วานนี้(15 ก.ย.) มีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 ที่รัฐสภา เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 13.30 น. มีนาย นิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม
ทั้งนี้ วุฒิสภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ 8 ก.ย. 2551 ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 168 วรรคสาม บัญญัติ โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา
นาย คำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า การจัดงบประมาณแผ่นดินในครั้งนี้ไม่ยึดการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ส่อว่าจะใช้จ่ายไม่สมเหตุผล และมีกระบวนการตราที่น่าสงสัยว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 154
ขณะนี้ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้จากภาคท่องเที่ยวและภาคบริการหดหายแสนล้านบาทจากการประกาศภาวะฉุกเฉินทำให้การประมาณการรายรับน่าจะผิดเพี้ยน เศรษฐกิจมีแนวโน้มไม่เติบโตอย่างที่คาดการณ์ ขณะเดียวกันรัฐบาลกลับมุ่งทำโครงการขนาดใหญ่อย่างการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 6,000 คัน ซึ่ง สตง.ทักท้วงว่า เงินลงทุนสูงและระยะยาวควรพิจารณาใหม่ หรือโครงการการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่ไม่มีการทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และด้านสังคม(เอสไอเอ)อาจขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 67 หรืองบผู้ว่าราชการจังหวัด แม้จะดูดีในแง่การกระจาย แต่หากดูงบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แสนล้านบาท เป็นเงินที่ท้องถิ่นจัดเก็บได้ แต่ กทม.และพัทยา ได้เงินลดลง
ทั้งนี้รัฐบาลคิดจะทำโครงการใหญ่ๆ ขณะที่สภาวะประเทศไม่ร่ำรวยและต้องกู้เป็นแสนล้านบาท ฉะนั้นควรทำเท่าที่จำเป็น ซึ่งตนจึงไม่อาจให้ความเห็นชอบ
นาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา อภิปรายทักท้วงว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรคห้า บัญญัติว่า คณะกรรมาธิการไม่สามารถแปรญัตติเพิ่มเติมรายการ หรือจำนวนในรายการไม่ได้ แต่ตามเอกสารพบว่า ในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร มีการเพิ่มรายการเข้ามาจำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท ฉะนั้นถือว่า กระบวนการพิจารณาไม่ถูกต้อง วุฒิสภาจึงควรพิจารณาประเด็นนี้ก่อนว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคสามหรือไม่
แต่นาย นิคม ชี้แจงว่า มาตรา 168 วรรคห้า ส.ส.จะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการ มิได้ แต่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ของสภาผู้แทนราษฎร สามารถทำได้ ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่ทำกันมานานแล้ว ทำให้นายเรืองไกร กล่าวว่า รองประธานวุฒิสภา กำลังวินิจฉัยแทนศาลรัฐธรรมนูญ และหากพิจารณาต่อไปอาจมีปัญหา เพราะไม่มีกฎหมายใดมาหักล้างรัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้ที่ทำกันคือ ทำการกันไปเองโดยอ้างเป็นประเพณี
นาย นิคม ชี้แจงอีกครั้งว่า ตนไม่ได้วินิจฉัยแทน แต่เมื่อดูตามรัฐธรรมนูญและขั้นตอนการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในส่วนที่สมาชิกเห็นว่า ไม่ชอบ ก็ให้ดำเนินการ ไปทางศาลรัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้ขอดำเนินการประชุมต่อ
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวาณิช ส.ว.สรรหา กล่าวว่า มาตรา 168 วรรคเจ็ด ระบุว่า กรณีที่ส.ส. หรือ ส.ว. 1 ใน 10 ของสภาตนเอง เห็นว่า มีการกระทำที่ฝ่าฝืน ก็เสนอศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาในส่วนนั้นสิ้นผลไปได้ ฉะนั้นวุฒิสภาสามารถพิจารณา ร่างกฎหมายนี้ต่อไปได้ แต่ในส่วนดังกล่าว ก็ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ส.ส.เพิ่มงบไปลงพื้นที่ของตน ก็วินิจฉัยให้ส่วนที่ปรับเพิ่มตกไปได้ แต่ส่วนอื่นวุฒิสภายังสามารถพิจารณาและทูลเกล้าฯได้
ด้านนาย ตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาร่างพ.ร.บ.งบฯ วุฒิสภา ชี้แจงว่า การพิจารณาวันนี้ต้องเดินต่อ เพราะรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ต้องพิจารณาให้เสร็จใน 20 วัน ไม่เช่นนั้นจะถูกสังคมตั้งคำถาม ในการทำหน้าที่ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ไม่ได้เห็นแตกต่างจากที่สมาชิกมองข้อกฎหมาย ซึ่งถ้าสมาชิกเห็นว่าเป็นปัญหาก็ให้ดำเนินการไปทางศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะที่นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 3 ประการคือ มีรัฐมนตรีที่มาร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาด้วยคือ รัฐมนตรีที่รับผิดชอบดูแลกรณีหวยบนดิน ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พักงาน และกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมของรัฐบาลไทย ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสอง และกรณีนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะคดีชิมไปบ่นไป ถือว่ากระบวนการตรากฎหมาย งบประมาณขัดรัฐธรรมนูญ หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแล้วศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ ส.ว.ที่ลงมติเห็นชอบต้องรับผิดชอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นาย นิคม ชี้แจงว่า ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยกรณีดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2543 พร้อมทั้งส่งเอกสารดังกล่าวให้นายเรืองไกร ซึ่งหลังจากอ่านอยู่ประมาณ 20 นาที ก็ได้อภิปรายว่า เท่าที่ดูคำวินิจฉัยและเอกสารพิจารณางบประมาณ ตนยังเห็นว่า ขั้นตอนที่ ครม.จัดทำงบประมาณ อาจจะขัดรัฐธรรมนูญเพราะขั้นการปรับลดแล้วปรับเพิ่มรายการกลับมา ไม่ผ่าน ครม. ซึ่งตนเตรียมเอกสารที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้แล้ว กับอีกทางหนึ่งคือ ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคสอง ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้นายกฯระงับการดำเนินการประกาศใช้ร่างกฎหมายดังกล่าวไว้ก่อน จากนั้นที่ประชุมจึงมีการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯต่อไป
อนึ่งสำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 32 / 2543 ระบุว่า กรรมาธิการ วิสามัญพิจารณางบประมาณ และส.ส. ไม่สามารถเสนอหรือยกคำขอเพิ่มเติมงบประมาณของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ครม.ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบขึ้นพิจารณาได้
ทั้งนี้นายเรืองไกร ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม ว่า สมัยคำวินิจฉัยปี 43 ยังไม่ได้มีการ วินิจฉัยเรื่องการแยกอำนาจ 3 ฝ่าย แต่คำวินิจฉัยหลังสุดตามรัฐธรรมนูญ 2550 มีการพูดถึงการแยกอำนาจ 3 ฝ่ายโดยเปิดให้สมาชิกเป็นกรรมการฝ่ายนิติบัญญัติได้เช่น สถาบันพระปกเกล้า และกรรมการข้าราชการรัฐสภา แต่เป็นกรรมการ ในฝ่ายบริหารไม่ได้ ในคราวนั้น ตนจึงยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพของวิปรัฐบาล เปรียบเทียบกรณีนี้ก็เป็นหลักการเดียวกันเพราะไม่เช่นนั้นกรรมาธิการก็ไม่มีความหมาย
โดยหากกรรมาธิการปรับลดแล้ว ส่วนราชการจะขอครม.อีกก็ไม่สมควร เพราะอาจเป็นการเปิดช่องให้กรรมาธิการไปยุ่งเกี่ยวในฝ่ายบริหาร ซึ่งจะเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ฉะนั้นตนจะรอให้วุฒิสภาโหวตเสร็จก่อน จึงจะยื่นเรื่องได้ตามที่ มาตรา 154 (1) บัญญัติ ซึ่งมีสมาชิกเตรียมเข้าชื่อ 1 ใน 10 อยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี อาจไม่ต้องยื่นหากวุฒิสภาโหวตให้ร่างพ.ร.บ.ไม่ผ่าน เพราะร่าง พ.ร.บ.นี้มีปัญหามาก ทั้งเรื่อง การที่คณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนฯ พิจารณาเกินเวลาโดยไม่มีการขออนุญาตที่ประชุมสภา และการที่วุฒิสภา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาก่อนที่สภาผู้แทนฯจะรับหลักการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้
****************
เจ๊เพ็ญยื้อตร.ส่งฟ้อง
เสนอสอบพยานเพิ่ม
ผู้จัดการรายวัน – “จักรภพ เพ็ญแข” เจ้าเล่ห์ เดินเกมดิ้นหนีตายคดีหมิ่นเบื้องสูง หลังตำรวจเตรียมส่งอัยการสั่งฟ้อง กลับส่งทนายร้องขอสอบพยานเพิ่มอีก 18 ปาก ตำรวจให้รออีก 2-3 วันรู้ผล สตช.จะยอมตามหรือไม่ ทั้งที่สิ้นสุดขบวนการในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว
วานนี้(16 ก.ย.)ที่ กองปราบปราม ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการดำเนินคดีกับนายจักรภพ เพ็ญแข อดีต รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในข้อหาดูหมิ่นสถาบันว่า ล่าสุดทนายความของนายจักรภพ ได้ แจ้งมายังพนักงานสอบสวนกองปราบปรามว่า ได้ส่งหนังสือร้องขอความเป็นธรรมในคดีดังกล่าวไปยัง กองคดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้มีการสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 18 ปาก ทำให้พนักงานสอบสวนต้องชะลอการส่งสำนวนพร้อมผู้ต้องหาต่ออัยการออกไปก่อน เนื่องจากต้องรอการพิจารณาจากทางกองคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกครั้งว่าจะมีคำสั่งในเรื่องนี้อย่างไรต่อไป
ทั้งนี้ หลังจากคณะกรรมการระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.เป็นผู้พิจารณาตัดสินคดีดังกล่าว ได้สรุปสำนวนมีความเห็นสั่งฟ้องนายจักรภพ ในข้อกล่าวหาหมิ่นเบื้องสูง ตามที่ คณะกรรมการระดับ กองบัญชาการสอบสวนกลาง และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาชี้มูลความผิด ซึ่งหลังจากนั้น พนักงานสอบสวนได้ประสานงานไปยังทนายความของนายจักรภพ เพื่อนัดหมาย วัน เวลา ในการส่งตัวนายจักรภพ ไปให้อัยการพิจารณาสั่งคดีโดยเร็วที่สุดแต่ปรากฏว่ามีการทำหนังสือขอให้มีการสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 18 ปาก ทำให้คดีล่าช้าออกไปอีก
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานคดีของนายจักรภพ นั้น เมื่อสำนวนคดีผ่านคณะกรรมการระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ถือว่าเสร็จสิ้นในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว และตามขั้นตอนจะต้องนัดผู้ต้องหาพร้อมนำสำนวนคดีส่งให้อัยการพิจารณา แต่เมื่อมีการร้องขอความเป็นธรรม ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้งว่า จะให้มีสอบพยานตามคำร้องหรือไม่ หรือจะส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาสั่งการต่อไป ซึ่งคาดว่าคงจะต้องใช้เวลา 1-2 วันจึงจะทราบผล
ทั้งนี้ วุฒิสภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ 8 ก.ย. 2551 ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 168 วรรคสาม บัญญัติ โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา
นาย คำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า การจัดงบประมาณแผ่นดินในครั้งนี้ไม่ยึดการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ส่อว่าจะใช้จ่ายไม่สมเหตุผล และมีกระบวนการตราที่น่าสงสัยว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 154
ขณะนี้ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้จากภาคท่องเที่ยวและภาคบริการหดหายแสนล้านบาทจากการประกาศภาวะฉุกเฉินทำให้การประมาณการรายรับน่าจะผิดเพี้ยน เศรษฐกิจมีแนวโน้มไม่เติบโตอย่างที่คาดการณ์ ขณะเดียวกันรัฐบาลกลับมุ่งทำโครงการขนาดใหญ่อย่างการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 6,000 คัน ซึ่ง สตง.ทักท้วงว่า เงินลงทุนสูงและระยะยาวควรพิจารณาใหม่ หรือโครงการการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่ไม่มีการทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)และด้านสังคม(เอสไอเอ)อาจขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 67 หรืองบผู้ว่าราชการจังหวัด แม้จะดูดีในแง่การกระจาย แต่หากดูงบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แสนล้านบาท เป็นเงินที่ท้องถิ่นจัดเก็บได้ แต่ กทม.และพัทยา ได้เงินลดลง
ทั้งนี้รัฐบาลคิดจะทำโครงการใหญ่ๆ ขณะที่สภาวะประเทศไม่ร่ำรวยและต้องกู้เป็นแสนล้านบาท ฉะนั้นควรทำเท่าที่จำเป็น ซึ่งตนจึงไม่อาจให้ความเห็นชอบ
นาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา อภิปรายทักท้วงว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรคห้า บัญญัติว่า คณะกรรมาธิการไม่สามารถแปรญัตติเพิ่มเติมรายการ หรือจำนวนในรายการไม่ได้ แต่ตามเอกสารพบว่า ในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร มีการเพิ่มรายการเข้ามาจำนวน 4.5 หมื่นล้านบาท ฉะนั้นถือว่า กระบวนการพิจารณาไม่ถูกต้อง วุฒิสภาจึงควรพิจารณาประเด็นนี้ก่อนว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคสามหรือไม่
แต่นาย นิคม ชี้แจงว่า มาตรา 168 วรรคห้า ส.ส.จะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการ มิได้ แต่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ของสภาผู้แทนราษฎร สามารถทำได้ ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่ทำกันมานานแล้ว ทำให้นายเรืองไกร กล่าวว่า รองประธานวุฒิสภา กำลังวินิจฉัยแทนศาลรัฐธรรมนูญ และหากพิจารณาต่อไปอาจมีปัญหา เพราะไม่มีกฎหมายใดมาหักล้างรัฐธรรมนูญได้ ทั้งนี้ที่ทำกันคือ ทำการกันไปเองโดยอ้างเป็นประเพณี
นาย นิคม ชี้แจงอีกครั้งว่า ตนไม่ได้วินิจฉัยแทน แต่เมื่อดูตามรัฐธรรมนูญและขั้นตอนการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในส่วนที่สมาชิกเห็นว่า ไม่ชอบ ก็ให้ดำเนินการ ไปทางศาลรัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้ขอดำเนินการประชุมต่อ
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวาณิช ส.ว.สรรหา กล่าวว่า มาตรา 168 วรรคเจ็ด ระบุว่า กรณีที่ส.ส. หรือ ส.ว. 1 ใน 10 ของสภาตนเอง เห็นว่า มีการกระทำที่ฝ่าฝืน ก็เสนอศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาในส่วนนั้นสิ้นผลไปได้ ฉะนั้นวุฒิสภาสามารถพิจารณา ร่างกฎหมายนี้ต่อไปได้ แต่ในส่วนดังกล่าว ก็ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ส.ส.เพิ่มงบไปลงพื้นที่ของตน ก็วินิจฉัยให้ส่วนที่ปรับเพิ่มตกไปได้ แต่ส่วนอื่นวุฒิสภายังสามารถพิจารณาและทูลเกล้าฯได้
ด้านนาย ตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาร่างพ.ร.บ.งบฯ วุฒิสภา ชี้แจงว่า การพิจารณาวันนี้ต้องเดินต่อ เพราะรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ต้องพิจารณาให้เสร็จใน 20 วัน ไม่เช่นนั้นจะถูกสังคมตั้งคำถาม ในการทำหน้าที่ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ไม่ได้เห็นแตกต่างจากที่สมาชิกมองข้อกฎหมาย ซึ่งถ้าสมาชิกเห็นว่าเป็นปัญหาก็ให้ดำเนินการไปทางศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะที่นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 3 ประการคือ มีรัฐมนตรีที่มาร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาด้วยคือ รัฐมนตรีที่รับผิดชอบดูแลกรณีหวยบนดิน ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พักงาน และกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมของรัฐบาลไทย ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสอง และกรณีนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะคดีชิมไปบ่นไป ถือว่ากระบวนการตรากฎหมาย งบประมาณขัดรัฐธรรมนูญ หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแล้วศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ ส.ว.ที่ลงมติเห็นชอบต้องรับผิดชอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นาย นิคม ชี้แจงว่า ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยกรณีดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2543 พร้อมทั้งส่งเอกสารดังกล่าวให้นายเรืองไกร ซึ่งหลังจากอ่านอยู่ประมาณ 20 นาที ก็ได้อภิปรายว่า เท่าที่ดูคำวินิจฉัยและเอกสารพิจารณางบประมาณ ตนยังเห็นว่า ขั้นตอนที่ ครม.จัดทำงบประมาณ อาจจะขัดรัฐธรรมนูญเพราะขั้นการปรับลดแล้วปรับเพิ่มรายการกลับมา ไม่ผ่าน ครม. ซึ่งตนเตรียมเอกสารที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้แล้ว กับอีกทางหนึ่งคือ ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคสอง ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้นายกฯระงับการดำเนินการประกาศใช้ร่างกฎหมายดังกล่าวไว้ก่อน จากนั้นที่ประชุมจึงมีการอภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯต่อไป
อนึ่งสำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 32 / 2543 ระบุว่า กรรมาธิการ วิสามัญพิจารณางบประมาณ และส.ส. ไม่สามารถเสนอหรือยกคำขอเพิ่มเติมงบประมาณของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ครม.ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบขึ้นพิจารณาได้
ทั้งนี้นายเรืองไกร ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม ว่า สมัยคำวินิจฉัยปี 43 ยังไม่ได้มีการ วินิจฉัยเรื่องการแยกอำนาจ 3 ฝ่าย แต่คำวินิจฉัยหลังสุดตามรัฐธรรมนูญ 2550 มีการพูดถึงการแยกอำนาจ 3 ฝ่ายโดยเปิดให้สมาชิกเป็นกรรมการฝ่ายนิติบัญญัติได้เช่น สถาบันพระปกเกล้า และกรรมการข้าราชการรัฐสภา แต่เป็นกรรมการ ในฝ่ายบริหารไม่ได้ ในคราวนั้น ตนจึงยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพของวิปรัฐบาล เปรียบเทียบกรณีนี้ก็เป็นหลักการเดียวกันเพราะไม่เช่นนั้นกรรมาธิการก็ไม่มีความหมาย
โดยหากกรรมาธิการปรับลดแล้ว ส่วนราชการจะขอครม.อีกก็ไม่สมควร เพราะอาจเป็นการเปิดช่องให้กรรมาธิการไปยุ่งเกี่ยวในฝ่ายบริหาร ซึ่งจะเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ฉะนั้นตนจะรอให้วุฒิสภาโหวตเสร็จก่อน จึงจะยื่นเรื่องได้ตามที่ มาตรา 154 (1) บัญญัติ ซึ่งมีสมาชิกเตรียมเข้าชื่อ 1 ใน 10 อยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี อาจไม่ต้องยื่นหากวุฒิสภาโหวตให้ร่างพ.ร.บ.ไม่ผ่าน เพราะร่าง พ.ร.บ.นี้มีปัญหามาก ทั้งเรื่อง การที่คณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนฯ พิจารณาเกินเวลาโดยไม่มีการขออนุญาตที่ประชุมสภา และการที่วุฒิสภา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาก่อนที่สภาผู้แทนฯจะรับหลักการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้
****************
เจ๊เพ็ญยื้อตร.ส่งฟ้อง
เสนอสอบพยานเพิ่ม
ผู้จัดการรายวัน – “จักรภพ เพ็ญแข” เจ้าเล่ห์ เดินเกมดิ้นหนีตายคดีหมิ่นเบื้องสูง หลังตำรวจเตรียมส่งอัยการสั่งฟ้อง กลับส่งทนายร้องขอสอบพยานเพิ่มอีก 18 ปาก ตำรวจให้รออีก 2-3 วันรู้ผล สตช.จะยอมตามหรือไม่ ทั้งที่สิ้นสุดขบวนการในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว
วานนี้(16 ก.ย.)ที่ กองปราบปราม ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการดำเนินคดีกับนายจักรภพ เพ็ญแข อดีต รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในข้อหาดูหมิ่นสถาบันว่า ล่าสุดทนายความของนายจักรภพ ได้ แจ้งมายังพนักงานสอบสวนกองปราบปรามว่า ได้ส่งหนังสือร้องขอความเป็นธรรมในคดีดังกล่าวไปยัง กองคดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้มีการสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 18 ปาก ทำให้พนักงานสอบสวนต้องชะลอการส่งสำนวนพร้อมผู้ต้องหาต่ออัยการออกไปก่อน เนื่องจากต้องรอการพิจารณาจากทางกองคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกครั้งว่าจะมีคำสั่งในเรื่องนี้อย่างไรต่อไป
ทั้งนี้ หลังจากคณะกรรมการระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.เป็นผู้พิจารณาตัดสินคดีดังกล่าว ได้สรุปสำนวนมีความเห็นสั่งฟ้องนายจักรภพ ในข้อกล่าวหาหมิ่นเบื้องสูง ตามที่ คณะกรรมการระดับ กองบัญชาการสอบสวนกลาง และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาชี้มูลความผิด ซึ่งหลังจากนั้น พนักงานสอบสวนได้ประสานงานไปยังทนายความของนายจักรภพ เพื่อนัดหมาย วัน เวลา ในการส่งตัวนายจักรภพ ไปให้อัยการพิจารณาสั่งคดีโดยเร็วที่สุดแต่ปรากฏว่ามีการทำหนังสือขอให้มีการสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 18 ปาก ทำให้คดีล่าช้าออกไปอีก
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานคดีของนายจักรภพ นั้น เมื่อสำนวนคดีผ่านคณะกรรมการระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ถือว่าเสร็จสิ้นในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว และตามขั้นตอนจะต้องนัดผู้ต้องหาพร้อมนำสำนวนคดีส่งให้อัยการพิจารณา แต่เมื่อมีการร้องขอความเป็นธรรม ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้งว่า จะให้มีสอบพยานตามคำร้องหรือไม่ หรือจะส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาสั่งการต่อไป ซึ่งคาดว่าคงจะต้องใช้เวลา 1-2 วันจึงจะทราบผล