ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (2 ก.ย.) ส.ว.เลือกตั้งและ ส.ว.สรรหา จำนวน40 คน อาทิ พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ร่วมกันหารือเหตุการณ์การปะทะกันของกลุ่มนปช. และพันธมิตรฯ ทำให้รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
จากนั้น น.ส.รสนา นำคณะส.ว.ออกแถลงการณ์ว่า กรณีนายกรัฐมนตรีประกาศใช้ พ.ร.ก. พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เขต กทม. โดยอ้างเหตุว่า มีเหตุใช้กำลังประทุษร้ายกัน และ 43 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมประท้วงรัฐบาลด้วย และประกาศแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและมอบอำนาจในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน ส.ว.เห็นว่าสถานการณ์ที่นายกรัฐมนตรีอ้างไม่ใช่กรณีฉุกฉินรุนแรง ตามเจตนารมรณ์ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเหตุมีลักษณะไม่ต่างจาก จ.อุดรธานี ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้ใช้มาตรการดังกล่าว การใช้มาตรการโดยการสร้างเงื่อนไขจัดฉาก โดยการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่รัฐ ถือเป็นการเลือกปฎิบรบด้วยกฎหมาย ส.ว.ขอเรียกร้องให้ฝ่ายที่จะใช้อำนาจ พ.ร.ก. ใช้โดยระมัดระวังหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงและในช่วงบ่าย ส.ว.จะไปยื่นเรื่องสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมิชอบไปยังศาลปกครองสูงสุดเพื่อระงับคำสั่งดังกล่าว
เราเห็นว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการวางแผนล่วงหน้าร่วมกันของฝ่ายการเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงกับประชาชน เป็นการใช้อำนาจเกินเหตุซ้ำเติมวิกฤติให้หนักหน่วงมากขึ้นทั้งนี้ใจกลางของปัญหาคือนายกรัฐมนตรี นอกจากไม่พยายามแก้ปัญหายังมีการยั่วยุ ใช้ความรุนแรงซึ่งปรากฎในการประชุมร่วมรัฐสภาที่ผ่านมา นายสมัครหมดสิ้นความชอบธรรมและความสามารถในการบริหารมิจฉาทิฐิที่ดึงดันจะอยู่ในอำนาจมีแต่จะนำไปสู่การนองเลือด ล่มจมความรับผิดชอบทางการเมือง เป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรแสดงออก ทางเดียวในการแก้วิกฤตืคือนายสมัคร ต้องลาออกจากตำแหน่งหรือยุบสภาและปล่อยให้กระบวนการต่างๆร่วมกันแก้ปัญหา
น.ส.รสนา กล่าวว่า ความล้มเหลวคือฝ่ายการเมืองเรื่องนี้พรรคร่วมรัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการกดดันให้นายสมัครลาออกหรือปลดนายสมัครออก อย่าคิดแต่ประโยชน์ตัวเองแล้วเอาประเทศมาเดิมพันเป็นตัวประกัน ระวังจะโดนสังคมตราหน้า วันนี้ทุกฝ่ายทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเหลือแต่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล หากนายกรัฐมนตรียังไม่มีความรับผิดชอบทางการเมือง ด้วยการลาออก ส.ว.ก็จะใช้กลไกทางกฎหมายให้ถึงที่สุด
น.ส.รสนา กล่าวด้วยว่าเหตุที่เกิดขึ้นเห็นได้ชัดว่าเป็นการจงใจสร้างสถานการณ์ เพราะการปะทะยุติเวลาตี 4 และ7 โมงเช้า นายกรัฐมนตรีก็ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ส.ส.พรรคพลังประชาชนก็พูดเป็นนัยแล้วว่า ให้ใช้กฎหมายเข้มงวดตรงนี้เป็นการจำลองเหตุการณ์ 6ตุลา19 ที่ปิดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเป็นตึกไทยคู่ฟ้า ส.ว.รวบรวมภาพทั้งหมดแล้วและจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันของคณะกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภา หลายชุดเพื่อสอบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาทิ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร. ที่ปล่อยให้ผู้ชุมนุมทั้ง2 ฝ่ายปะทะกัน รวมถึง ส.ส..พรรคพลังประชาชน และนักการเมืองในบ้านเลขที่111 ที่ปลุกระดมก่อความรุนแรง เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า40 ส.ว. กำลังประสานเพื่อขอเข้าพบ ผบ.ทบ. เพื่อสอบถามมาตรการการรักษาสถานการณ์ด้วย
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานชมรม สสร. 50 ได้ออกแถลงการณ์ ในนาม ชมรมสสร. 50 เพื่อคัดค้านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะก่อให้เกิดความ รุนแรงในบ้านเมือง โดยทางชมรมเห็นว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จะต้องเป็นสถานการณ์ที่จำเป็นและเร่งด่วน แต่สถานการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นดังกล่าว เกิดจากฝ่ายที่สนับสนุนฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้ก่อชนวนความรุนแรงด้วยการเคลื่อนกลุ่มประชาชนออกมาปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯ จนเกิดการเสียเลือดเนื้อและบาดเจ็บล้มตาย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าจากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจนรัฐบาล อ้างเป็นสาเหตุประกาศภาวะฉุกเฉินนั้นเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อสร้างความ ชอบธรรม ของรัฐบาลในการประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อห้ามไม่ให้มีการชุมนุมเท่านั้นจึงเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
โดยจะเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และจะเกิดการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนมากขึ้น รวมถึงสถานการณ์จะบานปลายลุกลาม ไปถึงการออกมาต่อต้านจากฝ่ายสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจที่จะนัดหยุดงานและหยุดกิจการอันจะก่อความเดือดร้อนและสร้างปัญหาให้กับประชาชนทั้งประเทศ
ถึงจะประกาศภาวะฉุกเฉินก็ไม่อาจหยุดยั้งการชุมนุมของประชาชนได้จะกลายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนซึ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นหากรัฐบาลใช้กำลังตำรวจทหารเข้าสลายการชุมนุม โดยจะทำให้ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จะทำให้เกิดการ ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลกันทึ้งประเทศในที่สุด จะเกิดกลียุคในบ้านเมือง เกิดการประหัตประหารฆ่าฟันกันเองทำให้ประเทศชาติล้มสลายในที่สุด จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและขออย่าได้ใช้กำลังความรุนแรงใดๆ ทำให้ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตาย
ทพ.ไพศาล กังวลกิจ ผู้ประสานงานเครือข่ายทันตแพทย์เพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯกับ กลุ่ม นปช.นั้น ทางเครือข่ายได้ออกแถลงการณ์ประณามผู้อยู่เบื้องหลังการก่อความรุนแรงครั้งนี้ และเรียกร้องให้ผบ.ทบ. อย่าใช้กำลังในการแก้ปัญหา ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อปัญหาด้วยการลาออกเพื่อยุติวิกฤติการณ์ครั้งนี้ หากไม่ลาออก ขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลออกมาร่วมกันรับผิดชอบต่อบ้านเมือง โดยการลาออกจากการร่วมรัฐบาล และขอเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันแสดงประชามติในการคัดค้านการใช้ความรุนแรง
จากนั้น น.ส.รสนา นำคณะส.ว.ออกแถลงการณ์ว่า กรณีนายกรัฐมนตรีประกาศใช้ พ.ร.ก. พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เขต กทม. โดยอ้างเหตุว่า มีเหตุใช้กำลังประทุษร้ายกัน และ 43 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมประท้วงรัฐบาลด้วย และประกาศแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและมอบอำนาจในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน ส.ว.เห็นว่าสถานการณ์ที่นายกรัฐมนตรีอ้างไม่ใช่กรณีฉุกฉินรุนแรง ตามเจตนารมรณ์ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเหตุมีลักษณะไม่ต่างจาก จ.อุดรธานี ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้ใช้มาตรการดังกล่าว การใช้มาตรการโดยการสร้างเงื่อนไขจัดฉาก โดยการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่รัฐ ถือเป็นการเลือกปฎิบรบด้วยกฎหมาย ส.ว.ขอเรียกร้องให้ฝ่ายที่จะใช้อำนาจ พ.ร.ก. ใช้โดยระมัดระวังหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงและในช่วงบ่าย ส.ว.จะไปยื่นเรื่องสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมิชอบไปยังศาลปกครองสูงสุดเพื่อระงับคำสั่งดังกล่าว
เราเห็นว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการวางแผนล่วงหน้าร่วมกันของฝ่ายการเมือง เจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงกับประชาชน เป็นการใช้อำนาจเกินเหตุซ้ำเติมวิกฤติให้หนักหน่วงมากขึ้นทั้งนี้ใจกลางของปัญหาคือนายกรัฐมนตรี นอกจากไม่พยายามแก้ปัญหายังมีการยั่วยุ ใช้ความรุนแรงซึ่งปรากฎในการประชุมร่วมรัฐสภาที่ผ่านมา นายสมัครหมดสิ้นความชอบธรรมและความสามารถในการบริหารมิจฉาทิฐิที่ดึงดันจะอยู่ในอำนาจมีแต่จะนำไปสู่การนองเลือด ล่มจมความรับผิดชอบทางการเมือง เป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรแสดงออก ทางเดียวในการแก้วิกฤตืคือนายสมัคร ต้องลาออกจากตำแหน่งหรือยุบสภาและปล่อยให้กระบวนการต่างๆร่วมกันแก้ปัญหา
น.ส.รสนา กล่าวว่า ความล้มเหลวคือฝ่ายการเมืองเรื่องนี้พรรคร่วมรัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการกดดันให้นายสมัครลาออกหรือปลดนายสมัครออก อย่าคิดแต่ประโยชน์ตัวเองแล้วเอาประเทศมาเดิมพันเป็นตัวประกัน ระวังจะโดนสังคมตราหน้า วันนี้ทุกฝ่ายทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเหลือแต่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล หากนายกรัฐมนตรียังไม่มีความรับผิดชอบทางการเมือง ด้วยการลาออก ส.ว.ก็จะใช้กลไกทางกฎหมายให้ถึงที่สุด
น.ส.รสนา กล่าวด้วยว่าเหตุที่เกิดขึ้นเห็นได้ชัดว่าเป็นการจงใจสร้างสถานการณ์ เพราะการปะทะยุติเวลาตี 4 และ7 โมงเช้า นายกรัฐมนตรีก็ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ส.ส.พรรคพลังประชาชนก็พูดเป็นนัยแล้วว่า ให้ใช้กฎหมายเข้มงวดตรงนี้เป็นการจำลองเหตุการณ์ 6ตุลา19 ที่ปิดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาเป็นตึกไทยคู่ฟ้า ส.ว.รวบรวมภาพทั้งหมดแล้วและจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันของคณะกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภา หลายชุดเพื่อสอบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาทิ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร. ที่ปล่อยให้ผู้ชุมนุมทั้ง2 ฝ่ายปะทะกัน รวมถึง ส.ส..พรรคพลังประชาชน และนักการเมืองในบ้านเลขที่111 ที่ปลุกระดมก่อความรุนแรง เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า40 ส.ว. กำลังประสานเพื่อขอเข้าพบ ผบ.ทบ. เพื่อสอบถามมาตรการการรักษาสถานการณ์ด้วย
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานชมรม สสร. 50 ได้ออกแถลงการณ์ ในนาม ชมรมสสร. 50 เพื่อคัดค้านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะก่อให้เกิดความ รุนแรงในบ้านเมือง โดยทางชมรมเห็นว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จะต้องเป็นสถานการณ์ที่จำเป็นและเร่งด่วน แต่สถานการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นดังกล่าว เกิดจากฝ่ายที่สนับสนุนฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้ก่อชนวนความรุนแรงด้วยการเคลื่อนกลุ่มประชาชนออกมาปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯ จนเกิดการเสียเลือดเนื้อและบาดเจ็บล้มตาย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าจากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจนรัฐบาล อ้างเป็นสาเหตุประกาศภาวะฉุกเฉินนั้นเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อสร้างความ ชอบธรรม ของรัฐบาลในการประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อห้ามไม่ให้มีการชุมนุมเท่านั้นจึงเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
โดยจะเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และจะเกิดการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนมากขึ้น รวมถึงสถานการณ์จะบานปลายลุกลาม ไปถึงการออกมาต่อต้านจากฝ่ายสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจที่จะนัดหยุดงานและหยุดกิจการอันจะก่อความเดือดร้อนและสร้างปัญหาให้กับประชาชนทั้งประเทศ
ถึงจะประกาศภาวะฉุกเฉินก็ไม่อาจหยุดยั้งการชุมนุมของประชาชนได้จะกลายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนซึ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นหากรัฐบาลใช้กำลังตำรวจทหารเข้าสลายการชุมนุม โดยจะทำให้ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จะทำให้เกิดการ ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลกันทึ้งประเทศในที่สุด จะเกิดกลียุคในบ้านเมือง เกิดการประหัตประหารฆ่าฟันกันเองทำให้ประเทศชาติล้มสลายในที่สุด จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและขออย่าได้ใช้กำลังความรุนแรงใดๆ ทำให้ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตาย
ทพ.ไพศาล กังวลกิจ ผู้ประสานงานเครือข่ายทันตแพทย์เพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯกับ กลุ่ม นปช.นั้น ทางเครือข่ายได้ออกแถลงการณ์ประณามผู้อยู่เบื้องหลังการก่อความรุนแรงครั้งนี้ และเรียกร้องให้ผบ.ทบ. อย่าใช้กำลังในการแก้ปัญหา ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อปัญหาด้วยการลาออกเพื่อยุติวิกฤติการณ์ครั้งนี้ หากไม่ลาออก ขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลออกมาร่วมกันรับผิดชอบต่อบ้านเมือง โดยการลาออกจากการร่วมรัฐบาล และขอเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันแสดงประชามติในการคัดค้านการใช้ความรุนแรง