ผู้จัดการรายวัน - มรดกโคตรโกง! ระบอบทักษิณโผล่ “ล็อกสเปก” รถเข็นกระเป๋าสุวรรณภูมิส่งผลแล้วใช้งาน 2 ปี ชำรุดเพียบ แถมถูกขโมยทำให้ไม่พอใช้ในช่วงผู้โดยสารคับคั่ง เผย ‘แท็กส์’ บริษัทเจ้าปัญหาโยงใยนอมินี “เจ๊” ผิดสัญญามาตลอดไม่สามารถบริหารจัดการหมุนเวียนรถได้ตรงกับความต้องการใช้ “เสรีรัตน์” สั่งคุมเข้มยึดตามสัญญา พร้อมหาทางปรับเงื่อนไขลดช่องว่างทำให้ ทอท.เสียประโยชน์
รายงานข่าวจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแจ้งว่า ขณะนี้สนามบินมีปัญหารถเข็นกระเป๋าไม่เพียงพอกับความต้องการทำให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการชำรุดของรถเข็นแล้วยังมีบางส่วนถูกขโมย โดยแหล่งข่าวจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ยอมรับว่า รถเข็นกระเป๋าที่สนามบินสุวรรณภูมิมีการชำรุดเสียหายค่อนข้างมาก ทำให้ในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะช่วงชั่วโมงที่มีจำนวนผู้โดยสารคับคั่ง รถเข็นจะมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสารในช่วงเวลานั้น เนื่องจากจะมีผู้โดยสารสูงสุดประมาณ 5,500-6,000 คนต่อชั่วโมง
โดยสาเหตุหนึ่งที่รถเข็นมีจำนวนน้อยปรากฏว่า มาจากการชำรุดค่อนข้างมากทั้งที่เพิ่งใช้งานมาเพียง 2 ปีนับจากเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบกับวัสดุของรถเข็นไม่ได้เป็นมาตรฐานเกรด A และบางส่วนถูกขโมยไปขาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนที่ถูกขโมยได้ถูกนำไปขายเป็นเศษเหล็ก ซึ่งหลังจาก ทอท.ได้เข้าแจ้งความต่อ สน.ราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ ได้ติดตามตัวคนร้ายและจับกุมตัวได้พบว่าเป็นคนในสนามบินสุวรรณภูมิเองจนต้องถูกไล่ออกจากงานแต่สนามบินพยายามปิดข่าวเงียบมาโดยตลอด
“ปัญหารถเข็นกระเป๋าในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ผู้บริหารการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิพยายามปิดเงียบ และยังไม่มีการแก้ปัญหารถเข็นกระเป๋ามีไม่เพียงพอ ปล่อยให้ผู้โดยสารแย่งรถเข็นกระเป๋าจนวุ่นวาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีผู้โดยสารลงจากเครื่องบินจำนวนมาก ซึ่งหากเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวจะต้องเรียกบริษัทเอกชนที่รับผิดชอบมาแก้ปัญหา และหากไม่เป็นไปตามสัญญาเอกชนจะต้องถูกปรับเป็นรายวัน และต้องหารถเข็นมาเพิ่มแต่ก็ไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าวเลย” แหล่งข่าวคนเดียวกันกล่าว
ทั้งนี้ ทอท.ได้ทำสัญญากับบริษัท ไทยแอร์พอร์ตส กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือแท็กส์ ให้เป็นผู้รับจ้างให้บริการรถเข็นกระเป๋า เป็นเวลา 7 ปี ในราคาค่างานรวมทั้งสิ้น 532.86 ล้านบาท โดยแทกส์จะต้องจัดหารถเข็นจำนวน 9,034 คันในสภาพที่สมบูรณ์ไว้ใช้งานตลอดเวลา โดยหากแทกส์ไม่สามารถจัดหารถเข็นให้ได้ตามสัญญาจะต้องถูกปรับ 2,000 บาทต่อคันต่อวัน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ทอท.มีคณะกรรมการตรวจการจ้างตามสัญญา เพื่อตรวจสอบให้แท็กส์ปฏิบัติตามสัญญา เช่น มีจำนวนรถเข็นครบตามสัญญากำหนด ซึ่งจะมีการตรวจสอบในภาพใหญ่ทุกเดือน ซึ่งยอมรับว่าตั้งแต่เปิดสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวนรถเข็นไม่ครบตามสัญญา และแทกส์ถูกปรับมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม จำนวนรถเข็นที่กำหนด 9,000 คันนั้น แบ่งเป็นรถเข็นขนาดเล็ก 2,000 คันและขนาดกลาง 7,000 คันนั้นเพียงพอกับจำนวนผู้โดยสาร ซึ่งได้มีการคำนวณตามหลักการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO)
แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาของรถเข็นกระเป๋าหากชำรุดเล็กน้อย แท็กส์จะดำเนินการซ่อมภายในพื้นที่สนามบินทันที แต่หากชำรุดมากและต้องซ่อมหนักต้องนำรถออกไปซ่อมนอกพื้นที่ ก็จะต้องดำเนินการให้เสร็จและนำรถกลับเข้าสู่ระบบเพื่อให้บริการภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในส่วนของการบริหารจัดการ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถหมุนเวียนรถให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกายภาพของสนามบินด้วย
สัญญาเปิดช่องเอื้อ “แท็กส์” พลิ้วได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ทอท.อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อปรับปรุงสัญญาในบางเงื่อนไขที่ทำให้ทอท.เสียประโยชน์ ให้มีความรัดกุมและมีช่องโหว่น้อยลง เช่น กรณีที่ตรวจพบว่ารถเข็นหายทำให้จำนวนไม่ครบตามที่กำหนด แทกส์มีเวลาในการจัดหารถกลับมาภายใน 30 วัน ซึ่งจุดนี้ทำให้ ทอท.เสียประโยชน์เพราะหากอ้างเหตุดังกล่าวจะต้องรอถึง 30 วัน ซึ่งในระหว่างนั้นจำนวนรถจะไม่ครบและไม่เพียงพอในการให้บริการ เป็นต้น
“เสรีรัตน์” เข้มปรับตามสัญญา
ด้านนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ได้รับรายงานของเดือน ส.ค.เกี่ยวกับการบริหารจัดการรถเข็นกระเป๋าสนามบินสุวรรณภูมิ ว่ามีการหมุนเวียนของรถไม่เพียงพอกับความต้องการในชั่วโมงคับคั่ง ดังนั้น ตนจึงได้สั่งการไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ดำเนินการตามสัญญาที่มีอย่างเคร่งครัด หากพบว่าจำนวนรถต่ำกว่าที่สัญญากำหนดก็ต้องปรับตามเงื่อนไข พร้อมทั้งให้หาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังด้วย
“การขาดแคลนรถเข็นที่เกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย ทั้งการชำรุดซึ่งทำให้มีรถส่วนหนึ่งถูกนำไปซ่อม และการที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถหมุนเวียนรถให้ทันกับความต้องการ ซึ่งต้องเร่งแก้ไขปัญหา” นายเสรีรัตน์กล่าว
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการ ทอท.ชุดที่มี พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นประธาน ได้เคยมีมติให้ตรวจสอบการให้สัมปทานกับแท็กส์ โดยระบุว่า สัญญามีความผิดปกติจากที่มีการปรับสเปกถึง 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะได้ตัดข้อกำหนดของบริษัทที่ได้รับสัมปทานที่จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การดำเนินงานด้านรถเข็นภายในท่าอากาศยานออก ปรับขนาดรถเข็นจากขนาดกลางที่สามารถขึ้นลงบันไดเลื่อนได้ออก การจัดซื้อวิธีพิเศษ และมีการเปลี่ยนแปลงร่างเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) โดยการออกทีโออาร์ใหม่ไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของ ทอท.
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมามีบริษัทจากเยอรมันภายใต้ยี่ห้อ “แวนเซิล” (WANZL) ที่เสนอให้รถเข็นกระเป๋า การดูแลรักษาและการบริการฟรี แลกกับการได้พื้นที่โฆษณาที่รถเข็นภายในระยะเวลา 7 ปี แต่ข้อเสนอดังกล่าวกลับไม่ได้รับความเห็นชอบ ซึ่งบอร์ดทอท.ในขณะนั้น การดำเนินการดังกล่าวทำให้ ทอท.ได้รถเข็นที่ไม่มีคุณภาพ และมีใช้บริการร้องเรียนว่าไม่ได้รับความสะดวกในการใช้งาน และได้รับบาดเจ็บที่บริเวณขาและมือเพราะความคมของรถเข็นเป็นจำนวนมาก
“แท็กส์” ปริศนา “นอมินีเจ๊”
การให้บริการรถเข็นกระเป๋านับเป็นแค่หนึ่งในหลายๆ งานบริการภาคพื้นดินของแท็กส์ ที่ได้รับสัญญาจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)
แท็กส์ เดิมมี ทอท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่ผ่านมาผูกขาดการให้บริการภาคพื่นดินที่สนามบินดอนเมือง ต่อมาเมื่อรัฐบาลทักษิณเร่งก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ บริษัทนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นอย่างน่าสนใจ โดยก่อนที่จะเปิดใช้สนามบินและมีงานประมูลหลายอย่างที่เร่งดำเนินการช่วงปี 2549 จู่ๆ บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ บริษัท โฟร์บริชเชอร์ ก็เข้ามากว้านซื้อหุ้นจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทน ทอท.
จากนั้น แท็กส์ก็รับงานใหญ่ อาทิ โครงการบริหารเขตปลอดอากรและศูนย์ลอจิสติกส์ในสนามบินสุวรรณภูมิมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยไม่มีการประมูลแข่งขัน ซึ่งขณะนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดเป็นบอร์ดการท่ากาศยาน
ในส่วนของบริษัท โฟร์บริชเชอร์ จากการตรวจสอบพบเป็นบริษัทที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน มีทุนจดทะเบียนเพียง 2.4 ล้านบาท และมีรายได้ปีละ 100-200 บาท และผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทโฟร์บริชเชอร์ มีเพียง 2 คน คือ คนสิงคโปร์เป็นทนายความผู้ตรวจสอบบัญชีบริษัท และคนไทย 1 คน ซึ่งถือหุ้นบริษัทในรูปแบบทรัสต์ จึงไม่เปิดเผยผู้ถือหุ้นที่แท้จริง และจากการตรวจสอบที่อยู่พบว่าอาคารดังกล่าวรื้อถอนไปแล้ว
ทั้งนี้ เรื่องนี้เป็นหนึ่งในประเด็นที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบของ ป.ป.ช. โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2549 ให้สอบสวนเรื่องคดีร่ำรวยผิดปกติ จงใจปกปิดทรัพย์สินของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภรรยานายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ในหนังสือที่นายอลงกรณ์ร้องเรียน ป.ป.ช.ระบุว่า นางเยาวภา ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างปี 2544 -2549 มีพฤติการณ์ซื้อมาขายไป ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน และมีทรัพย์สินในครอบครัวเพิ่มมากขึ้นภายหลังเข้ารับตำแหน่งทางการเมือง โดยต่อมา ป.ป.ช.ได้สอบเพิ่มเติมกรณีที่อาจมีการซ่อนหุ้นบริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอร์วิสเซส หรือ แท็กส์ รวมอยู่ด้วย
รายงานข่าวจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแจ้งว่า ขณะนี้สนามบินมีปัญหารถเข็นกระเป๋าไม่เพียงพอกับความต้องการทำให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการชำรุดของรถเข็นแล้วยังมีบางส่วนถูกขโมย โดยแหล่งข่าวจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ยอมรับว่า รถเข็นกระเป๋าที่สนามบินสุวรรณภูมิมีการชำรุดเสียหายค่อนข้างมาก ทำให้ในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะช่วงชั่วโมงที่มีจำนวนผู้โดยสารคับคั่ง รถเข็นจะมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสารในช่วงเวลานั้น เนื่องจากจะมีผู้โดยสารสูงสุดประมาณ 5,500-6,000 คนต่อชั่วโมง
โดยสาเหตุหนึ่งที่รถเข็นมีจำนวนน้อยปรากฏว่า มาจากการชำรุดค่อนข้างมากทั้งที่เพิ่งใช้งานมาเพียง 2 ปีนับจากเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ประกอบกับวัสดุของรถเข็นไม่ได้เป็นมาตรฐานเกรด A และบางส่วนถูกขโมยไปขาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนที่ถูกขโมยได้ถูกนำไปขายเป็นเศษเหล็ก ซึ่งหลังจาก ทอท.ได้เข้าแจ้งความต่อ สน.ราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ ได้ติดตามตัวคนร้ายและจับกุมตัวได้พบว่าเป็นคนในสนามบินสุวรรณภูมิเองจนต้องถูกไล่ออกจากงานแต่สนามบินพยายามปิดข่าวเงียบมาโดยตลอด
“ปัญหารถเข็นกระเป๋าในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ผู้บริหารการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิพยายามปิดเงียบ และยังไม่มีการแก้ปัญหารถเข็นกระเป๋ามีไม่เพียงพอ ปล่อยให้ผู้โดยสารแย่งรถเข็นกระเป๋าจนวุ่นวาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีผู้โดยสารลงจากเครื่องบินจำนวนมาก ซึ่งหากเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวจะต้องเรียกบริษัทเอกชนที่รับผิดชอบมาแก้ปัญหา และหากไม่เป็นไปตามสัญญาเอกชนจะต้องถูกปรับเป็นรายวัน และต้องหารถเข็นมาเพิ่มแต่ก็ไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าวเลย” แหล่งข่าวคนเดียวกันกล่าว
ทั้งนี้ ทอท.ได้ทำสัญญากับบริษัท ไทยแอร์พอร์ตส กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือแท็กส์ ให้เป็นผู้รับจ้างให้บริการรถเข็นกระเป๋า เป็นเวลา 7 ปี ในราคาค่างานรวมทั้งสิ้น 532.86 ล้านบาท โดยแทกส์จะต้องจัดหารถเข็นจำนวน 9,034 คันในสภาพที่สมบูรณ์ไว้ใช้งานตลอดเวลา โดยหากแทกส์ไม่สามารถจัดหารถเข็นให้ได้ตามสัญญาจะต้องถูกปรับ 2,000 บาทต่อคันต่อวัน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ทอท.มีคณะกรรมการตรวจการจ้างตามสัญญา เพื่อตรวจสอบให้แท็กส์ปฏิบัติตามสัญญา เช่น มีจำนวนรถเข็นครบตามสัญญากำหนด ซึ่งจะมีการตรวจสอบในภาพใหญ่ทุกเดือน ซึ่งยอมรับว่าตั้งแต่เปิดสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวนรถเข็นไม่ครบตามสัญญา และแทกส์ถูกปรับมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม จำนวนรถเข็นที่กำหนด 9,000 คันนั้น แบ่งเป็นรถเข็นขนาดเล็ก 2,000 คันและขนาดกลาง 7,000 คันนั้นเพียงพอกับจำนวนผู้โดยสาร ซึ่งได้มีการคำนวณตามหลักการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO)
แหล่งข่าวกล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาของรถเข็นกระเป๋าหากชำรุดเล็กน้อย แท็กส์จะดำเนินการซ่อมภายในพื้นที่สนามบินทันที แต่หากชำรุดมากและต้องซ่อมหนักต้องนำรถออกไปซ่อมนอกพื้นที่ ก็จะต้องดำเนินการให้เสร็จและนำรถกลับเข้าสู่ระบบเพื่อให้บริการภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในส่วนของการบริหารจัดการ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถหมุนเวียนรถให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกายภาพของสนามบินด้วย
สัญญาเปิดช่องเอื้อ “แท็กส์” พลิ้วได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ทอท.อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อปรับปรุงสัญญาในบางเงื่อนไขที่ทำให้ทอท.เสียประโยชน์ ให้มีความรัดกุมและมีช่องโหว่น้อยลง เช่น กรณีที่ตรวจพบว่ารถเข็นหายทำให้จำนวนไม่ครบตามที่กำหนด แทกส์มีเวลาในการจัดหารถกลับมาภายใน 30 วัน ซึ่งจุดนี้ทำให้ ทอท.เสียประโยชน์เพราะหากอ้างเหตุดังกล่าวจะต้องรอถึง 30 วัน ซึ่งในระหว่างนั้นจำนวนรถจะไม่ครบและไม่เพียงพอในการให้บริการ เป็นต้น
“เสรีรัตน์” เข้มปรับตามสัญญา
ด้านนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ได้รับรายงานของเดือน ส.ค.เกี่ยวกับการบริหารจัดการรถเข็นกระเป๋าสนามบินสุวรรณภูมิ ว่ามีการหมุนเวียนของรถไม่เพียงพอกับความต้องการในชั่วโมงคับคั่ง ดังนั้น ตนจึงได้สั่งการไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ดำเนินการตามสัญญาที่มีอย่างเคร่งครัด หากพบว่าจำนวนรถต่ำกว่าที่สัญญากำหนดก็ต้องปรับตามเงื่อนไข พร้อมทั้งให้หาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังด้วย
“การขาดแคลนรถเข็นที่เกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย ทั้งการชำรุดซึ่งทำให้มีรถส่วนหนึ่งถูกนำไปซ่อม และการที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถหมุนเวียนรถให้ทันกับความต้องการ ซึ่งต้องเร่งแก้ไขปัญหา” นายเสรีรัตน์กล่าว
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการ ทอท.ชุดที่มี พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นประธาน ได้เคยมีมติให้ตรวจสอบการให้สัมปทานกับแท็กส์ โดยระบุว่า สัญญามีความผิดปกติจากที่มีการปรับสเปกถึง 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะได้ตัดข้อกำหนดของบริษัทที่ได้รับสัมปทานที่จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การดำเนินงานด้านรถเข็นภายในท่าอากาศยานออก ปรับขนาดรถเข็นจากขนาดกลางที่สามารถขึ้นลงบันไดเลื่อนได้ออก การจัดซื้อวิธีพิเศษ และมีการเปลี่ยนแปลงร่างเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) โดยการออกทีโออาร์ใหม่ไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของ ทอท.
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมามีบริษัทจากเยอรมันภายใต้ยี่ห้อ “แวนเซิล” (WANZL) ที่เสนอให้รถเข็นกระเป๋า การดูแลรักษาและการบริการฟรี แลกกับการได้พื้นที่โฆษณาที่รถเข็นภายในระยะเวลา 7 ปี แต่ข้อเสนอดังกล่าวกลับไม่ได้รับความเห็นชอบ ซึ่งบอร์ดทอท.ในขณะนั้น การดำเนินการดังกล่าวทำให้ ทอท.ได้รถเข็นที่ไม่มีคุณภาพ และมีใช้บริการร้องเรียนว่าไม่ได้รับความสะดวกในการใช้งาน และได้รับบาดเจ็บที่บริเวณขาและมือเพราะความคมของรถเข็นเป็นจำนวนมาก
“แท็กส์” ปริศนา “นอมินีเจ๊”
การให้บริการรถเข็นกระเป๋านับเป็นแค่หนึ่งในหลายๆ งานบริการภาคพื้นดินของแท็กส์ ที่ได้รับสัญญาจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)
แท็กส์ เดิมมี ทอท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่ผ่านมาผูกขาดการให้บริการภาคพื่นดินที่สนามบินดอนเมือง ต่อมาเมื่อรัฐบาลทักษิณเร่งก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ บริษัทนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นอย่างน่าสนใจ โดยก่อนที่จะเปิดใช้สนามบินและมีงานประมูลหลายอย่างที่เร่งดำเนินการช่วงปี 2549 จู่ๆ บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ บริษัท โฟร์บริชเชอร์ ก็เข้ามากว้านซื้อหุ้นจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทน ทอท.
จากนั้น แท็กส์ก็รับงานใหญ่ อาทิ โครงการบริหารเขตปลอดอากรและศูนย์ลอจิสติกส์ในสนามบินสุวรรณภูมิมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยไม่มีการประมูลแข่งขัน ซึ่งขณะนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดเป็นบอร์ดการท่ากาศยาน
ในส่วนของบริษัท โฟร์บริชเชอร์ จากการตรวจสอบพบเป็นบริษัทที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน มีทุนจดทะเบียนเพียง 2.4 ล้านบาท และมีรายได้ปีละ 100-200 บาท และผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทโฟร์บริชเชอร์ มีเพียง 2 คน คือ คนสิงคโปร์เป็นทนายความผู้ตรวจสอบบัญชีบริษัท และคนไทย 1 คน ซึ่งถือหุ้นบริษัทในรูปแบบทรัสต์ จึงไม่เปิดเผยผู้ถือหุ้นที่แท้จริง และจากการตรวจสอบที่อยู่พบว่าอาคารดังกล่าวรื้อถอนไปแล้ว
ทั้งนี้ เรื่องนี้เป็นหนึ่งในประเด็นที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบของ ป.ป.ช. โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2549 ให้สอบสวนเรื่องคดีร่ำรวยผิดปกติ จงใจปกปิดทรัพย์สินของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภรรยานายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ในหนังสือที่นายอลงกรณ์ร้องเรียน ป.ป.ช.ระบุว่า นางเยาวภา ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างปี 2544 -2549 มีพฤติการณ์ซื้อมาขายไป ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน และมีทรัพย์สินในครอบครัวเพิ่มมากขึ้นภายหลังเข้ารับตำแหน่งทางการเมือง โดยต่อมา ป.ป.ช.ได้สอบเพิ่มเติมกรณีที่อาจมีการซ่อนหุ้นบริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวด์ เซอร์วิสเซส หรือ แท็กส์ รวมอยู่ด้วย