ศูนย์ข่าวภูมิภาค - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมาร พระราชทานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการรักษาพยาบาล พร้อมยา เวชภัณฑ์ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ "มวกเหล็ก" และ "ปากช่อง" ขณะที่อุตุฯเตือน 20 จังหวัด "เหนือ-อีสาน" ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ด้านสถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดน่าเป็นห่วง ชาวบ้านพิษณุโลกร้องขอความช่วยเหลืออาหารและน้ำดื่มหลังน้ำท่วมตัดขาด 3 หมู่บ้านที่วังทอง
วานนี้ (14 ก.ย.) นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา และ ดร.กาญจนา กาญจนสินิทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นพ.สมชัย ภิญโญพรพานิชย์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผอ.ศูนย์นเรนทร เดินทางไปตรวจเยี่ยม รพ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และเยี่ยมหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่บริเวณสะพานดำ ริมทางรถไฟ อยู่ระหว่าง ต.พญาเย็นกับ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่บ้านท่ามะนาว ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ติดตามผลกระทบน้ำท่วมและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านการแพทย์และสาธารณสุข
นายชวรัตน์ กล่าวว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงห่วงใยประชาชนผู้ประสบภัยน้ำป่าไหลหลากหลังจากฝนตกหนักได้รับสั่งให้กระทรวงสาธารณสุข จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทานออกให้บริการตรวจรักษาประชาชนที่ประสบภัยที่ อ.มวกเหล็ก และ อ.ปากช่อง อย่างเต็มที่จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสูภาวะปกติ
นอกจากนี้ วานนี้กระทรวงสาธารณสุข ยังได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จาก รพ.มวกเหล็ก รพ.ศูนย์สระบุรี รพ.ปากช่องนานา รพ.มหาราชนครราชสีมา ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่อื่นๆ จำนวน 2 ทีมใหญ่และจากสำนักงานสาธารณสุขทั้ง 2 อำเภอให้บริการที่บริเวณสะพานดำ ริมทางรถไฟ อ.มวกเหล็ก และที่บ้านท่ามะนาว ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในเบื้องต้นได้รับรายงานผู้เจ็บป่วยทั้งหมด 1,000 รายส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ พบมีความเครียด นอนไม่หลับ ประมาณร้อยละ 10
นายชวรัตน์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขยังได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้านจำนวน 5,000 ชุดเพื่อมอบให้ประชาชนอำเภอละ 2,500 ชุด และรองเท้าบู้ท 2,000 คู่ใส่ป้องกันโรค โดยได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย ซึ่งคาดว่าจะมีหลายจังหวัด จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ และให้สถานพยาบาลเปิดให้บริการประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง สำรองเซรุ่มป้องกันพิษงูต่างๆไว้ หากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถโทรแจ้งหน่วยแพทย์ได้ฟรีทาง 1669 ตลอดเวลา ให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาสามัญประจำบ้านสำรองเพื่อช่วยเหลือประชาชนในระยะเร่งด่วนไว้อีก 1 แสนชุด
ด้าน นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ผลจากน้ำป่าไหลหลากครั้งนี้ได้ไหลเข้าท่วมที่ รพ.มวกเหล็ก ซึ่งอยู่ต่ำกว่าถนนมิตรภาพอยู่แล้ว ระดับน้ำสูงเกือบ 1 เมตร นับว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปี จุดที่ได้รับความเสียหายได้แก่ ห้องเก็บวัสดุ เอกสารต่าง นมผงเลี้ยงทารกที่ห้ามกินนมแม่ โรงครัว โรงซักฟอกซึ่งมีเครื่องซักผ้า เครื่องอบฆ่าเชื้อโรค ตู้เย็นไม่สามารถใช้การได้ รั้วโรงพยาบาลและถนนลาดยางมะตอยชำรุด เนื่องจากถูกนำเซาะ ยาวประมาณ 30 เมตร บ้านพักเจ้าหน้าที่ 2 ครอบครัว ความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 8 ล้านบาท และเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลได้งดรับผู้ป่วยในเป็นการชั่วคราวก่อน โดยได้ย้ายผู้ป่วยในที่มีอาการหนักทั้งหมดจำนวน 12 รายไปที่โรงพยาบาลสระบุรี 5 ราย และโรงพยาบาลปากช่องนานา 7 ราย
ขณะนี้มีผู้ป่วยในนอนรักษา ซึ่งอาการไม่หนัก นอนรักษา 6 ราย และเปิดให้บริการตรวจรักษาเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง หากมีอาการหนักก็จะส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสระบุรี อย่างไรก็ดีเมื่อเย็นวานนี้ระดับน้ำได้เริ่มลดลงแล้ว เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้ระดมช่วยกันทำความสะอาดอาคาร คาดว่าจะสามารถเปิดรับผู้ป่วยในได้ในวันนี้
ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 18 เมื่อเวลา 16.30 น. ระบุว่า ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ในที่ราบลุ่ม และบริเวณที่ลาดเชิงเขาระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะ 2-3 วันนี้
อนึ่ง คลื่นลมในอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังการเดินเรือในช่วงวันที่ 14-16 กันยายนนี้ ไว้ด้วย
ขณะเดียวกันนายณรงค์ มหรรณพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่า จากที่มีภาวะฝนตกต่อเนื่อง น้ำป่าหลายพื้นที่ด้านล่างรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น จึงได้ประกาศแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวระวังดิน-หินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะดินถล่มด้านฝั่งทางขึ้นศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ที่เกิดบ่อยครั้ง อดีตเคยมีต้นไม้ใหญ่ล้มทับสายไฟฟ้า กระชากเสาไฟล้มทับรถยนต์ บริเวณสูงชันทางขึ้นฝั่ง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่ริมทางขึ้นมีต้นไม้ใหญ่ และบริเวณด้านผากล้วยไม้ ที่อาจเกิดอันตรายได้
นอกจากนี้ ยังได้สั่งห้ามลงเล่นน้ำตกทุกแห่งในทุกเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อป้องกันภัยน้ำป่าไหลหลากอันอาจเกิดขึ้น ที่จะเป็นอันตรายได้ รวมถึงงดการเดินป่าด้วย
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดยังคงวิกฤต โดยสถานการณ์น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่ยังคงไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ จ.พิษณุโลกวานนี้ โดยเฉพาะ อ.วังทอง น่าเป็นห่วง เนื่องจากราษฎร 3 หมู่บ้าน ที่อยู่ริมแม่น้ำวังทองกว่า 400 หลังคาเรือน คือ บ้านบางบอน บ้านท่าโป่ง และบ้านวงฆ้อง ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ถนนหมู่บ้านจมน้ำเกือบ 1 เมตร อีกทั้งกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก การสัญจรต้องใช้ทางเรือ ชาวบ้านเริ่มขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม พร้อมเรียกร้องให้ทางการเร่งช่วยเหลือ เนื่องจากน้ำท่วมตัดขาดพื้นที่มาตั้งแต่กลางดึกของ วันที่ 12 ก.ย.รวมถึงสัตว์เลี้ยงโค-กระบือ หลายสิบตัวขาดแคลนหญ้าเช่นกัน
ขณะเดียวกันน้ำป่าจาก อ.วังทอง และเนินมะปราง จ.พิษณุโลก ยังไหลเข้าท่วมบ้านเรือนใน ต.สากเหล็ก อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับพิษณุโลกและในเขตเทศบาลตำบลทับคล้อ จ.พิจิตร ด้วย ส่งผลชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักหลายร้อยหลังคาเรือน
ส่วน จ.สุโขทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้ประกาศให้พื้นที่ 5 อำเภอ คือ อ.คีรีมาศ อ.ศรีสำโรง อ.กงไกรลาศ อ.ทุ่งเสลี่ยม และ อ.ศรีสัชนาลัย เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินจากน้ำท่วมแล้ว เพราะทั้ง 5 อำเภอถูกน้ำท่วมสูง พื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นบริเวณกว้าง
ขณะที่ จ.เลย น้ำป่าหลากท่วมฉับพลันเมื่อช่วงเช้าวานนี้ ทำให้ถนนสายเลย-ท่าลี่ มีปัญหาน้ำท่วมเป็นช่วงในระดับกว่า 50 เซนติเมตร บางจุดสูง 1 เมตร นอกจากนี้ แม่น้ำเลยยังเอ่อท่วมบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำบางส่วนใน อ.ภูหลวง อ.วังสะพุง และ อ.เมือง โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองเลยชุมชนตรอกไก่ตาย ถนนเอื้ออารีย์ และถนนเจริญรัฐ น้ำท่วมพื้นที่กว่า 1 เมตร เนื่องจากเป็นชุมชนอยู่ใกล้ริมฝั่ง ทางเทศบาลเมืองเลยจัดอาสาสมัคร อปพร. นำเรือท้องแบนออกช่วยเหลือประชาชนอพยพสิ่งของและสัตว์เลี้ยงขึ้นไปอยู่ที่ปลอดภัย ส่วนนาข้าวเสียหายกว่า 2,000 ไร่
วานนี้ (14 ก.ย.) นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา และ ดร.กาญจนา กาญจนสินิทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นพ.สมชัย ภิญโญพรพานิชย์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผอ.ศูนย์นเรนทร เดินทางไปตรวจเยี่ยม รพ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และเยี่ยมหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่บริเวณสะพานดำ ริมทางรถไฟ อยู่ระหว่าง ต.พญาเย็นกับ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่บ้านท่ามะนาว ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ติดตามผลกระทบน้ำท่วมและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านการแพทย์และสาธารณสุข
นายชวรัตน์ กล่าวว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงห่วงใยประชาชนผู้ประสบภัยน้ำป่าไหลหลากหลังจากฝนตกหนักได้รับสั่งให้กระทรวงสาธารณสุข จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทานออกให้บริการตรวจรักษาประชาชนที่ประสบภัยที่ อ.มวกเหล็ก และ อ.ปากช่อง อย่างเต็มที่จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสูภาวะปกติ
นอกจากนี้ วานนี้กระทรวงสาธารณสุข ยังได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จาก รพ.มวกเหล็ก รพ.ศูนย์สระบุรี รพ.ปากช่องนานา รพ.มหาราชนครราชสีมา ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่อื่นๆ จำนวน 2 ทีมใหญ่และจากสำนักงานสาธารณสุขทั้ง 2 อำเภอให้บริการที่บริเวณสะพานดำ ริมทางรถไฟ อ.มวกเหล็ก และที่บ้านท่ามะนาว ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในเบื้องต้นได้รับรายงานผู้เจ็บป่วยทั้งหมด 1,000 รายส่วนใหญ่เป็นไข้หวัด ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ พบมีความเครียด นอนไม่หลับ ประมาณร้อยละ 10
นายชวรัตน์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขยังได้จัดส่งยาสามัญประจำบ้านจำนวน 5,000 ชุดเพื่อมอบให้ประชาชนอำเภอละ 2,500 ชุด และรองเท้าบู้ท 2,000 คู่ใส่ป้องกันโรค โดยได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย ซึ่งคาดว่าจะมีหลายจังหวัด จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ และให้สถานพยาบาลเปิดให้บริการประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง สำรองเซรุ่มป้องกันพิษงูต่างๆไว้ หากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถโทรแจ้งหน่วยแพทย์ได้ฟรีทาง 1669 ตลอดเวลา ให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาสามัญประจำบ้านสำรองเพื่อช่วยเหลือประชาชนในระยะเร่งด่วนไว้อีก 1 แสนชุด
ด้าน นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ผลจากน้ำป่าไหลหลากครั้งนี้ได้ไหลเข้าท่วมที่ รพ.มวกเหล็ก ซึ่งอยู่ต่ำกว่าถนนมิตรภาพอยู่แล้ว ระดับน้ำสูงเกือบ 1 เมตร นับว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปี จุดที่ได้รับความเสียหายได้แก่ ห้องเก็บวัสดุ เอกสารต่าง นมผงเลี้ยงทารกที่ห้ามกินนมแม่ โรงครัว โรงซักฟอกซึ่งมีเครื่องซักผ้า เครื่องอบฆ่าเชื้อโรค ตู้เย็นไม่สามารถใช้การได้ รั้วโรงพยาบาลและถนนลาดยางมะตอยชำรุด เนื่องจากถูกนำเซาะ ยาวประมาณ 30 เมตร บ้านพักเจ้าหน้าที่ 2 ครอบครัว ความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 8 ล้านบาท และเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลได้งดรับผู้ป่วยในเป็นการชั่วคราวก่อน โดยได้ย้ายผู้ป่วยในที่มีอาการหนักทั้งหมดจำนวน 12 รายไปที่โรงพยาบาลสระบุรี 5 ราย และโรงพยาบาลปากช่องนานา 7 ราย
ขณะนี้มีผู้ป่วยในนอนรักษา ซึ่งอาการไม่หนัก นอนรักษา 6 ราย และเปิดให้บริการตรวจรักษาเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง หากมีอาการหนักก็จะส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสระบุรี อย่างไรก็ดีเมื่อเย็นวานนี้ระดับน้ำได้เริ่มลดลงแล้ว เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้ระดมช่วยกันทำความสะอาดอาคาร คาดว่าจะสามารถเปิดรับผู้ป่วยในได้ในวันนี้
ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 18 เมื่อเวลา 16.30 น. ระบุว่า ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ในที่ราบลุ่ม และบริเวณที่ลาดเชิงเขาระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะ 2-3 วันนี้
อนึ่ง คลื่นลมในอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังการเดินเรือในช่วงวันที่ 14-16 กันยายนนี้ ไว้ด้วย
ขณะเดียวกันนายณรงค์ มหรรณพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่า จากที่มีภาวะฝนตกต่อเนื่อง น้ำป่าหลายพื้นที่ด้านล่างรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น จึงได้ประกาศแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวระวังดิน-หินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะดินถล่มด้านฝั่งทางขึ้นศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ที่เกิดบ่อยครั้ง อดีตเคยมีต้นไม้ใหญ่ล้มทับสายไฟฟ้า กระชากเสาไฟล้มทับรถยนต์ บริเวณสูงชันทางขึ้นฝั่ง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่ริมทางขึ้นมีต้นไม้ใหญ่ และบริเวณด้านผากล้วยไม้ ที่อาจเกิดอันตรายได้
นอกจากนี้ ยังได้สั่งห้ามลงเล่นน้ำตกทุกแห่งในทุกเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อป้องกันภัยน้ำป่าไหลหลากอันอาจเกิดขึ้น ที่จะเป็นอันตรายได้ รวมถึงงดการเดินป่าด้วย
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดยังคงวิกฤต โดยสถานการณ์น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่ยังคงไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ จ.พิษณุโลกวานนี้ โดยเฉพาะ อ.วังทอง น่าเป็นห่วง เนื่องจากราษฎร 3 หมู่บ้าน ที่อยู่ริมแม่น้ำวังทองกว่า 400 หลังคาเรือน คือ บ้านบางบอน บ้านท่าโป่ง และบ้านวงฆ้อง ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ถนนหมู่บ้านจมน้ำเกือบ 1 เมตร อีกทั้งกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก การสัญจรต้องใช้ทางเรือ ชาวบ้านเริ่มขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม พร้อมเรียกร้องให้ทางการเร่งช่วยเหลือ เนื่องจากน้ำท่วมตัดขาดพื้นที่มาตั้งแต่กลางดึกของ วันที่ 12 ก.ย.รวมถึงสัตว์เลี้ยงโค-กระบือ หลายสิบตัวขาดแคลนหญ้าเช่นกัน
ขณะเดียวกันน้ำป่าจาก อ.วังทอง และเนินมะปราง จ.พิษณุโลก ยังไหลเข้าท่วมบ้านเรือนใน ต.สากเหล็ก อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับพิษณุโลกและในเขตเทศบาลตำบลทับคล้อ จ.พิจิตร ด้วย ส่งผลชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักหลายร้อยหลังคาเรือน
ส่วน จ.สุโขทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ได้ประกาศให้พื้นที่ 5 อำเภอ คือ อ.คีรีมาศ อ.ศรีสำโรง อ.กงไกรลาศ อ.ทุ่งเสลี่ยม และ อ.ศรีสัชนาลัย เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินจากน้ำท่วมแล้ว เพราะทั้ง 5 อำเภอถูกน้ำท่วมสูง พื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นบริเวณกว้าง
ขณะที่ จ.เลย น้ำป่าหลากท่วมฉับพลันเมื่อช่วงเช้าวานนี้ ทำให้ถนนสายเลย-ท่าลี่ มีปัญหาน้ำท่วมเป็นช่วงในระดับกว่า 50 เซนติเมตร บางจุดสูง 1 เมตร นอกจากนี้ แม่น้ำเลยยังเอ่อท่วมบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำบางส่วนใน อ.ภูหลวง อ.วังสะพุง และ อ.เมือง โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองเลยชุมชนตรอกไก่ตาย ถนนเอื้ออารีย์ และถนนเจริญรัฐ น้ำท่วมพื้นที่กว่า 1 เมตร เนื่องจากเป็นชุมชนอยู่ใกล้ริมฝั่ง ทางเทศบาลเมืองเลยจัดอาสาสมัคร อปพร. นำเรือท้องแบนออกช่วยเหลือประชาชนอพยพสิ่งของและสัตว์เลี้ยงขึ้นไปอยู่ที่ปลอดภัย ส่วนนาข้าวเสียหายกว่า 2,000 ไร่