เอเอฟพี – รัฐบาลสหรัฐฯเข้าเทคโอเวอร์ “แฟนนี เม” และ “เฟรดดี แมค” 2 สถาบันสินเชื่อที่อยู่อาศัยยักษ์ใหญ่ ที่มีปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงเมื่อวันอาทิตย์ (7) และประกาศให้เป็น “ทรัพย์สินที่ต้องถูกดูแล” เพื่อบรรเทาความปั่นป่วนทางการเงินที่เกิดจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์
รัฐมนตรีคลัง เฮนรี พอลสัน เป็นผู้ประกาศว่า แถลงว่า สำนักงานกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ(เอฟเอชเอฟเอ) ได้ควบคุมและเข้าไปบริหาร แฟนนี และเฟรดดี สองสถาบันสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นกิจการที่มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของ ทว่าก่อตั้งและดำเนินงานโดยมุ่งสนองนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากสองสถาบันดังกล่าวกำลังเข้าใกล้ภาวะล้มละลาย และอาจจะส่งผลต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจของสหรัฐฯโดยรวม เพราะว่าสถาบันการเงินทั้งสองมีส่วนแบ่งถึงเกือบครึ่งหนึ่งในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ รวมทั้งยังมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อตลาดการเงินของโลกด้วย
การเข้าไปแทรกแซงสถาบันการเงินของรัฐบาลครั้งนี้ เป็นความพยายามที่ตัดความเสียหายที่เกิดจากการย่อยยับของตลาดที่อยู่อาศัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ และนำไปสู่ขาดทุนหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯเกิดขึ้นแก่แฟนนี่ เม และเฟรดดี แมค
พอลสันกล่าวว่าความเคลื่อนไหวนี้ “เป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะปกป้องตลาดและประชาชนผู้เสียภาษีของเราจากความเสี่ยงซึ่งมาจากสภาวการณ์ภาคการเงินในปัจจุบัน” ทั้งแฟนนี่ และเฟรดดีมีสถานะเป็นวิสาหกิจที่ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาล หรือจีเอสอี เพื่อให้ทำหน้าที่อัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในตลาดที่อยู่อาศัย โดยการขายตราสารหนี้ และใช้เม็ดเงินที่ได้จากการขาย ไปซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากพวกสถาบันปล่อยกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยอีกทอดหนึ่ง
ในการเข้าควบคุมกิจการนี้ รัฐบาลได้แต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่สำหรับบริษัททั้งสองแล้ว โดยพอลสันอธิบายว่า ความเคลื่อนไหวของทางการคราวนี้ส่วนหนึ่ง ก็เพื่อมุ่งแก้ไขโมเดลทางธุรกิจของแฟนนีและเฟรดดี ที่มีความข้ดแย้งและข้อบกพร่องในระดับโครงสร้าง
แดน มัดด์ ซีอีโอของแฟนนี เม และดิ๊ค ไซรอนของเฟรดดี้ แม็ค ต้องออกจากตำแหน่งไปเมื่อการควบรวมของรัฐบาลครบกระบวนการแล้ว แต่พอลสันก็กล่าวว่า “พวกเขาตกลงที่จะทำงานต่อไปในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านนี้”
เอิร์บ อัลลิสัน อดีตประธานของกองทุนหลังเกษียณทีไอเอเอ-ซีอาร์เอฟเอฟ อีกทั้งเคยเป็นผู้บริหารของเมอริลลินช์มาก่อน จะเป็นซีอีโอคนใหม่ของแฟนนี เม และเดวิด มอฟเฟ็ต รองประธานของแบงคอร์ปแห่งสหรัฐฯ ก็จะมาเป็นซีอีโอของเฟรดดี แมค
“เช้าวันจันทร์(8) บริษัทจะเปิดดำเนินงานตามปกติ เพียงแต่มีหลักประกันที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ถือตราสารที่หนุนหลังโดยสินเชื่อบ้าน, หุ้นกู้บุริมสิทธิ์สิทธิ์, ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ์” เจมส์ ล็อคฮาร์ท ผู้อำนวยการสำนักงานกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยสหรัฐฯกล่าว
ทางด้าน ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ออกโรงเน้นย้ำว่า มาตรการที่ออกมาคราวนี้เป็นการแทรกแซงระยะสั้น และจะบังคับใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยเขาเห็นว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีความจำเป็น เพราะความล่มสลายของภาคการเงินที่อาจเกิดจากแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ล้มครืนลงมาจะ “เป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้” อีกทั้งจะดึงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯทรุดตามไปด้วย
“ชาวอเมริกันควรจะมั่นใจว่ามาตรการของรัฐบาลวันนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะผ่านพ้นภาวะปรับตัวของตลาดที่อยู่อาศัยไปได้ตลอดรอดฝั่ง และจะนำมาซึ่งภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต” บุชกล่าว
ขณะที่ เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ซึ่งได้เข้าร่วมหารือที่กินเวลาหลายวัน เกี่ยวกับแผนการกอบกู้ช่วยเหลือไม่ให้แฟนนีและเฟรดดีต้องล้มละลายคราวนี้ ก็ได้ออกมาแสดงความยินดีต่อมาตรการดังกล่าวของรัฐบาล
“ขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯแข็งแกร่งมากขึ้น และช่วยให้ตลาดการเงินของเรามีเสถียรภาพมากขึ้นด้วย” ประธานเฟดบอก
การประกาศมาตรการครั้งยร่ กระทำก่อนที่ตลาดการเงินในเอเชียจะเปิดทำการในวันจันทร์ โดยที่ก่อนหน้านี้ ตลาดเอเชียและทั่วโลกต้องปั่นป่วนจากวิกฤตในตลาดที่อยู่อาศัยและวิกฤตการเงินของสหรัฐและโลกตะวันตกมาแล้วเป็นแรมปี
จุดสำคัญจุดหนึ่งในแผนการประกาศออกมาคราวนี้คือ รัฐบาลสหรัฐฯจะได้รับหุ้นบุริมสิทธิ์ใหม่มูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ที่ออกโดยแฟนนี และเฟรดดี โดยไม่ต้องจ่ายเงินซื้อเข้ามา เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการคลังกล่าวว่าเงื่อนไขนี้ทำให้กระทรวงการคลังไม่ต้องเอาเงินของผู้เสียภาษีเข้าไปซื้อหุ้น แต่เป็นสถาบันทั้งสองออกหุ้นให้แก่กระทรวงการคลัง จึงถือเป็นมาตรการปกป้องผลประโยชน์ของผู้เสียภาษี
หลังจากนั้น หากว่าสถาบันการเงินทั้งสองยังต้องการเม็ดเงิน กระทรวงการคลังอาจจะอัดฉีดเงินเข้าไปบริษัทละ 100,000 ล้านดอลลาร์ พอลสันกล่าวว่าจะไม่มีการยกเลิกหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ์ของสองสถาบันแต่อย่างใด ซึ่งก็หมายความผู้ถือหุ้นเหล่านี้จะต้องแบกรับภาระการขาดทุนก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามา
ขั้นตอนต่อไปก็คือเปิดช่องทางเงินกู้ขึ้นใหม่สำหรับบริษัททั้งสอง โดยผ่านทางธนาคารกลางสหรัฐฯ ทั้งนี้ขั้นตอนดังกล่าวนี้สามารถกระทำได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายฉบับใหม่เอี่ยมที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
รัฐมนตรีคลัง เฮนรี พอลสัน เป็นผู้ประกาศว่า แถลงว่า สำนักงานกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ(เอฟเอชเอฟเอ) ได้ควบคุมและเข้าไปบริหาร แฟนนี และเฟรดดี สองสถาบันสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นกิจการที่มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของ ทว่าก่อตั้งและดำเนินงานโดยมุ่งสนองนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากสองสถาบันดังกล่าวกำลังเข้าใกล้ภาวะล้มละลาย และอาจจะส่งผลต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจของสหรัฐฯโดยรวม เพราะว่าสถาบันการเงินทั้งสองมีส่วนแบ่งถึงเกือบครึ่งหนึ่งในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ รวมทั้งยังมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อตลาดการเงินของโลกด้วย
การเข้าไปแทรกแซงสถาบันการเงินของรัฐบาลครั้งนี้ เป็นความพยายามที่ตัดความเสียหายที่เกิดจากการย่อยยับของตลาดที่อยู่อาศัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ และนำไปสู่ขาดทุนหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯเกิดขึ้นแก่แฟนนี่ เม และเฟรดดี แมค
พอลสันกล่าวว่าความเคลื่อนไหวนี้ “เป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะปกป้องตลาดและประชาชนผู้เสียภาษีของเราจากความเสี่ยงซึ่งมาจากสภาวการณ์ภาคการเงินในปัจจุบัน” ทั้งแฟนนี่ และเฟรดดีมีสถานะเป็นวิสาหกิจที่ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาล หรือจีเอสอี เพื่อให้ทำหน้าที่อัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในตลาดที่อยู่อาศัย โดยการขายตราสารหนี้ และใช้เม็ดเงินที่ได้จากการขาย ไปซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากพวกสถาบันปล่อยกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยอีกทอดหนึ่ง
ในการเข้าควบคุมกิจการนี้ รัฐบาลได้แต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่สำหรับบริษัททั้งสองแล้ว โดยพอลสันอธิบายว่า ความเคลื่อนไหวของทางการคราวนี้ส่วนหนึ่ง ก็เพื่อมุ่งแก้ไขโมเดลทางธุรกิจของแฟนนีและเฟรดดี ที่มีความข้ดแย้งและข้อบกพร่องในระดับโครงสร้าง
แดน มัดด์ ซีอีโอของแฟนนี เม และดิ๊ค ไซรอนของเฟรดดี้ แม็ค ต้องออกจากตำแหน่งไปเมื่อการควบรวมของรัฐบาลครบกระบวนการแล้ว แต่พอลสันก็กล่าวว่า “พวกเขาตกลงที่จะทำงานต่อไปในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านนี้”
เอิร์บ อัลลิสัน อดีตประธานของกองทุนหลังเกษียณทีไอเอเอ-ซีอาร์เอฟเอฟ อีกทั้งเคยเป็นผู้บริหารของเมอริลลินช์มาก่อน จะเป็นซีอีโอคนใหม่ของแฟนนี เม และเดวิด มอฟเฟ็ต รองประธานของแบงคอร์ปแห่งสหรัฐฯ ก็จะมาเป็นซีอีโอของเฟรดดี แมค
“เช้าวันจันทร์(8) บริษัทจะเปิดดำเนินงานตามปกติ เพียงแต่มีหลักประกันที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ถือตราสารที่หนุนหลังโดยสินเชื่อบ้าน, หุ้นกู้บุริมสิทธิ์สิทธิ์, ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ์” เจมส์ ล็อคฮาร์ท ผู้อำนวยการสำนักงานกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยสหรัฐฯกล่าว
ทางด้าน ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ออกโรงเน้นย้ำว่า มาตรการที่ออกมาคราวนี้เป็นการแทรกแซงระยะสั้น และจะบังคับใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยเขาเห็นว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีความจำเป็น เพราะความล่มสลายของภาคการเงินที่อาจเกิดจากแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ล้มครืนลงมาจะ “เป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้” อีกทั้งจะดึงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯทรุดตามไปด้วย
“ชาวอเมริกันควรจะมั่นใจว่ามาตรการของรัฐบาลวันนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจสหรัฐฯที่จะผ่านพ้นภาวะปรับตัวของตลาดที่อยู่อาศัยไปได้ตลอดรอดฝั่ง และจะนำมาซึ่งภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต” บุชกล่าว
ขณะที่ เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ซึ่งได้เข้าร่วมหารือที่กินเวลาหลายวัน เกี่ยวกับแผนการกอบกู้ช่วยเหลือไม่ให้แฟนนีและเฟรดดีต้องล้มละลายคราวนี้ ก็ได้ออกมาแสดงความยินดีต่อมาตรการดังกล่าวของรัฐบาล
“ขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯแข็งแกร่งมากขึ้น และช่วยให้ตลาดการเงินของเรามีเสถียรภาพมากขึ้นด้วย” ประธานเฟดบอก
การประกาศมาตรการครั้งยร่ กระทำก่อนที่ตลาดการเงินในเอเชียจะเปิดทำการในวันจันทร์ โดยที่ก่อนหน้านี้ ตลาดเอเชียและทั่วโลกต้องปั่นป่วนจากวิกฤตในตลาดที่อยู่อาศัยและวิกฤตการเงินของสหรัฐและโลกตะวันตกมาแล้วเป็นแรมปี
จุดสำคัญจุดหนึ่งในแผนการประกาศออกมาคราวนี้คือ รัฐบาลสหรัฐฯจะได้รับหุ้นบุริมสิทธิ์ใหม่มูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ที่ออกโดยแฟนนี และเฟรดดี โดยไม่ต้องจ่ายเงินซื้อเข้ามา เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการคลังกล่าวว่าเงื่อนไขนี้ทำให้กระทรวงการคลังไม่ต้องเอาเงินของผู้เสียภาษีเข้าไปซื้อหุ้น แต่เป็นสถาบันทั้งสองออกหุ้นให้แก่กระทรวงการคลัง จึงถือเป็นมาตรการปกป้องผลประโยชน์ของผู้เสียภาษี
หลังจากนั้น หากว่าสถาบันการเงินทั้งสองยังต้องการเม็ดเงิน กระทรวงการคลังอาจจะอัดฉีดเงินเข้าไปบริษัทละ 100,000 ล้านดอลลาร์ พอลสันกล่าวว่าจะไม่มีการยกเลิกหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ์ของสองสถาบันแต่อย่างใด ซึ่งก็หมายความผู้ถือหุ้นเหล่านี้จะต้องแบกรับภาระการขาดทุนก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามา
ขั้นตอนต่อไปก็คือเปิดช่องทางเงินกู้ขึ้นใหม่สำหรับบริษัททั้งสอง โดยผ่านทางธนาคารกลางสหรัฐฯ ทั้งนี้ขั้นตอนดังกล่าวนี้สามารถกระทำได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายฉบับใหม่เอี่ยมที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา