นาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในชั้นกรรมาธิการฯ ได้พบข้อพิรุจหลายประการ อาทิ การขยายเวลาพิจารณา ที่อาจขัดต่อข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฏร ข้อที่ 98 ทั้งนี้ เพราะการขยายเวลาไม่มีการบันทึกไว้ในรายงานการประชุม ซึ่งแตกต่างจากการขยายเวลาของกรรมาธิการอื่น นอกจากนี้ ยังพบว่าในชั้นกรรมาธิการ ได้มีการปรับลดงบประมาณลง 45,000 ล้านบาท แต่สำนักงบได้ขอแปรญัตติเพิ่มเติม และยื่นต่อ ครม.จำนวน 190,000 ล้านบาท ต่อมา ครม.ได้อนุมัติวงเงินงบประมาณที่ 91,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณตัวนี้ แม้ในขั้นกรรมาธิการจะมีการพิจารณาปรับลดให้เหลือ 45,000 ล้านบาท จึงน่าจะผิดกระบวนการ เพราะของบประมาณเกินกว่าวงเงินในชั้นรับหลักการ ซึ่งในชั้นกรรมาธิการของสภาผู้แทนฯ มีสิทธิ์ พิจารณาวงเงินงบประมาณเกินว่า วงเงินในชั้นรับหลักการหรือไม่
นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า มีข้อน่าสังเกตอีกว่า การพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณฯ ของวุฒิสภา ในวันที่ 19 ก.ย. น่าจะเป็นโมฆะ เพราะเป็นการประชุมภายหลังนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ดังนั้น รัฐมนตรีรักษาการที่มาชี้แจงทั้งสองคน คือ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง และพ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากร รมช.พาณิชย์ น่าจะเป็นการชี้แจงที่ไม่ชอบ เพราะรัฐมนตรีทั้งสองคน น่าจะพ้นจากหน้าที่ไปแล้ว เนื่องจากเป็นช่วงที่มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว แต่ยังไม่มีครม.ใหม่ ดังนั้นตนจึงได้ยื่นข้อสังเกตโดยตรงไปให้นายกรัฐมนตรี ที่บ้านพักแจ้งวัฒนะ และส่งเรื่องไปยังศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ของนายกรัฐมนตรี ที่บ้านมนังคศิลา
ข้อสังเกตุนี้จะนำไปสู่ผลการวินิจฉัย ที่ถือเป็นเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองต่อไปในอนาคต โดยขณะนี้มีความเป็นไปได้สองแนวทาง คือ 1. ส.ส.และ ส.ว.เข้าชื่อกัน 1 ใน 10 ขออนุมัติให้สภาทั้งสอง ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การพิจารณางบประมาณขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 142 หรือไม่ และการที่นายกรัฐมนตรี จะขอระงับร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ ฯไว้ก่อน เพื่อส่งเรื่องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย " นายเรืองไกร กล่าว
นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า มีข้อน่าสังเกตอีกว่า การพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณฯ ของวุฒิสภา ในวันที่ 19 ก.ย. น่าจะเป็นโมฆะ เพราะเป็นการประชุมภายหลังนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ดังนั้น รัฐมนตรีรักษาการที่มาชี้แจงทั้งสองคน คือ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง และพ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากร รมช.พาณิชย์ น่าจะเป็นการชี้แจงที่ไม่ชอบ เพราะรัฐมนตรีทั้งสองคน น่าจะพ้นจากหน้าที่ไปแล้ว เนื่องจากเป็นช่วงที่มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว แต่ยังไม่มีครม.ใหม่ ดังนั้นตนจึงได้ยื่นข้อสังเกตโดยตรงไปให้นายกรัฐมนตรี ที่บ้านพักแจ้งวัฒนะ และส่งเรื่องไปยังศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ของนายกรัฐมนตรี ที่บ้านมนังคศิลา
ข้อสังเกตุนี้จะนำไปสู่ผลการวินิจฉัย ที่ถือเป็นเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองต่อไปในอนาคต โดยขณะนี้มีความเป็นไปได้สองแนวทาง คือ 1. ส.ส.และ ส.ว.เข้าชื่อกัน 1 ใน 10 ขออนุมัติให้สภาทั้งสอง ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การพิจารณางบประมาณขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 142 หรือไม่ และการที่นายกรัฐมนตรี จะขอระงับร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ ฯไว้ก่อน เพื่อส่งเรื่องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย " นายเรืองไกร กล่าว