ผู้จัดการรายวัน- ก๊าซฯพุ่ง 230 บาทต่อล้านบีทียูตามราคาน้ำมันดันค่าเอฟทีงวดใหม่(ต.ค.51-ม.ค.52) กระฉูด 30-40 สตางค์ต่อหน่วยส่งผลให้เรกกูเรเตอร์ต้องหาแผนรับมือวันนี้(16ก.ย.)คาดใช้วิธีเกลี่ยค่าไฟ พร้อมดึงค่าเทกออร์เพลย์จากปตท.ช่วยหวังสกัดให้งวดนี้ขยับไม่เกิน 10 สตางค์ต่อหน่วย
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ เอฟทีที่จะเรียกเก็บบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่เดือนต.ค. 51-ม.ค. 52 ยอมรับว่าคงจะต้องปรับขึ้นจากราคาก๊าซธรรมชาติทีเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าหรือเรกกูเรเตอร์วันนี้( 16ก.ย.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกฟผ. บมจ.ปตท.คงจะหารือถึงแนวทางการลดผลกระทบดังกล่าว
“ ยอมรับว่าเอฟทีงวดใหม่ต้องปรับขึ้นแน่นอน ตามต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ผันแปรตามราคาน้ำมัน แต่ขณะนี้กระทรวงฯพยายามหาทางลดผลกระทบ ไม่ให้ปรับสูงขึ้น เกิน 30-40 สตางค์ต่อหน่วย”นายพรชัยกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ประมาณการเบื้องต้นค่าเอฟทีงวดใหม่จะปรับขึ้น30- 40 สตางค์ต่อหน่วยซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเนื่องจากก๊าซฯปรับขึ้นจากงวดที่แล้วถึง 15 % หรือปรับจาก 200 บาท/ล้านบีทียู เป็นประมาณ 230 บาท/ล้านบีทียู ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เรกูเรเตอร์จะใช้วิธีเกลี่ยค่าไฟเพื่อให้ปรับขึ้นไม่เกิน 10 สตางค์ต่อหน่วยและที่เหลือจะนำไปคิดในงวดถัดไป ซึ่งภาระดังกล่าวจะให้กฟผ. รับไปก่อน ส่วนปตท.จะมีการนำเงินค่าเทคออร์เพย์ (Take or Pay)ก๊าซพม่า มาใช้ วงเงินอาจอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท ก็จะช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้อีกประมาณกว่า 10 สตางค์ต่อหน่วย
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น ปตท. กล่าวว่า ค่าก๊าซเทคออร์เพย์พม่า ที่ผ่านมาได้ชะลอการใช้ เพราะมีก๊าซจากหลายแหล่งเข้าระบบ หากดึงมาใช้ก็จะช่วยลดภาระประชาชนได้ระดับหนึ่ง เพราะเป็นราคาที่จ่ายไปก่อนตั้งแต่สร้างท่อก๊าซพม่าและราคาน้ำมันในช่วงนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่ากฟผ.กล่าวว่า การเกลี่ยค่าไฟเพื่อลผลกระทบประชาชนคงขึ้นอยู่กับที่ประชุมเรกูเรเตอร์ซึ่งกฟผ.ก็พร้อมจะดำเนินการตามและเห็นด้วย เพราะมีการคาดการณ์ว่า ต้นทุนก๊าซธรรมชาติในอนาคตมีแนวโน้มลดลง เพราะราคาก๊าซผันแปรตามราคาน้ำมันย้อนหลัง 6 เดือน ซึ่งราคาก๊าซขณะนี้ผันแปรตามราคาน้ำมัน 6 เดือนก่อน ที่สูงกว่า 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ขณะนี้ราคาลดลงเหลือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และมีทิศทางว่า ราคาน้ำมันจะปรับลดลงอีก ก็จะทำให้ราคาก๊าซในอนาคตลดลง
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เปิดเผยว่า ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ เอฟทีที่จะเรียกเก็บบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่เดือนต.ค. 51-ม.ค. 52 ยอมรับว่าคงจะต้องปรับขึ้นจากราคาก๊าซธรรมชาติทีเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าหรือเรกกูเรเตอร์วันนี้( 16ก.ย.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกฟผ. บมจ.ปตท.คงจะหารือถึงแนวทางการลดผลกระทบดังกล่าว
“ ยอมรับว่าเอฟทีงวดใหม่ต้องปรับขึ้นแน่นอน ตามต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ผันแปรตามราคาน้ำมัน แต่ขณะนี้กระทรวงฯพยายามหาทางลดผลกระทบ ไม่ให้ปรับสูงขึ้น เกิน 30-40 สตางค์ต่อหน่วย”นายพรชัยกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ประมาณการเบื้องต้นค่าเอฟทีงวดใหม่จะปรับขึ้น30- 40 สตางค์ต่อหน่วยซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเนื่องจากก๊าซฯปรับขึ้นจากงวดที่แล้วถึง 15 % หรือปรับจาก 200 บาท/ล้านบีทียู เป็นประมาณ 230 บาท/ล้านบีทียู ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เรกูเรเตอร์จะใช้วิธีเกลี่ยค่าไฟเพื่อให้ปรับขึ้นไม่เกิน 10 สตางค์ต่อหน่วยและที่เหลือจะนำไปคิดในงวดถัดไป ซึ่งภาระดังกล่าวจะให้กฟผ. รับไปก่อน ส่วนปตท.จะมีการนำเงินค่าเทคออร์เพย์ (Take or Pay)ก๊าซพม่า มาใช้ วงเงินอาจอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท ก็จะช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้อีกประมาณกว่า 10 สตางค์ต่อหน่วย
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น ปตท. กล่าวว่า ค่าก๊าซเทคออร์เพย์พม่า ที่ผ่านมาได้ชะลอการใช้ เพราะมีก๊าซจากหลายแหล่งเข้าระบบ หากดึงมาใช้ก็จะช่วยลดภาระประชาชนได้ระดับหนึ่ง เพราะเป็นราคาที่จ่ายไปก่อนตั้งแต่สร้างท่อก๊าซพม่าและราคาน้ำมันในช่วงนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่ากฟผ.กล่าวว่า การเกลี่ยค่าไฟเพื่อลผลกระทบประชาชนคงขึ้นอยู่กับที่ประชุมเรกูเรเตอร์ซึ่งกฟผ.ก็พร้อมจะดำเนินการตามและเห็นด้วย เพราะมีการคาดการณ์ว่า ต้นทุนก๊าซธรรมชาติในอนาคตมีแนวโน้มลดลง เพราะราคาก๊าซผันแปรตามราคาน้ำมันย้อนหลัง 6 เดือน ซึ่งราคาก๊าซขณะนี้ผันแปรตามราคาน้ำมัน 6 เดือนก่อน ที่สูงกว่า 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ขณะนี้ราคาลดลงเหลือ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และมีทิศทางว่า ราคาน้ำมันจะปรับลดลงอีก ก็จะทำให้ราคาก๊าซในอนาคตลดลง