ศาลฎีกานักการเมือง เลื่อนพิพากษาคดีทุจริตซื้อที่ดิน พร้อมสั่งออกหมายจับ“ ทักษิณ – หญิงอ้อ” 2 จำเลยมาขึ้นศาล พร้อมนัดพิพากษาอีกครั้ง 21 ต.ค.นี้ เวลา 14.00 น.อัยการเชื่อ หากไม่มาศาล อาจพิพากษาลับหลัง
วานนี้(17 ก.ย.)เวลา 10.00 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง โดยทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4 , 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157 จากกรณีที่คุณหญิงพจมาน เข้าประมูลซื้อขายที่ดิน ย่าน รัชดาภิเษก 4 แปลง มูลค่า 772 ล้านบาทเศษจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
โดยอัยการโจทก์มาศาล แต่จำเลยทั้งสอง และทนายความจำเลย ไม่มาศาล ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลติดประกาศหมายนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่มา
ฟังคำพิพากษา จึงต้องออกหมายจับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 32 วรรคสอง จึงให้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 21 ต.ค.นี้ เวลา 14.00 น. พร้อมมีคำสั่งให้ออกหมายจับทั้งสอง มาฟังคำพิพากษาต่อไป
ทั้งนี้ศาลยังได้แจ้งให้อัยการโจทก์ ทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 11 /2551 ที่จำเลยทั้งสองโต้แย้ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 , 100 และ 122 ที่ยื่นฟ้องคดีนี้ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เรื่องการถือครองทรัพย์สินของบุคคล โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว เห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อ รธน. มาตรา 26 – 29 ,39 และ 43
นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบคดี กล่าวว่า เมื่อจำเลยหลบหนี ไม่มาศาลแล้ว ศาลออกหมาจับ ก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( สตช.) ในการติดตามตัวจำเลยทั้งสอง ซึ่งหาก สตช.ประสานมายังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน อัยการก็มีคณะทำงานเตรียมพร้อมดำเนินแล้วโดยก่อนหน้านี้คณะทำงาน ได้ประสานขอข้อมูลการฟ้องคดี พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ว่ายื่นฟ้องแล้วกี่คดี และคดีอยู่ในชั้นใดเพื่อเตรียมส่งข้อมูลให้อัยการฝ่ายต่างประเทศยื่นคำร้องขอส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน
อย่างไรก็ดี หากนัดอ่านคำพิพากษาวันที่ 21 ต.ค. ยังไม่ได้ตัวจำเลยทั้งสองมา ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลว่าจะอ่านคำพิพากษาลับหลังหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้ อัยการสูงสุด ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4 , 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157
โดยอัยการโจทก์ และจำเลย นำพยานเข้าไต่สวนพยานโจทก์ฝ่ายละ20 ปาก ใช้เวลา 2 เดือน ก.ค.–ส.ค. นำสืบฝ่ายละ5นัด ซึ่งพยานโจทก์ประกอบด้วย กลุ่มอดีตนายกรัฐมนตรี , กลุ่ม คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) , กลุ่มเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) และเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูกิจการและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และกลุ่มเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้าวันเดียวกัน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี จำเลย 1 ใน 47 คน คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว (หวยบนดิน) ได้เดินทางมายังศาลฎีกา ฯ เพื่อยื่นคำร้องและหลักทรัพย์มูลค่า 2 ล้านบาทขอประกันตัวด้วย
วานนี้(17 ก.ย.)เวลา 10.00 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง โดยทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4 , 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157 จากกรณีที่คุณหญิงพจมาน เข้าประมูลซื้อขายที่ดิน ย่าน รัชดาภิเษก 4 แปลง มูลค่า 772 ล้านบาทเศษจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
โดยอัยการโจทก์มาศาล แต่จำเลยทั้งสอง และทนายความจำเลย ไม่มาศาล ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลติดประกาศหมายนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่มา
ฟังคำพิพากษา จึงต้องออกหมายจับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 32 วรรคสอง จึงให้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 21 ต.ค.นี้ เวลา 14.00 น. พร้อมมีคำสั่งให้ออกหมายจับทั้งสอง มาฟังคำพิพากษาต่อไป
ทั้งนี้ศาลยังได้แจ้งให้อัยการโจทก์ ทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 11 /2551 ที่จำเลยทั้งสองโต้แย้ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 , 100 และ 122 ที่ยื่นฟ้องคดีนี้ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เรื่องการถือครองทรัพย์สินของบุคคล โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว เห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อ รธน. มาตรา 26 – 29 ,39 และ 43
นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบคดี กล่าวว่า เมื่อจำเลยหลบหนี ไม่มาศาลแล้ว ศาลออกหมาจับ ก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( สตช.) ในการติดตามตัวจำเลยทั้งสอง ซึ่งหาก สตช.ประสานมายังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน อัยการก็มีคณะทำงานเตรียมพร้อมดำเนินแล้วโดยก่อนหน้านี้คณะทำงาน ได้ประสานขอข้อมูลการฟ้องคดี พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ว่ายื่นฟ้องแล้วกี่คดี และคดีอยู่ในชั้นใดเพื่อเตรียมส่งข้อมูลให้อัยการฝ่ายต่างประเทศยื่นคำร้องขอส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน
อย่างไรก็ดี หากนัดอ่านคำพิพากษาวันที่ 21 ต.ค. ยังไม่ได้ตัวจำเลยทั้งสองมา ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลว่าจะอ่านคำพิพากษาลับหลังหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้ อัยการสูงสุด ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4 , 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157
โดยอัยการโจทก์ และจำเลย นำพยานเข้าไต่สวนพยานโจทก์ฝ่ายละ20 ปาก ใช้เวลา 2 เดือน ก.ค.–ส.ค. นำสืบฝ่ายละ5นัด ซึ่งพยานโจทก์ประกอบด้วย กลุ่มอดีตนายกรัฐมนตรี , กลุ่ม คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) , กลุ่มเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) และเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูกิจการและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และกลุ่มเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้าวันเดียวกัน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี จำเลย 1 ใน 47 คน คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว (หวยบนดิน) ได้เดินทางมายังศาลฎีกา ฯ เพื่อยื่นคำร้องและหลักทรัพย์มูลค่า 2 ล้านบาทขอประกันตัวด้วย