สถานะ ‘ขบถ’ ของ ASTV ต่อ ‘ขนบ’ สื่อกระแสหลักขลาดเขลาและรัฐบาลฉ้อราษฎร์บังหลวงที่สร้างนวัตกรรมการตรวจสอบถ่วงดุลทุจริตคอร์รัปชันด้วยการผสานสารัตถะความรู้เข้ากับหรรษาบันเทิงจนลงตัว (Infotainment) ผ่านการถ่ายทอดสดเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแบบ ‘24-Hour Interactive Anticorruption TV Reality Show’ แห่งเดียวในโลก นับวันจะทบเท่าทวีมวลชนเชิงคุณภาพและปริมาณ กระทั่งจะก้าวเป็นกระแสหลักในเร็ววันจากกลุ่มคนเข้าร่วมหลายหลากทั้งนักเรียนนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ นักธุรกิจ นักดนตรี คีตกวี ศิลปิน เอ็นจีโอ สหภาพรัฐวิสาหกิจ แรงงาน ข้าราชการ เกษตรกร พ่อค้าแม่ขาย แม่บ้านพ่อบ้าน
ยิ่งขยายมวลชนพลเมืองกว้างขวางยิ่งถูกต่อต้านจากฝั่งสูญเสียผลประโยชน์เคยยึดกุม การดิสเครดิตด้วยสารพัดข้อหาหยาบๆ ง่ายๆ ว่าเป็นลัทธิประหลาด อุปทานรวมหมู่ หรือร้ายแรงอย่างกบฏต่อราชอาณาจักรไทยจึงไม่ต่างอันใดกับ ASTV ที่โดนยัดเยียดฉลากว่าเป็นสื่อปลุกระดม
ทั้งนี้ การวิพากษ์พันธมิตรฯ และ ASTV ย่อมอยู่ในภววิสัยและอัตวิสัย ด้วยทั้งคู่ล้วนยืนกลางสาดส่องสปอตไลต์สังคม สำแดงจุดยืนเด่นชัด และไม่ได้ดำรงตนเป็นองค์กรแตะต้องไม่ได้ (Untouchable) แต่กลับเปิดกว้างรับเสียงวิจารณ์ทั้งหวังดีและร้ายเรื่อยมาเฉกเช่นวิญญูชน
ทว่าธรรมชาติสงครามความคิด ASTV ที่เป็นหนึ่งเดียวกับพันธมิตรฯ จึงต้องตอบโต้ข้อครหาจนอาจเสมือนว่าจะก้าวร้าวไม่ลดราวาศอกฟังถ้อยความเห็นคิดแย้งแตกต่างบ้างบางคราวครั้งนั้น โดยเนื้อแท้แล้วไม่ใช่ไม่ยอมรับเสียงวิจารณ์ใดๆ ตรงข้ามกลับซ่อนนัยเชื้อเชิญให้ทุกภาคส่วนเข้ามาครุ่นคิดเพื่อสรรสร้างระบอบประชาธิปไตยไร้โกงบ้านกินเมืองร่วมกันต่างหาก
ด้วยอย่างน้อยๆ การเมืองใหม่ย่อมไม่ใช่การยื้อแย่งอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทยใส่พานถวายกลุ่มชนชั้นนำน้อยนิด หากทว่ายืดอำนาจอธิปไตย 4 วินาทีในมือประชาชนด้วยการเพิ่มบทบาทตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory democracy) โดยเปิดกว้างตั้งแต่ระดับแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ทวีเป็นร่วมชุมนุมเดินขบวนโดยสงบและปราศจากอาวุธ และสูงมากขนาดร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองหรือรัฐบาล
ภาพลักษณ์ห้าวหาญของพันธมิตรฯ จึงเป็นการแตกหักกับนักการเมืองเก่าคอร์รัปชันคับแคบมองการเมืองเป็นของนักการเมือง มากกว่าจะหักหาญหลักการสากลของประชาธิปไตยที่เชื่อใน One man, one vote แต่อย่างใด เพราะถ้าการเมืองใหม่ดึงอำนาจอธิปไตยออกจากมือประชาชนจริงๆ มวลชนย่อมถอยห่างแน่นอน เพราะพันธมิตรฯ ตลอดจน ASTV ล้วนรัดร้อยถ้อยถักผู้คนแบบ ‘พันธสัญญาใจ’ ไม่ใช่ ’พันธสัญญากฎหมาย‘ ที่ล่ามร้อยโซ่ตรวนเทอมละ 4 ปี
มวลมหาประชาชนย่อมมีอิสรเสรีตีจากหรือเคียงข้างพันธมิตรฯ และ ASTV เสมอภายใต้ปัจจัยเหนี่ยวนำประเด็นการเรียกร้องต่อสู้ช่วงนั้นๆ ว่าชอบธรรมมากน้อยเพียงใด
การร่วมคิดร่วมสร้างการเมืองใหม่จึงถากถางกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมให้รองรับทัศนะและการร่วมตัดสินวิถีชีวิตตนเองมากขึ้นแม้เป็นแค่คนปลายอ้อปลายแขม ควบคู่ควบคุมการตัดสินใจของผู้นำรัฐไม่ให้กระเหี้ยนกระหือรือเอื้อประโยชน์ทับซ้อน
รัฐบาลจึงต้องบริหารอย่างโปร่งใส (Transparency) มีความรับผิดชอบ (Accountability) ตอบคำถามและสนองตอบความต้องการ (Responsiveness) ของประชาชนที่ไม่ใช่แค่เสียงส่วนมากที่เลือกตนเอง แต่ต้องเคารพเสียงส่วนน้อย เพื่อสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ
การติดบ่วงที่มามากกว่าสารัตถะการจัดการอำนาจรัฐของโจทย์ตุ๊กตา 70:30 ที่โยนสู่พื้นที่สาธารณะ กระทั่งทุ่มเถียงมากกว่าถกเถียง หรือขนาดพยักหน้าให้ใช้อำนาจรัฐขจัดกลุ่มเสนอนั้นนับว่าน่าละอายยิ่งที่อนุญาตรัฐให้ใช้ความรุนแรงกับผู้เห็นต่าง มิหนำซ้ำยังเอาเท้าราน้ำขัดขวางการพลิกห้วงวิกฤตเป็นโอกาส (Crisis is opportunity) สร้างระบบคานอำนาจรัฐสภาด้วยพลเมือง
การโบยบินการเมืองใหม่ต้องทุ่มเทเวลาขยายพลังปัญญามากกว่าสร้างความเกลียดกลัวชิงชังเพื่อจะได้ไม่ล้ำหน้ามวลชน ขณะเดียวกันก็รักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพวกโกงกินไว้ได้
ปัจจุบันสื่อมวลชนไทยแขนงหนังสือพิมพ์ทำหน้าที่นี้แข็งแกร่งยิ่ง ทว่าน่าห่วงคือสื่อฟรีทีวีที่มักชักนำประชาชนเสพสุขความบันเทิงมากกว่าสาระท่ามกลางขณะบ้านเมืองกำลังล่มจมถดถอยทางคุณธรรมจริยธรรมอันเนื่องมาจากธนบัตรครองอำนาจนำเหนือกลไกประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
เมื่อรัฐสภาบ้อท่าหาทางออกของประเทศจากแอกทุจริตที่นักการเมืองวางขวางบนคอประชาชนราววัวควายแล้วไถคราดทำนาบนหลังพวกเราซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่ได้ จึงจำเป็นที่ตุลาการภิวัตน์และประชาภิวัตน์ต้องคลี่คลายวิกฤตการณ์การเมืองคราวนี้ ขณะที่สื่อมวลชนก็ต้องหาญกล้านำเสนอทางออกแท้จริงมากกว่าป่าวประกาศความสมานฉันท์กลวงเปล่า
ASTV สื่อทางเลือก (Alternative media) ที่ไม่ใช่แค่ ‘รูปแบบ’ ทีวีดิจิตอลผ่านดาวเทียม ทว่า ‘เนื้อหา’ ยังเปิดกว้างกับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม (Participatory communication) ของประชาชนในแนวราบ (Lateral) บนฐานคิดท้าทายอำนาจสถาบันทางการเมืองฉ้อฉลอย่างเปิดเผย พร้อมๆ กับรณรงค์เปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองด้วยผู้รับสาร/พลเมืองกระตือรือร้น (Active audience/ citizen) ในรูปของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ยิ่งนานวันยิ่งพัฒนาจิตสาธารณะ
การพยายามปิดสื่อทางเลือกเพราะกลัวเกรงการสูญเสียอำนาจของผู้นำรัฐที่ยึด ‘ตนเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล’ ด้วยการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้วยหลงผิดคิดว่าความไม่มั่นคงของรัฐบาลคือความไม่มั่นคงของรัฐนั้น จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานว่าด้วยสิทธิอันชอบธรรมที่จะดำรงยืนยัน หรือโต้แย้งตามความเชื่อของตนไว้ด้วยการสื่อสารถ่ายทอดความคิดเห็นออกไป
ตรงข้ามการปกป้องสื่อทางเลือกไม่ให้ถูกข่มขู่คุกคามถึงขั้นสั่งปิดนับเป็นการคุ้มครองเสรีภาพการเสนอข่าวสารความคิดเห็นของสื่อมวลชนให้เป็นอิสระ ขณะเดียวกันสิทธิของประชาชนก็จะไม่ถูกครอบงำจากสื่อรัฐที่ไม่มีเสรีภาพเสนอความจริงเชิงข้อเท็จจริงถ้ากระเทือนภาพลักษณ์และเสถียรภาพรัฐบาล และเหนืออื่นใดยังเป็นการเปิดกว้างให้ภาคส่วนที่เคยถูกกดทับสามารถเข้ามาตัดแต่งระบอบประชาธิปไตยไทยในท่วงทำนอง ‘ตัดเกือกใส่ตีน’ ไม่ใช่ ‘ตัดตีนใส่เกือก’ ร่วมกันกับผู้มีอำนาจด้วย (ต่อตอน 10)
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)www.thainhf.org
ยิ่งขยายมวลชนพลเมืองกว้างขวางยิ่งถูกต่อต้านจากฝั่งสูญเสียผลประโยชน์เคยยึดกุม การดิสเครดิตด้วยสารพัดข้อหาหยาบๆ ง่ายๆ ว่าเป็นลัทธิประหลาด อุปทานรวมหมู่ หรือร้ายแรงอย่างกบฏต่อราชอาณาจักรไทยจึงไม่ต่างอันใดกับ ASTV ที่โดนยัดเยียดฉลากว่าเป็นสื่อปลุกระดม
ทั้งนี้ การวิพากษ์พันธมิตรฯ และ ASTV ย่อมอยู่ในภววิสัยและอัตวิสัย ด้วยทั้งคู่ล้วนยืนกลางสาดส่องสปอตไลต์สังคม สำแดงจุดยืนเด่นชัด และไม่ได้ดำรงตนเป็นองค์กรแตะต้องไม่ได้ (Untouchable) แต่กลับเปิดกว้างรับเสียงวิจารณ์ทั้งหวังดีและร้ายเรื่อยมาเฉกเช่นวิญญูชน
ทว่าธรรมชาติสงครามความคิด ASTV ที่เป็นหนึ่งเดียวกับพันธมิตรฯ จึงต้องตอบโต้ข้อครหาจนอาจเสมือนว่าจะก้าวร้าวไม่ลดราวาศอกฟังถ้อยความเห็นคิดแย้งแตกต่างบ้างบางคราวครั้งนั้น โดยเนื้อแท้แล้วไม่ใช่ไม่ยอมรับเสียงวิจารณ์ใดๆ ตรงข้ามกลับซ่อนนัยเชื้อเชิญให้ทุกภาคส่วนเข้ามาครุ่นคิดเพื่อสรรสร้างระบอบประชาธิปไตยไร้โกงบ้านกินเมืองร่วมกันต่างหาก
ด้วยอย่างน้อยๆ การเมืองใหม่ย่อมไม่ใช่การยื้อแย่งอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทยใส่พานถวายกลุ่มชนชั้นนำน้อยนิด หากทว่ายืดอำนาจอธิปไตย 4 วินาทีในมือประชาชนด้วยการเพิ่มบทบาทตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory democracy) โดยเปิดกว้างตั้งแต่ระดับแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ทวีเป็นร่วมชุมนุมเดินขบวนโดยสงบและปราศจากอาวุธ และสูงมากขนาดร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองหรือรัฐบาล
ภาพลักษณ์ห้าวหาญของพันธมิตรฯ จึงเป็นการแตกหักกับนักการเมืองเก่าคอร์รัปชันคับแคบมองการเมืองเป็นของนักการเมือง มากกว่าจะหักหาญหลักการสากลของประชาธิปไตยที่เชื่อใน One man, one vote แต่อย่างใด เพราะถ้าการเมืองใหม่ดึงอำนาจอธิปไตยออกจากมือประชาชนจริงๆ มวลชนย่อมถอยห่างแน่นอน เพราะพันธมิตรฯ ตลอดจน ASTV ล้วนรัดร้อยถ้อยถักผู้คนแบบ ‘พันธสัญญาใจ’ ไม่ใช่ ’พันธสัญญากฎหมาย‘ ที่ล่ามร้อยโซ่ตรวนเทอมละ 4 ปี
มวลมหาประชาชนย่อมมีอิสรเสรีตีจากหรือเคียงข้างพันธมิตรฯ และ ASTV เสมอภายใต้ปัจจัยเหนี่ยวนำประเด็นการเรียกร้องต่อสู้ช่วงนั้นๆ ว่าชอบธรรมมากน้อยเพียงใด
การร่วมคิดร่วมสร้างการเมืองใหม่จึงถากถางกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมให้รองรับทัศนะและการร่วมตัดสินวิถีชีวิตตนเองมากขึ้นแม้เป็นแค่คนปลายอ้อปลายแขม ควบคู่ควบคุมการตัดสินใจของผู้นำรัฐไม่ให้กระเหี้ยนกระหือรือเอื้อประโยชน์ทับซ้อน
รัฐบาลจึงต้องบริหารอย่างโปร่งใส (Transparency) มีความรับผิดชอบ (Accountability) ตอบคำถามและสนองตอบความต้องการ (Responsiveness) ของประชาชนที่ไม่ใช่แค่เสียงส่วนมากที่เลือกตนเอง แต่ต้องเคารพเสียงส่วนน้อย เพื่อสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ
การติดบ่วงที่มามากกว่าสารัตถะการจัดการอำนาจรัฐของโจทย์ตุ๊กตา 70:30 ที่โยนสู่พื้นที่สาธารณะ กระทั่งทุ่มเถียงมากกว่าถกเถียง หรือขนาดพยักหน้าให้ใช้อำนาจรัฐขจัดกลุ่มเสนอนั้นนับว่าน่าละอายยิ่งที่อนุญาตรัฐให้ใช้ความรุนแรงกับผู้เห็นต่าง มิหนำซ้ำยังเอาเท้าราน้ำขัดขวางการพลิกห้วงวิกฤตเป็นโอกาส (Crisis is opportunity) สร้างระบบคานอำนาจรัฐสภาด้วยพลเมือง
การโบยบินการเมืองใหม่ต้องทุ่มเทเวลาขยายพลังปัญญามากกว่าสร้างความเกลียดกลัวชิงชังเพื่อจะได้ไม่ล้ำหน้ามวลชน ขณะเดียวกันก็รักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพวกโกงกินไว้ได้
ปัจจุบันสื่อมวลชนไทยแขนงหนังสือพิมพ์ทำหน้าที่นี้แข็งแกร่งยิ่ง ทว่าน่าห่วงคือสื่อฟรีทีวีที่มักชักนำประชาชนเสพสุขความบันเทิงมากกว่าสาระท่ามกลางขณะบ้านเมืองกำลังล่มจมถดถอยทางคุณธรรมจริยธรรมอันเนื่องมาจากธนบัตรครองอำนาจนำเหนือกลไกประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
เมื่อรัฐสภาบ้อท่าหาทางออกของประเทศจากแอกทุจริตที่นักการเมืองวางขวางบนคอประชาชนราววัวควายแล้วไถคราดทำนาบนหลังพวกเราซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่ได้ จึงจำเป็นที่ตุลาการภิวัตน์และประชาภิวัตน์ต้องคลี่คลายวิกฤตการณ์การเมืองคราวนี้ ขณะที่สื่อมวลชนก็ต้องหาญกล้านำเสนอทางออกแท้จริงมากกว่าป่าวประกาศความสมานฉันท์กลวงเปล่า
ASTV สื่อทางเลือก (Alternative media) ที่ไม่ใช่แค่ ‘รูปแบบ’ ทีวีดิจิตอลผ่านดาวเทียม ทว่า ‘เนื้อหา’ ยังเปิดกว้างกับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม (Participatory communication) ของประชาชนในแนวราบ (Lateral) บนฐานคิดท้าทายอำนาจสถาบันทางการเมืองฉ้อฉลอย่างเปิดเผย พร้อมๆ กับรณรงค์เปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองด้วยผู้รับสาร/พลเมืองกระตือรือร้น (Active audience/ citizen) ในรูปของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ยิ่งนานวันยิ่งพัฒนาจิตสาธารณะ
การพยายามปิดสื่อทางเลือกเพราะกลัวเกรงการสูญเสียอำนาจของผู้นำรัฐที่ยึด ‘ตนเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล’ ด้วยการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้วยหลงผิดคิดว่าความไม่มั่นคงของรัฐบาลคือความไม่มั่นคงของรัฐนั้น จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานว่าด้วยสิทธิอันชอบธรรมที่จะดำรงยืนยัน หรือโต้แย้งตามความเชื่อของตนไว้ด้วยการสื่อสารถ่ายทอดความคิดเห็นออกไป
ตรงข้ามการปกป้องสื่อทางเลือกไม่ให้ถูกข่มขู่คุกคามถึงขั้นสั่งปิดนับเป็นการคุ้มครองเสรีภาพการเสนอข่าวสารความคิดเห็นของสื่อมวลชนให้เป็นอิสระ ขณะเดียวกันสิทธิของประชาชนก็จะไม่ถูกครอบงำจากสื่อรัฐที่ไม่มีเสรีภาพเสนอความจริงเชิงข้อเท็จจริงถ้ากระเทือนภาพลักษณ์และเสถียรภาพรัฐบาล และเหนืออื่นใดยังเป็นการเปิดกว้างให้ภาคส่วนที่เคยถูกกดทับสามารถเข้ามาตัดแต่งระบอบประชาธิปไตยไทยในท่วงทำนอง ‘ตัดเกือกใส่ตีน’ ไม่ใช่ ‘ตัดตีนใส่เกือก’ ร่วมกันกับผู้มีอำนาจด้วย (ต่อตอน 10)
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)www.thainhf.org