จากบทความตอนที่แล้ว เราได้ทราบไปแล้วว่าเลห์แมน บราเธอร์ส คือใคร และปัจจุบันเกิดปัญหาอะไรขึ้น ในตอนที่ 2 นี้จะเป็นการอธิบายสาเหตุที่มาที่ไปของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งกับบริษัท และระบบทุนนิยมเสรีอเมริกัน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยตามหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
ระบบทุนนิยมเสรีของสหรัฐอเมริกา ที่เน้นหลักการบริโภคนิยมเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักศีลธรรมจรรยาคือปัญหาหลักที่ทำให้อเมริกาต้องมีปัญหาอย่างทุกวันนี้ หรือแม้แต่การบริโภคทรัพยากรโลกจนทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างในทุกวันนี้ ก็เกิดจากการบริโภคอย่างไม่มีปัญญาพิจารณา
ในตลาดการเงินภายใต้ระบบทุนนิยมเสรีที่ปล่อยให้ทุกคนในระบบแข่งขันกันให้ถึงที่สุดโดยไม่ได้คำนึงถึงหลักธรรมที่สำคัญ 2 ประการนั่นคือ ปัญญา และ มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เช่น ในกรณีของ เลห์แมน บราเธอร์ส ปัญหาเกิดจากการเก็งกำไรในตลาดอนุพันธ์ ที่เมื่อขาดสภาพคล่องเนื่องจากปัญหาการปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อตลาดอยู่ในขาลง การขาดสภาพคล่อง ขาดเงินหมุนเวียนก็ทำให้บริษัทถึงจุดจบ
ตลาดตราสารอนุพันธ์ (Derivative Markets)โดยเฉพาะในตลาด Future ที่ เลห์แมน บราเธอร์สเป็นดีลเลอร์ใหญ่นั้น เกิดขึ้นในโลกการเงินโดยความหวังดีที่จะมีการสร้างตราสารหรือเครื่องมือทางการเงินที่เป็นมาตรฐาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการค้าสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอุปทานหรือผลผลิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน
นอกจากนั้นการที่ไม่รู้ราคาล่วงหน้ามักจะทำให้เกษตรกรประสบปัญหาสินค้าล้นตลาด สลับกับขาดตลาดอยู่เสมอ เช่น ในปีที่สินค้าเกษตรราคาสูง เกษตรกรมักจะลงทุนปลูกพืชเป็นจำนวนมาก ทำให้ในฤดูกาลถัดมาเกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด ทำให้ราคาตก เมื่อเป็นเช่นนี้ในปีการผลิตหน้าเกษตรกรก็จะลดการลงทุนเพาะปลูกลง ทำให้ในฤดูเก็บเกี่ยวถัดไปเกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า, ตลาดอนุพันธ์ตราสาร เช่น Future จึงเกิดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงให้กับทั้งเกษตรกร และผู้ที่ต้องการซื้อผลผลิต เลห์แมน บราเธอร์ส ก็เจริญเติบโตมากับธุรกิจเช่นนี้
และเมื่อเวลาผ่านไปตราสารเหล่านี้ก็ถูกพัฒนาจากตลาดสินค้าเกษตร เข้าสู่ตลาดการเงิน และเมื่อนักลงทุน นักธุรกิจเหล่านี้เกิดความละโมบ ไม่รู้จักประมาณตนเอง ไม่รู้จักว่าทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา การลงทุนแต่พอดี การลงทุนโดยใช้ปัญญา (ความฉลาดประกอบกับคุณธรรม) ลงทุนในตราสารเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยง ก็ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นการเก็งกำไร ใช้ตลาดการเงินเช่นนี้เป็นเหมือนการพนันที่เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นก็ได้สตางค์ เมื่อราคาสินค้าลดลงก็ได้สตางค์ ไม่ได้ทำเพื่อลดความเสี่ยง แต่กลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงจากการเก็งกำไร
ในอีกทางหนึ่ง เงินตราที่ได้มาก็เอาไปปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเป็นลูกหนี้ที่มีเครดิตต่ำ (Sub-prime Lending) ซึ่งลูกหนี้เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะชักดาบสูง การปล่อยกู้โดยประมาท ไม่รู้จักความพอดี ไม่รู้จักทางสายกลาง ไม่ใช้ปัญญาในการพิจารณาอย่างรอบคอบ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ขาลง ลูกหนี้ชักดาบ บริษัทขาดสภาพคล่อง (ขาดเงิน) ก็ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้อีกด้านที่เก็งกำไรไว้ เกิดปัญหาตามมา และทำให้บริษัทถึงกับล้มละลายในที่สุด
เมื่อเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ที่เคยประกาศว่าตนบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ต้องพบกับจุดจบเช่นนี้ เพียงเพราะไม่รู้จักหลักธรรมเพียง 2 ข้อ ทางสายกลาง คือการรู้จักประมาณตนเอง รู้จักความพอดี เมื่อทางสายกลางมารวมกับปัญญาจะทำให้เราพิจารณาได้ว่า ทางสายกลางไม่ได้แปลว่า ระหว่างกินเหล้า 10 แก้วในหนึ่งวัน กับไม่กินเหล้าเลย (ศูนย์แก้วต่อวัน)
ทางสายกลางที่ใช้ปัญญาจะบอกเราว่า ตรงกลางไม่ใช่กินเหล้า 5 แก้วต่อวัน แต่ต้องไม่กินเลยซักแก้ว เพราะสุราเป็นอบายมุขประเภทหนึ่ง ทางสายกลางไม่ใช่อยู่ตรงกลางระหว่างความดี ความชั่ว แต่ทางสายกลางต้องประกอบด้วยปัญญา แล้วเลือกความดี การเมืองใหม่ก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นการเมืองที่ประกอบด้วยปัญญา เมื่อมีการเมืองใหม่ ระหว่างทรราชโกงชาติเป็นพันเป็นหมื่นล้าน กับไม่โกง ทางสายกลางยืนอยู่ตรงกลางไม่ใช่โกงแบบกลางๆ แต่ต้องไม่โกง ต้องเป็นการเมืองที่อยู่บนหลักศีลธรรม
เศรษฐกิจใหม่ที่จะอยู่คู่กับการเมืองใหม่ก็ต้องเป็นเศรษฐกิจอุดมปัญญาด้วยเช่นกัน ดังนั้นกิจกรรมทางการเงิน เช่น การเก็งกำไร การไม่รู้จักความดี การปล่อยเงินกู้โดยไม่มีเหตุผล เช่น กู้เงินไปเพื่อการบริโภคแบบเดี่ยวกับ Personal Loan, Quick Cash, Easy Money ที่คนกู้เงินไปโดยไม่ได้ไปลงทุน ทำกิจการที่จะสร้างรายได้ให้งอกเงย แต่เป็นการกู้เงินไปซื้อเหล้า ซื้อรถจักรยานยนต์ การปล่อยกู้เช่นนี้ ต้องไม่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจใหม่ การกู้เงินต้องมี แต่ต้องเป็นการปล่อยกู้ให้กับผู้ที่ต้องการเงินไปลงทุนในกิจการที่ถูกต้องเหมาะสมกับสังคมไทย เกิดการผลิต เกิดการสร้างรายได้ เกิดความดีงามในสังคม เราต้องปล่อยกู้ให้กับกิจการเหล่านี้ ต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยใช้ปัญญา
เครื่องมือทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นในตลาดหลักทรัพย์, ตลาดพันธบัตร, ตลาดอนุพันธ์, ตลาดซื้อขายล่วงหน้า, ตลาดเงินตราต่างประเทศ, และอื่นๆ ต้องเกิดขึ้น เพื่อเป็นตลาดรอง เพื่อการลงทุน และเพื่อการกระจายความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยง ไม่ใช่เพื่อเก็งกำไร หรือเพื่อเล่นการพนัน ไม่ใช่เปิดตลาดการเงินโดยไม่ดูความพร้อมของประเทศ, ไม่ใช่เอารัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม มาแปลงเป็นหุ้นเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับคนแค่บางกลุ่ม
ศตวรรษที่ 21 คงจะเป็นศตวรรษของเอเชีย โลกเศรษฐกิจที่นำโดยจีนและญี่ปุ่น แล้วไทยล่ะเราจะยืนอยู่ที่ไหน จะตามกลุ่มผู้นำใหม่ทางเศรษฐกิจได้หรือไม่ ถ้าจะตามให้ได้ผมขอเสนอให้ไทยต้องมีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง ต้องสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ที่ใฝ่ดี มีปัญญาและต้องคู่กับเศรษฐกิจระบบใหม่ที่อุดมปัญญาด้วยเช่นกัน และเศรษฐกิจระบบใหม่ ไม่ใช่สิ่งที่คนไทยไม่รู้จัก
พ่อหลวงของเราได้แสดงให้เห็นไว้นานแล้ว ระบบเศรษฐกิจที่เป็นไปตามหลักสันโดษ (พอใจในสิ่งที่มี ที่ได้) เศรษฐกิจที่อุดมปัญญา (รู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริง ด้วยความฉลาด และด้วยศีลธรรมที่ดี) ระบบเศรษฐกิจที่เป็นไปตามแนวทางของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของเราพยายามอธิบาย พยายามแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างมานานแล้ว และเราเรียกแนวคิดที่สุขสมบูรณ์นี้ว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” คำถามที่สำคัญคือ เมื่อเราจะสร้างการเมืองใหม่กันแล้ว ระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เดินตามรอยเท้าพ่อ เศรษฐกิจพอเพียง ถึงเวลาที่เราจะนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วหรือยัง
ระบบทุนนิยมเสรีของสหรัฐอเมริกา ที่เน้นหลักการบริโภคนิยมเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ได้คำนึงถึงหลักศีลธรรมจรรยาคือปัญหาหลักที่ทำให้อเมริกาต้องมีปัญหาอย่างทุกวันนี้ หรือแม้แต่การบริโภคทรัพยากรโลกจนทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างในทุกวันนี้ ก็เกิดจากการบริโภคอย่างไม่มีปัญญาพิจารณา
ในตลาดการเงินภายใต้ระบบทุนนิยมเสรีที่ปล่อยให้ทุกคนในระบบแข่งขันกันให้ถึงที่สุดโดยไม่ได้คำนึงถึงหลักธรรมที่สำคัญ 2 ประการนั่นคือ ปัญญา และ มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เช่น ในกรณีของ เลห์แมน บราเธอร์ส ปัญหาเกิดจากการเก็งกำไรในตลาดอนุพันธ์ ที่เมื่อขาดสภาพคล่องเนื่องจากปัญหาการปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อตลาดอยู่ในขาลง การขาดสภาพคล่อง ขาดเงินหมุนเวียนก็ทำให้บริษัทถึงจุดจบ
ตลาดตราสารอนุพันธ์ (Derivative Markets)โดยเฉพาะในตลาด Future ที่ เลห์แมน บราเธอร์สเป็นดีลเลอร์ใหญ่นั้น เกิดขึ้นในโลกการเงินโดยความหวังดีที่จะมีการสร้างตราสารหรือเครื่องมือทางการเงินที่เป็นมาตรฐาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการค้าสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอุปทานหรือผลผลิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน
นอกจากนั้นการที่ไม่รู้ราคาล่วงหน้ามักจะทำให้เกษตรกรประสบปัญหาสินค้าล้นตลาด สลับกับขาดตลาดอยู่เสมอ เช่น ในปีที่สินค้าเกษตรราคาสูง เกษตรกรมักจะลงทุนปลูกพืชเป็นจำนวนมาก ทำให้ในฤดูกาลถัดมาเกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด ทำให้ราคาตก เมื่อเป็นเช่นนี้ในปีการผลิตหน้าเกษตรกรก็จะลดการลงทุนเพาะปลูกลง ทำให้ในฤดูเก็บเกี่ยวถัดไปเกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า, ตลาดอนุพันธ์ตราสาร เช่น Future จึงเกิดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงให้กับทั้งเกษตรกร และผู้ที่ต้องการซื้อผลผลิต เลห์แมน บราเธอร์ส ก็เจริญเติบโตมากับธุรกิจเช่นนี้
และเมื่อเวลาผ่านไปตราสารเหล่านี้ก็ถูกพัฒนาจากตลาดสินค้าเกษตร เข้าสู่ตลาดการเงิน และเมื่อนักลงทุน นักธุรกิจเหล่านี้เกิดความละโมบ ไม่รู้จักประมาณตนเอง ไม่รู้จักว่าทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา การลงทุนแต่พอดี การลงทุนโดยใช้ปัญญา (ความฉลาดประกอบกับคุณธรรม) ลงทุนในตราสารเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยง ก็ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นการเก็งกำไร ใช้ตลาดการเงินเช่นนี้เป็นเหมือนการพนันที่เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นก็ได้สตางค์ เมื่อราคาสินค้าลดลงก็ได้สตางค์ ไม่ได้ทำเพื่อลดความเสี่ยง แต่กลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงจากการเก็งกำไร
ในอีกทางหนึ่ง เงินตราที่ได้มาก็เอาไปปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเป็นลูกหนี้ที่มีเครดิตต่ำ (Sub-prime Lending) ซึ่งลูกหนี้เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะชักดาบสูง การปล่อยกู้โดยประมาท ไม่รู้จักความพอดี ไม่รู้จักทางสายกลาง ไม่ใช้ปัญญาในการพิจารณาอย่างรอบคอบ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ขาลง ลูกหนี้ชักดาบ บริษัทขาดสภาพคล่อง (ขาดเงิน) ก็ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้อีกด้านที่เก็งกำไรไว้ เกิดปัญหาตามมา และทำให้บริษัทถึงกับล้มละลายในที่สุด
เมื่อเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ที่เคยประกาศว่าตนบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ต้องพบกับจุดจบเช่นนี้ เพียงเพราะไม่รู้จักหลักธรรมเพียง 2 ข้อ ทางสายกลาง คือการรู้จักประมาณตนเอง รู้จักความพอดี เมื่อทางสายกลางมารวมกับปัญญาจะทำให้เราพิจารณาได้ว่า ทางสายกลางไม่ได้แปลว่า ระหว่างกินเหล้า 10 แก้วในหนึ่งวัน กับไม่กินเหล้าเลย (ศูนย์แก้วต่อวัน)
ทางสายกลางที่ใช้ปัญญาจะบอกเราว่า ตรงกลางไม่ใช่กินเหล้า 5 แก้วต่อวัน แต่ต้องไม่กินเลยซักแก้ว เพราะสุราเป็นอบายมุขประเภทหนึ่ง ทางสายกลางไม่ใช่อยู่ตรงกลางระหว่างความดี ความชั่ว แต่ทางสายกลางต้องประกอบด้วยปัญญา แล้วเลือกความดี การเมืองใหม่ก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นการเมืองที่ประกอบด้วยปัญญา เมื่อมีการเมืองใหม่ ระหว่างทรราชโกงชาติเป็นพันเป็นหมื่นล้าน กับไม่โกง ทางสายกลางยืนอยู่ตรงกลางไม่ใช่โกงแบบกลางๆ แต่ต้องไม่โกง ต้องเป็นการเมืองที่อยู่บนหลักศีลธรรม
เศรษฐกิจใหม่ที่จะอยู่คู่กับการเมืองใหม่ก็ต้องเป็นเศรษฐกิจอุดมปัญญาด้วยเช่นกัน ดังนั้นกิจกรรมทางการเงิน เช่น การเก็งกำไร การไม่รู้จักความดี การปล่อยเงินกู้โดยไม่มีเหตุผล เช่น กู้เงินไปเพื่อการบริโภคแบบเดี่ยวกับ Personal Loan, Quick Cash, Easy Money ที่คนกู้เงินไปโดยไม่ได้ไปลงทุน ทำกิจการที่จะสร้างรายได้ให้งอกเงย แต่เป็นการกู้เงินไปซื้อเหล้า ซื้อรถจักรยานยนต์ การปล่อยกู้เช่นนี้ ต้องไม่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจใหม่ การกู้เงินต้องมี แต่ต้องเป็นการปล่อยกู้ให้กับผู้ที่ต้องการเงินไปลงทุนในกิจการที่ถูกต้องเหมาะสมกับสังคมไทย เกิดการผลิต เกิดการสร้างรายได้ เกิดความดีงามในสังคม เราต้องปล่อยกู้ให้กับกิจการเหล่านี้ ต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยใช้ปัญญา
เครื่องมือทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นในตลาดหลักทรัพย์, ตลาดพันธบัตร, ตลาดอนุพันธ์, ตลาดซื้อขายล่วงหน้า, ตลาดเงินตราต่างประเทศ, และอื่นๆ ต้องเกิดขึ้น เพื่อเป็นตลาดรอง เพื่อการลงทุน และเพื่อการกระจายความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยง ไม่ใช่เพื่อเก็งกำไร หรือเพื่อเล่นการพนัน ไม่ใช่เปิดตลาดการเงินโดยไม่ดูความพร้อมของประเทศ, ไม่ใช่เอารัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม มาแปลงเป็นหุ้นเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับคนแค่บางกลุ่ม
ศตวรรษที่ 21 คงจะเป็นศตวรรษของเอเชีย โลกเศรษฐกิจที่นำโดยจีนและญี่ปุ่น แล้วไทยล่ะเราจะยืนอยู่ที่ไหน จะตามกลุ่มผู้นำใหม่ทางเศรษฐกิจได้หรือไม่ ถ้าจะตามให้ได้ผมขอเสนอให้ไทยต้องมีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง ต้องสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่ที่ใฝ่ดี มีปัญญาและต้องคู่กับเศรษฐกิจระบบใหม่ที่อุดมปัญญาด้วยเช่นกัน และเศรษฐกิจระบบใหม่ ไม่ใช่สิ่งที่คนไทยไม่รู้จัก
พ่อหลวงของเราได้แสดงให้เห็นไว้นานแล้ว ระบบเศรษฐกิจที่เป็นไปตามหลักสันโดษ (พอใจในสิ่งที่มี ที่ได้) เศรษฐกิจที่อุดมปัญญา (รู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริง ด้วยความฉลาด และด้วยศีลธรรมที่ดี) ระบบเศรษฐกิจที่เป็นไปตามแนวทางของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของเราพยายามอธิบาย พยายามแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างมานานแล้ว และเราเรียกแนวคิดที่สุขสมบูรณ์นี้ว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” คำถามที่สำคัญคือ เมื่อเราจะสร้างการเมืองใหม่กันแล้ว ระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เดินตามรอยเท้าพ่อ เศรษฐกิจพอเพียง ถึงเวลาที่เราจะนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วหรือยัง