รอยเตอร์ – คณะรัฐบาลอเมริกันชุดต่อไป จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเวลานี้ซึ่งหมกมุ่นอยู่แต่กับภูมิภาคตะวันออกกลาง แล้วหันมาทุ่มเทให้ความสนใจกับภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งการเติบโตของจีนและอินเดียให้มากขึ้น ทั้งนี้เป็นบทสรุปเสนอแนะของรายงานการศึกษาชิ้นใหญ่ที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันพุธ(10)
มูลนิธิเอเชีย อันเป็นหน่วยงานไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ระบุในรายงานการศึกษาที่จัดทำขึ้นทุกรอบ 4 ปีฉบับล่าสุดว่า ผู้ที่จะเข้ามารับช่วงเป็นผู้นำทำเนียบขาวต่อจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จะต้องเปลี่ยนนโยบายจากเดิมที่เน้นการโต้ตอบกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ไปสู่การเป็นผู้คาดการณ์และกำหนดพัฒนาการที่สำคัญๆ
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวจะถูกส่งไปให้กับทีมงานนโยบายของบารัค โอบามา และจอห์น แมคเคน ซึ่งเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ด้วย
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสทั้งของสหรัฐฯ และเอเชียจำนวน 20 คน ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานความยาว 310 หน้าฉบับนี้ กล่าวว่า “ในระหว่างที่สหรัฐฯ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับสถานการณ์ในตะวันออกกลางนั้น สมดุลในภูมิภาคเอเชียก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างเงียบๆ และอย่างต่อเนื่อง ในทิศทางที่ประเทศอื่นๆ เป็นผู้กำหนด”
เจ สเตเปิลตัน รอย นักการทูตสหรัฐฯ ที่เกษียณอายุแล้ว และเป็นผู้นำคนหนึ่งของโครงการจัดทำรายงานฉบับนี้ กล่าวว่านับตั้งแต่ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 สหรัฐฯ ได้มุ่งเน้นความสนใจ “ไปที่เรื่องเร่งด่วนโดยลืมเรื่องสำคัญไป” และสหรัฐฯ จำเป็นต้องมีแนวทางใหม่ต่อการเติบโตของจีนและอินเดีย
“คนเอเชียมีความรู้สึกความเข้าใจว่า เราไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพัน (กับเอเชีย) มากเหมือนอย่างในอดีต และเราไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพัน (กับเอเชีย) ให้เพียงพออย่างที่เราควรจะกระทำ” รอยซึ่งเป็นรองประธานกรรมการของ คิสซิงเจอร์ อินเตอร์เนชันแนล แอสโซซิเอทส์ อยู่ด้วย กล่าว
รอยเพิ่มเติมด้วยว่า สหรัฐฯ นั้นต้องเผชิญหน้ากับ “เรื่องท้าทายถึงสามเรื่องด้วยกัน คือ การจัดการเรื่องภายในประเทศของเราให้เรียบร้อย การกำหนดยุทธศาสตร์เชิงภูมิรัฐศาสตร์สำหรับเอเชียให้ชัดเจนขึ้น และส่งเสริมความพยายามร่วมกันในหมู่ผู้นำของเอเชียเพื่อรับมือกับปัญหาข้ามประเทศที่สำคัญเร่งด่วน”
รายงานของมูลนิธิเอเชียฉบับนี้ชี้ว่า การที่สหรัฐฯจะรับมือกับเอเชียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ประธานาธิบดีคนใหม่จะต้องคงรักษาและปรับปรุงความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์กับจีนและอินเดียให้แข็งแกร่งขึ้น และต้อนรับความพยายามทั้งหลายในระดับภูมิภาคมาจะสร้างสถาบันที่เป็นทางการขึ้นมา อย่างเช่น การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก(เออาร์เอฟ) ในกรอบของสมาคมอาเซียน และการประชุมระดับผู้นำเอเชียตะวันออก เป็นต้น
รายงานยังระบุด้วยว่า สหรัฐฯ จะมีพลังต่อรองในเอเชียได้มากขึ้น หากใช้ “หลักในเชิงปฏิบัติการที่ว่า จะต้องมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับชาติผู้นำสำคัญๆ แต่ละประเทศ แทนที่จะปล่อยให้ประเทศเหล่านั้นสร้างความสัมพันธ์กันเอง”
ฮันซุงจู อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของเกาหลีใต้ ผู้รับผิดชอบเนื้อหารายงานในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่าผู้นำต่อจากบุชจะต้องรับช่วงการจัดการปัญหานิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือ และไม่ควรเสียเวลาโดยต้องเร่งใช้การทูตที่จะทำให้เกาหลีเหนือยอมล้มเลิกโครงการอาวุธนิวเคลียร์
เขายังบอกอีกว่า สหรัฐฯ และบรรดาหุ้นส่วนทางการทูต “ควรมีแผนเฉพาะหน้าหากประธานาธิบดีคิมจองอิลเสียชีวิตหรือไม่สามารถบริหารประเทศได้อีกต่อไปด้วย”
ส่วนทอมมี โก๊ะ เอกอัครราชทูตจากสิงคโปร์ กล่าวว่าชาวเอเชียนั้นตกใจกับการใช้สำนวนโวหารในเรื่องการต่อต้านกีดกันการค้าของรัฐสภาของสหรัฐฯ และของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง จึงได้เรียกร้องในรายงานด้วยว่า สหรัฐฯ จะต้องยืนยันถึงพันธกิจของตนต่อข้อตกลงการค้าทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาคด้วย
มูลนิธิเอเชีย อันเป็นหน่วยงานไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ระบุในรายงานการศึกษาที่จัดทำขึ้นทุกรอบ 4 ปีฉบับล่าสุดว่า ผู้ที่จะเข้ามารับช่วงเป็นผู้นำทำเนียบขาวต่อจากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จะต้องเปลี่ยนนโยบายจากเดิมที่เน้นการโต้ตอบกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ไปสู่การเป็นผู้คาดการณ์และกำหนดพัฒนาการที่สำคัญๆ
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวจะถูกส่งไปให้กับทีมงานนโยบายของบารัค โอบามา และจอห์น แมคเคน ซึ่งเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ด้วย
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสทั้งของสหรัฐฯ และเอเชียจำนวน 20 คน ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานความยาว 310 หน้าฉบับนี้ กล่าวว่า “ในระหว่างที่สหรัฐฯ เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับสถานการณ์ในตะวันออกกลางนั้น สมดุลในภูมิภาคเอเชียก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างเงียบๆ และอย่างต่อเนื่อง ในทิศทางที่ประเทศอื่นๆ เป็นผู้กำหนด”
เจ สเตเปิลตัน รอย นักการทูตสหรัฐฯ ที่เกษียณอายุแล้ว และเป็นผู้นำคนหนึ่งของโครงการจัดทำรายงานฉบับนี้ กล่าวว่านับตั้งแต่ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 สหรัฐฯ ได้มุ่งเน้นความสนใจ “ไปที่เรื่องเร่งด่วนโดยลืมเรื่องสำคัญไป” และสหรัฐฯ จำเป็นต้องมีแนวทางใหม่ต่อการเติบโตของจีนและอินเดีย
“คนเอเชียมีความรู้สึกความเข้าใจว่า เราไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพัน (กับเอเชีย) มากเหมือนอย่างในอดีต และเราไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพัน (กับเอเชีย) ให้เพียงพออย่างที่เราควรจะกระทำ” รอยซึ่งเป็นรองประธานกรรมการของ คิสซิงเจอร์ อินเตอร์เนชันแนล แอสโซซิเอทส์ อยู่ด้วย กล่าว
รอยเพิ่มเติมด้วยว่า สหรัฐฯ นั้นต้องเผชิญหน้ากับ “เรื่องท้าทายถึงสามเรื่องด้วยกัน คือ การจัดการเรื่องภายในประเทศของเราให้เรียบร้อย การกำหนดยุทธศาสตร์เชิงภูมิรัฐศาสตร์สำหรับเอเชียให้ชัดเจนขึ้น และส่งเสริมความพยายามร่วมกันในหมู่ผู้นำของเอเชียเพื่อรับมือกับปัญหาข้ามประเทศที่สำคัญเร่งด่วน”
รายงานของมูลนิธิเอเชียฉบับนี้ชี้ว่า การที่สหรัฐฯจะรับมือกับเอเชียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ประธานาธิบดีคนใหม่จะต้องคงรักษาและปรับปรุงความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์กับจีนและอินเดียให้แข็งแกร่งขึ้น และต้อนรับความพยายามทั้งหลายในระดับภูมิภาคมาจะสร้างสถาบันที่เป็นทางการขึ้นมา อย่างเช่น การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก(เออาร์เอฟ) ในกรอบของสมาคมอาเซียน และการประชุมระดับผู้นำเอเชียตะวันออก เป็นต้น
รายงานยังระบุด้วยว่า สหรัฐฯ จะมีพลังต่อรองในเอเชียได้มากขึ้น หากใช้ “หลักในเชิงปฏิบัติการที่ว่า จะต้องมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับชาติผู้นำสำคัญๆ แต่ละประเทศ แทนที่จะปล่อยให้ประเทศเหล่านั้นสร้างความสัมพันธ์กันเอง”
ฮันซุงจู อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของเกาหลีใต้ ผู้รับผิดชอบเนื้อหารายงานในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่าผู้นำต่อจากบุชจะต้องรับช่วงการจัดการปัญหานิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือ และไม่ควรเสียเวลาโดยต้องเร่งใช้การทูตที่จะทำให้เกาหลีเหนือยอมล้มเลิกโครงการอาวุธนิวเคลียร์
เขายังบอกอีกว่า สหรัฐฯ และบรรดาหุ้นส่วนทางการทูต “ควรมีแผนเฉพาะหน้าหากประธานาธิบดีคิมจองอิลเสียชีวิตหรือไม่สามารถบริหารประเทศได้อีกต่อไปด้วย”
ส่วนทอมมี โก๊ะ เอกอัครราชทูตจากสิงคโปร์ กล่าวว่าชาวเอเชียนั้นตกใจกับการใช้สำนวนโวหารในเรื่องการต่อต้านกีดกันการค้าของรัฐสภาของสหรัฐฯ และของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง จึงได้เรียกร้องในรายงานด้วยว่า สหรัฐฯ จะต้องยืนยันถึงพันธกิจของตนต่อข้อตกลงการค้าทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาคด้วย