วานนี้ (16 ก.ย.) นายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำถุงยังชีพพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 3,000 ชุด ไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน อ.บ้านหมี่ อ.โคกสำโรง และ อ.เมือง จ.ลพบุรี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนภายหลังเกิดอุทกภัยน้ำท่วมในจังหวัด
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ลพบุรี วานนี้ซึ่งเข้าสู่เป็นวันที่ 5 ยังคงวิกฤตหนักและสถานการณ์ส่อแววว่าจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีฝนตกหนักต่อเนื่องโดยเฉพาะที่ ต.พุคา อ.บ้านหมี่ ระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร ประชาชนกว่า 500 ครัวเรือนเดือดร้อนหนัก ไฟฟ้าถูกตัดขาด ส่วนหนึ่งต้องอาศัยศาลาวัดพุคาและกลางเต้นพักริมถนน ซึ่งเป็นอยู่อย่างยากลำบาก
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากสภาพน้ำที่ท่วมขังหลายชุมชนในเขต อ.เมืองลพบุรีที่สะสมมาเป็นเวลาหลายวัน รวมทั้งมีเศษขยะสะสมจำนวนมากจนระบายน้ำไม่ได้เริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็นแล้ว เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานต่างระดมเครื่องสูบน้ำจำนวน 50 เครื่องเร่งสูบน้ำออกจากเขตเมืองลงคลองชัยนาท-ป่าสัก ทำให้ระดับน้ำในคลองเพิ่มสูงขึ้น เพราะมีการเปิดประตูระบายน้ำออกจากคลองตอนบนทุกบาน
ลพบุรียังวิกฤติหนัก
ส่วนสถานการณ์นำท่วม จ.ลพบึรี ระดับน้ำในพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดลพบุรี ได้รับผลกระทบน้ำท่วมเป็นระยะเวลาอันยาวนานเนื่องจากน้ำที่อยู่เหนือกว่า ได้เคลื่อนตัวไปท่วมพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่า โดยเฉพาะ ในขณะนี้ ต.ถนนใหญ่ ,ต.ท่าแค ต.กกโก ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ได้รับผลกระทบอย่างหนักอันตรายปสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่า จนน้ำท่วมตำบลดังกล่าว โดยเฉพาะ ต.ท่าแค ระดับน้ำสูงร่วม 2 เมตรพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมถึงบ้านเรือนราษฏรถึงชั้น 2 อยู่มาเป็นเวลานานหลายวันแล้ว และส่วนที่ ต.ถนนใหญ่ โดยเฉพาะหมู่บ้าน ศิรัญญา ที่มีประชากร อาศัยอยู่กว่า 800 หลังคาเรือน น้ำยังคงท่วมสูงอยู่ แต่ประชาชนยังหวั่นวิตก ในเมื่อหมู่บ้านนี้อยู่ติดกับคลองชลประทาน ลพบุรี - ชัยนาทป่าสัก น้ำเหนือได้ไหลมากำลังจะล้นคลองประทาน หากในไม่กี่วันชลประทานไม่ปิดน้ำเหนือ น้ำจะท่วมหมู่บ้าน ศิรัญญา อย่างแน่นอน เนื่องหมูบ้านนี้อยู่ต่ำกว่าระดับคลองชลประทาน
โต้อนงค์วรรณปูดข่าว3เชื่อนวิกฤติ
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและแก้ปัญหาเรื่องน้ำภาคกลางและตะวันออก พร้อมด้วยนายสมัย ธรรมสัตย์ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล แถลงถึงกรณีที่นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมว.ทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า3 เขื่อนใหญ่ประกอบด้วยเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เขื่อนขุนด่านฯ นครนายกฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปัญหามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์วิกฤติว่า เป็นการพูดที่ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนตกใจ และสับสน นางอนงค์วรรณ ดูแลกรมทรัพยากรณ์น้ำไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรฯ ที่ดูแลเรื่องเขื่อน ดังนั้นต้องให้ข้อมูลที่แม่นยำ ไม่ควก้าวก่ายกระทรวงอื่น
ทั้งนี้จากการสอบถามจากรองอธิบดีกรมชลประทาน ซึ่งเป็นรองประธานคณะอนุกรรมการฯ อยู่ด้วย ได้รับการยืนยันว่าเขื่อนท่าด่าน และเขื่อนประแสร์ ไม่ได้ประสบภาวะวิกฤติดังกล่าว และสามารถรับน้ำเพิ่มได้อีกถึง 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หากจำเป็นต้องระบายน้ำออกก็จะมีระบบประสานกับจังหวัดใกล้เคียงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลท่วมไร่นา
ผมคิดว่านางอนงค์วรรณ น่าจะไปดูแลอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบดีกว่า โดยเฉพาะล่าสุดที่มีน้ำป่าไหลบ่ามาจากเขาใหญ่ มีลักษณะแปลก ๆ เหมือนไม่มีการซับน้ำตามสภาพป่าที่สมบูรณ
นายชาญชัย กล่าวว่า อยากให้นางอนงค์วรรณ ไปตรวจสอบการสร้าง าคาร หรือสิ่งก่อสร้างปิดทางน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ โดยตนทราบมาว่ามีสนามพัฒนาก อล์ฟคลับ ซึ่งเป็นของนายพัทยา จึงรุ่งเรืองกิจ ที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่นายสุริยะ จีงรุ่งเรืองกิจ เข้ามาบริหารแทนพร้อมด้วยพี่สะใภ้ โดยสนามกอล์ฟนี้ ได้สร้างปิดทางน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหน จ.ชลบุรี และยังมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ของนายวิกรม กรมดิษฐ์ สร้างปิดทางน้ำไหล เข้าอ่างเก็บน้ำดอกกาย จ.ชลบุรีด้วย ซึ่งอ่างเก็บน้ำสามารถช่วยเรื่องภัยแล้งและน้ำท่วมได้ ดังนั้นจึงถือว่าสนามกอล์ฟและนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว ผิดกฎหมาย สร้างปิดคลองสาธารณะ จึงสามารถเอาผิดตามกฎหมายได้ ซึ่งเป็นที่น่าอดสูใจอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ยังพบว่าสภาพน้ำป่าไหลบ่าในภาคเหนือรุนแรงมาก เหมือนกับไม่มีตัวซับน้ำเลย ทั้งที่ก่อนหน้านี้นางอนงวรรณ ได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 700 กว่าล้านบาทเพื่อสร้างฝายแม้วแสนกว่าฝาย ถ้ามีฝายแม้วอยู่จริงคงไม่เกิดเหตุการณ์ แบบนี้ จึงอยากให้นางอนงค์วรรณ ไปตรวจสอบว่าฝายแม้วยังอยู่หรือไม่ หรือมีการสร้างหรือไม่ เพราะที่ผ่านมามีข่าวว่าในโครงการดังกล่าวต้องมีการส่งเงินเข้ามาให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงถึง 350 ล้านบาท
นายกิตติ ตันเจริญ ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า จากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ ประกอบกับทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ฯ เป็นห่วงสถานการณ์กลัวเขื่อนจะรับน้ำไม่ไหว้นั้น จากการตรวจสอบพบว่า เขื่อนหลายแห่งมีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 หรืออยู่ในขั้นรองรับน้ำต่อไปไม่ได้ ในส่วนของเขื่อนสิริกิติ์ ยังสามารถรองรับน้ำได้มากถึง 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขณะนี้จะมีมากกว่าปีที่ผ่านมาในเวลาเดียวกันเกือบ 5 เมตร
สมชายสั่งครม.ลงช่วยประชาชน
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุม ครม. วานนี้ (16 ก.ย.)ว่า ได้แจ้งต่อที่ประชุม ครม.ว่าขณะนี้เกิดอุทกภัยโดยกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง ซึ่งตนได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รักษาการรองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ไปดูแลประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งก็ได้รับรายงานว่าดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย
นอกจากนี้ยังมอบหมายให้พล.ต.อ.โกวิทไปดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ประสพอุทกภัยอย่างใกล้ชิด และขอความกรุณารัฐมนตรีทุกท่านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงดูพื้นที่ด้วย หากมีปัญหาให้แย้งไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยซึ่งเป็นศูนย์บเรื่อง ส่วนงบประมาณทางจังหวัดมีอยู่แล้ว แต่หากเกิดวงเงินก็สามารถเสนอ ครม.อนุมัติเร่งด่วนได้ ทั้งนี้ขอให้ประชาชนติดตามการเตือนของกรมอุตุฯ อย่างใกล้ชิด
ด้านพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ กล่าวว่า ทุกจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม ทางผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเข้ามาช่วยดูแลด้วย ส่วนงบประมาณที่ใช้ในการช่วยเหลือนั้นจะใช้งบประมาณทางจังหวัดก่อน
ด้าน พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ประชุม ครม.ได้รับรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าที่มีข่าวว่า เขื่อน 3 เขื่อนใหญ่จะมีปัญหาน้ำเกินปริมาณนั้นเขื่อนยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ ไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัย
ทั้งนี้รักษาการนายกรัฐมนตรี บอกว่าหากน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทหาร ตำรวจ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากต้องใช้งบประมาณก็ให้รีบเสนอมา เพื่อให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด
อุตุฯเตือนฝนตกหนักน้ำท่วมฉลับพลัน
ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก วานนี้ (16 ก.ย.) ว่าร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา อุทัยธานี นครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในบริเวณที่ราบลุ่ม และที่ลาดเชิงเขาระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งอาจเกิดซ้ำได้อีกจากสภาวะฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในระยะ1-3 วันนี้
อนึ่ง คลื่นลมในอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังการเดินเรือในช่วงวันที่ 16-17 กันยายนนี้ไว้ด้วย
กทม.รับมือน้ำเหนือหลาก
วันเดียวกัน นายพงศ์ศักดิ์ เสมสันต์ ปลัด กทม. เป็นประธานประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ กทม. โดยนายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สำนักระบายน้ำ(สนน.) รายงานต่อที่ประชุมว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักและเกิดน้ำท่วมขัง ในหลายพื้นที่ทางด้านทิศเหนือนั้นปริมาณน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยา ที่ จ.ชัยนาท ก่อนที่จะมีการระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในปริมาณ 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที โดยจะใช้เวลา 3 วันในการเดินทางมาถึงกทม.ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวกทม.จะไม่ประสบปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงจึงทำให้ปริมาณน้ำที่ปล่อยลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยามีผลกระทบกับกทม.
อย่างไรก็ตาม สนน.จะประสานกรมชลประทานเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ อย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้จะได้เร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่หากมีฝนตกหนักในพื้นที่ก็จะไม่มีปัญหาน้ำท่วมขังเพราะกทม.ได้พร่องน้ำในคู คลองต่าง รวมถึงแก้มลิงทั้ง 21 แห่งไว้รองรับแล้ว
สำหรับในส่วนที่ปลัดกทม.มีความเป็นกังวลเกี่ยวกับพื้นที่ด้านตะวันออกของ กทม.ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำในคลองประเวศบุรีรมย์ปริมาณน้ำต่ำกว่าระดับวิกฤติเพียง 10 ซ.ม. นั้น ทางสนน.จะเร่งผันน้ำจากคลองดังกล่าวเข้าสถานีสูบน้ำพระโขนงเพื่อระบายออกทางแม่น้ำเจ้าพระยาและเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่กทม.ชั้นใน
ส่วนจำนวนพายุที่มีค่าเฉลี่ย 5 ปีจะเกิดขึ้น 4 ลูกนั้น อีกทั้งมีการคาดการณ์ว่าจะปีนี้จะมีพายุพัดเข้าพื้นที่ 3 ลูก แต่ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมามีค่าเฉลี่ย การเกิดพายุเข้าอยู่ 0.8 ลูกเท่านั้น ทั้งนี้หากมีพายุเข้ามาในช่วงที่น้ำเหนือไหลลงมา กทม.พอดีก็ไม่น่าเป็นห่วงเพราะมีแก้มลิงรองรับน้ำอยู่แล้ว
สธ.ส่งแพทย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ด้าน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รักษาการ รมช.สาธารณสุข ประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อวางแผนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
นายชวรัตน์ กล่าวว่า ในระยะเร่งด่วนนี้ สธ.ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ประสบภัยทุกแห่งตั้งศูนย์ช่วยเหลือน้ำท่วม และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ให้การดูแลการเจ็บป่วยและปัญหาความเครียดต่างๆ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 10 ของผู้ประสบภัย เคลื่อนที่ไปตามหมู่บ้านต่างๆ วันละประมาณ 100 หน่วย และจัดทีมให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวของประชาชนเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เพื่อไม่ให้ประชาชนมีทุกข์ซ้ำเติมจากการเจ็บป่วย และป้องกันไม่ให้มีโรคระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ประสบภัยทุกแห่ง
ด้านพญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และประธานศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ตั้งแต่ 11-15 ก.ย. ใน 12 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สระบุรี ฉะเชิงเทรา เลย ชลบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี นครนายก นครสวรรค์ และตาก มีประชาชนเจ็บป่วยเกือบ 20,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด รองลงมาคือ ปวดเมื่อย เสียชีวิต 5 ราย จากการจมน้ำทั้งหมด
น้ำป่าถล่มเข้าท่วมพิจิตร
สำหรับสถานการณ์อุทกภัย วานนี้ (16 ก.ย.) หลังปริมาณฝนที่ตกลงมา อย่างหนักตลอดคืนวันที่ 15 ก.ย.ถึงเช้าวันที่ 16 ก.ย.ทำให้น้ำป่าไหลเข้าท่วม ย่านเศรษฐกิจการค้า บ้านเรือนประชาชนในเขตเทศบาลต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร และย่านเศรษฐกิจการค้าใน ต.วังหลุม อ.ตะพานหิน ที่บริเวณตลาดชุมชนต.วังหลุม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ติดอ.ทับคล้อ น้ำป่าไหลจากอ.ทับคล้อ เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน 100 หลังคาเรือน โดยประชาชนต้องเร่งขนย้ายสิ่งของ ทรัพย์สินมีค่าต่างๆ หนีน้ำป่าที่ไหลหลากเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว โดยต้องขนย้ายไปไว้ที่สูง
ขณะเดียวกันประชาชน ในต.วังหลุม ต้องช่วยกันยกกระสอบทรายมาสร้างเป็น แนวพนังป้องกันน้ำในลำคลองที่ไหลหลากมาจากอ.ทับคล้อ เอ่อล้นตลิ่งท่วมเส้นทาง เข้าออกหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเส้นทางเพียงเส้นเดียวที่เข้าออกหมู่บ้าน หากถูกน้ำท่วมก็จะไม่สามารถสัญจรไปมาได้และถูกตัดขาดโลกภายนอก
ส่วนที่ชุมชนสระหลวง อ.ทับคล้อ ชาวบ้านกว่า100 หลังคาเรือน ได้รับความ เดือดร้อนหนัก เนื่องจากน้ำท่วมบ้าน และเส้นทางเข้าหมู่บ้าน มีน้ำท่วมสูงกว่า60 เซนติเมตร ทำให้รถเกือบทุกชนิดไม่สามารถสัญจรเข้าออกได้ และชาวบ้านก็เริ่มได
น้ำเขาใหญ่ทะลักใส่จ.ปราจีนบุรี
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรีนั้น ปรากฎว่า น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้ทะลักท่วมพื้นที่ จ.ปราจีนบุรีและยังคงมีฝนตกกระจายในหลายพื้นที่ ตั้งแต่คำวันที่ 5 ก.ย.ระดับน้ำที่ท่วมชุมชนตลาดเก่าเทศบาล ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี ยังทรงตัว โดยสูงเหนือถนนกว่า 60-70 ชม. เนื่องจากเป็นจุดบรรจบระหว่างแควหนุมานกับแควพระปรง เป็นต้นน้ำของแม่น้ำปราจีนบุรี โดยเฉพาะแควพระปรง มีน้ำหลากมาจากด้านฝั่ง จ.สระแก้วเพิ่มขึ้น ชาวบ้านต่างนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ขึ้นไปจอดที่สูงเพื่อหนีน้ำที่อาจท่วมสูงเพิ่มขึ้นได้
ทั้งนี้ จากภาวะแม่น้ำปราจีนบุรีต้องรองรับน้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และน้ำที่หลากจาก จ.สระแก้วเพิ่มขึ้นนี้ ทำให้แม่น้ำปราจีนบุรีสภาพปริ่มตลิ่งทุกพื้นที่ ที่ไหลผ่านคือ อ.ศรีมหาโพธิ อ.เมืองปราจีนบุรีและอ.บ้านสร้าง ขณะพื้นที่ตอนล่าง บริเวณทุ่งโคกมะกอก ต.โนนห้อม อ.เมืองปราจีนบุรี ตลอดเลียบแนวถนนประจีนตคาม น้ำเอ่อเข้าท่วมทุ่งดังกล่าวที่เป็นที่ลุ่มต่ำแหล่งรองรับน้ำหลากธรรมชาติในทุก ๆ ปี ซึ่งี่เป็นช่วงรอยต่อพื้นที่ อ.เมืองปราจีนบุรีกับอ.ประจันตคาม ตลอดแนวถนนระยะทางกว่า 5 กม.เศษ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ลึกกว่า 2 เมตรเศษ
อุตุฯอีสานเตือน13 จว.น้ำท่วม
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.อุบลราชธานีว่า สถานการณ์น้ำของจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าเกิดอุทกภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ซึ่งประกอบด้วย เดชอุดม นาตาล โพธิ์ไทร น้ำขุ่น เขมราฐ และอำเภอตระการพืชผล ซึ่งขณะนี้จังหวัดได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว ส่วนความเสียหาย ด้านการเกษตร นาข้าว จำนวน 930 ไร่ พืชสวน จำนวน 150 ไร่ บ่อปลาได้รับความเสียหาย 16 บ่อ มีถนนได้รับความเสียหาย 32 สาย สะพาน 8 แห่ง ด้านความช่วยเหลือ จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประประสบภัยแล้ว จำนวน 450 ชุด
ส่วนระดับน้ำมูลที่สถานี M 7 ใต้สะพานเสรีประชาธิปไตย ณ วันที่ 16 กันยายน 2551 อยู่ที่ระดับ 109.25 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 2.75 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นระดับน้ำที่ยังไม่สูงมากแต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ส่วนระดับน้ำแม่น้ำโขงอยู่ที่ระดับอยู่ที่ 101.13 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 5.83 เมตร
อย่างไรก็ตาม ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แจ้งเตือนประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ สำหรับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหลายจังหวัดที่จะได้รับผลกระทบ เช่น จังหวัด เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองบัวลำภู สกลนคร มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา โดยจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์นี้ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในที่ราบลุ่ม และบริเวณที่ลาดเชิงเขาระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในช่วงนี้
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ลพบุรี วานนี้ซึ่งเข้าสู่เป็นวันที่ 5 ยังคงวิกฤตหนักและสถานการณ์ส่อแววว่าจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีฝนตกหนักต่อเนื่องโดยเฉพาะที่ ต.พุคา อ.บ้านหมี่ ระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร ประชาชนกว่า 500 ครัวเรือนเดือดร้อนหนัก ไฟฟ้าถูกตัดขาด ส่วนหนึ่งต้องอาศัยศาลาวัดพุคาและกลางเต้นพักริมถนน ซึ่งเป็นอยู่อย่างยากลำบาก
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากสภาพน้ำที่ท่วมขังหลายชุมชนในเขต อ.เมืองลพบุรีที่สะสมมาเป็นเวลาหลายวัน รวมทั้งมีเศษขยะสะสมจำนวนมากจนระบายน้ำไม่ได้เริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็นแล้ว เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานต่างระดมเครื่องสูบน้ำจำนวน 50 เครื่องเร่งสูบน้ำออกจากเขตเมืองลงคลองชัยนาท-ป่าสัก ทำให้ระดับน้ำในคลองเพิ่มสูงขึ้น เพราะมีการเปิดประตูระบายน้ำออกจากคลองตอนบนทุกบาน
ลพบุรียังวิกฤติหนัก
ส่วนสถานการณ์นำท่วม จ.ลพบึรี ระดับน้ำในพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดลพบุรี ได้รับผลกระทบน้ำท่วมเป็นระยะเวลาอันยาวนานเนื่องจากน้ำที่อยู่เหนือกว่า ได้เคลื่อนตัวไปท่วมพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่า โดยเฉพาะ ในขณะนี้ ต.ถนนใหญ่ ,ต.ท่าแค ต.กกโก ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ได้รับผลกระทบอย่างหนักอันตรายปสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่า จนน้ำท่วมตำบลดังกล่าว โดยเฉพาะ ต.ท่าแค ระดับน้ำสูงร่วม 2 เมตรพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมถึงบ้านเรือนราษฏรถึงชั้น 2 อยู่มาเป็นเวลานานหลายวันแล้ว และส่วนที่ ต.ถนนใหญ่ โดยเฉพาะหมู่บ้าน ศิรัญญา ที่มีประชากร อาศัยอยู่กว่า 800 หลังคาเรือน น้ำยังคงท่วมสูงอยู่ แต่ประชาชนยังหวั่นวิตก ในเมื่อหมู่บ้านนี้อยู่ติดกับคลองชลประทาน ลพบุรี - ชัยนาทป่าสัก น้ำเหนือได้ไหลมากำลังจะล้นคลองประทาน หากในไม่กี่วันชลประทานไม่ปิดน้ำเหนือ น้ำจะท่วมหมู่บ้าน ศิรัญญา อย่างแน่นอน เนื่องหมูบ้านนี้อยู่ต่ำกว่าระดับคลองชลประทาน
โต้อนงค์วรรณปูดข่าว3เชื่อนวิกฤติ
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและแก้ปัญหาเรื่องน้ำภาคกลางและตะวันออก พร้อมด้วยนายสมัย ธรรมสัตย์ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล แถลงถึงกรณีที่นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมว.ทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า3 เขื่อนใหญ่ประกอบด้วยเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เขื่อนขุนด่านฯ นครนายกฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปัญหามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์วิกฤติว่า เป็นการพูดที่ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนตกใจ และสับสน นางอนงค์วรรณ ดูแลกรมทรัพยากรณ์น้ำไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรฯ ที่ดูแลเรื่องเขื่อน ดังนั้นต้องให้ข้อมูลที่แม่นยำ ไม่ควก้าวก่ายกระทรวงอื่น
ทั้งนี้จากการสอบถามจากรองอธิบดีกรมชลประทาน ซึ่งเป็นรองประธานคณะอนุกรรมการฯ อยู่ด้วย ได้รับการยืนยันว่าเขื่อนท่าด่าน และเขื่อนประแสร์ ไม่ได้ประสบภาวะวิกฤติดังกล่าว และสามารถรับน้ำเพิ่มได้อีกถึง 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หากจำเป็นต้องระบายน้ำออกก็จะมีระบบประสานกับจังหวัดใกล้เคียงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลท่วมไร่นา
ผมคิดว่านางอนงค์วรรณ น่าจะไปดูแลอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบดีกว่า โดยเฉพาะล่าสุดที่มีน้ำป่าไหลบ่ามาจากเขาใหญ่ มีลักษณะแปลก ๆ เหมือนไม่มีการซับน้ำตามสภาพป่าที่สมบูรณ
นายชาญชัย กล่าวว่า อยากให้นางอนงค์วรรณ ไปตรวจสอบการสร้าง าคาร หรือสิ่งก่อสร้างปิดทางน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ โดยตนทราบมาว่ามีสนามพัฒนาก อล์ฟคลับ ซึ่งเป็นของนายพัทยา จึงรุ่งเรืองกิจ ที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่นายสุริยะ จีงรุ่งเรืองกิจ เข้ามาบริหารแทนพร้อมด้วยพี่สะใภ้ โดยสนามกอล์ฟนี้ ได้สร้างปิดทางน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหน จ.ชลบุรี และยังมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ของนายวิกรม กรมดิษฐ์ สร้างปิดทางน้ำไหล เข้าอ่างเก็บน้ำดอกกาย จ.ชลบุรีด้วย ซึ่งอ่างเก็บน้ำสามารถช่วยเรื่องภัยแล้งและน้ำท่วมได้ ดังนั้นจึงถือว่าสนามกอล์ฟและนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว ผิดกฎหมาย สร้างปิดคลองสาธารณะ จึงสามารถเอาผิดตามกฎหมายได้ ซึ่งเป็นที่น่าอดสูใจอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ยังพบว่าสภาพน้ำป่าไหลบ่าในภาคเหนือรุนแรงมาก เหมือนกับไม่มีตัวซับน้ำเลย ทั้งที่ก่อนหน้านี้นางอนงวรรณ ได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 700 กว่าล้านบาทเพื่อสร้างฝายแม้วแสนกว่าฝาย ถ้ามีฝายแม้วอยู่จริงคงไม่เกิดเหตุการณ์ แบบนี้ จึงอยากให้นางอนงค์วรรณ ไปตรวจสอบว่าฝายแม้วยังอยู่หรือไม่ หรือมีการสร้างหรือไม่ เพราะที่ผ่านมามีข่าวว่าในโครงการดังกล่าวต้องมีการส่งเงินเข้ามาให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงถึง 350 ล้านบาท
นายกิตติ ตันเจริญ ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า จากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ ประกอบกับทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ฯ เป็นห่วงสถานการณ์กลัวเขื่อนจะรับน้ำไม่ไหว้นั้น จากการตรวจสอบพบว่า เขื่อนหลายแห่งมีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 หรืออยู่ในขั้นรองรับน้ำต่อไปไม่ได้ ในส่วนของเขื่อนสิริกิติ์ ยังสามารถรองรับน้ำได้มากถึง 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แม้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขณะนี้จะมีมากกว่าปีที่ผ่านมาในเวลาเดียวกันเกือบ 5 เมตร
สมชายสั่งครม.ลงช่วยประชาชน
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุม ครม. วานนี้ (16 ก.ย.)ว่า ได้แจ้งต่อที่ประชุม ครม.ว่าขณะนี้เกิดอุทกภัยโดยกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง ซึ่งตนได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รักษาการรองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ไปดูแลประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งก็ได้รับรายงานว่าดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย
นอกจากนี้ยังมอบหมายให้พล.ต.อ.โกวิทไปดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ประสพอุทกภัยอย่างใกล้ชิด และขอความกรุณารัฐมนตรีทุกท่านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงดูพื้นที่ด้วย หากมีปัญหาให้แย้งไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยซึ่งเป็นศูนย์บเรื่อง ส่วนงบประมาณทางจังหวัดมีอยู่แล้ว แต่หากเกิดวงเงินก็สามารถเสนอ ครม.อนุมัติเร่งด่วนได้ ทั้งนี้ขอให้ประชาชนติดตามการเตือนของกรมอุตุฯ อย่างใกล้ชิด
ด้านพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ กล่าวว่า ทุกจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม ทางผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเข้ามาช่วยดูแลด้วย ส่วนงบประมาณที่ใช้ในการช่วยเหลือนั้นจะใช้งบประมาณทางจังหวัดก่อน
ด้าน พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ประชุม ครม.ได้รับรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าที่มีข่าวว่า เขื่อน 3 เขื่อนใหญ่จะมีปัญหาน้ำเกินปริมาณนั้นเขื่อนยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ ไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัย
ทั้งนี้รักษาการนายกรัฐมนตรี บอกว่าหากน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทหาร ตำรวจ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากต้องใช้งบประมาณก็ให้รีบเสนอมา เพื่อให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด
อุตุฯเตือนฝนตกหนักน้ำท่วมฉลับพลัน
ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก วานนี้ (16 ก.ย.) ว่าร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา อุทัยธานี นครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในบริเวณที่ราบลุ่ม และที่ลาดเชิงเขาระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งอาจเกิดซ้ำได้อีกจากสภาวะฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในระยะ1-3 วันนี้
อนึ่ง คลื่นลมในอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังการเดินเรือในช่วงวันที่ 16-17 กันยายนนี้ไว้ด้วย
กทม.รับมือน้ำเหนือหลาก
วันเดียวกัน นายพงศ์ศักดิ์ เสมสันต์ ปลัด กทม. เป็นประธานประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ กทม. โดยนายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สำนักระบายน้ำ(สนน.) รายงานต่อที่ประชุมว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักและเกิดน้ำท่วมขัง ในหลายพื้นที่ทางด้านทิศเหนือนั้นปริมาณน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยา ที่ จ.ชัยนาท ก่อนที่จะมีการระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในปริมาณ 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที โดยจะใช้เวลา 3 วันในการเดินทางมาถึงกทม.ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวกทม.จะไม่ประสบปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงจึงทำให้ปริมาณน้ำที่ปล่อยลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยามีผลกระทบกับกทม.
อย่างไรก็ตาม สนน.จะประสานกรมชลประทานเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ อย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้จะได้เร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่หากมีฝนตกหนักในพื้นที่ก็จะไม่มีปัญหาน้ำท่วมขังเพราะกทม.ได้พร่องน้ำในคู คลองต่าง รวมถึงแก้มลิงทั้ง 21 แห่งไว้รองรับแล้ว
สำหรับในส่วนที่ปลัดกทม.มีความเป็นกังวลเกี่ยวกับพื้นที่ด้านตะวันออกของ กทม.ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำในคลองประเวศบุรีรมย์ปริมาณน้ำต่ำกว่าระดับวิกฤติเพียง 10 ซ.ม. นั้น ทางสนน.จะเร่งผันน้ำจากคลองดังกล่าวเข้าสถานีสูบน้ำพระโขนงเพื่อระบายออกทางแม่น้ำเจ้าพระยาและเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่กทม.ชั้นใน
ส่วนจำนวนพายุที่มีค่าเฉลี่ย 5 ปีจะเกิดขึ้น 4 ลูกนั้น อีกทั้งมีการคาดการณ์ว่าจะปีนี้จะมีพายุพัดเข้าพื้นที่ 3 ลูก แต่ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมามีค่าเฉลี่ย การเกิดพายุเข้าอยู่ 0.8 ลูกเท่านั้น ทั้งนี้หากมีพายุเข้ามาในช่วงที่น้ำเหนือไหลลงมา กทม.พอดีก็ไม่น่าเป็นห่วงเพราะมีแก้มลิงรองรับน้ำอยู่แล้ว
สธ.ส่งแพทย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ด้าน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รักษาการ รมช.สาธารณสุข ประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อวางแผนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
นายชวรัตน์ กล่าวว่า ในระยะเร่งด่วนนี้ สธ.ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ประสบภัยทุกแห่งตั้งศูนย์ช่วยเหลือน้ำท่วม และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ให้การดูแลการเจ็บป่วยและปัญหาความเครียดต่างๆ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 10 ของผู้ประสบภัย เคลื่อนที่ไปตามหมู่บ้านต่างๆ วันละประมาณ 100 หน่วย และจัดทีมให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวของประชาชนเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เพื่อไม่ให้ประชาชนมีทุกข์ซ้ำเติมจากการเจ็บป่วย และป้องกันไม่ให้มีโรคระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ประสบภัยทุกแห่ง
ด้านพญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และประธานศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ตั้งแต่ 11-15 ก.ย. ใน 12 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สระบุรี ฉะเชิงเทรา เลย ชลบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี นครนายก นครสวรรค์ และตาก มีประชาชนเจ็บป่วยเกือบ 20,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด รองลงมาคือ ปวดเมื่อย เสียชีวิต 5 ราย จากการจมน้ำทั้งหมด
น้ำป่าถล่มเข้าท่วมพิจิตร
สำหรับสถานการณ์อุทกภัย วานนี้ (16 ก.ย.) หลังปริมาณฝนที่ตกลงมา อย่างหนักตลอดคืนวันที่ 15 ก.ย.ถึงเช้าวันที่ 16 ก.ย.ทำให้น้ำป่าไหลเข้าท่วม ย่านเศรษฐกิจการค้า บ้านเรือนประชาชนในเขตเทศบาลต.ทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร และย่านเศรษฐกิจการค้าใน ต.วังหลุม อ.ตะพานหิน ที่บริเวณตลาดชุมชนต.วังหลุม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ติดอ.ทับคล้อ น้ำป่าไหลจากอ.ทับคล้อ เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน 100 หลังคาเรือน โดยประชาชนต้องเร่งขนย้ายสิ่งของ ทรัพย์สินมีค่าต่างๆ หนีน้ำป่าที่ไหลหลากเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว โดยต้องขนย้ายไปไว้ที่สูง
ขณะเดียวกันประชาชน ในต.วังหลุม ต้องช่วยกันยกกระสอบทรายมาสร้างเป็น แนวพนังป้องกันน้ำในลำคลองที่ไหลหลากมาจากอ.ทับคล้อ เอ่อล้นตลิ่งท่วมเส้นทาง เข้าออกหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเส้นทางเพียงเส้นเดียวที่เข้าออกหมู่บ้าน หากถูกน้ำท่วมก็จะไม่สามารถสัญจรไปมาได้และถูกตัดขาดโลกภายนอก
ส่วนที่ชุมชนสระหลวง อ.ทับคล้อ ชาวบ้านกว่า100 หลังคาเรือน ได้รับความ เดือดร้อนหนัก เนื่องจากน้ำท่วมบ้าน และเส้นทางเข้าหมู่บ้าน มีน้ำท่วมสูงกว่า60 เซนติเมตร ทำให้รถเกือบทุกชนิดไม่สามารถสัญจรเข้าออกได้ และชาวบ้านก็เริ่มได
น้ำเขาใหญ่ทะลักใส่จ.ปราจีนบุรี
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรีนั้น ปรากฎว่า น้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้ทะลักท่วมพื้นที่ จ.ปราจีนบุรีและยังคงมีฝนตกกระจายในหลายพื้นที่ ตั้งแต่คำวันที่ 5 ก.ย.ระดับน้ำที่ท่วมชุมชนตลาดเก่าเทศบาล ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี ยังทรงตัว โดยสูงเหนือถนนกว่า 60-70 ชม. เนื่องจากเป็นจุดบรรจบระหว่างแควหนุมานกับแควพระปรง เป็นต้นน้ำของแม่น้ำปราจีนบุรี โดยเฉพาะแควพระปรง มีน้ำหลากมาจากด้านฝั่ง จ.สระแก้วเพิ่มขึ้น ชาวบ้านต่างนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ขึ้นไปจอดที่สูงเพื่อหนีน้ำที่อาจท่วมสูงเพิ่มขึ้นได้
ทั้งนี้ จากภาวะแม่น้ำปราจีนบุรีต้องรองรับน้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และน้ำที่หลากจาก จ.สระแก้วเพิ่มขึ้นนี้ ทำให้แม่น้ำปราจีนบุรีสภาพปริ่มตลิ่งทุกพื้นที่ ที่ไหลผ่านคือ อ.ศรีมหาโพธิ อ.เมืองปราจีนบุรีและอ.บ้านสร้าง ขณะพื้นที่ตอนล่าง บริเวณทุ่งโคกมะกอก ต.โนนห้อม อ.เมืองปราจีนบุรี ตลอดเลียบแนวถนนประจีนตคาม น้ำเอ่อเข้าท่วมทุ่งดังกล่าวที่เป็นที่ลุ่มต่ำแหล่งรองรับน้ำหลากธรรมชาติในทุก ๆ ปี ซึ่งี่เป็นช่วงรอยต่อพื้นที่ อ.เมืองปราจีนบุรีกับอ.ประจันตคาม ตลอดแนวถนนระยะทางกว่า 5 กม.เศษ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ลึกกว่า 2 เมตรเศษ
อุตุฯอีสานเตือน13 จว.น้ำท่วม
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.อุบลราชธานีว่า สถานการณ์น้ำของจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าเกิดอุทกภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ซึ่งประกอบด้วย เดชอุดม นาตาล โพธิ์ไทร น้ำขุ่น เขมราฐ และอำเภอตระการพืชผล ซึ่งขณะนี้จังหวัดได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว ส่วนความเสียหาย ด้านการเกษตร นาข้าว จำนวน 930 ไร่ พืชสวน จำนวน 150 ไร่ บ่อปลาได้รับความเสียหาย 16 บ่อ มีถนนได้รับความเสียหาย 32 สาย สะพาน 8 แห่ง ด้านความช่วยเหลือ จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประประสบภัยแล้ว จำนวน 450 ชุด
ส่วนระดับน้ำมูลที่สถานี M 7 ใต้สะพานเสรีประชาธิปไตย ณ วันที่ 16 กันยายน 2551 อยู่ที่ระดับ 109.25 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 2.75 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นระดับน้ำที่ยังไม่สูงมากแต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ส่วนระดับน้ำแม่น้ำโขงอยู่ที่ระดับอยู่ที่ 101.13 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 5.83 เมตร
อย่างไรก็ตาม ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แจ้งเตือนประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ สำหรับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหลายจังหวัดที่จะได้รับผลกระทบ เช่น จังหวัด เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองบัวลำภู สกลนคร มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา โดยจะมีฝนตกอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์นี้ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในที่ราบลุ่ม และบริเวณที่ลาดเชิงเขาระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในช่วงนี้