องค์กรเอ็นจีโอ 300 องค์กรทั่วประเทศ จี้สมัครลาออกแก้ไขวิกฤต ชี้สร้างเงื่อนไขรุนแรงประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ รณรงค์ติดริบบิ้นดำเรียกร้องทุกฝ่ายยุติใช้ความรุนแรง
วานนี้ (2 ก.ย.) คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กว่า 300 องค์กร อาทิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA WATCH) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น ร่วมกับสมัชชาคนจน และเครือข่ายสลัม 4 ภาค ประกอบด้วย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ตัวแทนสมัชชาคนจน นางสุนทรี เซ่งกิ่ง เลขาธิการ กป.อพช. นายไพโรจน์ พลเพชร ประธาน กป.อพช. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ตัวแทน FTA WATCH และนายวีรพงษ์ เกรียงศิลป์ยศ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมออกแถลงการณ์ "กป.อพช.และเครือข่ายองค์กรประชาชน เรื่องนายกรัฐมนตรีต้องลาออก เพื่อให้มีการแก้วิกฤตการเมืองโดยสันติวิธี" โดยทั้งหมดพร้อมใจกันสวมเสื้อสีดำ
นายไพโรจน์ ได้อ่านแถลงการณ์ดังกล่าว ว่า กป.อพช.และเครือข่ายภาคประชาชน มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมีความเห็นว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอาจนำไปสู่ความรุนแรงและการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น เพื่อยุติความรุนแรงและยับยั้งการฉวยโอกาสรัฐประหาร กป.อพช.มีข้อเรียกร้อง ดังนี้
1. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ต้องลาออก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น และการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะที่รัฐบาลสามารถให้กฎหมายและมาตรการตามปกติได้ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงเป็นการใช้อำนาจที่เกินกว่าเหตุ
2.ขอยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะยิ่งเป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเผชิญหน้าและมีความรุนแรงยิ่งขึ้น
3.ขอให้แกนนำของกลุ่มการเมืองทั้งสองฝ่ายยุติการสร้างเงื่อนไขความรุนแรง อันจะนำมาซึ่งการสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชน
4. เครือข่ายประชาชนเห็นว่าการแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองปัจจุบันจะต้องแก้โดยการปฏิรูปการเมืองด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห้นจากประชาชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งให้มีการสื่อสารกับสาธารณะอย่างต่อเนื่อง
และ 5.ขอให้บุคคล กลุ่ม และองค์กรภาคประชาสังคมแสดงออกในรูปแบบและวิธีการต่างๆ เช่น สวมเสื้อสีดำ ติดริบบิ้นสีดำที่รถยนต์ แขวนป้ายผ้าที่บ้าน ที่ทำงาน เพื่อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ปัญหา
หลังจากแถลงข่าวตัวแทน กป.อพช. และเครือข่ายองค์กรประชาชนจำนวนหนึ่งรวมตัวกันถือผ้าสีดำขนาดกว้าง 1 เมตร และยาว 140 เมตร พร้อมใจกันชูขึ้นเหนือศีรษะ เดินขบวนจากอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อนำผ้าดังกล่าวไปห้อมล้อมรอบๆ บริเวณฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมทั้งยังนำดอกกุหลาบสีขาวจำนวนหนึ่งไปวางรอบๆ บริเวณดังกล่าว
นอกจากนี้ บรรดาตัวแทน กป.อพช. ยังนั่งสงบนิ่งเป็นเวลา 3 นาที พร้อมทั้งตีระฆัง 3 ครั้ง เพื่อร่วมไว้อาลัยให้แก่ผู้บาดเจ็บและล้มตายจากการปะทะที่เกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อคัดค้านอำนาจการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกทันที
วานนี้ (2 ก.ย.) คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กว่า 300 องค์กร อาทิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA WATCH) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น ร่วมกับสมัชชาคนจน และเครือข่ายสลัม 4 ภาค ประกอบด้วย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ตัวแทนสมัชชาคนจน นางสุนทรี เซ่งกิ่ง เลขาธิการ กป.อพช. นายไพโรจน์ พลเพชร ประธาน กป.อพช. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ตัวแทน FTA WATCH และนายวีรพงษ์ เกรียงศิลป์ยศ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมออกแถลงการณ์ "กป.อพช.และเครือข่ายองค์กรประชาชน เรื่องนายกรัฐมนตรีต้องลาออก เพื่อให้มีการแก้วิกฤตการเมืองโดยสันติวิธี" โดยทั้งหมดพร้อมใจกันสวมเสื้อสีดำ
นายไพโรจน์ ได้อ่านแถลงการณ์ดังกล่าว ว่า กป.อพช.และเครือข่ายภาคประชาชน มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมีความเห็นว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอาจนำไปสู่ความรุนแรงและการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น เพื่อยุติความรุนแรงและยับยั้งการฉวยโอกาสรัฐประหาร กป.อพช.มีข้อเรียกร้อง ดังนี้
1. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ต้องลาออก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น และการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะที่รัฐบาลสามารถให้กฎหมายและมาตรการตามปกติได้ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงเป็นการใช้อำนาจที่เกินกว่าเหตุ
2.ขอยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะยิ่งเป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเผชิญหน้าและมีความรุนแรงยิ่งขึ้น
3.ขอให้แกนนำของกลุ่มการเมืองทั้งสองฝ่ายยุติการสร้างเงื่อนไขความรุนแรง อันจะนำมาซึ่งการสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชน
4. เครือข่ายประชาชนเห็นว่าการแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองปัจจุบันจะต้องแก้โดยการปฏิรูปการเมืองด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห้นจากประชาชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งให้มีการสื่อสารกับสาธารณะอย่างต่อเนื่อง
และ 5.ขอให้บุคคล กลุ่ม และองค์กรภาคประชาสังคมแสดงออกในรูปแบบและวิธีการต่างๆ เช่น สวมเสื้อสีดำ ติดริบบิ้นสีดำที่รถยนต์ แขวนป้ายผ้าที่บ้าน ที่ทำงาน เพื่อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ปัญหา
หลังจากแถลงข่าวตัวแทน กป.อพช. และเครือข่ายองค์กรประชาชนจำนวนหนึ่งรวมตัวกันถือผ้าสีดำขนาดกว้าง 1 เมตร และยาว 140 เมตร พร้อมใจกันชูขึ้นเหนือศีรษะ เดินขบวนจากอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อนำผ้าดังกล่าวไปห้อมล้อมรอบๆ บริเวณฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมทั้งยังนำดอกกุหลาบสีขาวจำนวนหนึ่งไปวางรอบๆ บริเวณดังกล่าว
นอกจากนี้ บรรดาตัวแทน กป.อพช. ยังนั่งสงบนิ่งเป็นเวลา 3 นาที พร้อมทั้งตีระฆัง 3 ครั้ง เพื่อร่วมไว้อาลัยให้แก่ผู้บาดเจ็บและล้มตายจากการปะทะที่เกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อคัดค้านอำนาจการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกทันที