วานนี้(10 ก.ย.)เวลา 09.30 น.ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่พนักงานอัยการ เป็นโจทก์ และ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร. เป็นโจทก์ร่วมฟ้อง นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก กระทรวงยุติธรรม เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา
โจทก์ฟ้องว่าระหว่างวันที่ 6-20 มิ.ย.46 จำเลยได้หมิ่นประมาทใส่ความโจทก์โดยให้สัมภาษณ์และลงบทความ เรื่องจดหมายจากองค์กรผู้หญิงถึงนายกรัฐมนตรี อันเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมให้ได้รับความเสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมหารือแล้วเห็นว่า โจทก์ร่วมไปปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ารักษาความปลอดภัยในการประชุม ครม.ที่ จ.ภูเก็ต และ จ.อุบลราชธานี ต่อมาวันที่ 4 มิ.ย.46 หนังสือพิมพ์มติชน ได้ลงข่าวกรณีที่โจทก์ร่วมมีพฤติการณ์ส่อไปในทางชู้สาวกับนักข่าวสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง โดยหนังสือพิมพ์มติชนได้ลงบทสัมภาษณ์ของจำเลยในวันที่ 6 มิ.ย.46 และลงบทความของจำเลยในวันที่ 20 มิ.ย.46 เห็นว่าทั้งบทสัมภาษณ์และบทความของจำเลย ระบุพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมที่ส่อเจตนาในทางชู้สาวกับนักข่าวผู้หญิง โดยไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาระหน้าที่แม้แต่น้อย แม้ในบทความจะไม่ได้ระบุชื่อตัวโจทก์ร่วมโดยตรง แต่ช่วงเวลานั้น ประชาชนต่างทราบว่า หมายถึงโจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยเห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาสังคม จึงพยายามชี้ให้เห็นปัญหา เพื่อร่วมกันแก้ไข โดยแสดงความเห็นในมุมของสตรีโดยสุจริต ไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม
อุทธรณ์โจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้นศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
ภายหลัง นางทิชา เปิดเผยว่า จากคำพิพากษาของศาลแสดงถึงมาตรฐานการใช้ชีวิตของผู้หญิงสมัยใหม่ ว่าเราสามารถยกระดับการเคลื่อนไหวเพื่อสังคมได้ โดยมีกฎหมายคุ้มครอง ถือว่าคุ้มค่ามากกับการมีคดีความขึ้นศาลครั้งนี้ทำให้เห็นว่าผู้ไม่มีอำนาจไม่ใช่จะเป็นผู้เสียเปรียบเสมอไป ถือว่าเป็นชัยชนะที่น่าสนใจ ไม่จำเป็นต้องฟ้องกลับ พล.ต.อ.สันต์แล้ว
ด้าน นายนคร ชมพูชาติ รองประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ในฐานะทนายจำเลย กล่าวว่า ตามข้อกฎหมายมีหลักว่าหากเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม แม้อ้างชื่อหรือไม่จะอ้างชื่อ กฎหมายก็เอื้อประโยชน์ไม่เอาผิดได้ ซึ่งคดีนี้จะเป็นผลทำให้ผู้ที่มีอำนาจไม่ว่าจะในระบบราชการ หรือบริษัทเอกชน มีความยับยั้งไม่ให้กระทำความผิดทางเพศต่อผู้ที่ด้อยกว่าได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.51 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร. เป็นโจทก์ ฟ้อง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก, นางยุวดี ธัญญสิริ, บริษัท ข่าวสด จำกัด, นายฐากูร อุทัยวงศ์ , บริษัท มติชน จำกัด, นายสุชาติ ศรีสุวรรณ, นายอุดมศักดิ์ เสาวนะ, นายสมชาย จิระศิริโสภณ, บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด, นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์, บริษัท ไทยเจอร์นัล กรุ๊ป จำกัด, นายทวีสิน สถิตย์รัตนชีวิน, นางทิชา ณ นคร, บริษัท บางกอกเอ็กซ์เพรส พับบลิสซิ่ง จำกัด, นายอากาศ วสิกชาติ, บริษัท นวกิจบ้านเมือง จำกัด และนายอำนวย ไทรใหญ่ ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-17 ในความผิดฐานละเมิด เรียกค่าเสียหายรวม 2,500 ล้านบาท โดยศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์พูดคุยกับนักข่าวสาวไปในทางชู้สาวกับตน แม้สื่อมวลชนอาจจะมีข่าวที่ยั่วยุ ล้อเลียน แต่นั้นเป็นเพราะในตอนแรก โจทก์ไม่ได้ยอมรับ ทำให้สื่อมวลชนต้องลงข่าว แต่ไม่ได้เกินไปจากข้อเท็จจริง หรือฝ่าฝืนต่อความจริงแต่อย่างใด ขณะที่โจทก์มีตำแหน่งเป็น ผบ.ตร. สมควรวางตัวให้เหมาะสม ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกับการพิจารณาของศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าระหว่างวันที่ 6-20 มิ.ย.46 จำเลยได้หมิ่นประมาทใส่ความโจทก์โดยให้สัมภาษณ์และลงบทความ เรื่องจดหมายจากองค์กรผู้หญิงถึงนายกรัฐมนตรี อันเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมให้ได้รับความเสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์และโจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมหารือแล้วเห็นว่า โจทก์ร่วมไปปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ารักษาความปลอดภัยในการประชุม ครม.ที่ จ.ภูเก็ต และ จ.อุบลราชธานี ต่อมาวันที่ 4 มิ.ย.46 หนังสือพิมพ์มติชน ได้ลงข่าวกรณีที่โจทก์ร่วมมีพฤติการณ์ส่อไปในทางชู้สาวกับนักข่าวสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง โดยหนังสือพิมพ์มติชนได้ลงบทสัมภาษณ์ของจำเลยในวันที่ 6 มิ.ย.46 และลงบทความของจำเลยในวันที่ 20 มิ.ย.46 เห็นว่าทั้งบทสัมภาษณ์และบทความของจำเลย ระบุพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมที่ส่อเจตนาในทางชู้สาวกับนักข่าวผู้หญิง โดยไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาระหน้าที่แม้แต่น้อย แม้ในบทความจะไม่ได้ระบุชื่อตัวโจทก์ร่วมโดยตรง แต่ช่วงเวลานั้น ประชาชนต่างทราบว่า หมายถึงโจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยเห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาสังคม จึงพยายามชี้ให้เห็นปัญหา เพื่อร่วมกันแก้ไข โดยแสดงความเห็นในมุมของสตรีโดยสุจริต ไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม
อุทธรณ์โจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้นศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
ภายหลัง นางทิชา เปิดเผยว่า จากคำพิพากษาของศาลแสดงถึงมาตรฐานการใช้ชีวิตของผู้หญิงสมัยใหม่ ว่าเราสามารถยกระดับการเคลื่อนไหวเพื่อสังคมได้ โดยมีกฎหมายคุ้มครอง ถือว่าคุ้มค่ามากกับการมีคดีความขึ้นศาลครั้งนี้ทำให้เห็นว่าผู้ไม่มีอำนาจไม่ใช่จะเป็นผู้เสียเปรียบเสมอไป ถือว่าเป็นชัยชนะที่น่าสนใจ ไม่จำเป็นต้องฟ้องกลับ พล.ต.อ.สันต์แล้ว
ด้าน นายนคร ชมพูชาติ รองประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ในฐานะทนายจำเลย กล่าวว่า ตามข้อกฎหมายมีหลักว่าหากเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม แม้อ้างชื่อหรือไม่จะอ้างชื่อ กฎหมายก็เอื้อประโยชน์ไม่เอาผิดได้ ซึ่งคดีนี้จะเป็นผลทำให้ผู้ที่มีอำนาจไม่ว่าจะในระบบราชการ หรือบริษัทเอกชน มีความยับยั้งไม่ให้กระทำความผิดทางเพศต่อผู้ที่ด้อยกว่าได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.51 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร. เป็นโจทก์ ฟ้อง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก, นางยุวดี ธัญญสิริ, บริษัท ข่าวสด จำกัด, นายฐากูร อุทัยวงศ์ , บริษัท มติชน จำกัด, นายสุชาติ ศรีสุวรรณ, นายอุดมศักดิ์ เสาวนะ, นายสมชาย จิระศิริโสภณ, บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด, นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์, บริษัท ไทยเจอร์นัล กรุ๊ป จำกัด, นายทวีสิน สถิตย์รัตนชีวิน, นางทิชา ณ นคร, บริษัท บางกอกเอ็กซ์เพรส พับบลิสซิ่ง จำกัด, นายอากาศ วสิกชาติ, บริษัท นวกิจบ้านเมือง จำกัด และนายอำนวย ไทรใหญ่ ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-17 ในความผิดฐานละเมิด เรียกค่าเสียหายรวม 2,500 ล้านบาท โดยศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์พูดคุยกับนักข่าวสาวไปในทางชู้สาวกับตน แม้สื่อมวลชนอาจจะมีข่าวที่ยั่วยุ ล้อเลียน แต่นั้นเป็นเพราะในตอนแรก โจทก์ไม่ได้ยอมรับ ทำให้สื่อมวลชนต้องลงข่าว แต่ไม่ได้เกินไปจากข้อเท็จจริง หรือฝ่าฝืนต่อความจริงแต่อย่างใด ขณะที่โจทก์มีตำแหน่งเป็น ผบ.ตร. สมควรวางตัวให้เหมาะสม ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกับการพิจารณาของศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง