เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล – กลุ่มนักธุรกิจยุโรประบุ บริษัทต่างชาติกำลังวิตกเกี่ยวกับปัญหาลัทธิกีดกันการค้า และปัญหากฎระเบียบในจีน ซึ่งอาจสกัดกั้นการลงทุนและการเข้าซื้อกิจการของนักลงทุนต่างชาติได้
ในรายงานสถานภาพประจำปีของหอการค้าสหภาพยุโรป หรืออียูในจีนระบุว่า จีนมีความคืบหน้าในการผ่อนคลายกฎระเบียบควบคุมภาคธนาคารและการขนส่ง, การลดการทำหน้าที่ทับซ้อนกันระหว่างกระทรวง และการปรับปรุงภาคพลังงาน ซึ่งเคยเป็นภาคที่ถูกมองข้าม
อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างชาติมักยังคงถูกขัดขวางไม่ให้เข้าร่วมในสถาบันองค์กร ซึ่งทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานด้านอุตสาหกรรม และถูกกีดกันไม่ให้เข้าทำสัญญาธุรกิจ ที่สร้างผลกำไรงาม
“สมาชิกของเรามีความรู้สึกว่า บรรยากาศด้านกฎระเบียบไม่มีความสอดคล้องกับการเติบโตของจีน และเกิดลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งทำให้เราวิตกกังวล ” นาย Joerg Wuttke ประธานหอการค้าอียูในจีนกล่าว
“โดยทั่วไป เรารู้สึกว่ากระบวนการปฏิรูปได้ชะลอลง”
ทั้งนี้ หอการค้าสหภาพยุโรปในจีนเป็นตัวแทนของบริษัทราว 1,300 ราย ที่ทำธุรกิจบนแดนมังกร
ประธานหอการค้าอียูในจีนระบุว่า อียูส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ หรือรัสเซียมากกว่าส่งออกไปจีน ขณะเดียวกัน การลงทุนใหม่ ๆ ของนักลงทุนยุโรปในดินแดนแห่งนี้ได้ชะลอลง โดยขณะนี้มีสัดส่วนร้อยละ 5 ของการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด
การหันเหไปสู่ลัทธิกีดกันทางการค้า หรือลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจ ที่ว่านี้ เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกของประชาชน แต่ก็ยังไม่มากเท่ากับที่เกิดจากฝีมือของ “กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ” ซึ่งกำลังหาทางปกป้องสถานภาพของตนเองในตลาดจีน และกีดกันคู่แข่งต่างชาติออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผนวกกิจการ หรือเข้าซื้อกิจการเป็นสิ่งที่บริษัทต่างชาติทำได้ยากลำบากมาก
“เรายังไม่เคยเห็นบริษัทยุโรปเข้าซื้อกิจการในบริษัทจีนครั้งใหญ่ ขณะที่บริษัทจีนเองเข้าถือหุ้นในบริษัทยุโรปได้อย่างไม่มีข้อจำกัด” นาย Wuttke ชี้
“บรรยากาศการลงทุนในบางภาคไม่ให้โอกาสเราเข้าไป และเสนอราคาประมูลซื้อบริษัทใหญ่ ๆ”
โดยภาคอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า และรถยนต์ เป็นภาคที่ถูกปิดกั้นมากขึ้น
ดังนั้น นักธุรกิจจึงกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดว่ารัฐบาลจีนจะพิจารณาทบทวนกรณีเมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทโคคา-โคล่า เสนอราคาประมูลซื้อบริษัทไชน่า ฮุ่ยหยวน จูซ กรุ๊ป (China Huiyuan Juice Group) อย่างไร
บริษัทรายนี้เป็นวิสาหกิจเอกชน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ราย ที่สามารถพัฒนายี่ห้อสินค้าให้ติดตลาดทั่วแดนมังกร และนักวิจารณ์ชาวจีนบางรายถึงกับตกอกตกใจ ที่บริษัทฮุ่ยหยวนอาจถูกกลืน ให้กลายสภาพเป็นธุรกิจข้ามชาติไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาโดยรวมทั้งหมดแล้ว นาย Wuttke ระบุว่า “ความโปร่งใสเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดที่เราประสบในจีน”
ยกตัวอย่าง เช่น ผู้กำกับดูแลภาคธนาคารได้ประกาศข้อจำกัดในการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ โดยผ่านคำสั่ง ซึ่งไม่เคยมีการประกาศให้สาธารณชนทราบ หรือแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุจากหน่วยงานของรัฐ 2 แห่งต้องร่วมกันตัดสินในภาคธุรกิจใดภาคธุรกิจหนึ่ง เช่น ในภาคอินเตอร์เน็ต และได้ออกข้อกำหนดที่ไม่ลงรอยกันเอง
หรือปัญหาเกิดขึ้น เนื่องจากผู้กำกับดูแลกฎระเบียบของจีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนักธุรกิจในภาคใดภาคหนึ่ง จนทำให้เกิดการยื่นเรื่องร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก หรือ WTO ในขณะนี้ กรณีจีนวางกฎข้อบังคับเกี่ยวกับผู้จัดหาข่าวสารทางการเงิน
หอการค้าอียูในจีนจะต้องรายงานสรุปสิ่งที่นักธุรกิจยุโรปประสบต่อนายปีเตอร์ แมนเดลสัน กรรมาธิการด้านการค้าของอียูในสัปดาห์หน้า ก่อนหน้าการเยือนแดนมังกรของนายแมนเดลสันในเดือนกันยายนนี้
ในรายงานสถานภาพประจำปีของหอการค้าสหภาพยุโรป หรืออียูในจีนระบุว่า จีนมีความคืบหน้าในการผ่อนคลายกฎระเบียบควบคุมภาคธนาคารและการขนส่ง, การลดการทำหน้าที่ทับซ้อนกันระหว่างกระทรวง และการปรับปรุงภาคพลังงาน ซึ่งเคยเป็นภาคที่ถูกมองข้าม
อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างชาติมักยังคงถูกขัดขวางไม่ให้เข้าร่วมในสถาบันองค์กร ซึ่งทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานด้านอุตสาหกรรม และถูกกีดกันไม่ให้เข้าทำสัญญาธุรกิจ ที่สร้างผลกำไรงาม
“สมาชิกของเรามีความรู้สึกว่า บรรยากาศด้านกฎระเบียบไม่มีความสอดคล้องกับการเติบโตของจีน และเกิดลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งทำให้เราวิตกกังวล ” นาย Joerg Wuttke ประธานหอการค้าอียูในจีนกล่าว
“โดยทั่วไป เรารู้สึกว่ากระบวนการปฏิรูปได้ชะลอลง”
ทั้งนี้ หอการค้าสหภาพยุโรปในจีนเป็นตัวแทนของบริษัทราว 1,300 ราย ที่ทำธุรกิจบนแดนมังกร
ประธานหอการค้าอียูในจีนระบุว่า อียูส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ หรือรัสเซียมากกว่าส่งออกไปจีน ขณะเดียวกัน การลงทุนใหม่ ๆ ของนักลงทุนยุโรปในดินแดนแห่งนี้ได้ชะลอลง โดยขณะนี้มีสัดส่วนร้อยละ 5 ของการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด
การหันเหไปสู่ลัทธิกีดกันทางการค้า หรือลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจ ที่ว่านี้ เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกของประชาชน แต่ก็ยังไม่มากเท่ากับที่เกิดจากฝีมือของ “กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ” ซึ่งกำลังหาทางปกป้องสถานภาพของตนเองในตลาดจีน และกีดกันคู่แข่งต่างชาติออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผนวกกิจการ หรือเข้าซื้อกิจการเป็นสิ่งที่บริษัทต่างชาติทำได้ยากลำบากมาก
“เรายังไม่เคยเห็นบริษัทยุโรปเข้าซื้อกิจการในบริษัทจีนครั้งใหญ่ ขณะที่บริษัทจีนเองเข้าถือหุ้นในบริษัทยุโรปได้อย่างไม่มีข้อจำกัด” นาย Wuttke ชี้
“บรรยากาศการลงทุนในบางภาคไม่ให้โอกาสเราเข้าไป และเสนอราคาประมูลซื้อบริษัทใหญ่ ๆ”
โดยภาคอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า และรถยนต์ เป็นภาคที่ถูกปิดกั้นมากขึ้น
ดังนั้น นักธุรกิจจึงกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดว่ารัฐบาลจีนจะพิจารณาทบทวนกรณีเมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทโคคา-โคล่า เสนอราคาประมูลซื้อบริษัทไชน่า ฮุ่ยหยวน จูซ กรุ๊ป (China Huiyuan Juice Group) อย่างไร
บริษัทรายนี้เป็นวิสาหกิจเอกชน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ราย ที่สามารถพัฒนายี่ห้อสินค้าให้ติดตลาดทั่วแดนมังกร และนักวิจารณ์ชาวจีนบางรายถึงกับตกอกตกใจ ที่บริษัทฮุ่ยหยวนอาจถูกกลืน ให้กลายสภาพเป็นธุรกิจข้ามชาติไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาโดยรวมทั้งหมดแล้ว นาย Wuttke ระบุว่า “ความโปร่งใสเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดที่เราประสบในจีน”
ยกตัวอย่าง เช่น ผู้กำกับดูแลภาคธนาคารได้ประกาศข้อจำกัดในการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ โดยผ่านคำสั่ง ซึ่งไม่เคยมีการประกาศให้สาธารณชนทราบ หรือแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุจากหน่วยงานของรัฐ 2 แห่งต้องร่วมกันตัดสินในภาคธุรกิจใดภาคธุรกิจหนึ่ง เช่น ในภาคอินเตอร์เน็ต และได้ออกข้อกำหนดที่ไม่ลงรอยกันเอง
หรือปัญหาเกิดขึ้น เนื่องจากผู้กำกับดูแลกฎระเบียบของจีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนักธุรกิจในภาคใดภาคหนึ่ง จนทำให้เกิดการยื่นเรื่องร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก หรือ WTO ในขณะนี้ กรณีจีนวางกฎข้อบังคับเกี่ยวกับผู้จัดหาข่าวสารทางการเงิน
หอการค้าอียูในจีนจะต้องรายงานสรุปสิ่งที่นักธุรกิจยุโรปประสบต่อนายปีเตอร์ แมนเดลสัน กรรมาธิการด้านการค้าของอียูในสัปดาห์หน้า ก่อนหน้าการเยือนแดนมังกรของนายแมนเดลสันในเดือนกันยายนนี้