักเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ในการออกพ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยทางสถาบันฯ และธปท.กำลังติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และมีแนวคิดจะจัดเก็บค่าฟีจากการลงทุนผ่าน ตราสารประเภทนี้ เพื่อปิดช่องการฉวยโอกาสนำช่องว่างทางกฏหมายมาหาผลประโยชน์
นอกจากนี้ ในส่วนผลกระทบวิกฤตสถาบันการเงิน สหรัฐอเมริกา ผอ.สถาบันฯ กล่าวยืนยันว่าระบบสถาบันการเงินของไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว โดยกระทรวงการคลังและธปทฬได้ให้ความมั่นใจ ว่ามีการเกี่ยวข้องกับเลห์แมน บราเธอร์สไม่มาก และสามารถดูแลแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เช่นเดียวกับคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่ให้ความมั่นใจในเรื่องดังกล่าวไม่กระทบกับการประกอบธุรกิจประกันไทยของบริษัทในไทย อย่างไรก็ดีไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก