วานนี้ (28 เม.ย.) นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ..ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก กล่าวว่า ในวันที่ 29 เม.ย. เวลา 10.00 น. คุณหญิงพจมาน พร้อมจะเดินทางไปศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อสอบคำให้การ และตรวจสอบพยานหลักฐานตามที่องค์คณะผู้พิพากษาฯ นัดไว้ ส่วนการยื่นคำร้องเพื่อขอสืบพยานลับหลังจำเลยเหมือนกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 ยื่นต่อศาลฎีกาฯ ซึ่งอนุญาตให้สืบพยานลับหลังได้นั้น ยังไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแต่อย่างใด
แหล่งข่าวอัยการ หนึ่งในคณะทำงานอัยการที่รับผิดชอบคดีนี้ กล่าวว่าได้ยื่นบัญชีพยานหลักฐานต่อศาลเมื่อวันที่ 18 เม.ย. เป็นพยานที่ได้จากการไต่สวนของ คตส. ซึ่งนายวีระ สมความคิด ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อป.ป.ช. ว่าการซื้อขายที่ดินรัชดาฯอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่อยมาจนถึงการแต่งตั้ง คตส. รับผิดชอบคดีและสรุปผลชี้มูลความผิด โดยในวันตรวจสอบพยานหลักฐาน ศาลฎีกาฯ จะได้กำหนดประเด็นที่จะไต่สวนว่าต้องนำสืบประเด็นใดบ้าง โจทก์และจำเลย จะนำพยานเข้าไต่สวนทั้งหมดกี่ปาก พร้อมทั้งกำหนดวันนัดสืบพยาน เชื่อว่าคงใช้เวลาไต่สวนราว 3 เดือน เนื่องจากคดีมีข้อเท็จจริงปรากฏเป็นพยานเอกสารอยู่แล้วว่าใครซื้อ ที่ดินจำนวนเท่าใด ใครเป็นผู้ขายทอดตลาด ด้วยวิธีการอย่างไร ซึ่งจะไต่สวนพยานบุคคลเพื่อนำสืบให้เห็นเจตนาพิเศษว่าการซื้อขายที่ดินทำให้การเกิดความเสียหายหรือไม่ มีใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการเป็นคู่สัญญาของหน่วยงานรัฐ
สำหรับคดีนี้ประเด็นหลักที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง คือ 1. เรื่องอำนาจ กำกับ ดูแลกองทุนฟื้นฟู ฯ 2. เรื่องการเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียของคู่สมรส เจ้าหน้ารัฐที่กำกับดูแลกิจการนั้น และ 3. การแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองจากการเป็นคู่สัญญาในหน่วยงานของรัฐ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนคำให้การที่พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ที่ยื่นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลฎีกา ฯ จำนวน 121 หน้านั้น จำเลยทั้งสองได้ยกประเด็นต่อสู้ทุกเรื่อง ตั้งแต่อำนาจการไต่สวนและชี้มูลความผิดของ คตส. ซึ่งเป็นประเด็นข้อกฎหมาย และประเด็นที่ยกขึ้นอ้างว่า คตส. บางคน เคยมีเหตุโกรธเคืองมาก่อนจึงเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่สรุปสำนวน รวมทั้งประเด็นเรื่องอำนาจ ควบคุม ดูแล กองทุน ฯ ซึ่งต่อสู้ว่ากองทุนฯ อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ซึ่งมีผู้ว่าฯธปท. ดูแลและถือเป็นนิติบุคคลที่แยกเป็นอิสระไม่ขึ้นกับ ครม.หรือฝ่ายบริหาร
อย่างไรก็ตาม อัยการมั่นใจว่าจะสามารถนำสืบประเด็นที่ฟ้องได้รวมทั้งประเด็นที่จำเลยต่อสู้ด้วย ซึ่งเรื่องของอำนาจ กำกับดูแล กองทุนฯ จะมี ผู้ว่าฯธปท. เป็นพยานไต่สวน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานรัฐอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ กระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์ กรมที่ดิน รวมถึงกลุ่มลูกหนี้กองทุน ฯ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินราคาการขายทอดตลาด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาฯรวม 4 แปลงมูลค่ากว่า 772 ล้านบาท ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นจำเลยที่ 1-2 ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4, 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157 โดย พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 ได้เข้าสอบคำให้การต่อศาลฎีกาฯ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.51 หลังจากเดินทางเข้าประเทศ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันปฏิเสธทุกข้อกล่าว พร้อมยื่นคำให้การต่อศาลเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นศาลฎีกา ฯ จึงได้นัดสอบคำให้การคุณหญิงพจมานพร้อมตรวจสอบพยานหลักฐานคดีดังกล่าว
แหล่งข่าวอัยการ หนึ่งในคณะทำงานอัยการที่รับผิดชอบคดีนี้ กล่าวว่าได้ยื่นบัญชีพยานหลักฐานต่อศาลเมื่อวันที่ 18 เม.ย. เป็นพยานที่ได้จากการไต่สวนของ คตส. ซึ่งนายวีระ สมความคิด ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อป.ป.ช. ว่าการซื้อขายที่ดินรัชดาฯอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่อยมาจนถึงการแต่งตั้ง คตส. รับผิดชอบคดีและสรุปผลชี้มูลความผิด โดยในวันตรวจสอบพยานหลักฐาน ศาลฎีกาฯ จะได้กำหนดประเด็นที่จะไต่สวนว่าต้องนำสืบประเด็นใดบ้าง โจทก์และจำเลย จะนำพยานเข้าไต่สวนทั้งหมดกี่ปาก พร้อมทั้งกำหนดวันนัดสืบพยาน เชื่อว่าคงใช้เวลาไต่สวนราว 3 เดือน เนื่องจากคดีมีข้อเท็จจริงปรากฏเป็นพยานเอกสารอยู่แล้วว่าใครซื้อ ที่ดินจำนวนเท่าใด ใครเป็นผู้ขายทอดตลาด ด้วยวิธีการอย่างไร ซึ่งจะไต่สวนพยานบุคคลเพื่อนำสืบให้เห็นเจตนาพิเศษว่าการซื้อขายที่ดินทำให้การเกิดความเสียหายหรือไม่ มีใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการเป็นคู่สัญญาของหน่วยงานรัฐ
สำหรับคดีนี้ประเด็นหลักที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง คือ 1. เรื่องอำนาจ กำกับ ดูแลกองทุนฟื้นฟู ฯ 2. เรื่องการเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียของคู่สมรส เจ้าหน้ารัฐที่กำกับดูแลกิจการนั้น และ 3. การแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองจากการเป็นคู่สัญญาในหน่วยงานของรัฐ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนคำให้การที่พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ที่ยื่นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลฎีกา ฯ จำนวน 121 หน้านั้น จำเลยทั้งสองได้ยกประเด็นต่อสู้ทุกเรื่อง ตั้งแต่อำนาจการไต่สวนและชี้มูลความผิดของ คตส. ซึ่งเป็นประเด็นข้อกฎหมาย และประเด็นที่ยกขึ้นอ้างว่า คตส. บางคน เคยมีเหตุโกรธเคืองมาก่อนจึงเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่สรุปสำนวน รวมทั้งประเด็นเรื่องอำนาจ ควบคุม ดูแล กองทุน ฯ ซึ่งต่อสู้ว่ากองทุนฯ อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ซึ่งมีผู้ว่าฯธปท. ดูแลและถือเป็นนิติบุคคลที่แยกเป็นอิสระไม่ขึ้นกับ ครม.หรือฝ่ายบริหาร
อย่างไรก็ตาม อัยการมั่นใจว่าจะสามารถนำสืบประเด็นที่ฟ้องได้รวมทั้งประเด็นที่จำเลยต่อสู้ด้วย ซึ่งเรื่องของอำนาจ กำกับดูแล กองทุนฯ จะมี ผู้ว่าฯธปท. เป็นพยานไต่สวน นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานรัฐอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ กระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์ กรมที่ดิน รวมถึงกลุ่มลูกหนี้กองทุน ฯ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินราคาการขายทอดตลาด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาฯรวม 4 แปลงมูลค่ากว่า 772 ล้านบาท ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นจำเลยที่ 1-2 ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4, 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157 โดย พ.ต.ท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 ได้เข้าสอบคำให้การต่อศาลฎีกาฯ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.51 หลังจากเดินทางเข้าประเทศ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันปฏิเสธทุกข้อกล่าว พร้อมยื่นคำให้การต่อศาลเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นศาลฎีกา ฯ จึงได้นัดสอบคำให้การคุณหญิงพจมานพร้อมตรวจสอบพยานหลักฐานคดีดังกล่าว