เมื่อเวลา12.30 น. วานนี้ (5 ก.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วม 3 ฝ่ายในสายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยตัวแทนประธานสภาผู้แทนราษฏร คือนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และพ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา การเผชิญหน้าระหว่างพันธมิตรฯกับรัฐบาล ที่เป็นอยู๋ในขณะนี้
ทั้งนี้ ภายหลังการหารือนายอภิสิทธิ์ แถลงว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหา และสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น แม้ฝ่ายบริหารพยายามจะคลี่คลาย แต่ปัญหาทั้งหมดเป็นปัญหาการเมือง จึงต้องพยายาที่จะคลี่คลายด้วยการเมือง ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็มีบทบาทสำคัญเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องหารือกัน เพื่อหาทางออกให้กับบ้านเมือง ดังนั้น หน้าที่ของเราคือ การช่วยกันประคับประคอง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เราต้องช่วยกันให้สังคมหางทางออกได้ โดยไม่ใช้วิธีการที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ
"ที่ประชุมจึงเห็นตรงกันว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน ยังมีความเสี่ยง และล่อแหลมต่อการเกิดความรุนแรง ดังนั้นทั้ง 3 ฝ่ายเห็นว่า การแก้ไขปัญหาจะต้องไม่มีการใช้ความรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน การหาทางออกก็เป็นเรื่องเร่งด่วนเช่นเดียวกัน แม้ว่ารัฐบาลจะมีแนวคิดในการทำประชามติ เพื่อหาทางออกต่อปัญหาที่เกิดขึ้น แต่กระบวนการทำประชามติ ต้องรอกฎหมาย ซึ่งเพิ่งผ่านวาระ 1 ของวุฒิสภาในช่วงเช้าที่ผ่านมา ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานเป็นเดือนกว่าจะทำประชามติได้ จึงไม่น่าจะทันกับสถานการณ์ในการคลี่คลายปัญหา สิ่งที่ตกลงกัน คือ การแสวงหาทางออกด้วยการเจรจาน่าจะทำให้เกิดความเข้มข้นมากขึ้น ตามแนวทางของ ผบ.ทบ.ที่ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกัน และในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ จึงได้มอบหมายให้ประธานวุฒิสภา ดำเนินการในส่วนของการเจรจา เพื่อให้การดำเนินการหาทางทั้งให้ทั้งสองฝ่ายมาหารือกัน เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง และเป็นเอกภาพกับทุกฝ่ายอย่างแท้จริง โดยประธานวุฒิสภายินดีรับหน้าที่นี้ และจะเริ่มต้นทันที
นอกจากนี้ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จะใช้เวลาในช่วงนี้ พยายามทำความเข้าใจกับ ส.ส. ของแต่ละพรรคเพื่อลดความร้อนแรงของสถานการณ์ เพื่อร่วมคิดหาทางออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะเริ่มทำทันที โดยในที่ 8 ก.ย.นี้ ประธานวุฒิสภา จะเชิญทุกฝ่ายประชุมอีกครั้ง และอาจจะมีการขยายวงออกไปเพื่อให้มีส่วนต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และทุกฝ่ายจะได้นำผลสรุปทั้งหมดมารายงานในที่ประชุม ในวันที่ 8 ก.ย.นี้
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ได้มอบหมายให้ประธานวุฒิสภา เป็นคนกลางในการเจรจา เนื่องจากไม่ได้สังกัดพรรค ไม่มีฝักไม่มีฝ่าย และเชื่อว่าเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคมโดยทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา ที่จะไปประสานงานกับ ผบ.ทบ. ส่วนวิธีการ รายละเอียดขึ้น อยู่กับการตัดสินใจของประธานวุฒิสภา โดยทั้งหมดจะต้องมีการตั้งเงื่อนไขให้น้อยที่สุดเพื่อนำไปสู่ผลสรุปของการเจรจา ถ้าตั้งเงื่อนไขมาก จะทำไม่ได้ ที่สำคัญการทำงานต้องใช้ความละเอียดอ่อน และความสามารถในการโน้มน้าว และการบริหารจัดการภายใน ซึ่งทั้งหมดต้องโปร่งใส เปิดเผย และอยากให้ประธานวุฒิสภาได้ทำงานด้วยความอิสระ อย่าไปกดดัน หรือคาดคั้น ขอให้ท่านได้มีเวลาทำงาน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการประชุมร่วม 2 สภาอีก เพราะการหารือยังไม่ออกมาเป็นผลอะไร การประชุมซ้ำจึงไม่จำเป็นอีก ดังนั้นควรจะใช้แนวทางเจรจามากกว่า
**เผยคุยพันธมิตรฯแล้ว แนวโน้มดี
ด้านนายประสพสุข กล่าวหลังจากได้รับมอบหมายจากการประชุมร่วม 3 ฝ่าย ให้เป็นคนกลาง ประสานการเจรจาระหว่างรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรฯเพื่อหาข้อยุติว่า ขณะนี้ได้ประสานกับ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และตัวแทนจากกลุ่มพันธมิตรฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยตัวแทนในฝ่ายพันธมิตรฯได้ ซึ่งในวันเสาร์และอาทิตย์นี้ จะมีการหารือร่วมกัน ถึงแนวทางในการเจรจา และรวบรวมข้อเรียกร้องต่างๆ
ทั้งนี้ตนจะนำผลการเจรจาเบื้องต้นนี้ เสนอต่อที่ประชุม 3 ฝ่ายอีกครั้ง ในวันจันทร์ ที่ 8 ก.ย. เวลา12.00 น. แต่เท่าที่เจรจาเบื้องต้น คาดว่าน่าจะเป็นผลดีต่อสถานการณ์บ้านเมือง
เมื่อถามว่าสถานการณ์ขณะนี้ คู่ขัดแย้งคือรัฐบาล กับพันธมิตรฯ ดังนั้นจะประสานกับรัฐบาลโดยตรงหรือไม่นายประสพสุข กล่าวว่า ตนไม่ได้ทำหน้าที่ในส่วนนั้น ทั้งนี้ จะมีตัวแทนทำหน้าที่ประสานงานกับรัฐบาลต่อไป
ส่วนที่มีส.ว.บางส่วนเสนอให้ นายกฯ ยุบสภานั้น นายประสพสุข กล่าวว่า ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น แต่ก็ต้องเห็นถึงความสงบของประเทศ ซึ่งไม่ว่าจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใด ขอให้ทุกฝ่ายต้องเคารพกติกา
ส่วนกรณีที่นายสมัคร ระบุว่าจะไม่เจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯนั้น ตนเห็นว่านายกฯ ไมได้เป็นคนไปเจรจาเอง แต่ตนเป็นคนที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งนายกฯ คงไม่ทราบเรื่องที่รัฐสภากำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และแม้ท้ายที่สุด นายกรัฐมนตรี จะไม่ยินยอมปฏิบัติตาม รัฐสภาก็มีหลายวิธีการดำเนินการที่สามารถดำเนินการได้ตามระบบรัฐสภา
**ส.ว.หนุนพันธมิตรฯเป็นสิทธิส่วนตัว
นายประสพสุข กล่าวยอมรับว่ามี ส.ว.บางส่วน มีแนวคิดไปทางพันธมิตรฯ แต่ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เชื่อว่าเมื่อถึงเวลาทำหน้าที่ วุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูง จะทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง
ส่วนการที่ ส.ส. พรรคพลังประชาชน ยื่นอัยการสูงสุด ขอให้ดำเนินคดีกับ ส.ว.ที่ไปขึ้นเวทีกับพันธมิตรฯนั้น นายประสพสุข กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนบุคคลจะไม่มีการใช้สภาปกป้องแน่นอน
**ส.ว.เสนอจุดยืน 3 ข้อแก้วิกฤติ
เมื่อว่า 12.15 น.วันเดียวกันนี้ ส.ว.กว่า 100 คน ซึ่งมี ส.ว.ทั้งเลือกตั้ง และส.ว.สรรหา นำโดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ได้เสนอทางออก 3 ข้อ ให้กับรัฐบาลถึงกรณีเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น โดย พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ส.ว.ทุกคนตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นในสังคม จนก่อให้เกิดความรุนแรง มีผู้บาดเจ็บกว่า 100 คน และมีสียชีวิต1 คน นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ หากสถานการณ์ยืดเยื้อ และยาวนานยิ่ง จะทำให้ยากแก่การเยียวยา ดังนั้นทาง ส.ว.ส่วนใหญ่ได้มีการหารือกันถึงสถานการณ์ดังกล่าว และปรารถนาให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองทราบจุดยืน จึงขอเรียกร้อง 3 ข้อ คือ
1. ขอให้นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล เร่งรัดแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองด้วยสันติวิธี ด้วยการเข้าไปเจรจากับทุกฝ่าย เพื่อให้ยุติปัญหาที่เกิดขึ้นโดยขอให้รีบเร่งทำในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
2.หากไม่สามารถยุติปัญหาด้วยการเจรจาได้ขอให้นายกฯ เลือกใช้หนทางแก้ไขตามระบอบประชาธิปไตย คือ การการคืนอำนาจให้กับประชาชน และให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะไม่มีใครแพ้ และชนะ
3.เมื่อนายกรัฐมนตรีดำเนินการแล้ว ก็ขอให้ประชาชนทุกคนยุติการชุมนุมที่ผิดกฎหมายและยุติการหยุดงานประท้วง เพื่อมาช่วยกันตรวจสอบการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและช่วยกันตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลให้เกิดความโปร่งใส
พล.อ.เลิศรัตน์ ยืนยันว่า การออกมาเรียกร้องครั้งนี้ ไม่ได้มีเจตนาอื่นใดแอบแฝง หรือต้องการกดดดันกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ตระหนักถึงความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองที่จะได้รับผลกระทบที่จะตามมา และเราก็ไม่ได้ฝักใฝ่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องการให้บ้านเมืองพัฒนาไปได้
**ส.ว.สอนจริยธรรม"หมัก"
เมื่อถามว่าจะมีการล่ารายชื่อ ส.ว.เพื่อเสนอไปยังรัฐบาล และกลุ่มพันธมิตรฯ หรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า เราจะรับฟังความเห็น แต่เรายังไม่ได้ดำเนินการอะไรอย่างเป็นทางการ ซึ่งข้อเสนอของเราไม่ได้คาดหวังว่า นายกรัฐมนตรี หรือกลุ่มพันธมิตรฯจะต้องฟัง แต่ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของความหวังดี ซึ่งเชื่อวากลุ่มพันธมิตรฯ และรัฐบาล ก็มีความหวังดีต่อประเทศชาติเช่นเดียวกัน เพียงแต่ยังหาจุดที่ตรงกันไม่ได้
ดังนั้น ไม่ควรยึดติดอดีต หรือมองว่าใครถูกใครผิดไม่เช่นนั้นเราก็หาทางออกไม่ได้ และเชื่อว่า นายสมัคร คิดไม่ต่างกับพวกตนเอง แต่คงต้องรอเวลาที่ดำเนินการ ซึ่งหากมีการแก้ไขปัญหาช้า ก็ยิ่งจะเกิดปัญหามากกว่านี้ อย่างในหลายประเทศนายกฯ เลือกที่จะลาออก เพราะเขาทำงานไม่ได้ และเขาก็ไม่ได้ผูกมัดว่า คนที่เลือกเขาเข้ามาจะมาก หรือน้อย แต่เมื่อทำงานไม่ได้เขาก็พิจารณาลาออกแล้ว เพราะในฐานะผู้นำประเทศหากทำงานไม่ได้ก็ควรที่จะเสียสละ
**ร่างกม.ประชามติ ผ่านวาระ 1
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 09.45น. วานนี้ (5 ก.ย.) มีการประชุมวุฒิสภา โดยนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณาเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเสร็จแล้ว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 302 วรรคสี่ และวรรคหก โดยวุฒิสภา ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
ทั้งนี้ มี ส.ว.หลายคน อภิปรายท้วงติงกรณีที่ครม.มีมติให้ทำประชามติ กรณีความขัดแย้งในบ้านเมือง โดยระบุว่าไม่มีเหตุให้ดำเนินการดังกล่าว และกกต.จะสามารถทำได้ภายในกี่วัน และจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
อย่างไรก็ตาม วุฒิสภาต้องพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ ด้วยความรอบคอบ เนื่องจากสภาผ่านวาระ 3 โดยมีการแก้ไขปรับปรุงพอสมควร ทั้งเรื่องสิทธิการลงประชามติ เหตุที่ทำให้ต้องลงประชามติ การชี้ขาดผลการลงประชามติ ข้อห้าม และการให้ข้อมูลในการลงประชามติ รวมถึงเกรงว่า กกต. จะสามารถดำเนินการลงประชามติให้เป็นไปตามเป้าหมายได้หรือไม่
นอกจากนี้ กว่าวุฒิสภาจะพิจารณาเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด หาก ครม.ต้องการให้ทำประชามติ จะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และหากนายกฯ ยุบสภา หรือลาออก ร่างกฎหมายนี้จะมีสถานะอย่างไร
นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า จำเป็นต้องพิจารณากฎหมายฉบับนี้อย่างรอบคอบ ไม่อยู่ภายใต้แรงกดดันของฝ่ายใด โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลประกาศว่าจะมีการทำประชามติในเรื่องที่กำลังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับตัวบุคคลอยู่ ซึ่งตนเห็นช่องโหว่หลายเรื่องในกฎหมายนี้ อาทิเรื่องสิทธิของผู้มาออกเสียงลงประชามติ เหตุผล และการชี้ขาดในการลงมติประชามติ รวมถึงการให้ข้อมูลในเรื่องที่จะทำประชามติด้วย
ขณะที่นายศิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช อภิปรายแสดงความเป็นห่วงประเด็นที่ต้องให้ข้อมูลแก่ประชาชนรอบด้านก่อนทำประชามติ ว่าจะทำได้จริงหรือไม่ เพราะมีตัวอย่างให้เห็นแล้วไม่ว่าการทำประชาพิจารณ์ในเรื่องต่างๆ รวมไปถึงการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ล้วนมีข้อบกพร่องชัดเจน และรู้สึกเป็นห่วงที่มีความพยายามใช้วาทะกรรมแยกเรื่อง เพื่อให้สนองตอบต่ออำนาจของตัวเอง
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวว่า ฝ่ายบริหารมักดำเนินโครงการ หรือนโยบายที่มีผลกระทบกับวิถีชีวิตของประชาชน และชุมชน กฎหมายฉบับนี้จึงมีขึ้นเพื่อถ่วงดุล ระหว่างฝ่ายประชาชนกับฝ่ายการเมือง ฉะนั้นกฎหมายฉบับนี้ควรเปิดให้ประชาชนเสนอประเด็นขึ้นมาให้สาธารณะทำประชามติได้ด้วย เช่นเดียวกับที่ประชาชนสามารถเข้าชื่อยื่นถอดถอนนักการเมืองได้
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 302 บัญญัติให้กกต. ต้องปรับปรุงกฎหมายนี้ภายใน 1 ปี ภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่งกกต.ได้ดำเนินการแล้ว และในส่วนระยะเวลาการพิจารณาภายใน 90 วัน ของสภาผู้แทนราษฎรก็ไม่มีปัญหาแล้ว
ส่วนมติครม.เรื่องการทำประชามตินั้น ตนยังไม่เห็น และยังไม่ทราบถ้อยคำของการขอทำประชามติ ว่าเป็นเรื่องอะไร แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 165 กำหนดหัวข้อการทำประชามติไว้ ข้อ 2 ในวรรคสาม ว่า การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในกิจการตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดแย้งหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือเกี่ยวกับตัวบุคคล หรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้
"กรณีที่ ส.ว.สงสัยว่า หากนายกฯ ประกาศหัวข้อประชามติ กกต.สามารถทักท้วงได้หรือไม่นั้น กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ให้อำนาจ กกต.ทักท้วงประกาศของนายกฯ แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 165 บัญญัติว่า ก่อนที่นายกฯจะประกาศหัวข้อประชามติ ต้องถามความเห็นครม.ก่อนว่าสอดคล้องตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญบัญญัติหรือไม่ ไปเกี่ยวข้องกับบุคคล หรือคณะบุคคลหรือไม่ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้นายกฯ ปรึกษาประธานฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ผมเชื่อว่า ในทางปฏิบัติ นายกฯ คงไปปรึกษา หากหัวข้อดังกล่าวไม่สอดคล้องในเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ฝ่ายนิติบัญญัติ คงทักท้วง และเมื่อมีการประกาศหัวข้อประชามติ กกต. คงไม่สามารถไปทักท้วงอะไรได้อีก เพราะนายกฯ เป็นผู้บริหารประเทศ" นายประพันธ์กล่าว
นายประพันธ์ กล่าวว่า การที่ ครม.จะทำประชามติ ต้องมีกฎหมายมารองรับ เพราะกฎหมายว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ ในการทำประชามติรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ไม่สามารถนำมาบังคับได้ เนื่องจากแป็นกฎหมายเฉพาะเรื่อง ดังนั้น กกต.จึงไม่สามารถทำประชามติได้ ถ้าไม่มีกฎหมายรองรับ
หลังจากอภิปรายนาน 1 ชั่วโมงครึ่ง ในที่สุดประชุมมีมติรับหลักการด้วยคะแนน 119 ต่อ 5 งดออกเสียง 1 เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 29 คน กำหนดแปรญัตติ 7 วัน
-
**รอ6-7 เดือนกว่าจะทำประชามติได้
นายประพันธ์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า การทำประชามติ เป็นอำนาจของนายกฯ และคณะรัฐมนตรี ถ้ามีหัวข้อที่จะทำแน่นอนแล้ว กกต.ก็มีหน้าที่จะปฏิบัติตามรัฐธรมนูญ แต่ปัญหาขณะนี้คือ กฎหมายประชามติยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญให้เวลาวุฒิสภาพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ซึ่งไม่แน่ใจว่าวุฒิสภาจะพิจารณาเสร็จเมื่อใด หลังจากนั้นก็จะต้องส่งกฎหมายดังกล่าว ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อความด้วยว่า มีจุดใดขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยใช้เวลาอีก 30 วัน ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ หากขั้นตอนทั้งหมดเสร็จสิ้น กกต.จึงจะสามารถทำประชามติได้
นอกจากนี้ ยังมีข้อห้ามไว้ว่า หากเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องส่วนบุคคล จะทำไม่ได้ จึงไม่รู้ว่าจะกำหนดหัวข้ออย่างไร ขณะที่ต้องให้เวลาประชาชนได้รับทราบหัวข้อ และรายละเอียดต่างๆ ที่จะทำประชาพิจารณ์ก่อน 90-120 วัน ด้วย ตนดูช่วงเวลาแล้ว คิดว่ากว่าจะทำได้ คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-7 เดือน
เมื่อถามว่า จะสามารถเร่งรัดขั้นตอนต่างๆให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผู้พิจารณา เมื่อถามย้ำว่าสามารถออกเป็นพระราชกำหนดได้หรือไม่ นายประพันธ์ ตอบว่า ไม่ได้
**"หมัก"หนีกระทู้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมวุมิสภา วานนี้ มีวาระการพิจารณากระทู้ จำนวน 8 เรื่อง ที่น่าสนใจได้แก่ กระทู้ด่วน 5 เรื่อง ของนายสมชาย แสวงการ นายตวง อันทะไชย นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายวรินทร์ เทียมจรัส นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ถามนายกฯ ซึ่งทั้งหมดเป็นกระทู้เกี่ยวกับการออกประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกรณีกลุ่ม นปช. บุกไปทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ชุมนุมโดยสงบ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยให้มีการเผชิญหน้า แต่ปรากฏว่า ไม่มีผู้มาตอบกระทู้แม้แต่คนเดียว ไม่ว่าจะเป็นนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการแจ้งว่า ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบออกไปก่อน
**"จรัส"ย้ำทำประชามติขัดรธน.
ศ.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า มติครม. ที่ให้มีการทำประชามติ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ว่าด้วยเรื่องการทำประชามติ ที่ระบุว่า การออกเสียงประชามติ ต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในกิจการตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือเกี่ยวกับตัวบุคคล หรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้ จึงไม่ทราบว่า ครม.ได้อ่านรัฐธรรมนูญก่อนหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ครม.ชุดนี้ ก็ทำผิดรัฐธรรมนูญเรื่อง เขาพระวิหารมาแล้ว จึงไม่อยากให้มีการทำผิดรัฐธรรมนูญอีก
"ถ้าทำประชามติ แล้วประชาชนทะเลาะกันว่า จะให้ใครอยู่ หรือไป เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เพราะจะให้ข้อมูลเรื่องนี้อย่างไร ดังนั้น กกต.จะต้องไม่รับทำประชามติดังกล่าวให้รัฐบาลอย่างเด็ดขาด เพราะมติครม.นี้ขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่านายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลหรือไม่นั้น ยืนยันว่านายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งก็จริง แต่นายกฯที่ชื่อนายสมัครนั้นเป็นตัวบุคคลแน่นอน"
ศ.จรัส กล่าวด้วยว่าการทำประชามติของรัฐบาล เป็นเพียงการซื้อเวลาเท่านั้น ตนคิดว่าแทนที่จะทำแบบนี้ รัฐบาลควรใช้เวลาที่มีอยู่เพื่อพิจารณาตัวเอง ว่าเหตุที่องค์กรทุกภาคส่วนของสังคม เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเป็นเพราะอะไร และควรคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ตัวเอง เพราะจริงๆแล้ว ตอนนี้นายกฯหมดความชอบธรรมแล้ว เพราะไม่มีใครเชื่อถือหรือ จะสามารถสั่งใครได้อีกต่อไป รัฐบาลต้องนำไปคิด และควรทราบว่า ข้าราชการก็มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง และประเทศ ซึ่งหากเป็นคำสั่งที่ผิดกฎหมาย ข้าราชการก็สามารถปฏิเสธคำสั่งนั้นได้
ทั้งนี้ ภายหลังการหารือนายอภิสิทธิ์ แถลงว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหา และสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น แม้ฝ่ายบริหารพยายามจะคลี่คลาย แต่ปัญหาทั้งหมดเป็นปัญหาการเมือง จึงต้องพยายาที่จะคลี่คลายด้วยการเมือง ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็มีบทบาทสำคัญเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องหารือกัน เพื่อหาทางออกให้กับบ้านเมือง ดังนั้น หน้าที่ของเราคือ การช่วยกันประคับประคอง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เราต้องช่วยกันให้สังคมหางทางออกได้ โดยไม่ใช้วิธีการที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ
"ที่ประชุมจึงเห็นตรงกันว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน ยังมีความเสี่ยง และล่อแหลมต่อการเกิดความรุนแรง ดังนั้นทั้ง 3 ฝ่ายเห็นว่า การแก้ไขปัญหาจะต้องไม่มีการใช้ความรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน การหาทางออกก็เป็นเรื่องเร่งด่วนเช่นเดียวกัน แม้ว่ารัฐบาลจะมีแนวคิดในการทำประชามติ เพื่อหาทางออกต่อปัญหาที่เกิดขึ้น แต่กระบวนการทำประชามติ ต้องรอกฎหมาย ซึ่งเพิ่งผ่านวาระ 1 ของวุฒิสภาในช่วงเช้าที่ผ่านมา ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานเป็นเดือนกว่าจะทำประชามติได้ จึงไม่น่าจะทันกับสถานการณ์ในการคลี่คลายปัญหา สิ่งที่ตกลงกัน คือ การแสวงหาทางออกด้วยการเจรจาน่าจะทำให้เกิดความเข้มข้นมากขึ้น ตามแนวทางของ ผบ.ทบ.ที่ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อทุกฝ่ายเห็นตรงกัน และในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ จึงได้มอบหมายให้ประธานวุฒิสภา ดำเนินการในส่วนของการเจรจา เพื่อให้การดำเนินการหาทางทั้งให้ทั้งสองฝ่ายมาหารือกัน เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง และเป็นเอกภาพกับทุกฝ่ายอย่างแท้จริง โดยประธานวุฒิสภายินดีรับหน้าที่นี้ และจะเริ่มต้นทันที
นอกจากนี้ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จะใช้เวลาในช่วงนี้ พยายามทำความเข้าใจกับ ส.ส. ของแต่ละพรรคเพื่อลดความร้อนแรงของสถานการณ์ เพื่อร่วมคิดหาทางออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะเริ่มทำทันที โดยในที่ 8 ก.ย.นี้ ประธานวุฒิสภา จะเชิญทุกฝ่ายประชุมอีกครั้ง และอาจจะมีการขยายวงออกไปเพื่อให้มีส่วนต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และทุกฝ่ายจะได้นำผลสรุปทั้งหมดมารายงานในที่ประชุม ในวันที่ 8 ก.ย.นี้
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ได้มอบหมายให้ประธานวุฒิสภา เป็นคนกลางในการเจรจา เนื่องจากไม่ได้สังกัดพรรค ไม่มีฝักไม่มีฝ่าย และเชื่อว่าเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคมโดยทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา ที่จะไปประสานงานกับ ผบ.ทบ. ส่วนวิธีการ รายละเอียดขึ้น อยู่กับการตัดสินใจของประธานวุฒิสภา โดยทั้งหมดจะต้องมีการตั้งเงื่อนไขให้น้อยที่สุดเพื่อนำไปสู่ผลสรุปของการเจรจา ถ้าตั้งเงื่อนไขมาก จะทำไม่ได้ ที่สำคัญการทำงานต้องใช้ความละเอียดอ่อน และความสามารถในการโน้มน้าว และการบริหารจัดการภายใน ซึ่งทั้งหมดต้องโปร่งใส เปิดเผย และอยากให้ประธานวุฒิสภาได้ทำงานด้วยความอิสระ อย่าไปกดดัน หรือคาดคั้น ขอให้ท่านได้มีเวลาทำงาน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการประชุมร่วม 2 สภาอีก เพราะการหารือยังไม่ออกมาเป็นผลอะไร การประชุมซ้ำจึงไม่จำเป็นอีก ดังนั้นควรจะใช้แนวทางเจรจามากกว่า
**เผยคุยพันธมิตรฯแล้ว แนวโน้มดี
ด้านนายประสพสุข กล่าวหลังจากได้รับมอบหมายจากการประชุมร่วม 3 ฝ่าย ให้เป็นคนกลาง ประสานการเจรจาระหว่างรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรฯเพื่อหาข้อยุติว่า ขณะนี้ได้ประสานกับ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และตัวแทนจากกลุ่มพันธมิตรฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยตัวแทนในฝ่ายพันธมิตรฯได้ ซึ่งในวันเสาร์และอาทิตย์นี้ จะมีการหารือร่วมกัน ถึงแนวทางในการเจรจา และรวบรวมข้อเรียกร้องต่างๆ
ทั้งนี้ตนจะนำผลการเจรจาเบื้องต้นนี้ เสนอต่อที่ประชุม 3 ฝ่ายอีกครั้ง ในวันจันทร์ ที่ 8 ก.ย. เวลา12.00 น. แต่เท่าที่เจรจาเบื้องต้น คาดว่าน่าจะเป็นผลดีต่อสถานการณ์บ้านเมือง
เมื่อถามว่าสถานการณ์ขณะนี้ คู่ขัดแย้งคือรัฐบาล กับพันธมิตรฯ ดังนั้นจะประสานกับรัฐบาลโดยตรงหรือไม่นายประสพสุข กล่าวว่า ตนไม่ได้ทำหน้าที่ในส่วนนั้น ทั้งนี้ จะมีตัวแทนทำหน้าที่ประสานงานกับรัฐบาลต่อไป
ส่วนที่มีส.ว.บางส่วนเสนอให้ นายกฯ ยุบสภานั้น นายประสพสุข กล่าวว่า ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น แต่ก็ต้องเห็นถึงความสงบของประเทศ ซึ่งไม่ว่าจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใด ขอให้ทุกฝ่ายต้องเคารพกติกา
ส่วนกรณีที่นายสมัคร ระบุว่าจะไม่เจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯนั้น ตนเห็นว่านายกฯ ไมได้เป็นคนไปเจรจาเอง แต่ตนเป็นคนที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งนายกฯ คงไม่ทราบเรื่องที่รัฐสภากำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และแม้ท้ายที่สุด นายกรัฐมนตรี จะไม่ยินยอมปฏิบัติตาม รัฐสภาก็มีหลายวิธีการดำเนินการที่สามารถดำเนินการได้ตามระบบรัฐสภา
**ส.ว.หนุนพันธมิตรฯเป็นสิทธิส่วนตัว
นายประสพสุข กล่าวยอมรับว่ามี ส.ว.บางส่วน มีแนวคิดไปทางพันธมิตรฯ แต่ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เชื่อว่าเมื่อถึงเวลาทำหน้าที่ วุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูง จะทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง
ส่วนการที่ ส.ส. พรรคพลังประชาชน ยื่นอัยการสูงสุด ขอให้ดำเนินคดีกับ ส.ว.ที่ไปขึ้นเวทีกับพันธมิตรฯนั้น นายประสพสุข กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนบุคคลจะไม่มีการใช้สภาปกป้องแน่นอน
**ส.ว.เสนอจุดยืน 3 ข้อแก้วิกฤติ
เมื่อว่า 12.15 น.วันเดียวกันนี้ ส.ว.กว่า 100 คน ซึ่งมี ส.ว.ทั้งเลือกตั้ง และส.ว.สรรหา นำโดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ได้เสนอทางออก 3 ข้อ ให้กับรัฐบาลถึงกรณีเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น โดย พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ส.ว.ทุกคนตระหนักถึงปัญหาความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นในสังคม จนก่อให้เกิดความรุนแรง มีผู้บาดเจ็บกว่า 100 คน และมีสียชีวิต1 คน นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ หากสถานการณ์ยืดเยื้อ และยาวนานยิ่ง จะทำให้ยากแก่การเยียวยา ดังนั้นทาง ส.ว.ส่วนใหญ่ได้มีการหารือกันถึงสถานการณ์ดังกล่าว และปรารถนาให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองทราบจุดยืน จึงขอเรียกร้อง 3 ข้อ คือ
1. ขอให้นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล เร่งรัดแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองด้วยสันติวิธี ด้วยการเข้าไปเจรจากับทุกฝ่าย เพื่อให้ยุติปัญหาที่เกิดขึ้นโดยขอให้รีบเร่งทำในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
2.หากไม่สามารถยุติปัญหาด้วยการเจรจาได้ขอให้นายกฯ เลือกใช้หนทางแก้ไขตามระบอบประชาธิปไตย คือ การการคืนอำนาจให้กับประชาชน และให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะไม่มีใครแพ้ และชนะ
3.เมื่อนายกรัฐมนตรีดำเนินการแล้ว ก็ขอให้ประชาชนทุกคนยุติการชุมนุมที่ผิดกฎหมายและยุติการหยุดงานประท้วง เพื่อมาช่วยกันตรวจสอบการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและช่วยกันตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลให้เกิดความโปร่งใส
พล.อ.เลิศรัตน์ ยืนยันว่า การออกมาเรียกร้องครั้งนี้ ไม่ได้มีเจตนาอื่นใดแอบแฝง หรือต้องการกดดดันกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ตระหนักถึงความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองที่จะได้รับผลกระทบที่จะตามมา และเราก็ไม่ได้ฝักใฝ่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องการให้บ้านเมืองพัฒนาไปได้
**ส.ว.สอนจริยธรรม"หมัก"
เมื่อถามว่าจะมีการล่ารายชื่อ ส.ว.เพื่อเสนอไปยังรัฐบาล และกลุ่มพันธมิตรฯ หรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า เราจะรับฟังความเห็น แต่เรายังไม่ได้ดำเนินการอะไรอย่างเป็นทางการ ซึ่งข้อเสนอของเราไม่ได้คาดหวังว่า นายกรัฐมนตรี หรือกลุ่มพันธมิตรฯจะต้องฟัง แต่ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานของความหวังดี ซึ่งเชื่อวากลุ่มพันธมิตรฯ และรัฐบาล ก็มีความหวังดีต่อประเทศชาติเช่นเดียวกัน เพียงแต่ยังหาจุดที่ตรงกันไม่ได้
ดังนั้น ไม่ควรยึดติดอดีต หรือมองว่าใครถูกใครผิดไม่เช่นนั้นเราก็หาทางออกไม่ได้ และเชื่อว่า นายสมัคร คิดไม่ต่างกับพวกตนเอง แต่คงต้องรอเวลาที่ดำเนินการ ซึ่งหากมีการแก้ไขปัญหาช้า ก็ยิ่งจะเกิดปัญหามากกว่านี้ อย่างในหลายประเทศนายกฯ เลือกที่จะลาออก เพราะเขาทำงานไม่ได้ และเขาก็ไม่ได้ผูกมัดว่า คนที่เลือกเขาเข้ามาจะมาก หรือน้อย แต่เมื่อทำงานไม่ได้เขาก็พิจารณาลาออกแล้ว เพราะในฐานะผู้นำประเทศหากทำงานไม่ได้ก็ควรที่จะเสียสละ
**ร่างกม.ประชามติ ผ่านวาระ 1
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 09.45น. วานนี้ (5 ก.ย.) มีการประชุมวุฒิสภา โดยนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณาเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเสร็จแล้ว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 302 วรรคสี่ และวรรคหก โดยวุฒิสภา ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
ทั้งนี้ มี ส.ว.หลายคน อภิปรายท้วงติงกรณีที่ครม.มีมติให้ทำประชามติ กรณีความขัดแย้งในบ้านเมือง โดยระบุว่าไม่มีเหตุให้ดำเนินการดังกล่าว และกกต.จะสามารถทำได้ภายในกี่วัน และจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
อย่างไรก็ตาม วุฒิสภาต้องพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ ด้วยความรอบคอบ เนื่องจากสภาผ่านวาระ 3 โดยมีการแก้ไขปรับปรุงพอสมควร ทั้งเรื่องสิทธิการลงประชามติ เหตุที่ทำให้ต้องลงประชามติ การชี้ขาดผลการลงประชามติ ข้อห้าม และการให้ข้อมูลในการลงประชามติ รวมถึงเกรงว่า กกต. จะสามารถดำเนินการลงประชามติให้เป็นไปตามเป้าหมายได้หรือไม่
นอกจากนี้ กว่าวุฒิสภาจะพิจารณาเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด หาก ครม.ต้องการให้ทำประชามติ จะสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และหากนายกฯ ยุบสภา หรือลาออก ร่างกฎหมายนี้จะมีสถานะอย่างไร
นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า จำเป็นต้องพิจารณากฎหมายฉบับนี้อย่างรอบคอบ ไม่อยู่ภายใต้แรงกดดันของฝ่ายใด โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลประกาศว่าจะมีการทำประชามติในเรื่องที่กำลังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับตัวบุคคลอยู่ ซึ่งตนเห็นช่องโหว่หลายเรื่องในกฎหมายนี้ อาทิเรื่องสิทธิของผู้มาออกเสียงลงประชามติ เหตุผล และการชี้ขาดในการลงมติประชามติ รวมถึงการให้ข้อมูลในเรื่องที่จะทำประชามติด้วย
ขณะที่นายศิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช อภิปรายแสดงความเป็นห่วงประเด็นที่ต้องให้ข้อมูลแก่ประชาชนรอบด้านก่อนทำประชามติ ว่าจะทำได้จริงหรือไม่ เพราะมีตัวอย่างให้เห็นแล้วไม่ว่าการทำประชาพิจารณ์ในเรื่องต่างๆ รวมไปถึงการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ล้วนมีข้อบกพร่องชัดเจน และรู้สึกเป็นห่วงที่มีความพยายามใช้วาทะกรรมแยกเรื่อง เพื่อให้สนองตอบต่ออำนาจของตัวเอง
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. กล่าวว่า ฝ่ายบริหารมักดำเนินโครงการ หรือนโยบายที่มีผลกระทบกับวิถีชีวิตของประชาชน และชุมชน กฎหมายฉบับนี้จึงมีขึ้นเพื่อถ่วงดุล ระหว่างฝ่ายประชาชนกับฝ่ายการเมือง ฉะนั้นกฎหมายฉบับนี้ควรเปิดให้ประชาชนเสนอประเด็นขึ้นมาให้สาธารณะทำประชามติได้ด้วย เช่นเดียวกับที่ประชาชนสามารถเข้าชื่อยื่นถอดถอนนักการเมืองได้
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 302 บัญญัติให้กกต. ต้องปรับปรุงกฎหมายนี้ภายใน 1 ปี ภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่งกกต.ได้ดำเนินการแล้ว และในส่วนระยะเวลาการพิจารณาภายใน 90 วัน ของสภาผู้แทนราษฎรก็ไม่มีปัญหาแล้ว
ส่วนมติครม.เรื่องการทำประชามตินั้น ตนยังไม่เห็น และยังไม่ทราบถ้อยคำของการขอทำประชามติ ว่าเป็นเรื่องอะไร แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 165 กำหนดหัวข้อการทำประชามติไว้ ข้อ 2 ในวรรคสาม ว่า การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในกิจการตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดแย้งหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือเกี่ยวกับตัวบุคคล หรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้
"กรณีที่ ส.ว.สงสัยว่า หากนายกฯ ประกาศหัวข้อประชามติ กกต.สามารถทักท้วงได้หรือไม่นั้น กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ให้อำนาจ กกต.ทักท้วงประกาศของนายกฯ แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 165 บัญญัติว่า ก่อนที่นายกฯจะประกาศหัวข้อประชามติ ต้องถามความเห็นครม.ก่อนว่าสอดคล้องตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญบัญญัติหรือไม่ ไปเกี่ยวข้องกับบุคคล หรือคณะบุคคลหรือไม่ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้นายกฯ ปรึกษาประธานฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ผมเชื่อว่า ในทางปฏิบัติ นายกฯ คงไปปรึกษา หากหัวข้อดังกล่าวไม่สอดคล้องในเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ฝ่ายนิติบัญญัติ คงทักท้วง และเมื่อมีการประกาศหัวข้อประชามติ กกต. คงไม่สามารถไปทักท้วงอะไรได้อีก เพราะนายกฯ เป็นผู้บริหารประเทศ" นายประพันธ์กล่าว
นายประพันธ์ กล่าวว่า การที่ ครม.จะทำประชามติ ต้องมีกฎหมายมารองรับ เพราะกฎหมายว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ ในการทำประชามติรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ไม่สามารถนำมาบังคับได้ เนื่องจากแป็นกฎหมายเฉพาะเรื่อง ดังนั้น กกต.จึงไม่สามารถทำประชามติได้ ถ้าไม่มีกฎหมายรองรับ
หลังจากอภิปรายนาน 1 ชั่วโมงครึ่ง ในที่สุดประชุมมีมติรับหลักการด้วยคะแนน 119 ต่อ 5 งดออกเสียง 1 เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 29 คน กำหนดแปรญัตติ 7 วัน
-
**รอ6-7 เดือนกว่าจะทำประชามติได้
นายประพันธ์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า การทำประชามติ เป็นอำนาจของนายกฯ และคณะรัฐมนตรี ถ้ามีหัวข้อที่จะทำแน่นอนแล้ว กกต.ก็มีหน้าที่จะปฏิบัติตามรัฐธรมนูญ แต่ปัญหาขณะนี้คือ กฎหมายประชามติยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญให้เวลาวุฒิสภาพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ซึ่งไม่แน่ใจว่าวุฒิสภาจะพิจารณาเสร็จเมื่อใด หลังจากนั้นก็จะต้องส่งกฎหมายดังกล่าว ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อความด้วยว่า มีจุดใดขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยใช้เวลาอีก 30 วัน ก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ หากขั้นตอนทั้งหมดเสร็จสิ้น กกต.จึงจะสามารถทำประชามติได้
นอกจากนี้ ยังมีข้อห้ามไว้ว่า หากเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องส่วนบุคคล จะทำไม่ได้ จึงไม่รู้ว่าจะกำหนดหัวข้ออย่างไร ขณะที่ต้องให้เวลาประชาชนได้รับทราบหัวข้อ และรายละเอียดต่างๆ ที่จะทำประชาพิจารณ์ก่อน 90-120 วัน ด้วย ตนดูช่วงเวลาแล้ว คิดว่ากว่าจะทำได้ คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6-7 เดือน
เมื่อถามว่า จะสามารถเร่งรัดขั้นตอนต่างๆให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผู้พิจารณา เมื่อถามย้ำว่าสามารถออกเป็นพระราชกำหนดได้หรือไม่ นายประพันธ์ ตอบว่า ไม่ได้
**"หมัก"หนีกระทู้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมวุมิสภา วานนี้ มีวาระการพิจารณากระทู้ จำนวน 8 เรื่อง ที่น่าสนใจได้แก่ กระทู้ด่วน 5 เรื่อง ของนายสมชาย แสวงการ นายตวง อันทะไชย นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายวรินทร์ เทียมจรัส นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ถามนายกฯ ซึ่งทั้งหมดเป็นกระทู้เกี่ยวกับการออกประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกรณีกลุ่ม นปช. บุกไปทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ชุมนุมโดยสงบ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยให้มีการเผชิญหน้า แต่ปรากฏว่า ไม่มีผู้มาตอบกระทู้แม้แต่คนเดียว ไม่ว่าจะเป็นนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการแจ้งว่า ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการตอบออกไปก่อน
**"จรัส"ย้ำทำประชามติขัดรธน.
ศ.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า มติครม. ที่ให้มีการทำประชามติ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ว่าด้วยเรื่องการทำประชามติ ที่ระบุว่า การออกเสียงประชามติ ต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในกิจการตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือเกี่ยวกับตัวบุคคล หรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้ จึงไม่ทราบว่า ครม.ได้อ่านรัฐธรรมนูญก่อนหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ครม.ชุดนี้ ก็ทำผิดรัฐธรรมนูญเรื่อง เขาพระวิหารมาแล้ว จึงไม่อยากให้มีการทำผิดรัฐธรรมนูญอีก
"ถ้าทำประชามติ แล้วประชาชนทะเลาะกันว่า จะให้ใครอยู่ หรือไป เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เพราะจะให้ข้อมูลเรื่องนี้อย่างไร ดังนั้น กกต.จะต้องไม่รับทำประชามติดังกล่าวให้รัฐบาลอย่างเด็ดขาด เพราะมติครม.นี้ขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่านายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลหรือไม่นั้น ยืนยันว่านายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งก็จริง แต่นายกฯที่ชื่อนายสมัครนั้นเป็นตัวบุคคลแน่นอน"
ศ.จรัส กล่าวด้วยว่าการทำประชามติของรัฐบาล เป็นเพียงการซื้อเวลาเท่านั้น ตนคิดว่าแทนที่จะทำแบบนี้ รัฐบาลควรใช้เวลาที่มีอยู่เพื่อพิจารณาตัวเอง ว่าเหตุที่องค์กรทุกภาคส่วนของสังคม เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเป็นเพราะอะไร และควรคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ตัวเอง เพราะจริงๆแล้ว ตอนนี้นายกฯหมดความชอบธรรมแล้ว เพราะไม่มีใครเชื่อถือหรือ จะสามารถสั่งใครได้อีกต่อไป รัฐบาลต้องนำไปคิด และควรทราบว่า ข้าราชการก็มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง และประเทศ ซึ่งหากเป็นคำสั่งที่ผิดกฎหมาย ข้าราชการก็สามารถปฏิเสธคำสั่งนั้นได้